Mister Robot Jupiter

Mister Robot Jupiter

กลับมาพบกับอีกครั้งกับรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น หลังจากที่แอบหนีไปรีวิวอุปกรณ์ บริการอื่น โน่นนี่นั่นมาสักพักใหญ่ๆ คราวนี้มาเป็น รีวิว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter กันดูบ้าง

โดยสาเหต ที่กลับมารีวิวอีกครั้งนี้เป็นเพราะ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้มีราคาถูกมาก มันมีราคาไม่ถึงหมื่นบาท แต่ความมสามารถของมันนี่สิ เรียกได้ว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีก (ผมไม่ได้โฆษณาเกินจริงแน่นอน) เพราะมันรวมความสามารถของสิ่งที่แม่บ้านจำเป็นต้องทำทุกวัน เกี่ยวกับพื้นห้องเอาไว้ทั้งหมดที่นี่นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น

  1. การกวาดพื้น (Sweep)
  2. การดูดฝุ่นเข้าไปเก็บในถังใส่ขยะฝุ่นละออง (Vacuum)
  3. การถูพื้นห้อง (Mop)

ความสามารถ อย่างหลังนี้สำคัญมากๆ เพราะตั้งแต่ผม รีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นมาหลายตัว ไม่ค่อยเจอหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่มีความสามารถในการดูดฝุ่น และ ถูพื้น ในตัวเลย เท่าที่เจอมาก็จะเป็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น LG (รุ่นใหญ่) และ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Autobot (รุ่นเล็ก ราคาถูก)

สินค้าตัวนี้ ยกเลิกจำหน่าย จากทางผู้นำเข้าแล้ว !
(คุณสามารถดูสินค้าตัวอื่นๆ เพิ่มเติม จากแบรนด์ Mister Robot ได้ที่นี่)

แต่ในรุ่นระดับกลาง ราคาเกือบๆ เหมือน ยังไม่เคยเห็น ที่เห็นก็จะเป็นตัว Mister Robot Jupiter ตัวนี้นะแหละที่สามารถทำได้ แค่นั้นยังไม่พอ มันยังมีความสามารถที่เด่นๆ อีกมากมาย เทียบเท่ากับพวกราคา 2 หมื่นกว่าๆ ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง (HEPA Filter) รีโมทคอนโทรลควบคุมระยะไกล (Remote Control) ตั้งแต่เวลาทำความสะอาด (Cleaning Schedule) อุปกรณ์สร้างกำแพงเสมือน (Virtual Wall) เพื่อไม่ให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น วิ่งเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่ไม่ต้องการอีกด้วย

และที่สำคัญเครื่องนี้ มันมี ระบบกำจัดแบคทีเรียกที่พื้นผิวห้อง (UV Sterilization) ได้อีกด้วย ความสามารถด้านหลังนี้ บอกเลยว่าไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน ตั้งแต่รีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นมานับสิบตัว โดยด้านล่างนี้เป็นเมนูลัด ที่เอาไว้ให้สามารถเข้าถึงเนื้อหา ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

  1. รู้จักกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot
  2. แกะกล่องผลิตภัณฑ์
  3. ความสามารถ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter
  4. สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น
  5. เปิดใช้งานเครื่องจริง
  6. 10 คำถามที่คุณต้องอยากรู้
  7. บทสรุปการใช้งานเครื่อง
  8. คลิปวีดีโอรีวิว Mister Robot Jupiter

ก่อนที่จะเข้าไปดูความสามารถเต็มๆ ของมัน ลองดูวีดีโอคลิปแนะนำสินค้า หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้กันก่อนดีกว่า ว่าความสามารถโดยรวมคร่าวๆ ของมันมีอะไร จุดไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

รู้จักกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ Mister Robot

คุณสามารถทำความรู้จักกับ ประวัติที่มาที่ไปของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot ให้มากกว่านี้ พร้อมรายละเอียดติดต่อ สถานที่สั่งซื้อ ฯลฯ ได้ที่ลิงค์เชื่อมต่อไปยังหน้ารายละเอียดด้านล่างนี้เลย

⇒ ทำความรู้จักกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot

แกะกล่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

ตามธรรมเนียมของการรีวิวสิ่งของจากทางเว็บ Thanop.com นี้ ผมจะถ่ายรูปกล่องผลิตภัณฑ์สินค้าอย่างละเอียดตั้งแต่ก่อนแกะกล่อง ไปจนถึงแกะกล่องออกมาแล้ว แสดงอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องทั้งหมด ละเอียดยิบแบบ ทุกซอกทุกมุมกันเลยทีเดียว และสำหรับรีวิวชุดนี้ก็ไม่พลาดเช่นกัน

ด้านนอกกล่อง

ด้านนอกกล่องผลิตภัณฑ์ นี้มาพร้อมกับกล่องโทนสีขาว-ดำ และก็มีสีเหลืองแซมอยู่นิดๆ ในโลโก้ การออกแบบดีไซน์เรียบง่าย ไม่รกรุงรัง และ เกะกะลูกตา นอกจากนี้ยังมีบอกความสามารถเด่นของมันอยู่ทางด้านขวาของกล่อง ส่วนด้านซ้ายจะเป็นข้อมูลจำเพาะสเปคของเครื่องพอสังเขปทั่วๆ ไป ส่วนด้านหลังกล่อง ก็จะคล้ายๆ กับด้านหน้า

ขอเริ่มกันที่กล่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น กันก่อนเลยดีกว่า

Mister Robot Jupiter Box Front
ด้านหน้ากล่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ดีไซน์เรียบง่าย ตัวเครื่องเด่นชัด เน้นสีทูโทน ขาว-ดำ เป็นหลัก

ด้านหน้ากล่องผลิตภัณฑ์ มีลักษณะการออกแบบดีไซน์ที่ เรียบง่าย ตัวเครื่องเด่นชัด เน้นสีทูโทน ขาว-ดำ เป็นหลัก นอกจากนี้แล้วยัง มีเขียนฟังก์ชั่นความสามารถของตัวเครื่องที่มุมขวาบนของกล่องว่า 3-in-1 Cleaning Functions หรือตัวเครื่องนี้มีความสามารถในการทำความสะอาดพื้น ได้แบบ ทรีอินวัน ไม่ว่าจะเป็นการกวาด (Sweep) การดูดฝุ่น (Vacuum) และ การถูพื้น (Mop) เป็นการปิดท้าย

ในส่วนของด้านล่างทางซ้ายของด้านหน้ากล่อง จะเป็นคิวอาร์โค้ด (QR Code) เมื่อลองเอา App สแกน QR Code ลองสแกนเข้าไปเล่นๆ ด้วยสมาร์ทโฟนก็จะพาเข้าไปยังเว็บไซต์ของผลิตภัณฑ์ที่ www.misterrobotcleaner.com นั่นเอง ส่วนมุมขวาล่างจะเป็นโลโก้ของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และชื่อรุ่นของมัน

Mister Robot Jupiter Box Rear
ด้านหลังกล่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

ด้านหลังกล่อง การออกแบบจะคล้ายกัน ต่างกันที่ตำแหน่งของรูปหุ่นยนต์ดูดฝุ่น และ คำพูดตรงมุมขวาล่าง ที่เขียนว่า “With the Remote Control, Charging Dock and Virtual Wall” ตรงนี้หมายความว่าเจ้า หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ มีอุปกรณ์ 3 สิ่งนี้เสริมมาให้ ได้แก่

  1. Remote Control (รีโมทคอนโทรล)
  2. Charging Dock (แท่นชาร์จ)
  3. Virtual Wall (กำแพงจำลอง หรือ กำแพงเสมือน)

ความคิดเห็นส่วนตัว

“ความสามารถ 3 อย่าง ที่เขียนอยู่ข้างกล่องนี้ สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแล้วจริงๆ มันดูธรรมดามากๆ แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาเอามากๆ สำหรับตัวนี้คือ ราคาขาย !! เพราะจากที่รีวิวมาหลายๆ ตัวหากดูราคาแล้ว เมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ที่มี 3 สิ่งนี้ส่วนมากราคาจะเกินสองหมื่นบาท (> 20,000 บาท) ทั้งสิ้น แต่ว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่น MISTER ROBOT JUPITER ตัวนี้ ราคาต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท (< 10,000 บาท) แต่ดันมีความสามารถทั้ง 3 นี้มาให้ด้วย ถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว”

ต่อจากนี้ไป มาดูข้อมูลเพิ่มเติมด้านซ้าย และ ขวา ของกล่องกันดูบ้าง ว่ามีข้อมูลอะไรน่าสนใจบ้าง ขอเริ่มจากด้านซ้ายก่อนเลย

ด้านซ้ายของกล่องมีบอกสเปคหรือข้อมูลจำเพาะ (Specification) พอสังเขปดังต่อไปนี้ เดี๋ยวผมจะมาอธิบายให้ว่าตัวไหนถือว่าเยอะ หรือน้อย

รายละเอียด
(Specification)
ขนาดมิติ
(Dimension)
360 x 360 x 92 มม.
น้ำหนัก
(Weight)
3.5 กิโลกรัม
ไฟเข้า
(Input)
AC 100-240V 50/60 Hz
ไฟออก
(Output)
DC 24V 1A
ประเภทของแบตเตอรี่
(Battery Type)
14.8V Li-Ion
ปริมาณความจุแบตเตอรี่
(Battery Capacity)
2,200 mAh
ระดับเสียง
(Noise Level)
48 dB. (เดซิเบล)
(วัดจากที่ระยะห่าง 1 เมตร)
ขนาดกล่องใส่ขยะ (ลิตร)
Dustbin Capacity (Litre)
0.8 ลิตร (800 mL)

