ECOVACS DEEBOT OZMO 900
รีวิวฉบับนี้เป็นรีวิว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 (รหัสรุ่น : DN5G) มันจัดเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเกรดพรีเมี่ยม แบรนด์แท้ (ไม่ใช่แบรนด์ OEM) ที่มีความสามารถในการดูดฝุ่น และถูพื้นแบบเปียกได้อย่างครบเครื่อง โดยจุดเด่นของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้ก็คือ ความสามารถของการควบคุมปริมาณน้ำในการปล่อยลงสู่พื้นได้หลายระดับ ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ตามความเหมาะสมของพื้นบ้านเรา นอกจากนี้แล้ว ยังควบคุมน้ำไม่ให้ปล่อยลงสู่พื้นจนเปียกแฉะ ในขณะที่เครื่องกำลังจอดอยู่กับที่อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว คุณสมบัติ และความสามารถ ของมันยังมีอีกมากมาย อาทิ ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน ใช้ระบบหัวแปรงดูด 2 รูปแบบ และยังสามารถ สร้างกำแพงจำลอง (Virtual Boundary) ได้ผ่านแอปพลิเคชัน
คุณสามารถเลือกหัวข้อต่างๆ ของบทความรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 ฉบับนี้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- รู้จักกับ หุ่นยนต์ทำความสะอาด ECOVACS
- แกะกล่องผลิตภัณฑ์
- อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลจำเพาะ ข้อมูลทางเทคนิค ของเครื่อง
- คุณสมบัติ และ ความสามารถของตัวเครื่อง
- สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง
- เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง
- คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอพพลิเคชั่น ECOVACS HOME
- คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน
- บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย
ด้านล่างนี้เป็น คลิปวีดีโอรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 ความยาวประมาณ 24 นาที หวังว่าท่านผู้ชมคงรู้จักกับมันมากขึ้นนะครับ
รู้จักกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS ให้มากขึ้นกว่านี้
คุณสามารถทำความรู้จักกับ ที่มาที่ไปของแบรนด์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS ให้มากกว่านี้ ว่าเป็นใครมาจากไหน น่าเชื่อถือได้แค่ไหน ได้โดยการกดที่ลิงค์เชื่อมต่อด้านล่างนี้ได้เลย
⇒ ทำความรู้จักกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS ได้ที่นี่
แกะกล่องผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
ตัวกล่องมีขนาดมิติอยู่ที่ ยาว (L) 504 x กว้าง (W) 143 x สูง (H) 423 มิลลิเมตร ในขณะที่น้ำหนักสินค้ารวมกล่อง (Gross Weight) อยู่ที่ประมาณ 6.9 กิโลกรัม (ข้อมูลทั้ง 2 นำมาจากข้างกล่องผลิตภัณฑ์)
ด้านหน้ากล่อง : ด้านบนเป็นโลโก้ผลิตภัณฑ์ ถัดลงมามีรูปตัวเครื่อง DEEBOT OZMO 900 วางอยู่เด่นเป็นสง่า พร้อมกับคำบรรยายสั้นๆ ว่า “The Vacuum and Mopping Robot” หรือ “หุ่นยนต์ดูดและถูพื้น” ที่อยู่ทางด้านขวามือ และชื่อรุ่นอยู่มุมขวาล่าง
ด้านหลังกล่อง : มีรูป คุณสมบัติ และความสามารถเด่น ของผลิตภัณฑ์ ทั้ง 4 พร้อมคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาจีน ด้านล่างเป็นคอนเซปของเครื่องคือ “Live Smart. Enjoy Life” หรือ “ใช้ชีวิตอย่างสนุก และอยู่อย่างฉลาด”
ด้านซ้ายของกล่อง : บอก คุณสมบัติ และความสามารถเด่น ที่เหลือของผลิตภัณฑ์อีก 5 รายการ มีรูปประกอบพร้อมชื่อความสามารถ (แต่ไม่มีคำอธิบายความสามารถ)
ด้านขวาของกล่อง : มี ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ของตัวเครื่อง และรายละเอียดอื่นๆ อีกเล็กน้อยๆ หลักๆ คือตัวเครื่องผลิตโดย บริษัท อีโคแวคส์ โรบอทติคส์ จำกัด (Ecovacs Robotics Company Limited)
อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
ภายในกล่องผลิตภัณฑ์ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 มีอุปกรณ์ให้มาทั้งหมด 8 อย่างหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ECOVACS DEEBOT OZMO 900 (หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น x 1 เครื่อง)
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 ที่ด้านบนมาในสีขาวดูสะอาดตา ขณะที่ด้านล่างเป็นสีเทา
และด้านบนจะมีโดมกลมๆ สีขาวยื่นออกมาจากตัวเครื่อง มันคือส่วนของเซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ นั่นเอง
ตัวเครื่องเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบบทรงกลม (Round Shape Robot Vacuum Cleaner) มีขนาดมิติอยู่ที่ 350 x 350 x 102 มิลลิเมตร (ความสูงของเครื่อง 10.2 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักเครื่องอยู่ที่ 3.5 กิโลกรัม
2. Docking Station หรือ Charge Base (แท่นชาร์จ x 1 ชุด)
แท่นชาร์จขนาดเล็ก (รหัสรุ่น : CH1630A) มีขั้วชาร์จไฟ 2 ขั้วอยู่ด้านล่าง โดยแท่นชาร์จของตัวนี้ไม่จำเป็นจะต้องมี อะแดปเตอร์ชาร์จไฟแยกออกมาอีกชิ้น เพราะภายในตัวมันเองสามารถแปลงไฟได้ในตัว มาพร้อมกับสายไฟความยาวประมาณ 2 เมตร และนอกจากนี้แล้วด้านหลังเป็นที่ม้วนเก็บสายไฟได้อีกด้วย เพื่อไม่ให้สายไฟเกะกะรุงรังข้างนอก
แท่นชาร์จตัวนี้ มีมาตรฐานการกันน้ำและฝุ่นแบบ IP20 จากข้อมูลอ้างอิง หมายความว่า มันสามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 12.5 มิลลิเมตรขึ้นไป (ความหมายของเลข 2) แต่ไม่สามารถป้องกันของเหลวใดๆ ได้เลย (พูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ “กันน้ำไม่ได้” นั่นเอง) (ความหมายของเลข 0)
อ้างอิงจาก : http://www.dsmt.com/resources/ip-rating-chart/
3. Instruction Document (เอกสารประกอบการใช้งาน x 1 ชุด)
