เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
รีวิวฉบับนี้เป็นรีวิว เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor เครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ไม่เกิน 50 ตารางเมตร (m2) จากประเทศแถบยุโรปตะวันตกอย่างสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) ที่ผ่านการทดสอบ และรับรองมามากมายจากสถาบันทดสอบที่น่าเชื่อถือ อย่าง TÜV Rheinland ประเทศเยอรมัน (ดูผลการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ Stadler Form Viktor)
โดยเครื่องฟอกอากาศ Stadler Form Viktor เครื่องนี้เป็น เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ที่จัดว่ามีความโดดเด่นในเรื่องของการออกแบบดีไซน์ตัวผลิตภัณฑ์ และระบบกรองอากาศ HPP™ (HPP Filter System™) ที่มีจุดเด่นคือ มันสามารถกรองฝุ่น หรืออนุภาคต่างๆ ที่มีขนาดเล็กได้มากมาย และยังสามารถนำไปล้างน้ำทำความสะอาดได้ ถือเป็นเอกลักษณะเฉพาะจากแบรนด์ Stadler Form นี้เลยก็ว่าได้
ด้านล่างนี้เป็นเมนูลัด (Shortcut) ที่จะช่วยให้คุณได้สามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของบทความรีวิวฉบับนี้ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- รู้จักกับผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Standler Form
- แกะกล่องผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค
- คุณสมบัติ และ ความสามารถ
- สำรวจส่วนประกอบรอบๆ ตัวเครื่อง
- คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs)
- บทสรุปการใช้งาน
ด้านล่างนี้เป็นคลิปวีดีโอรีวิวเครื่องฟอกอากาศ Stadler Form รุ่น Viktor ความยาวเกือบๆ 13 นาที มีการอธิบายหลักการการทำงานของระบบกรองอากาศ HPP อย่างละเอียดยิบ
รู้จักกับ เครื่องใช้ไฟฟ้า Stadler Form ให้มากขึ้นกว่านี้
คุณสามารถทำความรู้จักกับ ที่มาที่ไปของแบรนด์ เครื่องใช้ไฟฟ้า Stadler Form จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) ให้มากขึ้นกว่านี้ ว่าเป็นใครมาจากไหน น่าเชื่อถือได้แค่ไหน พร้อมประวัติความเป็นมา ได้ง่ายๆ ด้วยการกดที่ลิงค์เชื่อมต่อด้านล่างนี้ได้เลย
⇒ ทำความรู้จักกับ เครื่องใช้ไฟฟ้า Stadler Form ได้ที่นี่
แกะกล่องผลิตภัณฑ์ เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
กล่องผลิตภัณฑ์มาในโทนสีขาวเทา ตามสีของแบรนด์ Stadler Form อยู่แล้ว มีภาษาอธิบายหลักๆ อยู่ทั้งหมด 3 ภาษาด้วยกันคือ ภาษาอังกฤษ (EN – English) ภาษาเยอรมัน (DE – Deutsch) และภาษาฝรั่งเศส (FR – French) โดยตัวกล่องมีขนาดมิติอยู่ที่ ยาว (L) 292 x กว้าง (W) 292 x สูง (H) 515 มิลลิเมตร
ด้านหน้ากล่อง : รูปตัวเครื่อง Stadler Form Viktor สีดำวางเด่นเป็นสง่าตรงกลาง โดยที่มุมซ้ายบนของกล่องมีข้อความเขียนว่า “Viktor – Air Purifier” (ถ้าไม่มีข้อความใดๆ บอกก็คงไม่รู้ว่ามันคือเครื่องฟอกอากาศ เพราะแว๊บแรกที่เห็น คิดว่าเป็นเคสคอมพิวเตอร์ มากกว่า) ในขณะที่ด้านมุมซ้ายล่าง มีบอกถึง ข้อมูลคุณสมบัติ และความสามารถ ของมันทั้งหมด 3 อย่าง
ด้านหลังกล่อง : ข้อมูล และการจัดวางเหมือนกับด้านหน้ากล่องทั้งหมด แต่เปลี่ยนรูปของตัวเครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor เป็นสีขาว
ด้านซ้ายกล่อง : มีบอก คุณสมบัติ และความสามารถ อีก 4 อย่างเช่นกัน พร้อมรูปประกอบที่เข้าใจง่าย ตรงกลางมีรูปใหญ่ๆ บอก ส่วนประกอบของตัวเครื่อง ที่เป็นลักษณะของภาพกราฟิก บอกทิศทางการไหลของอากาศ ว่าอากาศไหลจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ที่มุมซ้ายล่างมีบอกค่าของพื้นที่ ที่เครื่องฟอกอากาศเครื่องนี้รองรับ นั่นก็คือ 50 ตารางเมตร (m2) หรือ 540 ตารางฟุต (Sq.ft) นั่นเอง