 

ความคิดเห็นส่วนตัว

จากข้อมูลจำเพาะที่ข้างกล่อง มีอยู่ 2 จุดค่อนข้างชอบและประทับใจคือ

  1. ระดับเสียง 48 dB. : แบบนี้ถือว่าระดับเสียง อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำและค่อยมากๆ แต่เขามีคอมเม้นท์เพิ่มนิดนึงว่า วัดจะระดับที่ห่างจากตัวเครื่อง 1 เมตร เอาไว้เดี๋ยวผมทดสอบเอง จะใช้แอพพลิเคชั่น ไปวัดเสียงดูใกล้ๆ ว่าเท่าไหร่กันแน่ เพราะตั้งแต่รีวิวมา ระดับเสียงจะอยู่ประมาณ 60 dB. ถึง 75 dB.
  2. ขนาดกล่องใส่ขยะ 0.8 ลิตร : หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ถือว่ามีขนาดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin) ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่รีวิวมา โดยมีขนาดอยู่ที่ 0.8 ลิตร หรือ 800 มิลลิลิตร (mL) นั่นเองเพราะตัวที่ผมเคยรีวิว แล้วมีขนาดกล่องใส่ขยะ ใหญ่ที่สุดจะมีอยู่ 2 รุ่นคือ Neato Botvac และ Samsung Powerbot VR9000 โดยมีขนาดความจุ 0.7 ลิตร เท่ากันทั้ง 2 รุ่น”

ด้านในกล่อง

เมื่อแกะฝากล่องที่อยู่ด้านบนแล้ว ก็จะพบว่า กล่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ต้องเป็นการดึงโฟมที่อยู่ด้านในออกมา เมื่อดึงออกมาแล้วก็จะพบกับ โบรชัวร์แนะนำสินค้า มาพร้อมกับ คู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย อย่างละเอียด (น่าจะมีภาษาอังกฤษประกอบด้วย) ทั้งหมดถูกอยู่ในห่อพลาสติกอย่างดี

Mister Robot Jupiter Component
ส่วนประกอบสำคัญ หลักๆ ที่ให้มาในกล่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

หลังจากนั้นเมื่อดึงตัว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ออกมาแล้วนั้นพบว่า ตัวเครื่องของมันขนาดไม่เล็กเลยทีเดียว เทียบเท่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอย่าง LG HOM-BOT VR5906LM (360 x 360 x 90 มม.) ที่ผมใช้อยู่ตัวแรกเลย เพราะขนาดของมัน อยู่ที่ 360 x 360 x 92 มิลลิเมตร เรียกได้ว่าเท่ากันเป๊ะๆ ต่างกันที่ความสูง ที่สูงกว่านิดนึงประมาณ 2 มิลลิเมตร เท่านั้น ถือว่าน้อยมากๆ

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมก็ขอแสดงอุปกรณ์ภายในกล่องที่ให้มา ว่ามีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง โดยขอไล่จากตัวเลข ที่คุณเห็นในรูปภาพด้านบนกันเลยนะ

  1. Mister Robot Jupiter (1 เครื่อง) : ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทรงกลม ขนาดตัวเครื่องมีมิติอยู่ที่ 360 x 360 x 92 มิลลิเมตร ซึ่งก็ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐานทั่วๆ ไป ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป
  2. Charge Base (1 ชุด) : อุปกรณ์นี้เรียกว่า “แท่นชาร์จ” บางคนอาจจะเรียกว่า “ฐานชาร์จ” เป็นชุดอุปกรณ์ถ่ายทอดพลังงานไฟบ้าน เข้าสู่เครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น จากขั้วโลหะด้านล่างของเครื่องที่เป็นที่ชาร์จไฟเข้าสู่ตัวเครื่อง โดยปกติเวลาไม่ได้ทำงาน มันจะจอดอยู่ที่นี่ตลอดเวลา เปรียบเสมือนเป็นบ้านของมัน โดยหากคุณสั่งงานให้มันออกไปทำงาน หรือ เมื่อถึงเวลาที่คุณตั้งเวลา (Schedule) เอาไว้มันก็จะวิ่งออกจากแท่นชาร์จ ตัวนี้เพื่อไปทำความสะอาดห้องโดยอัตโนมัติ และ วิ่งกลับเข้ามาเองโดยอัตโนมัติ หากทำความสะอาดเสร็จแล้ว หรือ แบตเตอรี่ใกล้หมด นั่นเอง
  3. Remote Control (1 อัน) : รีโมทคอนโทรล เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่สามารถใช้สั่งควบคุม บังคับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นระยะไกล ในระยะสายตา คุณสามารถสั่งงานมันได้ครบทุกฟังก์ชั่นจากรีโมทคอนโทรล อาทิ เปลี่ยนโหมดการดูดฝุ่น บังคับทิศทาง เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือ สั่งเรียกให้มันวิ่งกลับแท่นชาร์จอัตโนมัติ ได้ง่ายๆ อีกด้วยเช่นกัน
  4. Virtual Wall (1 ชุด) : กำแพงจำลอง หรือ กำแพงเสมือน เป็น ชุดอุปกรณ์ ที่เอาไว้ให้คุณได้สามารถวางอุปกรณ์ชิ้นนี้ที่ปากประตู หรือ ขวางบริเวณที่คุณไม่ต้องการให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นวิ่งเข้าไปทำความสะอาดภายในบริเวณนั้น ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเป็นห้องที่มีเด็กเล็ก เด็กทารก สัตว์เลี้ยง อาศัยอยู่ในห้องนั้น ถ้าไม่ต้องการให้มันเข้าไปทำความสะอาด ก็สามารถวางตัว กำแพงจำลอง ตัวนี้เอาไว้ข้างหน้าปากประตูได้เลยทันที แต่ถ้าหากคุณอนุญาตให้มันเข้าไปทำความสะอาดทุกๆ ห้องก็ไม่จำเป็นต้องวางตัวกำแพงจำลอง นี้ไว้ตรงไหนเลยก็ได้ (เก็บอยู่ในกล่องเหมือนเดิม)
  5. Adapter (1 ชุด) : อะแดปเตอร์ หรือ ตัวแปลงไฟฟ้า จากไฟบ้าน ที่สามารถใช้ได้ทุกประเทศ (ได้ทั้ง 110V และ 220V) มาเป็นไฟที่ใช้ภายในเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (DC 24V 1A) ถ้าหากสังเกตดูจากตัวเลข ปริมาณไฟที่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้บริโภคแล้ว ถือว่าน้อยมากๆ ดังนั้นหากใช้งานแล้วไม่ต้องกลัวค่าไฟขึ้นเลย แถบจะมีผลกับค่าไฟน้อยเอามากๆ

    Mister Robot Jupiter Adapter Set
    ชุดอะแดปเตอร์แปลงไฟ ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ที่มีมาให้
  6. Spare Side Brush (ชุดสำรอง 2 ชิ้น) : แปรงกวาดด้านข้างชุดสำรอง เผื่อมาให้ใช้อีก 2 ชิ้น (1 ชุด) ซึ่งจริงๆ แล้วมีติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องแล้วชุดนึง แต่นี่ก็ยังได้ให้สำรองมาให้อีก 1 ชุด (แปรงข้างด้านซ้าย และ ขวา)

    Mister Robot Side Brush Spare
    แปรงข้างสำรอง ติดมาในกล่อง Mister Robot Jupiter เอามาให้อีก 1 ชุด (2 แปรง ซ้าย-ขวา)
  7. Mop (2 ชิ้น) : ผ้าม็อบถูพื้น (ไม่ใช่กระดาษเปียก ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งนะ) ภายในกล่อง เขาให้มาสำรอง 2 ชิ้น เผื่ออันนึงไปซัก แล้วรอตากแห้ง จะได้มีอีกอันใช้สลับกันไปได้ในวันต่อๆ ไปหรือครั้งต่อๆ ไปได้ อันที่จริงแล้ว อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถเลือกที่จะติดตั้ง หรือ ไม่ติดตั้ง ขณะเครื่องกำลังทำงานได้ เอาที่สบายใจเลย
  8. User Manual (1 เล่ม) : คู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย อธิบายการใช้งาน และ อุปกรณ์แต่ละอย่างได้อย่างละเอียดมากๆ พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน

    Mister Robot Jupiter User Manual
    คู่มือการใช้งาน (User Manual) ภาษาไทย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

ความสามารถหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

ก่อนที่จะไปดูส่วนประกอบของ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ว่ามีอะไรบ้างนั้น ผมขอพามาอธิบาย คุณสมบัติและความสามารถของมันกันก่อน ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง โดย 7 ข้อแรก ขออธิบายในส่วนของความสามารถหลัก ที่เขียนเอาไว้ข้างกล่องก่อน และ หลังจากนั้นเป็นความสามารถเสริม ที่ผมไปหามาให้เพิ่มเติมอีก