Instruction Manual (คู่มือการใช้งาน) : เป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันอย่างดี มีทั้งหมด 118 หน้า มีภาษาทั้งหมด 6 ภาษา ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามลายู (ใช้กันในประเทศแถบบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนิเซีย) ภาษาอารบิก (ภาษาอาหรับ)
โดยภายในมีเนื้อหามาพร้อมกับคำอธิบาย และรูปภาพประกอบเอกสารประกอบการใช้งานทั้งหมด
และนอกจากนี้แล้วยังมีเอกสารที่เป็น แผ่นกระดาษ 1 แผ่น มีบอกเงื่อนไขการรับประกันสินค้า (Limited Warranty Card) ว่าแบบไหนที่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกัน และแบบไหนไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกัน (ควรจะอ่านทำความเข้าใจก่อน จะได้ไม่มีปัญหากับศูนย์บริการในภายหลัง)
4. Cleaning Tool (เครื่องมือทำความสะอาดอเนกประสงค์ x 1 ชุด)
อุปกรณ์ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแปรงขนาดเล็กๆ ที่มีขนแปรงอยู่ทั้งหมด 4 ชุดหลัก มีหน้าที่เอาไว้ใช้ปัดกวาดฝุ่นละอองที่อยู่ภายในตัวเครื่อง เช่นฝุ่นที่ติดอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆ อย่างเช่น ล้อขับเคลื่อนหลัก แปรงกวาดหลัก ช่องฝุ่นเข้า หรือแม้แต่ ทำความสะอาดภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ก็ได้อีกด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ที่ลำตัวของมัน ก็ยังมีส่วนของใบมีดคัตเตอร์ที่เอาไว้ใช้ในการตัดเส้นผม ขนสัตว์ หรือเส้นด้ายต่างๆ ที่อาจจะเข้าไปติดพันอยู่กับตัวเครื่องได้อีกด้วยเช่นกัน
5. Side Brush (แปรงกวาดข้าง x 2 ชุด – ชุดละ 2 แปรง = 4 แปรง)
แปรงกวาดข้าง (Side Brush) อุปกรณ์พื้นฐานของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทรงกลม ที่จะต้องมี โดยทาง ECOVACS เขาให้มาในกล่องทั้งหมด 4 แปรงด้วยกัน ถือเป็น 2 ชุด (ชุดละ 2 แปรง) เผื่อสำรอง
โดยแปรงกวาดข้าง เป็นแปรงแบบ 3 แฉก โดยขนแปรงมีความยาวแฉกละ 4.0 เซนติเมตร แต่ว่าถ้ารวมก้านและขนแปรงจะอยู่ที่ 6.5 เซนติเมตร) และมีแยกเป็นสี เพื่อติดให้ถูกฝั่ง จะได้มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุด
- Green (สีเขียว) : สำหรับติดตั้งฝั่งซ้าย
- Red (สีแดง) : สำหรับติดตั้งฝั่งขวา
6. Main Brush and Direct Suction Attachment (หัวเปลี่ยนระบบหัวดูดแปรงกวาดหลัก x 1 ชุด และ หัวเปลี่ยนระบบดูดแบบโดยตรง x 1 ชุด)
เนื่องจากเครื่องนี้มีออปชั่นการดูดฝุ่นมาให้ 2 รูปแบบ คือ ระบบหัวดูดแปรงกวาดหลัก (Main Brush Attachment) ที่จะประกอบไปด้วยฝาครอบ และตัวแปรงกวาดหลัก (แปรงหมุน) (ที่เห็นอยู่ในภาพรวมอุปกรณ์ด้านบน) โดยอุปกรณ์ชุดนี้สามารถนำไปสลับสับเปลี่ยนกับ ระบบหัวดูดแบบโดยตรงได้เมื่อต้องการ
นอกจากนี้แล้ว ภายในกล่องผลิตภัณฑ์ ก็ยังมี หัวเปลี่ยนระบบดูดแบบโดยตรง (Direct Suction Attachment)* ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกที่มีช่องโหว่ตรงกลางให้มาด้วย เพื่อให้ใช้ดูดเศษฝุ่นละอองต่างๆ หรือเส้นผมยาวๆ (เส้นผมคุณสุภาพสตรี) ขนสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่เส้นด้าย ฯลฯ ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องกังวลว่าเศษผม หรือขนสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะมาติดพันกับตัวแปรงฯ นั่นเอง เพราะตัวนี้ใช้พลังลมดูดอย่างเดียว
หมายเหตุ* : หรืออีกชื่อเรียกว่า “Tangle-Free Suction Inlet” หรือแปลเป็นภาษาไทยคือ “หัวดูดไร้การพันกัน”
7. Spare HEPA Filter and Sponge Filter (แผ่นกรองอากาศ HEPA และ ฟองน้ำกรองฝุ่น ชุดสำรอง x อย่างละ 1 แผ่น)
ภายในกล่องผลิตภัณฑ์ เขาได้ให้ แผ่นกรองอากาศ HEPA ชุดสำรองมาให้ 1 แผ่น โดยอีกแผ่นนึงถูกติดตั้งอยู่กับกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่อยู่ภายในตัวเครื่องแล้ว
แผ่นกรองอากาศนี้เป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง (High Efficiency Filter) มีขนาดมิติ (กว้าง) 4.1 x (ยาว) 13.1 เซนติเมตร รวมพื้นที่ประมาณ 75 ตารางเซนติเมตร โดยหน้าที่หลักๆ ของมันก็คือช่วยกรองฝุ่นละเอียด ที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมลม ไม่ให้กลับออกไปสู่ภายนอกอีกครั้งนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วยังมีฟองน้ำกรองฝุ่น (Sponge Filter) ความหนา 4 มิลลิเมตร (0.4 เซนติเมตร) ซึ่งก็แถมมาสำรองด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นฟองน้ำกรองฝุ่นนี้ สามารถนำไปซักล้าง แล้วตากให้แห้งได้ตามปกติ
8. Microfiber Cleaning Cloths and Plate (ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 2 ผืน และแผ่นติด x 1 ชุด)
ผ้าม็อบถูพื้มไมโครไฟเบอร์ ให้มาในกล่องรวมทั้งสิ้น 2 ผืน (เผื่อสำรอง 1 ผืน) สามารถนำไปล้าง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การตัดเย็บเป็นสีฟ้า และมีลายสีขาวตัดขวางในแนวเฉียงทแยงมุม เพื่อการขจัดคราบ หรือสิ่งสกปรกบนพื้นได้ดีมากยิ่งขึ้น
มันถูกยึดกับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นด้วยแผ่นติดพลาสติกที่มีขนาดเท่ากันด้วยเทปตีนตุ๊กแก (Velcro Tape) และที่คล้องผ้าม็อบฯ เพื่อป้องกันผ้าเผยอออกมา ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน
และนอกจากนี้แล้วที่ด้านหลังของผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ยังมีเว้นช่องให้เว้าเข้ามา เพื่อเป็นพื้นที่ของ ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง (Rear Caster Wheel) ที่มีเอาไว้กันกระแทก กันครูดกับพื้นนั่นเอง
