iRobot Roomba i7 Plus
รีวิวฉบับนี้เป็นรีวิวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot จากประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) นั่นก็คือ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ตัวนี้ถือเป็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น จาค่าย iRobot ตัวที่ 3 แล้วที่ได้มารีวิวลงบนเว็บไซต์ Thanop.com แห่งนี้ โดยรุ่นนี้ก็ยังคงเอาไว้ซึ่งเทคโนโลยีเสริมต่างๆ ที่มีอยู่มากมายจากรุ่นก่อนๆ รวมไปถึงความเฉลียวฉลาด และการมีพลังดูดที่แรง ตามสไตล์ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอเมริกัน มันยังมีความสามารถที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 อย่างคือ การกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัติ (Automatic Dirt Disposal) ทำให้คุณไม่ต้องคอยนำฝุ่นไปทิ้งถังขยะเองอยู่บ่อยๆ นั่นเอง
🠆 คุณสามารถสั่งซื้อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7+ ได้ที่นี่ ! |
โดยระบบกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัตินั้น ที่แท่นชาร์จของมันจะมีความสามารถในการดูดเอาฝุ่นที่อยู่ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เข้าไปเก็บใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Dirt Disposal Bag) ที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านบนของแท่นชาร์จเอง โดยถุงเก็บฝุ่นฯ นี้ว่ากันว่ามันสามารถรองรับฝุ่นจากการดูดฝุ่นได้สูงสุดถึง 30 ครั้ง ด้วยกันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสามารถปล่อยให้เครื่องทำงานไปได้เลย เหมาะมากๆ สำหรับคนที่ไม่ค่อยอยู่บ้าน หรือนานๆ กลับมาที
มาเริ่มเข้าเนื้อหาในแต่ละส่วนกันเลยดีกว่า โดยคุณสามารถเลือกหัวข้อต่างๆ ของบทความรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ฉบับนี้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- รู้จักกับ หุ่นยนต์ทำความสะอาด iRobot
- แกะกล่องผลิตภัณฑ์
- อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลจำเพาะ ข้อมูลทางเทคนิค ของเครื่อง
- คุณสมบัติ และ ความสามารถของตัวเครื่อง
- สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง
- เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง
- คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน iRobot HOME
- คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน
- บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย
ด้านล่างนี้คือคลิปวีดีโอรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus แบบละเอียดยิบ ทุกซอกทุกมุม เวลาเกือบๆ ครึ่งชั่วโมง ถ้าใครพอมีเวลา ลองดูจากคลิปนี้ก่อนได้เลย ถ้าสงสัยอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ค่อยมาดูจากบทความฉบับนี้ต่อ
รู้จักกับ หุ่นยนต์ทำความสะอาด iRobot ให้มากขึ้นกว่านี้
คุณสามารถทำความรู้จักกับ ที่มาที่ไปของแบรนด์ หุ่นยนต์ทำความสะอาด iRobot ให้มากกว่านี้ ว่าเป็นใครมาจากไหน น่าเชื่อถือได้แค่ไหน ได้โดยการกดที่ลิงค์เชื่อมต่อด้านล่างนี้ได้เลย
⇒ ทำความรู้จักกับ หุ่นยนต์ทำความสะอาด iRobot ได้ที่นี่
แกะกล่องผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus
กล่องผลิตภัณฑ์มาโทนสีเขียว ขาว และดำ ตามธีมของแบรนด์ iRobot โลโก้ผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ทำความสะอาด iRobot โดยตัวกล่องฯ มีขนาดมิติอยู่ที่ ยาว (L) 419 x กว้าง (W) 400 x สูง (H) 498 มิลลิเมตร ในขณะที่น้ำหนักสินค้ารวมกล่อง (Gross Weight) อยู่ที่ประมาณ 12 กิโลกรัม (ข้อมูลทั้ง 2 นำมาจากเว็บไซต์ iRobot.com เอง)