  1. HEPA Filter (แผ่นกรองอากาศ HEPA คุณภาพสูง) : คำว่า HEPA ย่อมาจากคำว่า “High Efficiency Particulate Air” มันคือแผ่นกรองอากาศสกปรก จากอากาศที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่นละออง เศษผม เศษผง เศษขยะ จากพื้นห้องของคุณ แต่ตัวฝุ่นละออง นั้นจะถูกดักเก็บเอาไว้ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin) แต่อากาศต้องถูกระบายออก ซึ่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ก็ได้นำเอาแผ่นกรองอากาศ HEPA คุณภาพสูงนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน สบายใจได้เลยว่าอากาศที่ถูกปล่อยออกมานั้นสะอาดแน่นอน
  2. 2,200 mAh Li-Ion Battery (สามารถทำงานได้นานถึง 2 ชั่วโมง) : แบตเตอรี่ แหล่งพลังงานสำคัญภายในเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น มาพร้อมกับ ความจุแบตเตอรี่ขนาด 2,200 mAh ถือว่าอยู่ในระดับที่ ความจุไม่มากเท่าไหร่ เพราะถ้าหากเป็นรุ่นสูงๆ ระดับความจุของแบตเตอรี่จะสูงเกิน 3,000 mAh ขึ้นไปทั้งนั้น แต่พอเพียงสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องสูงสุด 2 ชั่วโมงอย่างแน่นอน
  3. Auto-Charging (กลับเข้าสู่ฐานชาร์จอัตโนมัติได้ ด้วยตัวเอง) : หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot ตัวนี้มีแท่นชาร์จ (ฐานชาร์จ) ให้ตัวเครื่องสามารถวิ่งกลับไปชาร์จเองได้อัตโนมัติเมื่อทำการดูดฝุ่นจากทั่วพื้นที่ ทั้งบริเวณห้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องไปเดินหาว่ามันไปจอดตาย แบตเตอรี่หมด อยู่ส่วนใดในห้อง
  4. UV Sterilization (ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่พื้นผิว) : ภายในมี ระบบ UV Sterilization ถือว่าเป็นระบบที่แปลกใหม่มากๆ โดยมันจะใช้หลอดไฟ UV ที่ถูกติดตั้งอยู่ที่ใต้เครื่อง ปล่อยแสง อินฟราเรด UV ซึ่งมีคุณสมบัติการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมอยู่บนพื้นห้อง ซึ่งนับตั้งแต่ ผมได้มีโอกาส รีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นมาหลายตัว ยังไม่เคยเจอรุ่นใด ที่มีระบบนี้ เรียกได้ว่านอกจากพื้นจะสะอาดทั้งฝุ่นแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรคได้อีกด้วย
  5. Time Scheduling (สามารถตั้งเวลาทำงานล่วงหน้าได้) : มีความสามารถในการตั้งเวลาทำความสะอาดล่วงหน้าได้ โดยที่เราไม่ต้องเดินไปกดเปิด หรือ สั่งมันทำงานทุกวัน เพียงแค่ตั้งเวลาที่เหมาะสมเอาไว้ เช่นทุกๆ 18.00 น. (หกโมงเย็น) ของทุกวัน ให้มันออกมาทำความสะอาดเองอัตโนมัติ ก่อนคุณกลับบ้าน เวลา 19.30 น. เมื่อคุณกลับบ้านมาก็จะได้พบกับบ้านที่สะอาดหมดจด พร้อมเอนตัวลงพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม ไม่ต้องเสียเวลามากวาดถูบ้านอีก
  6. Navigator Sensor System (ระบบเซนเซอร์ตรวจจับ สิ่งกีดขวาง และ การตกจากที่สูง) : ระบบนี้ ผมมองว่าเป็นพื้นฐานทั่วๆ ไปของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ควรจะต้องมีอยู่แล้ว โดยระบบนี้จะตรวจพื้นที่ข้างหน้า สิ่งกีดขวางที่อยู่ด้านหน้า ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ขาโต๊ะ ตู้เตียง ต่างๆ รวมไปถึงพื้นที่ต่างระดับที่สูงมากๆ อย่างเช่น บันได ไม่ให้มันเข้าไปชน หรือ วิ่งเข้าไปแล้วตกบันไดหล่นลงมา เกิดความเสียหายทั้งเฟอร์นิเจอร์บ้าน และ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเอง
  7. Auto Adjusting Mode (ปรับโหมดการทำงานอัตโนมัติ เพื่อทุกสภาพพื้นผิว) : มีระบบการปรับโหมดการทำงานอัตโนมัติบนพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวกระเบื้องธรรมดา หรือ พื้นผิวบนพรม เพื่อให้การดูดฝุ่น และ ทำความสะอาดนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  8. 8,000 Revolution / Min. (พลังดูดฝุ่น 8 พันรอบต่อนาที) : หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ สามารถดูดทำความสะอาด เส้นผม ขนสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงอนุภาคขนาดใหญ่ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีระบบเก็บเสียง (Silent Mode) ที่ลดปัญหาการส่งเสียงดัง ขณะกำลังทำความสะอาดได้
  9. 100 Square Meters Coverage (รองรับพื้นที่ห้องมากสูงสุดถึง 100 ตารางเมตร) : ด้วยความสามารถของแบตเตอรี่ และ ตัวเครื่องในการที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง (120 นาที) ส่งผลให้มันสามารถรองรับพื้นที่ห้องมากสูงสุดถึง 100 ตารางเมตร ดังนั้นสามารถดูดฝุ่นบนคอนโดมิเนียม บ้านพักที่อยู่อาศัย หรือ ในสำนักงานได้อย่างสบายๆ เลยทีเดียว
  10. 5 Cleaning Mode (โหมดทำความสะอาด 5 โหมดหลัก) : ภายใน Mister Robot Jupiter ตัวนี้มันถูกโปรแกรมเอาไว้ให้สามารถทำความสะอาดได้มากถึง 5 โหมดด้วยกัน ดังต่อไปนี้
    1. Auto Cleaning Mode (ทำความสะอาดอัตโนมัติ ทั่วห้อง)
    2. Edge Ceaning Mode (ทำความสะอาดเฉพาะขอบห้อง)
    3. Spot Cleaning Mode (ทำความสะอาดเฉพาะจุด)
    4. Zig Zag Cleaning Mode (ทำความสะอาดซิกแซก)
    5. Silent Cleaning Mode (ทำความสะอาดแบบเงียบๆ)
  11. Micro-Fiber Mopping (ผ้าม็อบถูพื้นติดท้ายเครื่อง) : หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีที่ติด ผ้าม็อบถูพื้น ติดมาให้ท้ายเครื่องด้วย เพื่อเป็นการถูและขจัดสิ่งสกปรกขนาดเล็กมากๆ ไปได้ในตัว ผ้าม็อบถูพื้นดังกล่าว สามารถถอดออกไปซักทำความสะอาดได้ตามปกติ นอกจากนี้ คุณสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นท้ายเครื่อง หรือไม่ ถ้าไม่ต้องการติดก็ดึงมันออกได้เช่นกัน
  12. Double-Side Brush (แปรงข้างคู่ 2 ฝั่ง) : หุ่นยนต์ดูดฝุ่นบางตัว ไม่มีแปรงข้าง (Side Brush) มาให้เลย แต่บางรุ่นบางยี่ห้อ ก็มีมาให้แค่ฝั่งเดียว แต่สำหรับตัวนี้มีมาให้ 2 ข้างเลย ซ้าย-ขวา แถมแปรงมีลักษณะยาวอีกต่างหาก คราวนี้มันจะซอกซอน ชอนไช ตามขอบมุมต่างๆ ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ แน่นอน
  13. Suspension Wheel (ล้อขับเคลื่อนขนาดใหญ่) : ด้วยความสามารถที่มีล้อขับเคลื่อนขนาดใหญ่ และ มีระยะให้ตัวขยับเขยื้อน ค่อนข้างมาก จึงทำให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้สามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้มากถึง 15 มิลลิเมตร (mm.) หรือประมาณ 1.5 เซ็นติเมตร (cm.) เลยทีเดียว
  14. Rotating Bristle Brush (แปรงกวาหลักคู่ คอมโบ) : ด้านใต้ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เมื่อเปิดฝาสีเหลืองๆ ออกมา จะพบกับ แปรงกวาดหลักคู่ 2 แปรง คือ แปรงกวาดหลัก และ แปรงปัดฝุ่นโดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ส่วนมาก จะมีแค่แปรงเดียว ส่วน Mister Robot Jupiter ตัวนี้มี 2 แปรง ซึ่งคนละทรงกันด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถดูดฝุ่น ตีฝุ่นเข้ามาเก็บไว้ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้กับทุกสภาพพื้นผิว ทั้งพรม พื้นกระเบื้อง พื้นไม้ พื้นปาร์เก้ และอื่นๆ

    Mister Robot Jupiter Brush Main and Bristle Inside
    แปรงกวาดหลัก และ แปรงปัดฝุ่น ขณะเข้าประจำการอยู่ในตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

สำรวจหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

หลังจากที่เราได้เห็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมาให้ในกล่องผลิตภัณฑ์ ในหัวข้อก่อนหน้านี้กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลองมาสำรวจดูที่ตัวไฮไลท์ ที่ถือว่าเป็นพระเอกสำคัญกันดีกว่า นั่นคือตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น นั่นเอง

ด้านบน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

Mister Robot Jupiter Top
ส่วนประกอบด้านบนของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

ขอเริ่มจากด้านบนหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้กันก่อนเลย เนื่องจากว่าตัวนี้เป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เป็นทรงกลม ส่วนประกอบอะไรๆ ด้านบนไม่ว่าจะเป็น การออกแบบลวดลาย ปุ่มกด ส่วนของการแสดงผลหน้าจอ ก็จะออกมาเป็นทรงกลมทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับรูปทรงหลักของมัน โดยด้านบนหลักๆ จะเป็นหน้าจอแสดงผล ตัวรับสัญญาณอินฟราเดร (IR Receiver) ปุ่มเปิดปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง มาดูตัวเลขที่ระบุกันไว้ด้านบนเลย