ข้อมูลจำเพาะ ข้อมูลทางเทคนิค ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
รายละเอียด (Specification) |
|
ขนาดมิติ (Dimension) |
350 x 350 x 102 มม. |
น้ำหนัก (Weight) |
3.5 กิโลกรัม (ชั่งเองด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล) |
ไฟเข้า (Input) |
AC 100-240V 50/60 Hz |
ไฟออก (Output) |
DC 20V 0.8A (กินไฟ 25W) |
ประเภทของแบตเตอรี่ (Battery Type) |
Li-Ion |
ปริมาณความจุแบตเตอรี่ (Battery Capacity) |
2,600 mAh |
ระดับเสียง (Noise Level) |
(ข้อมูลจากสเปคบนเว็บไซต์ผู้ผลิต) |
ขนาดกล่องใส่ขยะ (ลิตร) Dustbin Capacity (Litre) |
0.45 ลิตร (450 mL) |
ขนาดความจุถังน้ำ (ลิตร) Water Tank Capacity (Litre) |
0.24 ลิตร (240 mL) |
คุณสมบัติ และ ความสามารถ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ มีความสามารถที่โดดเด่นอยู่มากมาย โดยเราได้สรุปหลักๆ มาให้ 6 ข้อ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันมีมากกว่านี้อีก
1. Smart Navigation 3.0 (ใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์วัดระยะทาง Smart Navigation รุ่น 3.0)
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ใช้การนำทางด้วยเลเซอร์ (Laser-Guided Navigation System) โดยใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อเฉพาะของทาง ECOVACS เท่านั้นว่า “Smart Navigation” โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ ได้พัฒนามาจนถึงรุ่นที่ 3 แล้ว ซึ่งก็มีการพัฒนา ปรับปรุงความเสถียร ความแม่นยำ มาจากรุ่นแรกอยู่มากพอสมควร
โดยหุ่นยนต์ที่ใช้เลเซอร์วัดระยะทาง ในการนำทางนั้น เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากที่ ส่วนประกอบด้านบน ของตัวเครื่อง จะมีโดมกลมๆ ยื่นออกมาอยู่ ตรงนั้นคือ เซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ (LDS – Laser Distance Sensor) เปรียบเสมือนดวงตาของมันนั่นเอง
2. Smartphone Control (ควบคุมการทำงานผ่านมือถือ ได้จากทุกที่ทั่วโลก)
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้สามารถควบคุม สั่งงาน ตั้งค่าต่างๆ ได้ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ iOS บนเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ได้จากทุกที่ทั่วโลก (ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้สูงขึ้นไปอีกขั้น (ดูวิธีการเชื่อมต่อแอป ECOVACS กับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
โดยคุณสามารถที่จะสั่งให้เครื่องออกมาทำความสะอาดในโหมดต่างๆ ได้ตามต้องการ พร้อมกับดูแผนที่จำลอง ของห้องได้แบบสดๆ ว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่ส่วนใดในห้อง หรือในบ้านของเราแล้ว นอกจากนี้แล้วยังสามารถตั้งค่าต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตั้งเวลาทำความสะอาดล่วงหน้า เลือกปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น และอื่นๆ อีกมากมาย (ดูคุณสมบัติ และความสามารถ ของแอปพลิเคชัน ECOVACS HOME กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900)
3. Various Special Cleaning Modes (มีโหมดทำความสะอาดเสริมพิเศษที่หลากหลาย)
บนแอปพลิเคชัน ECOVACS HOME ที่ทำงานร่วมกับเครื่องนี้ ก็ยังมาพร้อมกับโหมดทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features) อีกประมาณ 3 ความสามารถ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้งานให้มากขึ้นไปอีก เผื่อในบางสถานการณ์อาจจะต้องใช้งานมันก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น
- Virtual Boundary (การสร้างกำแพงจำลอง) : ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้เครื่องเข้าไปทำความสะอาดใดพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยเราสามารถ “ตีกรอบสี่เหลี่ยมในแอปฯ เพื่อกั้นพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้มันเข้า หรือจะทำให้เป็นเส้นตรงเพื่อกั้นหน้าห้อง” ที่ไม่ต้องการให้มันเข้าได้ โดยไม่ต้องปิดประตู หรือหาอะไรมากั้นอีกต่อไป
- Area Clean Mode (โหมดทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่) : สามารถเลือกทำความสะอาดเฉพาะห้องได้ โดยระบบจะกำหนดพื้นที่ขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบจะแบ่งตามห้องที่มันสามารถวิ่งเข้าไปทำความสะอาดได้ แต่ถ้ามีแค่ห้องเดียวโหมดนี้ก็จะไม่มีประโยชน์ เพราะก็จะมีแค่พื้นที่เดียวเท่านั้น
- Custom Mode (โหมดทำความสะอาดแบบกำหนดจุดเอง) : การใช้งานจะเหมือนกับ การสร้างกำแพงจำลอง แต่การทำงานจะตรงข้ามกันคือ เป็นการ “ตีกรอบสี่เหลี่ยมในแอปฯ เพื่อให้มันเข้าไปทำความสะอาด” แทน โดยเครื่องจะตรงดิ่งเข้าไปยังพื้นที่ ที่เราตีกรอบ เพื่อทำความสะอาด พอเสร็จก็จะกลับแท่นชาร์จโดยอัตโนมัติทันที
หมายเหตุ : ต้องเปิดให้เครื่องวิ่งทำความสะอาดในโหมดอัตโนมัติก่อนครั้งแรก เพื่อสร้างแผนที่จำลอง (แผงผังห้อง) เสียก่อน ถึงจะสามารถใช้งาน โหมดทำความสะอาดเสริมพิเศษทั้ง 3 นี้ได้
4. OZMO Mopping System (มีระบบถูพื้นอัจฉริยะ OZMO)
เครื่องนี้อยู่อยู่ในตระกูล “OZMO” (ย่อมาจากคำว่า “Osmosis – ออสโมซิส” ภาษาไทยแปลว่า “กระบวนการซึมผ่าน“) นั่นหมายความว่า ที่ภายในตัวเครื่อง ได้ติดตั้งมันมีปั๊มน้ำอัตโนมัติขนาดเล็ก (Electronically-Controlled Water Pump) อยู่ ซึ่งมันมีข้อดีมันอยู่ตรงที่
- คอยควบคุมการปล่อยน้ำจากถังน้ำ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเท่าๆ กันในทุกพื้นที่
- เลือกปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น (Water Flow Level) ได้ 3 ระดับ ว่าจะให้พื้นเปียกมาก หรือเปียกน้อย
- น้ำจะไม่ถูกปล่อยลงสู่พื้นในขณะที่เครื่องกำลังจอดอยู่กับที่ ส่งผลให้พื้นไม้ต่างๆ ไม่เกิดความเสียหาย
5. Interchangeable Suction Options (ใช้ระบบหัวแปรงดูด 2 รูปแบบ)
แม้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ภายในอาคาร แต่ว่าในอาคารนั้นก็มีพื้นผิวที่หลากหลายเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น พื้นกระเบื้อง พื้นไม้ยาง พื้นไม้ลามิเนต พื้นไม้ปาร์เก้ พื้นพรม ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับการใช้งานก็มีความหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ใช้ดูดฝุ่นทั่วไป ดูดทำความสะอาดขนสัตว์ เส้นผมที่ยาวๆ ของคุณสภาพสตรี หรือแม้แต่เศษอาหารแห้ง อาหารสัตว์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองทาง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS เขาจึงให้หัวแปรงดูดมา 2 รูปแบบคือ
- Main Brush Suction (ระบบหัวดูดแปรงกวาดหลัก – ใช้แปรงกวาดดูดด้วยลมดูดด้วย) : ใช้ดูดฝุ่นทั่วๆ ไป
- Direct Suction (ระบบหัวดูดแบบโดยตรง – ใช้ลมดูดฝุ่นอย่างเดียว) : ใช้ดูดเส้นผม หรือขนสัตว์ยาวๆ
6. Cleaning Schedule (ตั้งเวลาทำความสะอาดอัตโนมัติ ได้ตามต้องการ)
เครื่องนี้สามารถตั้งเวลาทำความสะอาดอัตโนมัติล่วงหน้า ได้แบบยืดหยุ่น นั่นหมายความว่า ในแต่ละวันเราสามารถตั้งเวลาให้มันออกทำความสะอาดได้หลายเวลา (มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน) ซึ่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่นหลายรุ่นหลายยี่ห้อ จะตั้งเวลาทำความสะอาดได้แค่วันละครั้ง แต่สำหรับตัวนี้ไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น
- วันจันทร์ / วันอังคาร/ วันพุธ / วันพฤหัสบดี / วันศุกร์ : 9:00 น. (ทำความสะอาดหลังออกไปทำงาน)
- วันจันทร์ / วันอังคาร/ วันพุธ / วันพฤหัสบดี : 18:00 น. (ทำความสะอาดก่อนกลับบ้านตามปกติ)
- วันศุกร์ : 21:30 น. (ทำความสะอาดระหว่างไปกินข้าวเย็น สังสรรค์กับเพื่อนฝูง และกลับบ้านดึก หลัง 4 ทุ่ม)
- วันเสาร์ / วันอาทิตย์ : 12:00 น. (ทำความสะอาด ตอนออกไปทานข้าวเที่ยงนอกบ้าน)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่
- ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง
- ส่วนประกอบด้านล่าง
- ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง
- ส่วนประกอบของระบบถูพื้นอัจฉริยะ OZMO
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- LDS – Laser Distance Sensor (เซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : โดมกลมๆ ที่ยื่นสูงขึ้นมาจากตัวเครื่อง ด้านในจะมีตัวเซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ ที่จะหมุนติ้วรอบตัว ครบ 360 องศา และยิงแสงเลเซอร์ออกไปยังวัตถุที่อยู่รอบๆ ก่อนที่จะสะท้อนกลับเข้ามาที่ตัวมันอีกครั้ง เพื่อในการคำนวณระยะห่างระหว่างตัวเครื่อง กับวัตถุ เพื่อสร้างแผนที่จำลอง (Virtual Map) และวางแผนในการทำความสะอาดแต่ละครั้ง
- Top Cover or Dustbin Door (ฝาปิดด้านบน หรือ ฝาเปิดปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : เมื่อยกฝาขึ้นมาจะเห็นส่วนประกอบต่างๆดังต่อไปนี้
- Dustbin (กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ความจุกล่อง 0.45 ลิตร มีหูหิ้วด้านบน ยกออกมาได้อย่างสะดวก
- Power On/Off Switch (สวิตซ์เปิดปิดเครื่อง) : มีสีแดง ใช้ตัดวงจรไฟฟ้าระหว่างตัวเครื่อง กับแบตเตอรี่
- Reset Button (ปุ่มรีเซ็ตเครื่อง) : ปุ่มเล็กๆ ให้กดค้างเอาไว้ประมาณ 3-5 วินาที เพื่อล้างการตั้งค่าทั้งหมด
- USB Upgrade Port (ช่องเสียบพอร์ต USB) : ใช้อัพเกรดข้อมูลให้ตัวเครื่อง (สำหรับศูนย์บริการเท่านั้น)
- Control Panel and Indicator (แผงควบคุม และไฟแสดงสถานะ) : ด้านบนตัวเครื่อง มีปุ่มอยู่ปุม่เดียวคือ “ปุ่มเปิดปิดเครื่องโหมดอัตโนมัติ (Auto Mode Button)” ที่อยู่ด้านบนสุด ขณะส่วนที่เหลือด้านล่าง จะเป็นแค่ “ไฟแสดงสถานะ (Indicator)” เท่านั้น โดยรายละเอียดมีอยู่ดังต่อไปนี้
- AUTO Mode Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ในโหมดอัตโนมัติ) : ปุ่มนี้มี 2 ฟังก์ชั่น (หน้าที่) ในปุ่มเดียวกันคือ
- Press Once (กด 1 ครั้งแบบสั้นๆ) : เพื่อสั่งให้เครื่องเริ่มต้นทำงานในโหมดอัตโนมัติ
- Press and Hold for 3 Seconds (กดค้างเอาไว้ 3 วินาที) : ให้เครื่องวิ่งกลับแท่นชาร์จโดยทันที
- Wi-Fi Indicator Light (ไอคอนรูป Wi-Fi) : เพื่อแสดงถึงการเชื่อมต่อ Wi-Fi ระหว่างแอปพลิเคชัน ECOVACS ที่ใช้งานบนสมาร์ทโฟน กับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- AUTO Mode Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ในโหมดอัตโนมัติ) : ปุ่มนี้มี 2 ฟังก์ชั่น (หน้าที่) ในปุ่มเดียวกันคือ
- Air Outlet (ช่องอากาศออก) : อากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่น จะถูกกรองด้วยแผ่นกรองอากาศชั้นต่างๆ ก่อนที่จะถูกปล่อยกลับออกมาข้างนอกผ่านทางช่องนี้
- Front Bumper and Anti-Collision Sensor (กันชนหน้า และเซ็นเซอร์ป้องกันการชน) : กันชนหน้าอุปกรณ์ที่ดูดซับแรงกระแทก ระหว่างตัวเครื่อง กับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Anti-Drop Sensors (เซ็นเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : ป้องกันเครื่องวิ่งตกจากที่สูงเช่น ตกบันได เป็นต้น มีอยู่ทั้งหมด 3 จุดด้วยกันได้แก่ ตรงกลางเครื่อง ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา (ระหว่างแปรงกวาดข้าง กับล้อขับเคลื่อนหลัก)
- Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : หรืออีกชื่อคือ “Universal Wheel” เป็นล้อพลาสติก ที่สามารถหมุนได้ 360 องศา ไม่มีส่วนในการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแต่อย่างใด เอาไว้รับน้ำหนักอย่างเดียว
- Charging Contacts (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ขั้วโลหะที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่อง เอาไว้สัมผัสกับขั้วชาร์จไฟ ของแท่นชาร์จ เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าจากไฟบ้าน เข้ามาเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง
- Battery Cover (ฝาครอบแบตเตอรี่) : ฝาครอบแบตเตอรี่ที่ภายใน เป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-Ion) ความจุ 2,600 มิลลิแอมป์ (mAh) มันสามารถทำงานต่อเนื่องถึงประมาณ 95 นาที (1 ชั่วโมง 35 นาที) โดยที่ตัวฝาครอบแบตเตอรี่นี้ มีเหล็กถ่วงน้ำหนักอยู่ 2 ลูกด้วย
- Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : เครื่องนี้สามารถติดตั้งแปรงกวาดข้างได้ 2 ฝั่ง โดย แปรงสีแดง ติดตั้งฝั่งขวา และ แปรงสีเขียว ติดตั้งฝั่งซ้าย
- Suction Component Slot (พื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบดูดฝุ่น) : มีให้เลือก 2 แบบตามความต้องการของผู้ใช้
- Main Brush Suction Component (หัวดูดแปรงกวาดหลัก)
- Direct Suction Component (หัวเปลี่ยนระบบดูดแบบโดยตรง)
-
Drive Wheels (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบแยกอิสระ 2 ข้าง มาพร้อมกับดอกยาง เพิ่มความสามารถในการยึดเกาะ มีสปริงโช๊คอัพ สามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับ หรือ ธรณีประตู (Doorsill) ในระดับที่ไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร (อาจจะได้มากกว่านี้นิดหน่อย แต่ไม่รับประกันความแน่นอน)
- Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ) : อยู่ที่ส่วนท้ายสุดของตัวเครื่อง สามารถติดตั้งอยู่กับตัวเครื่องได้ตลอดเวลา แม้จะไม่ต้องการถูพื้นก็ตาม แต่ถ้าต้องการถูพื้นแบบเปียกเมื่อไหร่ ก็นำเอาผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ (Microfiber Cleaning Cloth) พร้อมกับ แผ่นติด (Plate) ของมันติดตั้งเข้าไปใต้ถังน้ำ
- Rear Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง) : ล้อขนาดเล็ก ถูกติดตั้งอยู่ด้านหลังสุดของตัวเครื่อง ป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องไปครูดกับพื้น ลดโอกาสการเกิดความเสียหายของพื้น และตัวเครื่องไปได้เยอะเลยทีเดียว
Dustbin Component (ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)
กล่องพลาสติกแบบใส ที่สามารถมองเห็นปริมาณฝุ่นภายในกล่องได้อย่างชัดเจนว่ามีมากหรือน้อย ขนาดความจุอยู่ที่ 0.45 ลิตร (450 มิลลิลิตร) ฝาเปิดกล่องฯ เป็นแบบบานพับ กับตัวกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นกรองอากาศ ทั้งหมด 3 ชั้น เพื่อช่วยกรองอากาศก่อนปล่อยกลับออกไปข้างนอก มาดูกันเลย
- First Layer (แผ่นกรองชั้นแรก) : ตาข่ายกรองฝุ่น มีหน้าที่กรองฝุ่นขนาดใหญ่ อาทิ เส้นผม ขนสัตว์ เศษขนมขบเคี้ยว ต่างๆ เสียก่อน (ล้างทำความสะอาดได้)
- Second Layer Filter (แผ่นกรองชั้นที่สอง) : ฟองน้ำกรองฝุ่น (Sponge Filter) มีหน้าที่กรองฝุ่นขนาดเล็กลงมาหน่อยอีกชั้น (ล้างทำความสะอาดได้)
- Third Layer Filter (แผ่นกรองชั้นที่สาม) : แผ่นกรองอากาศ HEPA ช่วยกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ เช่น ฝุ่น PM 2.5 เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เพื่อให้อากาศสะอาดมากที่สุด (ล้างไม่ได้ ต้องเคาะๆ ให้ฝุ่นออกหรือดูดฝุ่นเท่านั้น)
OZMO Mopping System Component (ส่วนประกอบของระบบถูพื้นอัจฉริยะ OZMO)
ระบบถูพื้นอัจฉริยะของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวนี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชิ้นหลักๆ ด้วยกัน โดยการติดตั้งจะเรียงกันเลยคือ ถังน้ำ → แผ่นติด → ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ คือ
- Water Tank or Reservoir (ถังน้ำ) : ถังน้ำขนาด 0.24 ลิตร ที่มีความสามารถในการควบคุมการปล่อยน้ำได้ สามารถติดตั้งอยู่กับตัวเครื่องได้ตลอดเวลา แม้จะไม่ต้องการถูพื้นแบบเปียกก็ตาม
- Plate (แผ่นติด) : เป็นตัวที่เชื่อมระหว่างถังน้ำ กับผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ โดยที่แผ่นติดจะมีแม่เหล็ก (Magnet) ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์บอกให้ตัวเครื่องทราบว่า ผ้าม็อบฯ ถูกติดตั้งแล้วหรือยัง
- Microfiber Cleaning Cloth (ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์) : ถูกติดตั้งข้างใต้แผ่นติด โดยมีเทปตีนตุ๊กแก (Velcro Tape) คอยยึดกับตัวแผ่นติด
เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
ในส่วนของการเตรียมเครื่อง เพื่อเริ่มต้นใช้งานเครื่องนี้ ก็จะคล้ายๆ กับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ทั่วไปที่เมื่อต้องการจะเริ่มต้นการใช้งาน ในที่นี้แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- การตระเตรียมพื้นที่สำหรับวางแท่นชาร์จ
- การชาร์จไฟครั้งแรก
- การติดตั้งถังน้ำเพื่อถูพื้นแบบเปียก
- การเชื่อมต่อแอปพลิเคชันผ่าน Wi-Fi เพื่อสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน
1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