ด้านหน้ากล่อง : มีรูปหุ่นยนต์ดูดฝุ่น และแท่นชาร์จ วางเด่นเป็นสง่า ทางด้านซ้าย พร้อมกับชื่อยี่ห้อ และรุ่นอยู่ทางด้านขวา มีความสามารถเด่นที่เขียนว่า “Robot Vaccum + Automatic Dirt Disposal” และภาษาอื่นๆ รวมกว่า 6 ภาษา ถือว่านี่คือกล่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เอาแท่นชาร์จมาโชว์ไว้หน้ากล่องผลิตภัณฑ์ตัวแรกๆ ที่เคยรีวิวมาเลยก็ว่าได้ เพราะมันมีความสามารถของ การกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัติ ซึ่งก็อยู่ที่แท่นชาร์จนั่นเอง
ด้านหลังกล่อง : มีรูป ส่วนประกอบด้านล่าง (ข้างใต้) ตัวเครื่อง พร้อมกับโลโก้แสดงว่าเครื่องรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ โลโก้ของระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ที่สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชัน iRobot HOME ของเขาได้ ในขณะที่ด้านล่างมีข้อมูล อุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องผลิตภัณฑ์ ว่ามีอะไรให้มาบ้าง ทั้งหมด 6 ภาษาเช่นกัน
ด้านซ้ายกล่อง : รูปหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่กำลังจอดอยู่ที่แท่นชาร์จ พร้อมภาพกราฟิกแสดงทิศทางการไหลของฝุ่นที่อยู่ภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin) ที่อยู่ที่ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ไปยัง ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Dirt Disposal Bag) พร้อมกับบอกชื่อยี่ห้อ และรุ่นของตัวเครื่อง
ด้านขวากล่อง : ข้อมูลทุกอย่างเหมือนกับด้านซ้ายของกล่อง
อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus
อุปกรณ์หลักๆ ที่ให้มาสำหรับเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus นั้นมีอยู่ทั้งหมด 8 ชิ้นด้วยกัน โดยกล่องสร้างกำแพงจำลอง และถ่านแบตเตอรี่แบบ AA นั้นถูกเขียนอธิบายรวมกันไว้ในหัวข้อเดียวกัน (แต่ว่าข้างล่างเลยดูมีแค่ 7 ชิ้นเท่านั้น)
และเมื่อเปิดฝากล่องด้านบนออกมาแล้วจะพบกับกล่องใส่อุปกรณ์ย่อยอีก 2 กล่องคือ 1. กล่องใส่ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น และ 2. กล่องใส่อุปกรณ์เสริม (Accessory Box) นั่นเอง
อ่านก่อนสักนิด : “ชื่อเรียกของอุปกรณ์ต่างๆ ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot นั้น บางอย่างอาจจะดูไม่คุ้นหูคุ้นตาสักเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ที่ทาง Thanop.com เคยรีวิวมา แต่อันที่จริงแล้ว มันคืออุปกรณ์อย่างเดียวกัน แต่แค่เรียกคนละชื่อกันเท่านั้นเอง”
1. iRobot Roomba i7 Plus (หุ่นยนต์ดูดฝุ่น x 1 เครื่อง)
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ตัวเครื่องเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบบทรงกลม (Round Shape Robot Vacuum Cleaner) โดยกันชน และส่วนที่อยู่รอบๆ ตัวเครื่องจะเป็นสีดำ ในขณะที่ด้านบนของตัวเครื่องจะปิดผิวด้วยพลาสติกเงาสีเทาดำ สลับกับสีดำ โดยด้านบนจะสังเกตเห็นกล้องสร้างแผนที่จำลอง ที่ถูกซ่อนอยู่ใต้กระจก อย่างเป็นระเบียบ
ตัวเครื่องมีขนาดมิติอยู่ที่ 339 x 339 x 92 มิลลิเมตร (ความสูงของเครื่อง 9.2 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักเครื่องอยู่ที่ประมาณ 3.4 กิโลกรัม ถือว่าไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป (ดูรายละเอียดส่วนประกอบของตัวเครื่องเพิ่มเติม)