นอกจากนี้แล้วที่มุมซ้ายล่างของด้านซ้ายกล่อง มีบอกข้อมูลว่า “Designed in Switzerland, Made in China” หรือว่า “ออกแบบในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และผลิตในประเทศจีน”
ด้านขวากล่อง : แสดงข้อความขอบคุณของ นายมาร์ติน สเตทเลอร์ (Martin Stadler) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Stadler Form ที่มีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจคนี้ทั้งหมด ทั้งทีมออกแบบ คิดไอเดีย ทีมวิศวกร และอื่นๆ
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
รายละเอียด (Specification) |
|
ขนาดมิติ (Dimension) |
246 x 246 x 451 มิลลิเมตร |
น้ำหนักเครื่อง (Net Weight) |
|
ไฟเข้า (Input) |
AC 220-240V 50/60 Hz |
อัตราการกินไฟ (Power Consumption) |
|
พื้นที่รองรับ (Area Coverage) |
50 ตารางเมตร (m2) |
ชั้นของแผ่นกรองอากาศ (Air Filter Layers) |
|
ระดับเสียงขณะนำงาน (Noise Level) |
สูงสุด 57 dB. |
คุณสมบัติ และ ความสามารถ ของเครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor เครื่องนี้ มีคุณสมบัติ และความสามารถที่โดดเด่นต่างๆ อยู่พอสมควร เราลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. Three-Layered Air Filters with HPP Filter System™ (แผ่นกรองอากาศ 3 ชั้น พร้อมระบบกรองอากาศ HPP™)
เครื่องนี้ใช้แผ่นกรองอากาศแบบแยกชิ้นกันทั้งหมด โดยมีอยู่ทั้งหมด 3 ชั้นแบบแยกชิ้นด้วยกัน จัดวางเป็นแบบแนวนอนเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ทำให้การถอดแผ่นกรองอากาศแต่ละชิ้นออกมาบำรุงรักษาเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
โดยแผ่นกรองอากาศทั้งหมดนี้ มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ฝุ่น PM 2.5) หรือฝุ่นขนาดใหญ่อย่างเส้นผม ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ รวมไปถึง กรองกลิ่นไม่พึงประสงค์ เขม่าจากควันไอเสีย ควันบุหรี่ รวมไปถึงเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศอย่างเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา และอื่นๆ อีกมากมาย
โดยเมื่อเปิดฝาหลังเครื่อง (Rear Cover) ซึ่งก็ทำหน้าที่เป็น ฝาครอบแผ่นกรองอากาศ (Air Filter Cover) ที่อยู่ด้านหลังของตัวเครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor ออกมาจะพบกับ แผ่นกรองอากาศชั้นต่างๆ จัดเรียงอยู่ดังต่อไปนี้
- Pre Filter (แผ่นกรองชั้นต้น) : อยู่ข้างล่างสุดของตัวเครื่อง สาเหตุเพราะอากาศถูกดูดจากด้านล่างขึ้นด้านบน
- HPP Filter System™ (ระบบกรองอากาศ HPP™) : กล่องทรงลูกบาศก์อยู่ชั้นกลาง ขนาดใหญ่พร้อมหูหิ้ว
- Activated Carbon Filter (แผ่นกรองคาร์บอน) : อยู่ชั้นบนสุด สีดำ เวลาเขย่าจะได้ยินเสียงเม็ดถ่านอยูข้างใน
2. Efficient and Washable HPP Filter Box (กล่องกรองอากาศ HPP™ ที่สามารถล้างน้ำได้)
ระบบแผ่นกรองอากาศที่เรียกว่า “HPP™” ย่อมาจากคำว่า “High Potential Particles” เอกลักษณ์เฉพาะจากแบรนด์ Stadler Form ที่มีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศได้สูงสุดถึง 99.97% หรือ กรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน (ไมโครเมตร) (µm) ได้เช่นเดียวกับ ระบบกรองอากาศ HEPA ที่มีความสามารถในการกรองได้พอๆ กัน