วางแท่นชาร์จในพื้นที่โล่ง โดยฝั่งซ้าย และฝั่งขวา ควรมีพื้นที่โล่งฝั่งละ 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) ขณะที่ด้านหน้าเว้นไว้อีกประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) เพื่อให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ได้สามารถวิ่งเข้าออกได้อย่างสะดวก
2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
แม้ในปัจจุบันการชาร์จไฟเพื่อกระตุ้นแบตเตอรี่นั้น อาจจะไม่ใช้เรื่องจำเป็นสำหรับแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนแล้ว แต่สำหรับการใช้งานครั้งแรกนั้น เพราะเราไม่รู้ว่ามีแบตเตอรี่หลงเหลือมาตอนแรกจากโรงงานเท่าไหร่ ก็ขอแนะนำให้ชาร์จไฟยาวข้ามคืน (ประมาณ 8-10 ชั่วโมง) ไปเลย โดยไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะเกิดความเสียหาย หรือมีปัญหา เพราะว่าตัวเครื่องมีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่เต็มอยู่แล้ว
ในขณะที่การชาร์จไฟเพื่อใช้งานทั่วไปนั้น จะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ในการชาร์จไฟให้เต็มความจุแบตเตอรี่ ก่อนที่จะเริ่มต้นสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป
3. Water Tank Installation (การติดตั้งถังน้ำเพื่อถูพื้นแบบเปียก)
- นำถังน้ำออกจากตัวเครื่อง สามารถบีบสลักล็อคแล้วดึงออกมาได้เลย โดยไม่ต้องยก หรือคว่ำตัวเครื่องให้เมื่อย
- ดึงฝาเปิดเติมน้ำ (Fill Cap) ออกมา แล้วหมุนมันไปไว้ด้านหลัง เพื่อความสะดวกในการเติมน้ำ
- เติมน้ำลงในถังน้ำ ในระดับที่เหมาะสม แล้วปิดฝาเปิดเติมน้ำ ให้เรียบร้อย
- นำกลับไปติดตั้งที่ตัวเครื่อง (ให้อยู่ในสภาพเดียวกับข้อ 1.)
4. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
ในการควบคุมเครื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่า สั่งงานต่างๆ จะต้องทำผ่านแอปพลิเคชัน ECOVACS ที่พัฒนาโดย Ecovacs Robotics Inc. เท่านั้น เนื่องจากบนตัวเครื่อง มีปุ่มควบคุมหลักอยู่เพียงแค่ปุ่มเดียวเท่านั้น จึงให้ทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่
โดยเครื่องนี้ มีให้เลือกใช้กันทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการเลยคือ iOS และ Android
- ดาวน์โหลดแอป ECOVACS HOME สำหรับ iOS ผ่าน App Store
- ดาวน์โหลดแอป ECOVACS HOME สำหรับ Android ผ่าน Play Store
เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้านล่างนี้คือขั้นตอนการเชื่อมต่อ แอปพลิเคชัน ECOVACS HOME กับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 ได้เลย
- เปิดแอป ECOVACS เข้ามาแล้ว จะแสดงหน้าจอแรก เพื่อให้เข้าสู่ระบบ โดยจะมี 3 ปุ่มให้เลือก ได้แก่
- “ปุ่ม Log In” : สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว กรอกแค่อีเมล (Email) และรหัสผ่าน (Password) เท่านั้น
- “ปุ่ม Register” : เพื่อลงทะเบียนสำหรับการเข้าใช้งานในครั้งแรก สมัครโดยใช้อีเมล และรหัสผ่าน เช่นกัน
- “ปุ่ม Forgot Password” : สำหรับผู้ที่ลืมรหัสผ่าน เข้าไปกรอกข้อมูลยืนยันตัวตน เพื่อรับรหัสผ่านใหม่
- เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ และเข้าสู่ระบบมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระบบจะพามาหน้าแสดงรายการหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่อยู่ในการควบคุม ซึ่งถ้าเป็นครั้งแรก หน้าจอจะขึ้นว่า “You don’t have any ECOVACS robots.” โดยให้เรากดที่ “ปุ่ม Add a Robot” เพื่อเพิ่มหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้าไปในระบบเสียก่อน
- เลือกหุ่นยนต์ดูดฝุ่น “DEEBOT OZMO 900 Series“
- มาที่หน้าจอตั้งค่าเครือข่าย (Network Setup) แล้วกรอกรหัสผ่าน Wi-Fi ของ SSID ปัจจุบัน ที่เราใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ (แต่เราสามารถแตะที่ชื่อ SSID เพื่อเปลี่ยนไปใช้ SSID อื่น ที่มันสามารถค้นหาได้ได้ตามต้องการ) เมื่อถูกต้องแล้วให้กด “ปุ่ม Next“
- ระบบจะขึ้นคำแนะนำให้ เปิดฝาปิดด้านบนของตัวเครื่อง และเลื่อนสวิตซ์เปิดปิดเครื่อง ไม่ทางขวาเพื่อเปิดเครื่อง และรอจนกว่าจะได้ยินเสียงต้อนรับ (Startup Sound) (ถ้าใครเปิดเครื่องอยู่แล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย) แล้วติ๊กเครื่องหมายถูกข้างข้อความ “I’ve switched on DEEBOT” แล้วกด “ปุ่ม Next“
- ระบบจะขึ้นคำแนะนำให้ “ปุ่ม RESET” ค้างเอาไว้ประมาณ 1-2 วินาที จนกว่าจะได้ยินเสียงตี๊ด (เสียง Beep) เพื่อล้างการตั้งค่าต่างๆ ของระบบ แล้วติ๊กเครื่องหมายถูกข้างข้อความ “I’ve heard the beep” แล้วกด “ปุ่ม Next” บนแอปพลิเคชัน เพื่อดำเนินการต่อ
- ระบบจะขึ้นคำแนะนำในการเปลี่ยนการเชื่อมต่อจาก SSID ของเรา ไปเป็น SSID ของ ECOVACS DEEBOT OZMO 900 เมื่ออ่านแล้วกด “ปุ่ม Go to Settings” เพื่อออกไปในหน้าตั้งค่า Wi-Fi โดยตรงทันที
- ระบบจะพาออกไปที่เมนูตั้งค่า Wi-Fi ให้เลือก SSID ที่เป็นชื่อของตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเอง โดยชื่อ SSID จะขึ้นต้นประมาณ “ECOVACS_xxxx“
- เราจะได้ยินเสียงพูดมาจากตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นประมาณว่า “ Connected .. Please go back to ECOVACS app to continue the setup“
- หน้าจอจะแสดงแถบแสดงความคืบหน้า (Progress Bar) พร้อมข้อความว่า “Connecting DEEBOT to your phone” ด้านบน และ “Do not run the App in the Background” ที่ด้านล่าง
- หลังจากนั้นระบบจะขึ้นคำว่า “Success” พร้อมบอกรุ่นของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเรา นั่นก็คือ “DEEBOT OZMO 900” เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้อง หลังจากนั้นกด “ปุ่ม Done“