2. Charge Base or Clean Base™ (แท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ x 1 ชุด)
สำหรับรีวิวนี้พระเอกของมันถูกย้ายจากตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น มาอยู่ที่แท่นชาร์จ หรือแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ แทน (ทางผู้ผลิตเขาเรียกมันว่า “ฐานทำความสะอาด (Clean Base™)“) สาเหตุเพราะไฮไลท์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้คือ ความสามารถในการกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัติ ซึ่งก็อยู่ที่อุปกรณ์ชิ้นนี้นั่นเอง
โดยแท่นชาร์จตัวนี้มาในสีดำล้วน มันมีขนาดมิติ กว้าง (W) 310 x ลึก (D) 384 x สูง (H) 482 มิลลิเมตร (ความสูงของแท่นชาร์จ 48.2 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 3.9 กิโลกรัม เรียกได้ว่าตัวแท่นชาร์จ มีน้ำหนักมากกว่าตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเสียอีก (ดูรายละเอียดส่วนประกอบของแท่นชาร์จเพิ่มเติม)
3. Line Cord (สายไฟ x 1 เส้น)
ชุดสายไฟ (Line Cord) มีความยาวประมาณ 1.8 เมตร เป็นสายไฟเอาไว้ต่อระหว่าง แท่นชาร์จ กับปลั๊กไฟบ้าน ซึ่งเป็นสายไฟคุณภาพดี มีความหนา และเหนียว ทนความร้อนได้ดี โดยหัวปลั๊กเป็นแบบขากลม
โดยสายไฟนี้ทาง iRobot เขาแยกมาให้ต่างหาก ซึ่งมันไม่ได้ไปยึดติดรวมไปกับแท่นชาร์จ (บางยี่ห้อจะยึดไปกับแท่นชาร์จเลย) ถือว่าจะช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย ในการขนย้าย เปลี่ยนอะไหล่ หรือแม้แต่การบำรุงรักษา นั่นเอง
4. Dirt Disposal Bag (ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง x 2 ถุง)
ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ที่เรามักจะได้เห็นกันบ่อยๆ เป็นปกติในเครื่องดูดฝุ่นทั่วๆ ไป แต่สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแล้ว ก็ถือเป็นของแปลกอยู่เหมือนกัน โดยทาง iRobot เขาบอกว่า มันสามารถใช้เก็บฝุ่นได้จากการทำงานมากถึง 30 ครั้ง โดยภายในกล่องนี้เขาให้มา 2 ถุงด้วยกัน (ถุงนึงอยู่ภายในแท่นชาร์จแล้ว และอีกถุงนึงอยู่ในกล่องใส่อุปกรณ์เสริม)
ตัวถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งนั้น สามารถยืดขยายออกได้ โดยที่ปากถุงจะแผ่นพลาสติกทำหน้าที่เป็นที่เลื่อนเปิดปิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เก็บอยู่ภายใน คลุ้งกระจายออกมาสร้างความสกปรกให้กับภายนอกอีก และยังทำหน้าที่เป็นที่ล็อคกับตัวแท่นชาร์จได้อีกด้วย นั่นหมายความว่า เราจะต้องใช้ถุงเก็บฝุ่นฯ ของทาง แบรนด์ iRobot จำหน่ายเท่านั้น ไม่สามารถใช้อย่างอื่นทดแทนได้
5. Dual Mode Virtual Wall® Barrier and AA Battery (กล่องสร้างกำแพงจำลอง x 1 กล่อง และ ถ่านแบตเตอรี่แบบ AA x 2 ก้อน)
กล่องสร้างกำแพงจำลองทรงกระบอกสี่เหลี่ยม ที่ทาง iRobot เขาเรียกชื่อเฉพาะว่า มีหน้าที่เอาไว้กั้นหน้าพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้ตัวเครื่องวิ่งเข้าไปทำความสะอาด ซึ่งสามารถกั้นได้ 2 รูปแบบ (มีสวิตซ์ที่ปรับเลือกได้) ดังต่อไปนี้
- Virtual Wall Mode : กั้นแบบเป็นเส้นตรงในรัศมี 3 เมตร (10 ฟุต) เพื่อไม่ให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นวิ่งผ่านเข้าไปในห้อง หรือในพื้นที่ที่ต้องการ
- Halo Mode Mode : กั้นในลักษณะวงกลม โดยมีรัศมีครอบคลุมอยู่ประมาณ 60 เซนติเมตร เหมาะสำหรับวางเอาไว้ในพื้นที่วางอาหารสัตว์เลี้ยง หรือของเล่นเด็ก