แต่ว่าข้อแตกต่างที่สำคัญของระบบกรองอากาศ HPP™ คือตัวกล่องกรองอากาศ HPP™ สามารถนำไปล้างด้วยน้ำได้ ซึ่งต่างกับแผ่นกรองอากาศ HEPA ที่เป็นเยื่อกระดาษ ถ้านำไปล้างด้วยน้ำบ่อยๆ มันจะเปื่อย เป็นขุย ประสิทธิภาพในการกรองอากาศจะลดลงโดยทันที (หลักการการทำงานของระบบกรองอากาศ HPP™)
3. Fragrance Dispenser for Essential Oil (มีที่ปล่อยกลิ่นน้ำหอม ของน้ำมันหอมระเหย)
การปล่อยกลิ่นน้ำหอม ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) สำหรัยเครื่องฟอกอากาศ จัดว่าเป็นความสามารถที่ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก แต่สำหรับ เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor นั้น ก็ได้มีความสามารถนี้ติดไม้ติดมือมาให้ด้วย
คุณสามารถที่จะหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนที่ใส่น้ำมันหอมระเหย (Fragrance Dispenser) ประมาณ 1-2 หยด* ลงบนแผ่นเส้นใยฟรีซ (Fleece) ที่อยู่ที่ใส่น้ำมันหอมระเหย (ต้องกด “ปุ่ม Push to Open” เสียก่อน) ที่อยู่ส่วนบนของด้านหลังเครื่อง แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นโปรดของคุณลงไป
โดยหลังจากที่อากาศผ่านกระบวนการฟอกอากาศจนบริสุทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมาผ่านที่ใส่น้ำมันหอมระเหยตรงนี้ เพื่อให้เครื่องปล่อยกลิ่นหอมออกมาได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
หมายเหตุ* : การหยดน้ำมันหอมระเหยลงไปมากเกินไปอาจส่งผลให้เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor และข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของคุณ เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นควรหยดเพียง 1-2 หยดเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม : ถ้าต้องการเปลี่ยนกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะต้องทำอย่างไร ?
4. Auto Power-Off and Five Speed Levels (มีระบบตั้งเวลาปิดเครื่องอัตโนมัติ และ ระดับความแรงของพัดลมดูดอากาศ 5 ระดับ)
เครื่องนี้ยังมีความสามารถเสริมมาให้อีก 2 ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็น
- Auto Power-Off or Timer (ระบบตั้งเวลาปิดเครื่องอัตโนมัติ) : ช่วยให้ผู้ใช้งานได้สามารถตั้งได้ว่าจะปิดเครื่องหลังจากนี้อีก 2/ 4/ 8 ชั่วโมง เป็นประโยชน์มากสำหรับคนที่ไม่อยู่บ้าน หรือประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นๆ
- Five Speed Levels (ปรับระดับความความแรงของพัดลมดูดอากาศได้ 5 ระดับ) : ในแต่ละระดับจะมีความแรงของลม อัตราการกินไฟ รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
- First Level (ระดับ 1) : เหมาะสำหรับเปิดในขณะหลับพักผ่อนตอนกลางคืน (เสียงเงียบที่สุด)
- Second Level (ระดับ 2) : เหมาะสำหรับเปิดในห้องนอน หรือห้องขนาดเล็กอื่นๆ (เสียงเงียบ)
- Third Level (ระดับ 3) : เหมาะสำหรับเปิดต่อเนื่องในเวลากลางวัน ในห้องขนาดเล็กกว่า 25 ตารางเมตร
- Forth Level (ระดับ 4) : เหมาะสำหรับเปิดต่อเนื่องในเวลากลางวัน ในห้องขนาดเล็กกว่า 50 ตารางเมตร
- Fifth Level (ระดับ 5) : เหมาะสำหรับห้องที่เต็มไปด้วยฝุ่น หรือไม่ได้อยู่บ้าน (ห้อง) มาหลายวัน
5. TÜV Rheinland Assessment Verification (ผ่านการรับรองจากสถาบัน TÜV Rheinland ประเทศเยอรมัน)
เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor ได้ผ่านการรับรองจากสถาบัน TÜV Rheinland ประเทศเยอรมัน จากการประเมิน 2 ด้านคือ