- ระบบจะพามาที่หน้าจอแสดงรายการหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS ที่อยู่ในการควบคุม พร้อมแสดงสถานะเครื่องว่า “Online“
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอพพลิเคชั่น ECOVACS HOME
- การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำงานในโหมดอัตโนมัติ (Start AUTO Mode Cleaning)
- หยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Return to Charging Dock)
- สั่งจบงาน (End Task)
- ความสามารถเสริมพิเศษ (Special Features) (อ่านข้อแตกต่างของทั้ง 3 ความสามารถ เพิ่มเติม)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ (Area Clean Mode)
- โหมดทำความสะอาดแบบกำหนดจุดเอง (Custom Mode)
- การสร้างกำแพงจำลอง (Virtual Boundary หรือ Virtual Wall)
- การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- กำลังทำงาน (Cleaning)
- หยุดชั่วคราว (Paused)
- กำลังกลับแท่นชาร์จ (Recharge)
- พร้อมใช้งาน (Standby)
- ขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Area Cleaned) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
- ระยะเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Duration) (หน่วยเป็นนาที – Min)
- ดูแผนที่จำลองของห้องแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map) เพื่อดูว่าเครื่องวิ่งทั่วห้องแล้วหรือยัง พร้อมกับเส้นสีขาวลากบอกพื้นที่ ที่เครื่องวิ่งผ่านมาแล้วแบบสดๆ เช่นกัน
- ปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Battery Status) (บอกเป็นแถบความจุเฉยๆ)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- การตั้งค่าทำความสะอาด (Cleaning Settings)
- เลือกความแรงของพัดลมดูดฝุ่น หรือพลังการดูดฝุ่น (Vacuum Power) ได้ 2 ระดับคือ
- พลังดูดระดับปกติ (Standard)
- พลังดูดระดับสูงสุด หรือแรงสุด (Max)
- สามารถเลือกปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น (Water Flow Level) ได้ทั้งหมด 3 ระดับคือ
- เปียกน้อย (Low)
- เปียกปานกลาง (Medium)
- เปียกมาก (High)
- สามารถเลือกที่จะเปิดหรือปิด ระบบเพิ่มพลังการดูดฝุ่นอัตโนมัติ (Auto-Boost Suction) เพิ่มให้เครื่องเพิ่มพลังการดูดฝุ่นอัตโนมัติต่อเมื่อ เครื่องวิ่งขึ้นไปบนพรม (เพราะฝุ่นที่อยู่บนพรม จะดูดยากกว่าฝุ่นที่อยู่บนพื้น)
- การทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง (Continuous Cleaning) โดยปกติเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด เครื่องจะกลับมาชาร์จยังแท่นชาร์จเองโดยอัตโนมัติ และถ้าเปิดส่วนนี้เอาไว้ ระบบจะออกไปอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่เต็มทันที
- ฟังก์ชั่นห้ามรบกวน (Do Not Disturb) โดยเครื่องจะหยุดกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อให้คุณได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ เช่นหยุดการทำความสะอาด ดับไฟแสดงสถานะต่างๆ หยุดระบบรายงานการทำงานด้วยเสียง (เสียงเงียบ) ภายในเวลาที่กำหนด (ค่าตั้งต้นคือระหว่างช่วงเวลา 22:00 ถึง 08:00 น. – สามารถเปลี่ยนช่วงเวลาได้เอง)
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Cleaning Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง นอกจากนี้แล้ว มันยังตั้งเวลาทำความสะอาดอัตโนมัติ ต่อวันได้วันละหลายครั้ง (วันละกี่ครั้งก็ได้) พร้อมเลือกโหมดทำความสะอาดได้ระหว่าง โหมดอัตโนมัติ หรือ โหมดทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่
- ล้างค่าแผนที่จำลอง (Reset Map) ทั้งหมด ที่เก็บไว้ในเครื่อง
- เลือกความแรงของพัดลมดูดฝุ่น หรือพลังการดูดฝุ่น (Vacuum Power) ได้ 2 ระดับคือ
- การตั้งค่าทั่วไป (General Settings)
- ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning Log) ในแต่ละครั้งอย่างละเอียด พร้อมแผนที่ และข้อมูลสรุปทั้งหมด
- ดูประวัติการใช้อุปกรณ์สิ้นเปลือง (Accessories Usage) เครื่องนี้จะคอยแจ้งเตือนให้เปลี่ยนอุปกรณ์สิ้นเปลืองตามอายุการใช้งานอย่าง แปรงกวาดข้าง (150 ชั่วโมง) แปรงกวาดหลัก (300 ชั่วโมง) แผ่นกรองอากาศ (120 ชั่วโมง)
- ระบบรายงานการทำงานด้วยเสียง (Voice Report) สามารถเลือกได้ว่าจะเปิดหรือจะปิดระบบ พร้อมเปลี่ยนภาษาตามต้องการ โดยขณะทำรีวิว มีเสียงพูดให้เลือกอยู่ทั้งหมด 11 ภาษา (ยังไม่มีภาษาไทย)
- สามารถตั้งชื่อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (Name your DEEBOT) ได้ตามต้องการ จะมีประโยชน์มากในกรณีที่เรามีหลายเครื่อง เช่นเครื่องชั้นบน และเครื่องชั้นล่าง
- ส่วนของการช่วยเหลือ (Help) จะข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
- คำถามที่ถามบ่อย (FAQs)
- คู่มือการใช้งาน (Instruction Manual)
- วีดีโอสอนการใช้งาน (Video Tutorial)
- สามารถดูเวอร์ชั่นของเฟิร์มแวร์ (Firmware Version) เครื่องได้ว่าเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง พร้อมดูหมายเลขซีเรียล (Serial Number) ประจำเครื่อง
- สามารถแจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียง ได้ผ่านแอปพลิเคชัน (Find my DEEBOT)
คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
ลองมาดู 5 คำถามที่คุณต้องอยากรู้ ดูบ้าง ว่ามีข้อไหนตรงใจหรือเปล่า และถ้าหากไม่มีข้อไหนตรงใจ ก็สามารถทิ้งคำถามเอาไว้ที่ส่วนของการแสดงความคิดเห็น ด้านล่างของบทความได้เลย
1. หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 มีความแตกต่างกับ ECOVACS DEEBOT OZMO 930 ที่เคยรีวิวมาก่อนหน้านี้อย่างไรบ้าง ?