6. High-Efficiency Filter (แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง x 2 แผ่น)
แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง หรือ แผ่นกรองอากาศ HEPA มาในลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีขนาดมิติอยู่ที่ (กว้าง) 5.0 x (ยาว) 6.1 เซนติเมตร รวมพื้นที่ประมาณ 30.5 ตารางเซนติเมตร (cm2)
และสำหรับหน้าที่หลักๆ ของแผ่นกรองอากาศ ตัวนี้ก็คือช่วยกรองฝุ่นละเอียด ที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับลม โดยมอเตอร์พัดลมดูดฝุ่นพลังสูง ไม่ให้กลับออกไปสู่ภายนอกอีกครั้ง อากาศที่จะออกไปสู่ภายนอกนั้น จะต้องบริสุทธิ์ที่สุด ที่สุดนั่นเอง
7. Edge-Sweeping Brush or Side Brush (แปรงกวาดข้าง x 2 ชุด – ชุดละ 1 แปรง = 2 แปรง)
แปรงกวาดข้าง (Side Brush) ที่ทาง iRobot เขาใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Edge-Sweeping Brush” ให้มาทั้งหมด 2 ชุด ชุดละ 1 แปรง นั่นหมายความว่าเขาได้ให้มาทั้งหมด 2 แปรงด้วยกัน เพราะสืบเนื่องจาก หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot ติดตั้งแปรงกวาดข้างแค่ฝั่งเดียว นั่นคือ “ฝั่งขวา” เท่านั้นด้วยเหตุผลที่ว่า เครื่องถูกโปรแกรมมาให้วิ่งทำงานชิดขอบกำแพงฝั่งขวาฝั่งเดียวเท่านั้น
โดยแปรงกวาดข้าง เป็นแปรงแบบ 3 แฉก โดยขนแปรงมีความยาวแฉกละประมาณ 3.3 เซนติเมตร แต่ว่าถ้ารวมก้านและขนแปรงจะอยู่ที่ 6.0 เซนติเมตร (วัดด้วยไม้บรรทัด)
8. User Manual and Other Documents (คู่มือการใช้งาน และ เอกสารประกอบเครื่องอื่นๆ x 1 ชุด)
ชุดเอกสารประกอบการใช้งานของตัวเครื่อง โดยในเอกสารแต่ละชุดจะมีภาษาทั้งหมด 6 ภาษา (เหมือนกับเนื้อหาบนตัว กล่องผลิตภัณฑ์) อธิบายอย่างละเอียดยิบ โดยเอกสารมีอยู่ทั้งหมด 4 ชุดหลักๆ ด้วยกันคือ
- Robot Vacuum Owner’s Guide (หนังสือคู่มือการใช้งานตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
- Clean Base™ Automatic Dirt Disposal (หนังสือคู่มือการใช้งานของแท่นชาร์จ หรือแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)
- Limited Warranty Guide (เงื่อนไขการรับประกันสินค้า)
- Quick Start Guide (คู่มือเริ่มต้นการใช้งาน)
ข้อมูลจำเพาะ ข้อมูลทางเทคนิค ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus
รายละเอียด (Specification) |
|
ขนาดมิติ (Dimension) |
339 x 339 x 92 มม. |
น้ำหนัก (Weight) |
3.4 กิโลกรัม |
ไฟเข้า (Input) |
AC 220-240V 50/60 Hz |
ไฟออก (Output) |
DC 20V 1.25A (กินไฟสูงสุด 1,200W*)
|
ประเภทของแบตเตอรี่ (Battery Type) |
Li-Ion |
ปริมาณความจุแบตเตอรี่ (Battery Capacity) |
1,800 mAh |
ระดับเสียง (Noise Level) |
(ข้อมูลจากการวัดด้วย แอปพลิเคชัน Sound Meter บนระบบ iOS) |
ขนาดกล่องใส่ขยะ (ลิตร) Dustbin Capacity (Litre) |
0.6 ลิตร (600 mL) |
หมายเหตุ* : การกินไฟสูงสุด 1,200 วัตต์ ตามที่สเปคเครื่องระบุเอาไว้นั้น จะเกิดขึ้นในเวลาที่ แท่นชาร์จดูดเอาฝุ่นที่อยู่ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เข้าไปเก็บใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 12-15 วินาทีเท่านั้น (จับเวลาเอง)
คุณสมบัติ และ ความสามารถ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวเครื่องนี้ จริงๆ แล้วมีมากมายเหลือเกิน แต่คัดมาให้ดูกันเฉพาะ 6 ความสามารถหลักๆ ที่โดดเด่นเท่านั้น