  1. IR Receiver (ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด) : เป็นตัวเซ็นเซอร์ ที่เอาไว้ใช้ในการรับสัญญาณอินฟราเรด
  2. Display Screen (หน้าจอแสดงผล) : ส่วนที่ใช้แสดงผล แสดงสถานะ การตั้งค่าต่างๆ ของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น อาทิ โหมดการทำความสะอาด สถานะแบตเตอรี่ เวลาเครื่อง ซึ่งเมื่อเครื่องปิด อาจจะเห็นเป็นวงกลมสีดำๆ แบบนี้ แต่เมื่อมันเปิดก็สามารถที่จะกดสั่งงานที่หน้าจอได้เช่นกัน แต่เป็นการกดลงที่ตำแหน่งของปุ่มคำสั่งนั้นๆ เลย ไม่สามารถลากไปลากมาหรูหราไฮโซเหมือนสมาร์ทโฟนไอโฟน หรือ แอนดรอยด์โฟน ได้
  3. Dustbin Button (ปุ่มเปิดถังใส่ขยะฝุ่นละออง) : ปุ่มสีเงินๆ ที่อยู่ใต้หน้าจอแสดงผล เอาไว้ใช้เปิดใส่ถังขยะฝุ่นละออง
  4. Rubber Bumper (กันชนยาง) : กันชนที่เอาไว้ดูดซับแรงกระแทก ระหว่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่น กับ เฟอร์นิเจอร์ หรือ ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน ไม่ให้เกิดความเสียหาย ซึ่งกันชนยางตัวนี้ มีระยะที่ให้ตัวได้อยู่มากพอสมควร และที่สำคัญยังมีขอบยางกันกระแทกติดที่กันชน

    Mister Robot Jupiter Rubber Bumper
    กันชนยางของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ลูกศรสีแดงคือระยะให้ตัวของกันชน และ วงกลมสีแดงคือขอบยาง เอาไว้ลดโอกาสเกิดความเสียหายขณะชนกับวัตถุอื่นๆ
  5. Power Swtich (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง) : ปุ่มเปิดปิดเครื่องอยู่ทางด้านข้างของเครื่อง
  6. DC Jack (ช่องเสียบไฟตรงกับอะแดปเตอร์) : นอกจากที่จะมีแท่นชาร์จะเอาไว้ให้วิ่งกลับแล้ว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ ยังให้คุณได้สามารถต่อไฟตรงจากอะแดปเตอร์ (Adapter) ที่แปลงไฟบ้าน (AC) มาเป็นไฟที่ใช้กันภายในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (DC) ให้โอกาสคุณ ในกรณีที่คุณลืมเอาแท่นชาร์จมา หรือ แท่นชาร์จเสีย ก็สามารถต่อไฟตรงได้เช่นกัน

    Mister Robot Jupiter Power Switch and Adapter Jack
    สวิตซ์หลักเปิดปิด หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter พร้อม ช่องเสียบอะแดปเตอร์ ต่อไฟบ้านตรงเข้าเครื่อง

ความคิดเห็นส่วนตัว

“ด้านบนของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ดูเรียบง่ายดี ไม่มีปุ่มอะไรมากมาย หลักๆ มีแค่ ปุ่มเปิดถังใส่ขยะฝุ่นละอองกลมๆ เท่านั้น

แอบเซอร์ไพรส์ ตรงที่ตรงหน้าจอแสดงผล มันสามารถที่จะกดปุ่มสั่งการได้โดยตรงจากบนหน้าจอเลย (เหมือนหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ปัจจุบัน) เวลาปิดเครื่อง เราก็จะไม่เห็นปุ่มกดต่างๆ เลย

นอกจากนี้ก็ประทับใจกันชนยาง (Rubber Bumper) ที่นอกจากจะเป็นกันชนพลาสติกมาให้แล้ว ยังมีขอบยางเสริมมาให้อีกชั้นนึงด้วย ถือว่านี่เป็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น รุ่นแรกที่เจอ ตั้งแต่รีวิว แต่ในอนาคต เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ตรงขอบยางนี้อาจจะลุ่ย เหนียว เสื่อมสภาพได้หรือเปล่า อันนี้ไม่ทราบจริงๆ ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์”

ด้านล่าง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

มาดูกันที่ส่วนประกอบด้านล่างของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้กันดูบ้างว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง แต่จากเท่าที่ดูผ่านๆ ระบบกลไกต่างๆ ฟังก์ชั่นต่างๆ นี่ทางผู้ผลิต จัดมาให้ครบครันเลยทีเดียว (แถมมากกว่าชาวบ้านยี่ห้ออื่นเขาเสียอีก) มาดูกันเลย

Mister Robot Jupiter Underside
มุมมองด้านใต้เครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter
  1. Caster Wheel (ล้อเลื่อน) : เป็นล้อเลื่อน ที่เอาไว้ใช้ในการ รับน้ำหนักของตัวเครื่องด้านหน้า ที่สามารถหมุนรอบตัว 360 องศา ได้อย่างอิสระ แต่ไม่สามารถส่งกำลังในการขับเคลื่อนได้
  2. Charge Pins (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : จุดที่เป็นโลหะสีเงินๆ 2 จุดนี้จะใช้เป็นจุดที่เวลาเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น วิ่งกลับมาที่แท่นชาร์จ มันก็จะนำเอา จุดสัมผัสแท่นชาร์จ ตัวนี้ไปสัมผัสกับ จุดสัมผัสหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่อยู่ที่แท่นชาร์จ นั่นเอง เพื่อเป็นการถ่ายทอดพลังงานไฟ จากไฟบ้าน ลงไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ขนาดความจุ 2,200 mAh ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องนั่นเอง
  3. UV Light Bulb (หลอดไฟ UV) : หลอดไฟปล่อยแสงยูวี เพื่อกำจัดเชื้อโรค ฆ่าเชื้อโรค ด้วยเทคโนโลยี UV Sterilization สามารถฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ ได้ ไปพร้อมๆ กัน ขณะทำความสะอาด สามารถเปิดปิดหลอดไฟ UV นี้ได้จากรีโมทคอนโทรล
  4. Battery (ช่องใส่แบตเตอรี่) : แหล่งพลังงานสำคัญของตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น มาพร้อมกับแบตเตอรี่ความจุ 2,200 mAh ถือว่าไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป แต่อย่างน้อยมันก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
  5. Side Brush (แปรงด้านข้าง) : อุปกรณ์มาตรฐานสำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เป็น ทรงกลม เหมือนเจ้า Mister Robot Jupiter ตัวนี้ซึ่งเครื่องนี้เขาให้แปรงข้างยาวๆ มา ถึง 2 ฝั่ง เป็นอีกสิ่งนึงที่จำเป็นมากๆ สาเหตที่จะต้องมีแปรงข้างก็เพราะมันจะไม่สามารถซอกซอน ชอนไช เข้าไปตามขอบมุมของห้อง หรือ เฟอร์นิเจอร์ ได้เหมือนกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เป็นทรงเหลี่ยม ที่จะเข้าซอกมุมได้ดีกว่า เนื่องจากรูปทรง รูปร่างของตัวมันเอง ดังนั้นมันจึงจำเป็นที่จะต้องมีแปรงข้าง เพื่อที่จะกวาดฝุ่น ปัดฝุ่นที่อยู่นอกรัศมีทำการของเครื่อง ให้เข้ามาด้านใน เพื่อให้แปรงกวาดหลัก (Main Brush) สามารถดูดเข้าไปเก็บใน กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ได้ง่ายๆ
  6. Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ส่วนนี้คือล้อขับเคลื่อนหลัก ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น มี 2 ล้อ (ซ้าย และ ขวา) มันเป็นอุปกรณ์ที่ถือได้ว่าขาดไม่ได้ ที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทุกตัวจะต้องมี เพราะมันจะเป็นตัวนำพาหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ให้วิ่งไปดูดฝุ่นตามพื้นที่ต่างๆ ในห้องของเรา รวมไปถึงการบังคับเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ก็เกิดจากล้อขับเคลื่อนหลักนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ล้อขับเคลื่อน 2 ล้อนี้จึงมีขนาดใหญ่ที่สุด พร้อมกับมีสปริง ในการให้ตัวของล้อ เพื่อที่จะให้มันสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับ หรือ สิ่งกีดขวาง ที่มีความสูงในระดับ 15 มิลลิเมตร (1.5 เซนติเมตร) ได้อย่างสบายๆ
  7. Mister Robot Jupiter Main Brush and Bristle Brush
    แปรงกวาดหลัก (A) และ แปรงปัดฝุ่น (B) ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

    Main Brush and Rotating Bristle Brush (แปรงกวาดหลัก และ แปรงปัดฝุ่น) : หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีแปรงกวาดหลักมาให้ถึง 2 แปรง (หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ส่วนมากให้มาแค่อันเดียว) ซึ่งแปรงทั้ง 2 นี้จะทำงานพร้อมกัน ตลอดเวลา ขณะที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter นี้กำลังทำงาน ได้แก่