- Ozone Concentration (ความเข้มข้นของโอโซน) : จากการทดสอบพบว่าเครื่องนี้แทบจะไม่ได้ปล่อยก๊าซโอโซน (Ozone) ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อร่างกายมนุษย์ ออกสู่อากาศเลยแม้แต่น้อย
- Particle Concentration (ความเข้มข้นของอนุภาค หรือ ฝุ่นละออง) : การทดสอบการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 และ 0.5 ไมครอน (µm) พบว่าหลังจากที่เปิดเครื่องฟอกอากาศเครื่องนี้เป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง มันสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศไปได้มากกว่า 90%
โดยทางสถาบันฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า เครื่องฟอกอากาศ เครื่องนี้เหมาะสมสำหรับการทำงานในสภาวะแวดล้อม หรือในห้องที่มีขนาดไม่เกิน 50 ตารางเมตร (m2) เท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6. Very Quite Operation (ขณะเครื่องกำลังทำงาน มีเสียงเงียบมากๆ)
เครื่องนี้มีเสียงที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงานที่ค่อนข้างเงียบมากๆ จากที่สังเกตดูที่ด้านบนของตัวเครื่อง ภายในมีพัดลมดูดอากาศขนาดเล็ก ทำงานร่วมกันอยู่ทั้งหมด 4 ตัว โดยจากข้อมูลในคู่มือการใช้งานพบว่า มีระดับเสียงอยู่ระหว่าง 30.5 เดซิเบล (เทียบเท่าเสียงกระซิบของมนุษย์) ถึง 57.0 เดซิเบล (เสียงสนทนาในระดับปกติของมนุษย์) เท่านั้นเอง
สำรวจส่วนประกอบรอบๆ ตัว เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
มาดูส่วนประกอบของเครื่องฟอกอากาศเครื่องนี้กันดูบ้าง ว่ามีอะไร จุดไหนที่น่าสนใจกันบ้าง ? เพราะด้วยความที่ดีไซน์ของตัวเครื่องค่อนข้างที่จะดูเรียบง่ายมากๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็มีอะไรน่าสนใจอยู่มากมายเลยทีเดียว ลองมาดูกันเลย
- Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Rear and Inside Components (ส่วนประกอบด้านหลัง และด้านใน)
- Control Panel Component (ส่วนประกอบของแผงควบคุมเครื่อง)
- Air Filter Component (ส่วนประกอบของแผ่นกรองอากาศ)
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Control Panel (แผงควบคุมเครื่อง) : อยู่ด้านของตัวเครื่อง ปะปนไปกับช่องอากาศออก ถ้ามองผ่านๆ จะมองไม่ออกเลยว่าอยู่ตรงส่วนใด
- Body of Unit or Housing (ส่วนของตัวเครื่อง) : ทำมาจากพลาสติก ABS ที่มีคุณสมบัติไม่แตก และไม่เป็นรอยได้ง่ายๆ แถมยังมีความเหนียว และแข็งแรงสูงอีกด้วย
- Foot of Unit or Zinc Foot (ส่วนของฐานวางเครื่อง) : ฐานวางหรือขาตั้งเครื่อง ช่วยทำให้เครื่องฟอกอากาศยกสูงจากพื้นประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยึดด้วยน๊อต 4 ตัว
- Air Outlet (ช่องอากาศออก) : อยู่ด้านบนของตัวเครื่อง ถ้ามองทะลุซี่ของตะแกรงเข้าไปจะเห็นพัดลมดูดอากาศ 4 ตัวจัดวางแบบ 2 x 2
- Air Inlet (ช่องอากาศเข้า) : อยู่ข้างใต้ตัวเครื่อง ด้วยเหตุนี้เองเครื่องนี้จึงจำเป็นจะต้องติดตั้งฐานวางเครื่องด้วย เพื่อให้อากาศถูกดูดเข้าไปฟอกภายในเครื่องได้อย่างสะดวก
Rear and Inside Components (ส่วนประกอบด้านหลัง และด้านใน)
- Fragrance Dispenser Slot (ช่องใส่ที่ใส่น้ำมันหอมระเหย) : อยู่ช่องด้านบนสุด เป็นช่องเล็กๆ เพื่อให้อากาศที่ผ่านการกรองจากแผ่นกรองอากาศชั้นต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไหลผ่านน้ำมันหอมระเหย ก่อนถูกปล่อยออกมาสู่ภายนอกอีกครั้ง