คุณสามารถดูตารางเปรียบเทียบของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ECOVACS DEEBOT ตระกูล OZMO ทั้ง 2 รุ่นนี้ได้ที่นี่ กดตรงนี้เพื่อดูตารางเปรียบเทียบ
2. สภาพของภายในของ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หลังใช้งานไปได้ 3 วันเป็นอย่างไร ?
หลังจากที่ใช้งานดูดฝุ่นไปได้ 3 วัน ในพื้นที่ห้องรวมกันทั้งหมด 3 ห้องประมาณ 50 ตารางเมตร (m2) พบว่า ปริมาณฝุ่นที่ถูกดูดมามีค่อนข้างมาก เส้นผมที่ยาวๆ รวมไปถึงเศษแมลงเม่า รวมไปถึงเศษฝุ่นละอองขนาดเล็กต่างๆ ก็สามารถถูกดูดเข้ามาได้หมดจด โดยส่วนมากแล้วจะไปกระจุกอยู่ตรง ตาข่ายกรองฝุ่น ซึ่งเป็นแผ่นกรองชั้นแรก
3. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถ ติดต่อสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เลย
โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลย ที่รายละเอียดการติดต่อ ที่ข้อ 7 ด้านล่างนี้ได้เลย
4. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถติดต่อสอบถาม รายละเอียดการสั่ง ซื้อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900 นี้ได้ผ่านทาง Inbox ของทางเฟสบุ๊คเพจ ECOVACS ROBOTICS ตามกรอบด้านล่าง
บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT OZMO 900
ข้อดีทั่วไป 🙂
- สามารถวิ่งเข้าออกห้องต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และกลับแท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ
- เครื่องวิ่งทำความสะอาดค่อนข้างเร็ว ไม่เฉื่อย แต่วิ่งครบทุกตารางนิ้ว
- การวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับอย่างเช่นธรณีประตู หรือแม้แต่ระหว่างพรมกับพื้นกระเบื้อง สามารถทำได้ดี ไม่ติดขัด (แต่ความสูงไม่ควรเกิน 1.6 เซนติเมตร)
- การนำถังน้ำออกจากเครื่อง สามารถบีบสลักล็อคแล้วดึงออกมาได้เลย โดยไม่ต้องยก หรือคว่ำตัวเครื่องให้เมื่อย
- อุปกรณ์เสริม และอะไหล่สำรอง ให้มาเยอะดี อุปกรณ์สิ้นเปลืองอย่างแผ่นกรองอากาศ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ หรือแม้แต่ แปรงกวาดข้าง จะให้มาสำรองด้วยเช่นกัน
- อุปกรณ์ป้องกันตัวเครื่อง ให้มาเยอะมากๆ เพื่อป้องกันตัวเครื่องเกิดความเสียหาย ขณะขนส่ง หรือขนย้ายเครื่อง
- มีระบบรายงานการทำงานด้วยเสียงเสียง แบบเสียงดังฟังชัด มีภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ ให้เลือก (แต่ไม่มีภาษาไทย)
ข้อดีในส่วนของแอปพลิเคชัน 🙂
- สามารถแสดงแผนที่จำลองของห้องแบบสดๆ บนแอปพลิเคชัน ขณะกำลังทำความสะอาด จะเห็นเลยว่าห้องต่างๆ เรามีหน้าตาเป็นอย่างไร
- มีโหมดการทำความสะอาดเสริมให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การสร้างกำแพงจำลอง โหมดการทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ และกำหนดจุดเอง
- การตอบสนองของแอปพลิเคชัน ที่ส่งคำสั่ง หรือข้อมูลไปยังตัวเครื่องค่อนข้างรวดเร็วมาก กดปุ๊บก็ตอบสนองทันที
- สามารถอัพเดทซอฟต์แวร์ (เฟิร์มแวร์) จากผู้พัฒนาที่อาจจะออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงให้การทำงานของเครื่องได้ดีขึ้น บนตัวเครื่องได้ผ่านแอปพลิเคชันเลย
- ความสามารถห้ามรบกวน ถือว่าดีงาม เพราะมันจะปิดไฟที่ตัวเครื่อง ปิดเสียง ไม่ให้รบกวนการนอนหลับพักผ่อน
- ต่อให้ไฟฟ้าดับ อินเทอร์เน็ตหลุด หรือแบตเตอรี่หมด แผนที่จำลองของห้องของคุณจะไม่หายไปไหนแน่นอน เพราะมันถูกเก็บในหน่วยความจำถาวร ที่อยู่ในตัวเครื่อง
- การใช้งานแอปพลิเคชันโดยรวมถือว่าไม่ได้ซับซ้อน เมนูดูไม่งง
ข้อเสีย 🙁
- ไม่สามารถปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่นได้เอง (มีความแรงของพัดลมระดับเดียวเท่านั้น)
- ตัวเครื่องรองรับขนาดพื้นที่ได้ 150 ตารางเมตร (ซึ่งก็ถือว่ามากพอสมควรแล้ว) แต่ถ้าคุณมีพื้นที่มากกว่านั้น อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการจดจำแผนที่จำลองของห้องได้