    1. แปรงกวาดหลัก (A) ที่ลักษณะจะเป็นแปรงแบบเกลียวแบบลูกผสม ระหว่าง แปรงใบพัด กับ แปรงขน ผสมกันอยู่ในอันเดียวกัน เพื่อกวาดฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ อย่างเส้นผมขนาดยาวๆ ขน เศษยางลบ เศษขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
    2. แปรงปัดฝุ่น (B) จะมีลักษณะเหมือนแปรงล้างขวดน้ำ ที่จะทำหน้าที่ตีฝุ่น ปัดฝุ่นขนาดอนุภาคเล็กๆ ให้เข้าไปเก็บอยู่ในเครื่อง เหมือนเป็นตัวเก็บกวาด เก็บตก จาก แปรงกวาดหลัก ตัวแรก หากดูดได้ไม่หมด แปรงปัดฝุ่น ตัวนี้จะตามซ้ำ มาดูดอีกที
  8. Mop Pad (แผ่นรองถูพื้น) : แผ่นรองถูพื้น หรือ ผ้าม็อบถูพื้น เป็นอุปกรณ์เสริม ที่ให้มาในกล่อง ซึ่ง คุณสามารถที่จะเลือกได้ว่าต้องการจะติดตั้ง ผ้าม็อบถูพื้น นี่ไว้ที่ท้ายเครื่องด้วยหรือไม่ หากต้องการก็ติดตั้งเข้าไป กับที่ยึดที่ติดอยู่กับ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังสามารถถอดไปซักล้างได้ตามปกติ
  9. Floor Sensors (เซ็นเซอร์กันตกจากที่สูง) : เซ็นเซอร์ป้องกันเครื่องตกหล่นจากที่สูง กันตกบันได เป็นต้น ถือเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทุกตัวต้องมี ! ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นราคาถูก หลักไม่กี่พัน ไปถึงหลายๆ หมื่น ยังไงก็ต้องมี หากวิ่งตกบันไดพัง ละก็เสียหายแย่แน่ๆ ลูกค้าหายหมดกันพอดี โดย Mister Robot Jupiter ตัวนี้ จัดมาให้เบาๆ 3 เซ็นเซอร์ รอบๆ ตัว ได้แก่ ด้านซ้าย ด้านขวา และ ด้านหน้า
  10. Dustbin (กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่เอาไว้ใส่ขยะ เศษฝุ่น เศษผง เศษผม เศษขี้ยางลบ เศษขนมขบเคี้ยว ต่างๆ มันมีความจุถังอยู่ที่ 0.8 ลิตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุด ตั้งแต่ผมเคยรีวิวมา

ความคิดเห็นส่วนตัว

“สำหรับฟังก์ชั่น ในการทำความสะอาดพื้น ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ นั้น ก็ต้องดูกันที่ใต้เครื่องนี่แหละครับ เพราะว่ามันเป็นส่วนที่สัมผัสพื้นโดยตรง

โดยความสามารถของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น MISTER ROBOT JUPITER ตัวนี้ถือว่าให้มาเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น แปรงด้านข้าง (SIDE BRUSH) ที่ให้มาเต็มอิ่มถึง 2 ฝั่ง แถมแปรงกวาดหลัก ก็จัดเต็มมาให้อีกดูโอ้ 2 แปรง ทำงานพร้อมกัน เรียกได้ว่าขณะทำงานมันจะมีแปรงกวาดทำงานพร้อมๆ กันทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน ไม่สะอาด ก็ไม่รู้จะว่าไงแล้วครับ

อ้อ ! แถมท้ายเครื่องยังมีออปชั่นเสริมให้คุณเอาผ้าม็อบถูพื้น มาติดข้างใต้อีกด้วย สุดๆ ไปเลยละทีนี้ นอกจากนี้แล้วยังมีหลอดไฟ UV มาให้เปิดปิดกันอีกด้วย เอาไว้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บนพื้นห้อง ถ้าถามว่าได้ผลมั้ยสำหรับหลอดไฟนี้ ผมคงตอบไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือวัดจำนวนเชื้อโรค หรือ เชื้อแบคทีเรีย อะไรขนาดนั้น แต่ก็เอาเป็นว่า มีไว้ดีกว่าไม่มีละกัน”

กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

Mister Robot Jupiter All Components
กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง Mister Robot Jupiter กับ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

มาดูกันที่ส่วนประกอบอีกอย่างที่น่าสนใจของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ นั่นก็คือ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin) ตัวนี้กันบ้าง ถือเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ผมถือว่าค่อนข้างจะซับซ้อนมากเลยทีเดียว

โดยเริ่มจากจุดเด่นของมันคือ มันมีขนาดความจุของฝุ่นละออง มากถึง 0.8 ลิตร ซึ่งก็ถือว่าความจุมากกว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ที่ผมเคยรีวิวมาแล้ว (เคยเจอมากสุด 0.7 ลิตร) นอกจากนี้แล้ว มันยังมาพร้อมแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง ที่จะกรองอากาศก่อนปล่อยออกจากเครื่องสู่ภายนอก

Mister Robot Jupiter Dustbin Front
กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง Mister Robot Jupiter ด้านหน้า

จากรูปด้านบน ลูกศรสีเขียว คือ ช่องทางที่จะเอาไว้ใช้สำหรับให้ฝุ่นละออง เศษผม เศษผง (Dust) ต่างๆ ที่ดูดขึ้นมาจากพลังลม และ แปรงกวาด ต่างๆ ที่อยู่ในตัวมัน เพื่อเข้ามาเก็บในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองตรงนี้ ในส่วนของ ลูกศรสีแดง คือขั้วโลหะ ทั้ง 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) ที่เอาไว้จ่ายไฟ จากตัวเครื่อง ส่งตรงไปยังพัดลมดูดอากาศ (Vacuum Fan) เพราะอีกฝั่งก็จะเป็นแถบโลหะสัมผัสกันพอดี เมื่อติดเข้าไปกับตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น

ยิ่งไปกว่านั้นตัว กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ของมันเอง ยังสามารถที่จะติดอุปกรณ์ เป็น ออปชั่นทางเลือกเสริม ของผู้ใช้งาน เข้าไปได้อีก 2 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. Vacuum Fan (พัดลมดูดอากาศ) : เป็นพัดลมอันเล็กๆ ที่เอาไว้ช่วยเสริมแรงดูดฝุ่น ให้แรงและมีประสิทธิและสะอาดมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคือ พัดลมดูดอากาศ ตัวเล็กๆ นี้ มันสามารถที่จะถอดออกมาได้เองเลย โดยไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ หากไม่ต้องการใช้งาน หรือ เปลี่ยนตัวใหม่ ในกรณีที่มันเสียหรือมีปัญหารูปประกอบด้านล่าง ให้ดูกันชัดๆ ว่าตัวพัดลมดูดอากาศ (Vacuum Fan) นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ถอดออกมาได้จริงๆ เพียงแค่บีบที่สลักทั้ง 2 ฝั่ง (ซ้าย-ขวา) ของมันแล้วก็ดึงออกมาได้เลย มีประโยชน์มากๆ หากมันเสียและต้องการเปลี่ยน หรือ ต้องการเอาออกมาทำความสะอาด
  2. Mop Pad Clip (ที่ติดแผ่นรองถูพื้น) : เป็นที่ติดแผ่นรองถูพื้น หรือ ผ้าม็อบถูพื้นนั่นเอง ซึ่งมันเป็นอุปกรณ์เสริมที่ติดอยู่ข้างใต้กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ดังนั้น คุณสามารถเลือกที่จะติดหรือไม่ติดก็ได้ หากไม่ต้องการจะติดตั้งก็ดึงออกไปเลยทั้งชุด ทั้งผ้าม็อบถูพื้น และ ที่ติดแผ่นรองถูพื้น

ความคิดเห็นส่วนตัว

“ถือว่าเป็นออปชั่นที่ดี และ สะดวกมากๆ สำหรับการทำความสะอาดพื้นให้ละเอียด และ หมดจด มากยิ่งขึ้น แต่ระหว่างตอนจะติด ที่ติดแผ่นรองถูพื้น (MOP PAD CLIP) เข้าไปกับด้านล่างของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (DUSTBIN) นั้นอาจจะต้องออกแรงดันเข้าไปนิด ตอนแรกผมก็กลัวว่าขายึดมันจะแตกหรือหัก แต่เมื่อออกแรงอีกนิด ก็สามารถติดตั้งเข้าไปได้อย่างไร้ปัญหา

นอกจากนี้ ผ้าม็อบถูพื้น นั้นก็สามารถที่จะถอดออกมาล้างและทำความสะอาดได้ง่ายมากๆ แถมไม่ต้องใช้สบู่หรือน้ำยาอะไรมาซักเลย เพียงแค่น้ำเปล่า และ นิ้วถูๆ ก็สามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้าม็อบถูพื้น ไปได้แล้ว”

รีโมทคอนโทรล หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot

อุปกรณ์สั่งการระยะไกล หรือที่เรียกว่า รีโมทคอนโทรล (Remote Control) เป็นชุดอุปกรณ์เสริม ที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นราคาแพงๆ มักจะมีติดมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แต่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ราคาต่ำกว่าหมื่นบาทแบบนี้ มักไม่ค่อยเห็นติดมาให้ด้วย แต่สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ ก็ได้มีติดมาให้ด้วย (แต่ไม่ให้ถ่านแบตเตอรี่ ขนาด AA x 2 ก้อน มาด้วย) พร้อมความสามารถมากมาย ครบครัน มาดูกันเลย

Mister Robot Jupiter Remote Control
รีโมทคอนโทรล อุปกรณ์ควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ระยะไกล