- Activated Carbon Filter Slot (ช่องใส่แผ่นกรองคาร์บอน) : อยู่ช่องที่สาม อยู่ตำแหน่งบนสุดของแผ่นกรองอากาศทั้งหมด
- HPP Filter Box Slot (ช่องใส่กล่องกรองอากาศ HPP™) : อยู่ช่องที่สอง เป็นช่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพื่อรองรับตัวกล่องกรองอากาศ HPP™ แต่ไม่ต้องห่วง ที่ตัวกล่องฯ มีหูหิ้ว ให้สามารถดึงออกมาจากตัวเครื่องได้ง่ายๆ
- Locking Mechanism for the HPP™ Filter (ที่ล็อคกล่องกรองอากาศ HPP™) : มีอยู่ 2 ฝั่งซ้ายขวา เพื่อป้องกันไม่ให้กล่องกรองอากาศ HPP™ ตกหล่นออกมาจากช่องใส่กล่องฯ ในขณะที่กำลังขนย้าย เนื่องจากกล่องนี้มีน้ำหนักค่อนข้างมาก
- Pre Filter Slot (ช่องใส่แผ่นกรองอากาศชั้นต้น) : อยู่ช่องแรก โดยจะต้องถอดฝาครอบแผ่นกรองอากาศออกเสียก่อน ถึงจะเห็นช่องใส่แผ่นกรองอากาศชั้นต้น ซึ่งก็อยู่ล่างสุด (เพราะอากาศไหลจากข้างล่าง ขึ้นข้างบน)
- DC Jack (ช่องเสียบไฟตรงกับอะแดปเตอร์) : อยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง ตัวเครื่องนี้รับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) มีแรงดันไฟฟ้า 15 โวลต์ (V) และกระแสไฟฟ้า 2.4 แอมป์ (A)
Control Panel Component (ส่วนประกอบของแผงควบคุมเครื่อง)
เนื่องจากเครื่องนี้ทางผู้ผลิตเขาค่อนข้างเน้นในเรื่องของการดีไซน์เป็นหลัก ดังนั้นในส่วนของปุ่มกดต่างๆ อาจจะดูหายากไปสักนิด จริงๆ มันไม่ได้หายไปไหนหรอก มันซ่อนอยู่ตรงซี่ของตะแกรงที่อยู่ด้านบนของตัวเครื่องนั่นเอง
- HPP™ Filter System Monitoring Light (ไฟแสดงสถานะของระบบกรองอากาศ HPP™) : บอกว่าระบบกรองอากาศ HPP กำลังทำงานปกติอยู่หรือไม่ โดยมีความหมายดังต่อไปนี้
- LED Illuminated (ไฟสว่างค้าง) : ระบบกรองอากาศ HPP ทำงานเป็นปกติ
- LED Not Illuminated (ไฟดับ) : ระบบกรองอากาศ HPP หยุดทำงาน หรือไม่ได้ทำงานอยู่
- LED Diminished (ไฟสลัว) : กล่องกรองอากาศ HPP™ สกปรก ต้องได้รับ การทำความสะอาด โดยเร็ว
- Speed Level Button (ปุ่มปรับระดับความแรงของพัดลมดูดอากาศ) : มีความแรงทั้งหมด 5 ระดับ กดเพื่อเวียนไปตั้งแต่ “ระดับ 1 → 2 → 3 → 4 → 5 → กลับมาเริ่มระดับ 1 อีกครั้ง“
- ON/OFF Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง) : ปุ่มวงกลมสีดำอยู่ที่มุมขวาล่างของด้านบนตัวเครื่อง กดสั้นๆ เพื่อเปิดเครื่อง (ในขณะเครื่องกำลังปิดอยู่) และกดสั้นๆ อีกหนึ่งครั้งเพื่อปิดเครื่อง (ในขณะที่เครื่องกำลังเปิดอยู่)
- Timer Button (ปุ่มตั้งเวลาปิดเครื่อง) : ใช้ตั้งเวลาปิดเครื่องล่วงหน้าได้ 3 ช่วงเวลาคือ 2/ 4/ 8 ชั่วโมง โดยกดปุ่มนี้เพื่อวนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ “2h → 4h → 8h → ยกเลิกการตั้งเวลาปิดเครื่อง“
- Night Mode or Dimmer Button (ปุ่มเปิดปิดโหมดกลางคืน) : อยู่ที่มุมซ้ายล่างของแผงควบคุมบนตัวเครื่อง ใช้หรี่ และปิดแสงไฟ LED บนตัวเครื่อง มี 3 ระดับวนไป (ไฟสว่างปกติ → ไฟสว่างน้อย (หรี่) → ไฟดับ) เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนในขณะนอนหลับพักผ่อน (เพราะถ้าปิดไฟห้อง แสงไฟจาก LED จะสว่างจ้ามาก)
Air Filter Component (ส่วนประกอบของแผ่นกรองอากาศ)
คุณสามารถดูรายละเอียดลักษณะทางกายภาพ ของแผ่นกรองอากาศทั้ง 3 ชั้น ได้แก่ แผ่นกรองอากาศชั้นต้น (Pre Filter) ระบบกรองอากาศ HPP™ (HPP Filter System™) และ แผ่นกรองคาร์บอน (Activated Carbon Filter) ในขณะที่ตารางด้านล่างนี้คือคุณสมบัติ และความสามารถในการกรอง ของแผ่นกรองอากาศทั้งหมด ที่ได้สรุปมาให้