1. Automatic Dirt Disposal (การกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัติ)
ความสามารถการกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ชยะฝุ่นละอองได้เองอัตโนมัติ ที่ถือเป็นไฮไลท์ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ตัวนี้เลยก็ว่าได้ โดย “ความสามารถนี้จะมีเฉพาะในรุ่น Plus เท่านั้น” โดยกุญแจสำคัญของมัน ไม่ได้อยู่ที่ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น แต่ว่าอยู่ที่ตัวแท่นชาร์จ หรือแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ ที่ทางผู้ผลิตเขาเรียกว่า “Clean Base™” ตัวนี้นั่นเอง
ซึ่งวิธีการสังเกตง่ายๆ เลยก็คือที่ตัวแท่นชาร์จของมันจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ (ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอมา) เพราะที่ด้านบนของมัน จะต้องใช้เป็นพื้นที่สำหรับเก็บถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งด้วย (รายละเอียดส่วนประกอบของแท่นชาร์จ หรือแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)
สำหรับหลักการการทำงานของมันก็คือ เมื่อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เสร็จสิ้นภารกิจการดูดฝุ่น และวิ่งกลับแท่นชาร์จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แท่นชาร์จจะมีระบบที่ดูดเอาเศษฝุ่นละอองที่อยู่ภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ไปเก็บไว้ภายใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง เองโดยอัตโนมัติ
2. iAdapt® 3.0 Navigation System with Visual Localization (ระบบการนำทาง iAdapt® พร้อมกล้องสร้างแผนที่จำลอง)
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ตัวนี้ ใช้ระบบการนำทางที่มีชื่อเฉพาะว่า iAdapt® 3.0 เป็นเทคโนโลยี การระบุแหน่งพร้อมกับการสร้างแผนที่จำลอง VSLAM (Virtual Simultaneous Localization and Mapping) ที่ใช้กล้องสร้างแผนที่จำลอง (Mapping Camera) ที่ถูกฝังอยู่ในแนวเฉียงใต้กระจกใสที่ด้านบนของตัวเครื่อง เป็นตัวเก็บภาพ ก่อนที่จะส่งข้อมูลไปให้โปรเซสเซอร์ เพื่อไปใช้ในการประมวลผล ในการวางแผนการวิ่งทำความสะอาดเป็นลำดับต่อไป (รายละเอียดส่วนประกอบด้านบน)
3. AeroForce™ Performance Cleaning System (ระบบทำความสะอาดทรงประสิทธิภาพ AeroForce™)
ระบบทำความสะอาดทรงประสิทธิภาพ เครื่องหมายการค้า (Trademark) เฉพาะ ของทาง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot เท่านั้น มันถูกใช้มาอย่างนมนาน ตั้งแต่ยุคแรกๆ ของทาง iRobot เลยทีเดียว โดยมันประกอบไปด้วยระบบทำความสะอาดทั้งหมด 3 ขั้นตอน (3-Stage Cleaning System) ด้วยกันอันได้แก่
- Side Brush (แปรงกวาดข้าง) : อุปกรณ์ที่ช่วยกวาดฝุ่นตามขอบมุมต่างๆ ของห้องให้เข้ามาอยู่ข้างใต้ตัวเครื่อง
- Dual Multi-Surface Rubber Brushes (แปรงกวาดหลักยางแบบคู่) : ตีฝุ่นที่อยู่บนพื้นให้เข้าไปในเครื่อง
- Vacuum Fan (พัดลมดูดฝุ่น) : เสริมพลังดูดฝุ่นขนาดเล็กมากๆ ด้วยลม จากมอเตอร์พัดลมดูดฝุ่นคุณภาพสูง ให้พลังดูดสูงสุดประมาณ 1,800 (Pa) หรือประมาณ 0.018 บาร์ (Bar)
ทั้งหมดนี้จ่ายพลังงานโดยแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน ขนาดความจุ 1,800 มิลลิแอมป์ (mAh)
4. Dual Multi-Surface Rubber Brushes (แปรงกวาดหลักยางแบบคู่ สำหรับพื้นผิวที่หลากหลาย)