ขอไล่ปุ่มจากบนลงล่างเลยนะครับ ว่ามีปุ่มหรือส่วนประกอบฟังก์ชั่นไหน ที่น่าสนใจกันบ้าง ขอไล่จากปุ่มด้านบน ลงมาด้านล่างเลยนะครับ (ในภาพนี้ไม่มีตัวเลขประกอบนะ เพราะสามารถสังเกตจากคำพูดกำกับด้านบนได้เลย)

  1. ปุ่ม Power : ปุ่มเปิดปิดหลัก การทำงานของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น
  2. ปุ่ม Charge : ปุ่มสั่งให้เครื่องวิ่งกลับแท่นชาร์จ โดยหาแท่นชาร์จอัตโนมัติ
  3. ปุ่ม Direction Button : ปุ่มกลมๆ ตรงกลาง เป็น ปุ่มควบคุมทิศทางของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเอง มี 4 มุมคือ เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา อีกจุดเด่นนึง ที่ผมชอบมากๆ คือ ตรงปุ่มบังคับทิศทาง มันเป็นลักษณะก้านโยกนูนขึ้นมา ตรงกลาง (คล้ายๆ กับรีโมทคอนโทรลของ รถบังคับวิทยุ) ทำให้บังคับทิศทางได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  4. ปุ่ม Auto Clean : ปุ่มแบนๆ ที่เป็นขีดขวางตรงกลางเลย เป็นปุ่มที่เอาไว้สั่งให้ Mister Robot Jupiter ทำความสะอาดอัตโนมัติ ทุกพื้นที่ วิ่งทั่วห้อง และ กลับแท่นชาร์จเองเมื่อเสร็จสิ้น
  5. ปุ่ม Spot : ทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Cleaning) โดยมันจะเริ่มทำความสะอาดจากบริเวณ
  6. ปุ่ม Edge : ทำความสะอาดเฉพาะบริเวณขอบห้อง (Edge Cleaning) เพื่อช่วยเก็บกวาดสิ่งสกปรกที่อยู่ตามขอบกำแพง ขอบเฟอร์นิเจอร์ ที่อยู่รอบๆ ห้อง โดยมันจะวิ่งเลาะขอบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบทั่วทั้งห้อง
  7. ปุ่ม Mute : ทำความสะอาดแบบไร้เงียบ (Silent Mode) แบบนี้เสียบจะเงียบลงไปอีก
  8. ปุ่ม Speed : เปลี่ยนความเร็วของการทำความสะอาด ให้เร็วขึ้น หรือ ช้าลง
  9. ปุ่ม UV : ปุ่มเปิดปิด หลอดไฟปล่อยแสงยูวี (UV Light Bulb) ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หากไม่ต้องการก็สามารถกดปิดได้ที่ปุ่มนี้เลย เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ให้ดูดนานขึ้นไปในตัวด้วย
  10. ปุ่ม ZigZag : ทำความสะอาดแบบซิกแซก (Zigzag) ไปๆ มาๆ

ความคิดเห็นส่วนตัว

“สำหรับรีโมทคอนโทรล ถือว่า ค่อนข้างจะจัดฟังก์ชั่น มาให้ครบมากๆ คุณสามารถสั่งงานได้ทุกอย่าง จากบนโซฟา โดยไม่ต้องลุกมาเดิมตามเครื่องเลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่าครบมากกว่า รีโมทคอนโทรล ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ บางตัวเสียอีก ที่บางที สามารถควบคุมได้แค่ทิศทาง สั่งเปิดปิด กลับแท่นชาร์จได้ แค่นี้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนโหมด หรือมีลูกเล่นอะไรได้เยอะขนาดนี้ แบบนี้ถือว่าโอเคเลย”

กำแพงจำลอง Virtual Wall ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

อุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่ผมรู้สึกว่า เซอร์ไพรส์มากๆ นั่นก็คือ กำแพงจำลอง หรือ กำแพงเสมือน (Virtual Wall) ที่ให้ติดไม้ติดมือมาในกล่องนี้ด้วย แบบนี้ถือว่าครบมากๆ หน้าที่หลักๆ ของมันก็คือเอาไว้วางหน้าห้องที่ไม่มีประตู (หากมีประตูเราก็สามารถปิดประตูได้นิ) หรือจะเป็นการ วางหน้าพื้นที่ ที่เราไม่ต้องการให้มันเข้าไปทำความสะอาด

โดยเจ้ากำแพงจำลองตัวนี้ จะทำหน้าที่เสมือนประภาคาร ส่งสัญญาณให้ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ที่วิ่งเข้ามาใกล้ๆ ว่า ห้ามผ่าน ห้ามล้ำเข้าไปในพื้นที่ ที่ลึกกว่านี้แล้วนะ อะไรประมาณนี้

ด้านการใช้งานของมันก็ไม่มีอะไรเลย แค่ใส่ถ่านแบตเตอรี่ขนาด C จำนวน 2 ก้อน เข้าไปด้านใน ก็เป็นอันเสร็จพิธี กดปุ่มเปิดการใช้งาน ก็ใช้งานได้เลยทันที

Mister Robot Jupiter Virtual Wall
กำแพงจำลอง หรือ กำแพงเสมือน ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

มาดูส่วนประกอบหลักๆ ของ กำแพงจำลองนี้ดูบ้าง ว่ามีอะไรบ้าง ตามตัวเลขเลย

  1. Power Switch (ปุ่มเปิดปิดหลัก) : ปุ่มเปิดปิด ซึ่งเป็น ปุ่มแรก และ ปุ่มเดียว ของอุปกรณ์กำแพงจำลองตัวนี้ ใช้เปิดและปิดการทำงานของกำแพงจำลอง
  2. IR Sender and Receiver (ช่องรับส่งสัญญาณ) : ใช้รับส่งสัญญาณอินฟราเรด ระหว่าง กำแพงจำลองตัวนี้ และ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ที่กำลังทำงานอยู่ เพื่อบอกว่า ห้ามผ่านเข้ามาในบริเวณหลังจากนี้
  3. Indicator (ไฟสัญญาณ) : ไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่อง ว่ามันยังทำงานเป็นปกติดีอยู่หรือไม่

ความคิดเห็นส่วนตัว

“อุปกรณ์นี้ก็เป็นอีกตัว ที่ผมมักจะเห็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นราคา 2 หมื่นขึ้นไป มีติดมาให้ แต่เจ้า MISTER ROBOT JUPITER นี้ก็มีติดมาให้อีกเช่นเคย

คำแนะนำก็ไม่มีอะไรมาก แต่มีสิ่งนึงที่อยากจะฝากคือ หากคุณไม่มีพื้นที่หวงห้าม พื้นที่ต้องห้าม ที่ไม่อยากให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นวิ่งเข้าไปดูดทำความสะอาด พูดง่ายๆ คือ คุณสามารถให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ดูดได้ทั่วบริเวณห้องทั้งหมดแล้วละก็ ไม่จำเป็นจำต้องใช้เจ้า กำแพงจำลอง ตัวนี้ก็ได้นะ เก็บเอาไว้เฉยๆ และอย่าลืมถอดถ่านออกด้วยนะ หากไม่ได้ใช้มันเป็นเวลานาน มิเช่นนั้น ถ่านอาจจะเน่าอยู่ด้านในได้ และส่งผลให้ขั้นแบตเตอรี่ ด้านในชำรุดเสียหายได้อีกด้วยเช่นกัน”

เปิดใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

และแล้วก็มาถึงเวลาแห่งการรอคอย นั่นก็คือ การเปิดใช้งานจริงของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter แต่ก่อนที่จะเริ่มใช้งานจริงนั้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติของผม กับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทุกเครื่องนั้น จะต้องทำการชาร์จไฟข้ามคืนกันก่อน ประมาณสัก 10-12 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ เพราะเราไม่รู้ว่าจากโรงงานมีแบตเตอรี่ มาให้มากมายเท่าไหร่ เพื่อความชัวร์ และ ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในครั้งแรกนั้น เลยต้องชาร์จให้ได้เท่านี้ก่อน

ซึ่งก่อนที่จะชาร์จก็ได้ค้นพบ อีกหนึ่งข้อดีของ ตัวนี้ นั่นก็คือ คุณสามารถที่จะชาร์จไฟเข้าตัวเครื่องได้ 2 ทาง ได้แก่

  1. ผ่านทางแท่นชาร์จ (Charge Base)
  2. ผ่านทางอะแดปเตอร์แปลงไฟ (AC-DC Adapter)

แบบหลัง (แบบที่ 2) นี้คุณสามารถที่จะ ต่อสายต่อเข้าที่เครื่องเลย เรียกได้ว่า ถ้าเกิดหากแท่นชาร์จเสียมีปัญหา ก็สามารถต่อสายตรงผ่าน อะแดปเตอร์แปลงไฟ ได้เลยทันที แต่ถ้าหาก อะแดปเตอร์ เสียก็คงจบข่าวนะ

ตั้งวันเวลา ให้กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

เนื่องจากว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้มีความสามารถของการตั้งเวลาทำความสะอาดรายวัน (Daily Cleaning Schedule) ได้ด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำต่อไปก็คือ การตั้งเวลาของเครื่องก่อน เพื่อที่จะให้มันรู้ วัน-เวลา ปัจจุบันกันเสียก่อน เพื่อวันต่อๆ ไป คุณจะได้ให้มันออกมาทำความสะอาดเองอัตโนมัติก่อนที่คุณจะกลับบ้าน เพราะหากไม่ตั้งเวลาทำความสะอาด เวลาคุณกลับบ้าน ก็ต้องมานั่งรอ มันทำความสะอาดอีกชั่วโมงนึง เวลาจะเดินไปไหนมาไหนภายในห้อง ก็ต้องมาคอยหลบหลีก การทำความสะอาด หุ่นยนต์ดูดฝุ่น อีก

ดังนั้นการตั้งเวลาทำความสะอาด จะสะดวกสบายมากๆ กลับมาบ้านก็แค่เอาขยะจากถังใส่ขยะฝุ่นละออง ที่ดูดเสร็จไปทิ้งถังขยะ ก็เป็นอันเสร็จพิธี ใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที กับภารกิจทำความสะอาดพื้นบ้าน

10 คำถาม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

มาถึงช่วงที่บอกเล่าประสบการณ์หลังการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้มา ได้ประมาณ 3 สัปดาห์ เกือบทุกวัน

1. หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ ดูดสะอาด หรือไม่ ?