ลำดับชั้น (Layer) |
ประเภทของการกรอง (Filter Type) |
คุณสมบัติในการกรองอากาศ (Filter Properties) |
กรองชั้นแรก | แผ่นกรองอากาศชั้นต้น (Pre Filter or Preliminary Filter) |
|
กรองชั้นสอง | ระบบกรองอากาศ HPP™ (HPP Filter System™) |
|
กรองชั้นสาม | แผ่นกรองคาร์บอน (Activated Carbon Filter) |
|
1. Pre Filter or Preliminary Filter (แผ่นกรองอากาศชั้นต้น)
แผ่นกรองอากาศขนาดเล็กที่สุด ลักษณะเป็นเหมือนแผ่นฟองน้ำสีเหลือง ที่ยังพอที่จะมองเห็นรูเล็กๆ ทะลุผ่านเข้าไปได้ หน้าที่ของมันก็เพื่อดักกรองฝุ่นละอองขนาดใหญ่ๆ ไม่ให้หลุดลอดเข้าไปยังชั้นต่อไปได้นั่นเอง ในขณะที่ฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ก็ยังคงสามารถผ่านเข้าไปได้
- ขนาดมิติ : กว้าง (W) 168 x ลึก (W) 218 x สูง (H) 10 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก : 24 กรัม (0.024 กิโลกรัม)
2. HPP Filter System (ระบบกรองอากาศ HPP™)
กล่องทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์พร้อมหูหิ้วด้านบน ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดถ้าเทียบกับแผ่นกรองอากาศชนิดอื่นๆ ถ้ามองทะลุเข้าไปภายใน จะเห็นแผ่นโลหะสีเงินวางซ้อนกันในแนวตั้งทั้งหมดประมาณ 30 แผ่น
โดยหลักการการทำงานของมันคือ ในกล่องกรองอากาศ HPP™ นี้จะจ่ายไฟฟ้าประจุบวก (+) เข้าไปยังฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็ก ที่ลอยผ่านเข้ามาด้านใน เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กจำลองขึ้นมา และเมื่อฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็กลอยผ่านแผ่นโลหะขนาดบาง ที่ถูกจัดวางซ้อนกันแบบถี่ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นประจุลบ (-) นั้น มันก็จะคอยทำหน้าที่ดูดฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็ก เหล่านี้เอาไว้ให้ติดกับแผ่นโลหะ ตามหลักการของการสร้างสนามแม่เหล็กง่ายๆ คือ “ขั้วต่างกันจะออกแรงดึงดูดกัน” นั่นเอง
- ขนาดมิติ : กว้าง (W) 162 x ลึก (W) 227 x สูง (H) 185 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก : 1,690 กรัม (1.690 กิโลกรัม)
3. Activated Carbon Filter (แผ่นกรองคาร์บอน)
แผ่นกรองชั้นสุดท้าย สังเกตสีดูจะเป็นสีดำๆ หน่อย จริงๆ แล้วมันก็คือเม็ดของ “ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon)” นั่นเอง มีความสามารถในการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เวลาเขย่า อาจได้ยินเสียงเม็ดถ่านกลิ้งไปกลิ้งมา มีความคล้ายกับเสียงของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอย่างลูกแซก ให้เอาไปใช้ประกอบเสียงดนตรีได้ 🙂 (ไม่ใช่ละ)
นอกจากนี้แล้ว ที่ด้านหน้าของแผ่นกรองมีช่องให้เขียนวันที่ (DATE) ที่เริ่มใช้งานตัวแผ่นกรองฯ เพื่อป้องกันการลืมว่าเราได้เริ่มใช้แผ่นกรองอากาศคาร์บอนนี้เมื่อไหร่ เพราะอายุการใช้งานของมันจะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือนเท่านั้น*
หมายเหตุ* : ในกรณีที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของเครื่องฟอกอากาศด้วยเช่นกัน
- ขนาดมิติ : กว้าง (W) 163 x ลึก (W) 219 x สูง (H) 50 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก : 208 กรัม (0.208 กิโลกรัม)
คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับ เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
1. ทำไมกล่องกรองอากาศ HPP™ ถึงสามารถนำไปล้างน้ำได้ ?