แปรงกวาดหลักยางแบบคู่สำหรับพื้นผิวที่หลากหลาย ถือเป็น “แปรงกวาดหลัก (Main Brush)” ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot เท่านั้น โดยระบบนี้จะใช้แปรง 2 แปรงช่วยตีฝุ่นเข้าไปเก็บภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง เพื่อให้การดูดฝุ่นบนพื้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง (รายละเอียดส่วนประกอบด้านล่าง)
ข้อดีของมันคือ มันจะเข้ามาช่วยให้การดูดฝุ่นจำพวกเส้นผม หรือขนสัตว์ที่ยาวๆ ได้อย่างหมดจด ปราศจากการพันกันกับที่ตัวแปรงฯ แถมยังช่วยดูดฝุ่นได้ในหลากหลายพื้นผิวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น พื้นพรม พื้นกระเบื้อง พื้นไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้น
ลักษณะของแปรงกวาดหลักยางแบบคู่ตัวนี้จะเป็น แปรงยางที่มีลายดอกของยางคนละลายกัน ติดตั้งง่าย เพราะขั้วของแปรงฯ คนละรูปทรงกัน ไม่ต้องกังวลว่าจะใส่ผิดตำแหน่งอย่างแน่นอน โดยประโยชน์ และคุณลักษณะของแปรงจะมีอยู่ดังต่อไปนี้
- Dark Green Rubber Brush (แปรงยางสีเขียวเข้ม) : ตีฝุ่นที่เกาะอยู่บนพรม หรือพื้นผิวให้หลุดออกมาก่อน
- Light Green Rubber Brush (แปรงยางสีเขียวอ่อน) : ช่วยดูดฝุ่น หรือตีฝุ่นเข้าไปเก็บภายในตัวเครื่อง
โดยลักษณะการหมุนของแปรงฯ นั้นจะเป็นแบบหมุนไปในทิศทางที่สวนทางกัน (หมุนเข้าหากัน) เพื่อช่วยกันตีฝุ่นให้เข้าไปเก็บภายในตัวเครื่องได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีการกระจัดกระจายออกไปในทิศทางอื่น
5. Imprint™ Smart Mapping Navigation System (ระบบเรียนรู้ และแบ่งพื้นที่ห้องเอง Imprint™)
ระบบ Imprint™ เป็นระบบที่จะทำให้เครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba i7 Plus ของคุณได้เรียนรู้พื้นที่ ในการทำความสะอาด พร้อมคำนวณ และกำหนดเส้นทางที่ดีที่สุดในการทำความสะอาด (Determine the Best Way to Clean) แต่ละครั้ง เทคโนโลยีนี้เป็นผลพวงมาจาก เทคโนโลยีของระบบนำทาง iAdapt® 3.0 นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้การทำความสะอาดแต่ละครั้งนั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่นการทำความสะอาดในครั้งแรก และครั้งที่สองในพื้นที่เดียวกัน อาจจะใช้เวลาในการทำความสะอาดไม่เท่ากันก็ได้ โดยครั้งที่สองอาจจะสั้นกว่า เพราะว่าได้มีการเรียนรู้จากครั้งแรกไปแล้วนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วมันจะนำแผนที่ตัวนี้มาจัดแบ่งพื้นที่แยกเป็นห้องๆ เองโดยอัตโนมัติ และแสดงในส่วนของแผนที่อัจฉริยะ (Smart Map) ที่สามารถเห็นได้จากแอปพลิเคชัน iRobot HOME บนสมาร์ทโฟนของเราได้เลย
และยิ่งไปกว่านั้นเราก็ยัง สามารถสั่งงานด้วยเสียงผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฮม อย่าง Amazon Alexa หรือแม้แต่ Google Assistant ได้อีกด้วยเช่นพูดว่า “ Roomba, Clean my Kitchen” เพื่อสั่งให้เครื่องทำความสะอาดเฉพาะห้องครัวอย่างเดียว เป็นต้น
น่าเสียดายที่ประเทศไทยเรายังตามหลังรุ่นใหม่ S9 ที่เพิ่งเปิดตัวไปใหม่ๆ
https://youtu.be/pUxLtTi9P7k
ตอนนี้ 980 จำนวน 1 ตัว และรุ่นซีรีย์ 600 จำนวน 3 ตัว เดิมสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างยอดเยี่ยม
จู่ๆ ก็ไม่เชื่อมต่อไม่ได้
ติดต่อประสานงานกับฝ่ายบริการ และแอทมินเพจ ไอโรบอท ประเทเทศไทย ถือว่าดีเยี่ยม
พยายายามหาทางแก้ปัญหาทุกทาง ถืงกับส่งช่างมาดูถึงบ้าน
แต่แก้ปัญหาไมได้ โดยรับทราบว่า ปัญหาอาจมาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผมใช้ทั้ง 3BB และ AIS ไฟเบอร์ คนละสถานที่
ถือว่าเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้สนใจ