สะอาด หายห่วง เลยแน่นอน เพราะตัวมันเองมีแปรงกวาดทั้งหมด 4 แปรงด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แปรงกวาดที่อยู่ตรงกลาง (แปรงกวาดหลัก x 1 และ แปรงปัดฝุ่น x 1) และ แปรงด้านข้าง x 2 ฝั่ง นอกจากนี้ยังมีพัดลมช่วยดูดอากาศ (Vacuum Fan) เพื่อที่จะเสริมแรงลมดูดให้ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กๆ ฝุ่นละอองเล็กๆ เข้าไปเก็บในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองได้ อย่างไม้มีปัญหา

2. วิ่งกลับแท่นชาร์จได้เองจริงๆ หรือไม่ ?

อัตราการวิ่งกลับแท่นชาร์จของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ อยู่ที่ประมาณ 80% ทดสอบโดยการที่ให้มันเริ่มทำงานจากจุดเดิม เป็นเวลา 10 วัน พบว่ามีประมาณ 2 วัน ที่ไม่สามารถวิ่งกลับแท่นชาร์จได้เองโดยอัตโนมัติ แค่นั้นเอง

Mister Robot Jupiter and Charge Base
Mister Robot Jupiter มีความสามารถในการวิ่งกลับแท่นชาร์จ (Charge Base) ได้เอง โดย อัตโนมัติ

3. ดูดได้ทั่วทุกบริเวณห้อง ห้องเล็ก ห้องน้อย ได้หรือไม่ ?

สำหรับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ มีความสามารถในการวิ่งเข้าห้องเล็ก ห้องน้อย ที่อยู่ในบ้าน หรือ คอนโดมิเนียม เราได้สบายๆ ไม่มีปัญหาใดๆ

4. สามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้มากน้อยแค่ไหน ?

ตามที่ทางผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เขาเคลมมาว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้สามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับ หรือ สิ่งกีดขวางได้ระดับ 15 มิลลิเมตร (mm.) หรือ 1.5 เซนติเมตร (cm.) จากที่ทดสอบใช้งานดูแล้วก็พบว่าสามารถวิ่งผ่านได้จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะวิ่งผ่านได้ทุกครั้งเสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็ว มุมองศา ที่มันวิ่งมาในแต่ละครั้งด้วย (แต่หากสูงกว่า 1.5 เซนติเมตร นี้ไม่ได้แล้วนะครับ เรียกได้ว่าไปไม่เป็นเลยทีเดียว)

Floor Between Living Room and Bathroom
พื้นต่างระดับ ห้องน้ำ กับ ห้องโถง และ พรมเช็ดเท้าในรูปแบบต่างๆ ก็วิ่งผ่านได้

5. หลอดไฟ UV สามารถฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือไม่ ?

ขอตอบตามตรง ด้วยความสัจจริงว่า ไม่ทราบจริงๆ ครับ ผมไม่สันทัดด้านนี้จริงๆ แต่จากข้อมูลที่หาในอินเตอร์เน็ตก็พบว่า มันมีหลอดไฟ UV ที่เอาไว้ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคจริงๆ อย่างเช่น เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

ซึ่งหลอดไฟ UV ฆ่าเชื้อโรคตัวนี้ ก็นิยมใช้กันในห้องปฎิบัติการ (ห้อง Lab) เป็นต้น ลองเอาคำว่า “หลอดไฟ UV” ไปค้นหาดูในกูเกิล และ หาข้อมูลเพิ่มเติมดูได้เลยนะครับ

จากรูปด้านบน กว่าผมจะถ่ายรูปนี้ออกมาได้ เล่นเอาเหนื่อยอยู่เหมือนกัน เพราะว่า หลอดไฟ UV จะทำงานขณะที่มันกำลังปฏิบัติงานอยู่เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องถ่ายตอนหุ่นยนต์ดูดฝุ่นกำลังวิ่งทำงานอยู่ และ ไม่สามารถถ่ายตอนหยุดได้ ถ้าหากยกมันขึ้นมาแล้วจับหงายท้องดูระบบต่างๆ อาทิ ระบบขับเคลื่อน ระบบแปรงกวาดต่างๆ ก็จะหยุดทำงาน รวมไปถึง หลอดไฟ UV ก็จะดับไปด้วยเช่นกัน

Mister Robot Jupiter UV Light Bulb
หลอดไฟ UV เปิดทำงาน ส่องแสง ขณะ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter กำลังทำงาน

6. ขณะที่กำลังทำการดูดฝุ่น เสียงดังหรือไม่ ?

เห็นข้างกล่องเขียนว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีระดับการทำงานที่ค่อนข้างเงียบ มีระดับความดังของเสียงขณะทำงานอยู่ที่ประมาณ 48 dB. (เดซิเบล) แต่วัดขณะที่อยู่ห่างจากตัวเครื่องขณะทำงานประมาณ 1 เมตร

ซึ่งจุดนี้ผมขอลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง โดยขณะที่กำลังทำงาน ผมเอามือถือไอโฟน 6 ที่ติดตั้ง แอพ LINE Tools เลือกเมนู “Sound Level Meter” ซึ่งเป็นเมนูที่เอาไว้ใช้ในการวัดระดับเสียง เข้าไปจ่อที่ตัวเครื่องขณะกำลังทำงานให้ใกล้ที่สุด เท่าที่จะทำได้ ก็พบว่ามีระดับเสียงอยู่ที่ประมาณ 60 dB. โดยเฉลี่ย (อาจจะมีสูงกว่า หรือต่ำกว่านิดหน่อย) เนื่องจากขณะวัดระดับเสียง ค่อนข้างจะลำบาก เพราะต้องวัดขณะที่เครื่องวิ่งทำงานไปด้วย

Mister Robot Jupiter Sound Test
ระดับเสียง ขณะที่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter กำลังทำงาน

จากที่ดูตารางเปรียบเทียบแล้ว ระดับความดังประมาณ 60 dB. นี้ถือว่าค่อนข้างจะ ยังค่อยอยู่ เพราะเป็นระดับการสนทนาปกติ (Usual Conversation) เหมือนคนคุยกันในห้องธรรมดา (ที่ไม่ได้ทะเลาะกัน) และยังถือว่าเงียบกว่าเครื่องดูดฝุ่นที่ใช้ตามบ้านทั่วไป (Vacuum Cleaner) อีกด้วย ที่มีระดับเสียงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 70 dB.

แต่ที่ทางแบรนด์โฆษณาบอกว่ามีระดับเสียงความดัง ของเสียงอยู่ที่ 48 dB. ข้างกล่องนั้น ก็เป็นเรื่องจริง เพราะวัดห่างจากตัวเครื่องขณะทำงาน 1 เมตร แต่ที่ผมบอกว่าวัดได้ 60 dB. นั่นคือเอาไมโครโฟนไปจ่อที่ตัวเครื่องขณะทำงานเลย

7. ดูดฝุ่นวันๆ นึงออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ?

ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนของฝุ่นที่สามารถดูดได้ในแต่ละวัน ไม่สามารถตอบไม่ได้ชัดเจน เพราะต่างสถานที่กัน การใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ ของคนที่พักอาศัย จำนวนคนที่อยู่อาศัย เด็ก จำนวนสัตว์เลี้ยง รวมไปถึง ที่ตั้งของสถานที่ (ริมถนน หรือ ในหมู่บ้าน) และอีกหลายปัจจัย

มาดูไลฟ์สไตล์ของผมบ้าง คือ ผมอยู่คอนโดมิเนียม กับภรรยาสองคน ยังไม่มีลูก ไม่มีสัตว์เลี้ยง ทำความสะอาดบ้านทุกวันด้วย หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอีกตัวนึง ตั้งเวลาเอาไว้คือทำตอนช่วงเย็น 5 โมงครึ่ง ของทุกวัน พร้อมกลับบ้านมาถูบ้านด้านผ้าถูบ้านอีกที เรียกได้ว่าทำความสะอาดทุกวัน แต่คราวนี้ ผมลองเอามันแทรกเข้ามาดูดตอน 10 โมงเช้าดูบ้าง ในขณะที่การดูดฝุ่นของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอีกตัว และ การถูพื้นทุกคืน ก็ยังทำอยู่ ดูกันเลยว่าฝุ่นเป็นอย่างไรกันบ้าง

ดูจากรูปแรก (1) ผ้าม็อบถูพื้นก็ดำแล้ว นี่คือผมซักล้างมาเสร็จหมาดๆ แล้วเพิ่งมาทำความสะอาด รอบแรก หลังจากนั้นก็เอามาให้พี่น้องดูกันเลย สภาพก็เริ่มดำอย่างที่เห็นแล้วละ นี่ขนาดทำความสะอาดบ้าน และ ถูพื้นทุกวันนะ

มีข้อสังเกตข้อนึงคือ ถ้าหากเป็น เส้นผมของสุภาพสตรี (ผมยาว) ตัวนี้มันจะไม่ดูดเข้าไปในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง แต่มันจะเข้าไปพันๆ อยู่กับแปรงกวาดมากกว่าที่จะหลุดเข้าไปเก็บอยู่ด้านในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เพราะลองดูจากรูปที่ (2) นั่นคือฝุ่นที่ถูกดูดเข้าไปเก็บในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองจริงๆ สังเกตดูว่าไม่มีผมยาวเลย แต่ผมยาวจะไปพันอยู่กับแปรง เป็นจำนวนมาก ดูจากรูปที่ (3)

8. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ได้ที่ไหน ?

สำหรับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ได้หยุดจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว อย่างก็ตาม คุณสามารถดูรายละเอียด หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot รุ่นอื่นๆ ได้ที่ลิงค์เชื่อมต่อ หรือ จะติดต่อ ทาง บริษัท เอ็ม เอ็ม โกลบอลเทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่าย ได้ในหลายๆ ช่องทาง ตามรายละเอียดด้านล่างนี้เลย

  • Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-7087-5352
  • Website (เว็บไซต์) : http://www.misterrobotcleaner.com
  • Line ID (ไลน์ไอดี) : mister_robot
  • Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : misterrobotcleaner (มิสเตอร์โรบอทคลีนเนอร์) ตามกรอบด้านล่าง

บทสรุปการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ในที่สุดก็มาถึงช่วงสุดท้ายของการรีวิว หลังจากที่ได้ใช้งานมาประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ขอสรุปข้อดีข้อเสียให้ทราบดังต่อไปนี้ อันนี้คือจากประสบการณ์ที่ใช้งานจริงล้วนๆ มาดูกันเลยดีกว่า

ข้อดี 🙂

  • ราคาถูกมาก แต่ประสิทธิภาพเทียบเท่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นราคาระดับ 2 หมื่นบาทขึ้นไป โดยส่วนมากหุ่นยนต์ดูดฝุ่นราคาแพงๆ จะมีคุณสมบัติ ความสามารถดังต่อไปนี้ (แต่ตัว Mister Robot Jupiter ตัวนี้ก็มีด้วยเช่นกัน)
    • มีรีโมทคอนโทรล (Remote Control) สามารถสั่งงานควบคุมระยะไกล ขณะเรานั่งอยู่บนโซฟา โดยไม่ต้องลุกไปที่ตัวเครื่องได้
    • มีกำแพงจำลอง (Virtual Wall) ป้องกันไม่ให้ตัวเครื่อง วิ่งเข้าไปดูดฝุ่นในพื้นที่ ที่เราไม่ต้องการได้
    • มีระบบลมดูดช่วยดูดฝุ่น (Vacuum) เพิ่มพลังการดูดฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ให้เข้าไปในเครื่องได้
  • มีระบบการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บนพื้นห้อง ด้วยรังสียูวี จากหลอดไฟ UV ที่ถูกติดตั้งอยู่ใต้เครื่อง
  • สามารถติดตั้งผ้าม็อบถูพื้น ทำความสะอาดด้านท้ายเครื่องได้ด้วย พร้อมถอดออกไปทำความสะอาดได้ง่ายๆ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวอื่นๆ ส่วนมากจะติดผ้าม็อบถูพื้น ไม่ได้ เพราะเขาต้องการจะขายแยกเครื่อง แยกหน้าที่ฟังก์ชั่น ออกไปเลย เช่น อันไหนเป็น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ก็ดูดฝุ่นไปอย่างเดียว และก็มี หุ่นยนต์ถูพื้น มาขายแยกอีกตัว ลักษณะแบบนี้เป็นต้น
  • สามารถตั้งเวลาการทำความสะอาดรายวันได้ (Daily Cleaning Schedule)
  • สามารถวิ่งกลับแท่นชาร์จ (Charge Base) ได้เองเมื่อทำงานเสร็จ หรือ แบตเตอรี่ใกล้หมด
  • มีแปรงกวาดหลัก ทั้งหมด 2 แปรง (หุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนมาก จะมีแปรงกวาดหลังให้แค่แปรงเดียว ยกเว้นตัว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba ที่มีแปรงหลักมาให้ 2 แปรงแบบนี้)
  • มีแปรงข้าง (Side Brush) ทั้ง 2 ฝั่ง (ซ้ายและขวา) และ แปรงข้างนี้ มีขนาดความยาวของแปรงข้างที่ค่อนข้างยาวมาก ทำให้ซอกซอน เข้าพื้นที่แคบๆ พื้นที่อับ ตามขอบ ซอก มุมห้อง มุมเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้อย่างไร้ปัญหาใดๆ
  • ขณะที่เครื่องทำงาน มีเสียงที่ค่อนข้างเงียบ (แต่ก็ไม่ได้เงียบมาก) สามารถสั่งปิดพัดลมของ ระบบลมช่วยดูดฝุ่น ได้ผ่านรีโมทคอนโทรล แต่ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการดูดลดลงไปด้วยหน่อยนึง
  • สวิตซ์เปิดปิดหลัก ของเครื่องอยู่ทางด้านข้างของตัวเครื่อง ทำให้เปิดปิดสะดวก ไม่ต้องแกะกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ออกมา หรือไม่ต้องยกตัวเครื่องขึ้นมาเพราะอยู่ใต้เครื่อง
  • หลัง แท่นชาร์จ สามารถเก็บสายไฟจาก อะแดปเตอร์ ได้โดยการม้วนสายเข้าไปด้านใน ไม่ให้เกะกะข้างนอก และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
  • สามารถเสียบชาร์จไฟโดย ระหว่างตัว เครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น กับ  อะแดปเตอร์แปลงไฟ ได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องชาร์จผ่านแท่นชาร์จ หากแท่นชาร์จของคุณเสีย หรือ ยกไปใช้งานที่อื่นแล้วลืมหยิบ แท่นชาร์จ ติดมือไปด้วย ก็ยังมีโอกาสได้ใช้งานกันต่อยาวๆ
  • สามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับเข้าห้องเล็ก ได้โดยไม่ติดขัดใดๆ และออกมาได้เช่นกัน
  • ผ้าม็อบถูพื้น สีขาว ที่ติดอยู่หลังเครื่อง สามารถนำไปล้างทำความสะอาดได้ง่ายมากๆ โดยผมสามารถล้างได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำยาช่วยเลย แค่เอานิ้วถูๆ เอา คราบสกปรก คราบฝุ่นต่างๆ ก็หลุดออกทันทีง่ายๆ โดยแทบไม่ต้องออกแรงเพิ่มเลย
  • อุปกรณ์ทุกอย่าง และ อะไหล่ทุกชิ้น ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ สามารถถอดออกมาทำการบำรุงรักษาได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก และ เปลี่ยนได้ง่ายๆ
  • มีอะไหล่ และ ค่าบำรุงรักษาถูกมากๆ เช่นกัน

ข้อเสีย 🙁

  • ปุ่มเปิดถังใส่ขยะฝุ่นละออง อยู่ด้านบน ปัญหาคือ เวลาพลิกเครื่องขึ้นมาดูใต้เครื่อง เพื่อที่จะ ถอนแปรงกวาดต่างๆ มาทำความสะอาด น้ำหนักเครื่องจะไปกดทับ ให้ปุ่มเปิด กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เปิดกระเด้งออกมาทุกที ทั้งๆ ที่เราไม่ต้องการให้มันเปิด
  • การทำความสะอาด ในห้องคอนโดมิเนียมที่อาศัยอยู่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 60 ตารางเมตร ใช้เวลานาน ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ในขณะที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่น ใช้เวลาประมาณ 40-45 นาที แต่เรื่องของ ความจุแบตเตอรี่ นั้นก็เหลือเฟือ
  • ควรหมั่นทำความสะอาดตัวเครื่องทุกวันที่ดูดเสร็จ เพราะเวลาดูดจะมีเส้นผมยาวๆ ที่จะไม่ถูกดูดเข้าไปเก็บในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง แต่มันจะไปพันม้วนอยู่กับแปรงกวาด ซึ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้นานๆ หลายวันเข้า ก็จะทำให้ประสิทธิภาพ การดูดลดลงตามไปด้วย
  • ไม่มีถ่านแบตเตอรี่ ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้สำหรับ รีโมทคอนโทรล (ขนาด AAA x 2 ก้อน) และ กำแพงเสมือน (ขนาด C ก้อนใหญ่ x 2 ก้อน)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mister Robot Jupiter ตัวนี้ ถือว่าคุณสมบัติมันครบเครื่องมากๆ แม้ราคาตัวเครื่องจะ ต่ำกว่าหมื่นบาท แต่คุณภาพเกิน 2 หมื่นบาท

ในส่วนของ ข้อเสียของมันเท่าที่ผมพบ และเขียนแจ้งไว้ด้านบน ก็พอรับได้อยู่ทุกข้อ ไม่ได้ถือเป็นข้อเสียที่ซีเรียส หรือ สำคัญอะไร มากมาย ใครสนใจหุ่นยนต์ดูดฝุ่น แบบที่เน้นความสามารถจริงๆ และ ไม่ยึดติดกับยี่ห้อแบรนด์ดังๆ ลองดูตัวนี้ได้เลยนะครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้