เนื่องจากแผ่นโลหะสีเงิน ที่อยู่ภายในกล่องกรองอากาศ HPP™ นั้นมีหน้าที่ในการดูดฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็ก เข้าไว้ และด้วยความที่มันเป็นโลหะ และกรอบด้านนอกคือพลาสติก จึงทำให้มันสามารถนำไปล้างด้วยนน้ำสะอาดได้สบายๆ
2. ถ้าต้องการเปลี่ยนกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย จะต้องทำอย่างไร เพื่อมีกลิ่นเดิมติดอยู่ ?
การที่จะเปลี่ยนกลิ่นน้ำหอมของน้ำมันหอมระเหยนั้น เราจำเป็นที่จะต้องนำเอาที่ใส่น้ำมันหอมระเหย ทั้งตัวแผ่นเส้นใยฟรีซ และกรอบฝาครอบของมัน ออกไปล้างน้ำ ให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อล้างและขจัดกลิ่นน้ำมันหอมระเหยเดิม ให้หมดไปก่อนที่จะหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นใหม่ลงไป มิเช่นนั้นกลิ่นจะตีกันมั่วไปหมด
3. ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ช่องอากาศออกเป็นอย่างไร ?
เนื่องจากเครื่องนี้ไม่มีเซ็นเซอร์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ติดมากับตัวเครื่อง ก็เลยขอใช้ เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 ยี่ห้อ SNDWAY รุ่น SW-825 ซึ่งเป็นเครื่องวัดฝุ่นยอดฮิตที่คนไทยนิยมใช้กันมาก ในการวัดค่าไฟที่ปากช่องอากาศออก (Air Outlet)
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้น ปรากฏว่าค่า PM 2.5 ที่วัดได้ มีค่าเป็น “0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m3)” นั่นหมายความว่า ไม่มีฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมโครกรัม สามารถที่จะหลุดลอดออกมาจากเครื่องฟอกอากาศเครื่องนี้ได้เลยแม้แต่น้อย
4. อัตราการกินไฟของเครื่องเป็นอย่างไร ค่าไฟต่อเดือนประมาณเท่าไหร่ ?
ส่วนนี้เป็นส่วนของการทดสอบวัดค่าไฟ แล้วจำลองว่า ถ้าเราเปิดนี้เครื่องทิ้งเอาไว้ เฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟจะเป็นอย่างไร โดยทดสอบด้วยเครื่องทดสอบอัตราการกินไฟดิจิตอล (Digital Power Consumption Meter) ที่มีอยู่ ส่วนรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้น ดูได้จากตารางด้านล่างนี้เลย
ความแรงของพัดลม (Fan Speed) |
จำนวนวัตต์ที่บริโภคสูงสุด (Max Power Consumption) |
การคำนวณ (Calculation) |
ค่าไฟ / เดือน (Total Charge / Month) |
ปิดเครื่องแต่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ (Plugged , But Turned Off) |
0.0 วัตต์ | (0 วัตต์ x 14 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 0 บาท |
ระดับ 1 (Level 1) |
7.4 วัตต์ | (7.4 วัตต์ x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 11.1 บาท |
ระดับ 2 (Level 2) |
11.6 วัตต์ | (11.6 วัตต์ x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 17.4 บาท |
ระดับ 3 (Level 3) |
16.3 วัตต์ | (16.3 วัตต์ x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 24.4 บาท |
ระดับ 4 (Level 4) |
22.7 วัตต์ | (22.7 วัตต์ x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 34.0 บาท |
ระดับ 5 (Level 5) |
30.5 วัตต์ | (30.5 วัตต์ x 10 ชั่วโมง x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต) / 1,000 | 45.7 บาท |
หมายเหตุ : คุณสามารถเปลี่ยน ค่าไฟต่อยูนิต (ในตัวอย่างนี้คิด 5 บาทต่อยูนิต – ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง) ให้เป็นไปตามที่จ่ายจริง เพราะที่พักอาศัยในแต่ละที่อาจจะคิดไม่เท่ากัน
4. การดูแลรักษาเครื่องฟอกอากาศ เครื่องนี้ต้องทำอะไรบ้าง ?
ด้านนอกของตัวเครื่อง สามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆ เช็ดได้สบายๆ ในขณะที่แผ่นกรองอากาศ และ ระบบกรองอากาศ ของเครื่องฟอกอากาศเครื่องนี้ใช้แยกกันทั้งหมด จึงทำให้มีอะไหล่สิ้นเปลือง (Consumable Part) อยู่ทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกัน การดูแลรักษาก็มีอยู่ดังต่อไปนี้
ชื่ออะไหล่ (Part Name) |
การดูแลรักษา (Maintenance) |
ระยะเวลาการเปลี่ยน (Replacement Period) |
1. แผ่นกรองอากาศชั้นต้น (Pre Filter) |
นำมาดูดฝุ่นทุกๆ 2 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน) |
6 เดือน |
2. กล่องกรองอากาศ HPP™ (HPP™ Filter Box) |
นำมาล้างน้ำทุกๆ 2 เดือน (ใช้น้ำเย็นล้าง) |
3 ปี |
3. แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter) |
ไม่ต้องทำความสะอาดใดๆ | 6 เดือน |
5. ราคาอะไหล่ของเครื่องฟอกอากาศ เครื่องนี้มีอะไรบ้าง ?
ชื่ออะไหล่ภาษาอังกฤษ (English Part Name) |
ชื่ออะไหล่ภาษาไทย (Thai Part Name) |
ราคาต่อหน่วย (Unit Prices) |
Pre Filter and Activated Carbon Filter (1 Set) | แผ่นกรองอากาศชั้นต้น และ แผ่นกรองคาร์บอน (1 ชุด) | 990 บาท |
HPP™ Filter Box (1 Set) | กล่องกรองอากาศ HPP™ (1 ชุด) | 1,500 บาท |
บทสรุปการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ Stadler Form รุ่น Viktor
ข้อดี 🙂
- ใช้แผ่นกรองอากาศแบบแยกชิ้น ทำให้การดูแลรักษาเป็นไปได้ง่ายกว่าแผ่นกรองอากาศแบบออลอินวัน
- เมื่อเปิดฝาครอบแผ่นกรองอากาศออกมาแล้ว แผ่นกรองอากาศแต่ละชิ้น จะมีบอกชื่อ และลำดับอย่างชัดเจน แถมขนาดช่องยังออกแบบมาให้พอดีกับแผ่นกรองอากาศชนิดนั้นๆ อีกด้วย ไม่ต้องกลัวใส่ผิดช่องอย่างแน่นอน
- กล่องกรองอากาศ HPP™ สามารถถอด และนำไปล้างน้ำได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ในทุกๆ ปี เหมือนแผ่นกรองอากาศ HEPA มีอายุการใช้งานที่นานกว่า แผ่นกรองอากาศ HEPA อย่างแน่นอน
- มีดีไซน์สวยงาม มาพร้อมกับวัสดุคงทน แข็งแรง วางเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านได้ดีเลยทีเดียว
- มีใบรับรองผลการทดสอบการกรองฝุ่นละออง ในห้องปฏิบัติการจากสถาบันรับรอง และทดสอบความปลอดภัย ที่น่าเชื่อถืออย่าง TÜV Rheinland ประเทศเยอรมัน
ข้อเสีย 🙁
- ไม่มีเซ็นเซอร์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มาให้
- ตัวเครื่องไม่มีด้ามจับ หรือหูหิ้วใดๆ ทำให้การขนย้ายเครื่องไปไหนมาไหน จะต้องใช้วิธี “อุ้ม” อย่างเดียว