เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
สวัสดีครับ ! นี่เป็นบทความรีวิว เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 อีกหนึ่งเก้าอี้นวดไฟฟ้าคุณภาพ จาก แบรนด์ MAKOTO ที่ตัวนี้ถือว่าอยู่ในเกรดระดับกลาง (ราคาไม่เกินแสน) ที่อาจจะไม่ได้มีความสามารถ หรือลูกเล่นแปลกใหม่เยอะ เหมือนกับตัว เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A307 ที่ได้เคยรีวิวมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีความสามารถที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น การนวดอวัยวะได้หลายส่วน (แทบจะครบทั่วทั้งตัว) ไม่ว่าจะเป็น คอ บ่า ไหล่ หลัง แขน มือ สะโพก ก้น น่อง ขา รวมไปถึงช่วงเท้า ทำให้สามารถใช้งานได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ พูดง่ายๆ คือ “ใช้ได้ทั้งครอบครัว” และอีกหนึ่งจุดเด่นของมันคือ มันมีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถตั้งในบ้านก็ได้ หรือบนคอนโดมิเนียมก็ดี
ในส่วนของรายละเอียดการนวดนั้น เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 เครื่องนี้มี ระบบการนวดด้วยลูกกลิ้งนวดจำนวน 4 ลูกที่วางอยู่บนรางลูกกลิ้งนวดทรง SL ความยาว 0.95 เมตร และยังมีถุงลมนวด 28 ถุง และระบบปล่อยความร้อนบริเวณแผ่นหลัง มาให้อีก 1 ระบบ พร้อมกับโปรแกรมนวดสำเร็จรูปที่ให้เลือก 5 โปรแกรม และ การนวดแบบกำหนดเอง ให้นวดเฉพาะจุดที่ปวดเมื่อย มาให้อีก 5 รูปแบบ
สำหรับความสามารถอื่นๆ ของมันเป็นอย่างไรนั้น มาติดตามกันต่อด้านล่างนี้ได้เลย และถ้าใครที่อยากข้ามไปอ่านยังเนื้อหาที่ต้องการ ก็สามารถกดจากเมนูลัด (Shortcut Menu) ที่ผมเตรียมเอาไว้ให้ด้านล่างนี้ได้เลยเช่นกันครับ
- ประโยชน์ของ เก้าอี้นวดไฟฟ้า คืออะไร ?
- รู้จักกับ เก้าอี้นวดไฟฟ้ามาโกโตะ (Who is MAKOTO Massage Chair ?)
- ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ของผลิตภัณฑ์
- คุณสมบัติ และความสามารถ
- สำรวจส่วนประกอบของ เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
- เริ่มต้นใช้งานผลิตภัณฑ์
- รายละเอียดโปรแกรมนวดสำเร็จรูป
- ความรู้สึกหลังการใช้งาน
- ทดสอบอัตราการกินไฟของตัวเครื่อง
- การรับประกัน และ การสั่งซื้อ
- บทสรุปการใช้งานข้อดี ข้อเสีย เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
ด้านล่างนี้เป็น คลิปวิดีโอรีวิวเก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 อย่างละเอียด แนะนำครบทุกฟีเจอร์ที่เครื่องนี้มี นอกจากนี้แล้ว ยังรวมไปถึงการทดลองใช้งานเครื่อง ด้วยการสั่งงานผ่านเสียง ลองมาดูกันเลยว่าเป็นอย่างไร
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของ เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
ข้อมูลจำเพาะตรงนี้ อยากให้ดูในส่วนของขนาดมิติตัวเครื่องให้ดีๆ เพราะว่าเราจะต้องเผื่อพื้นที่ในการวางตัวเก้าอี้นวดไฟฟ้า เอาไว้ด้วย ถ้าจะเอาให้มั่นใจจริงๆ อยากให้ยึดตรง ขนาดมิติขณะที่เอนนอนสุด (Recline Dimension) ด้วย เพราะจะได้ใช้เครื่องให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
รายละเอียด (Specification) |
|
ขนาดมิติ (Dimension) |
ขณะตั้งตรงปกติ (Upright) กว้าง (W) x ยาว (L) 130.0 x สูง (H) 115.0 ซม. ขณะเอนนอนสุด (Recline) กว้าง (W) 75.0 x ยาว (L) 174.0 x สูง (H) 88.0 ซม. |
น้ำหนักเครื่อง (Net Weight) |
65 กิโลกรัม |
ไฟเข้า (Input) |
AC 220-240V 50/60 Hz |
อัตราการกินไฟ (Power Consumption) |
0.0202 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) |
จำนวนลูกกลิ้งนวด (Number of Rollers) |
4 ลูก (บริเวณหลัง) |
จำนวนถุงลม (Number of Airbags) |
28 ถุง |
โปรแกรมนวดสำเร็จรูป (Auto Massage Programs) |
|
การนวดแบบกำหนดเอง (Manual Massage) |
|
องศาการปรับเอนพนักพิงหลัง (Backrest Adjustment Angle) |
ตั้งแต่มุม 118 ° ถึง 135° ±2% |
ประเภทวัสดุหุ้มเบาะ (Seat Cover Material) |
หนัง PU (Polyurethane) มีพื้นผิวคล้ายหนังแท้ |
ระดับเสียง (Noise Level) |
น้อยกว่า 60 dB. |
คุณสมบัติ และความสามารถของ เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
1. Intelligent Body Scanner (ระบบสแกนร่างกายสุดฉลาด)
ถึงแม้ว่าเก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 เครื่องนี้จะเป็นเก้าอี้นวดไฟฟ้าระดับกลาง แต่ก็ยังมีระบบที่ช่วยสแกนร่างกาย (Body Scanner) ให้เครื่องได้เรียนรู้ถึงสรีระของผู้ใช้งานก่อนที่จะเริ่มทำการนวดในทุกๆ ครั้ง เพื่อปรับระดับของตำแหน่งลูกกลิ้งนวด ให้เหมาะสม เพื่อให้การนวดทุกครั้งออกมามีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วินาที หลังจากที่เราเปิดเครื่องทุกครั้ง (ไม่ว่าเราจะนวดในโหมดใด หรือรูปแบบใด ก็จะต้องมีการสแกนทุกครั้ง)
2. Four Rollers and Twenty-Eight Airbags (ลูกกลิ้งนวด 4 ลูก และ ถุงลมนวด 28 ถุง)
เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 เครื่องนี้ มีลูกกลิ้งนวด (Massage Roller) มาให้ทั้งหมด 4 ลูก ซึ่งจำนวนนี้ ก็เป็นมาตรฐานของ เก้าอี้นวดไฟฟ้าทั่วๆ ไปอยู่แล้ว โดยมันถูกติดตั้งอยู่บริเวณช่วงแผ่นหลัง บนรางลูกกลิ้งนวดทรง SL ขนาดความยาว 95 เซนติเมตร (0.95 เมตร) ที่จะคอยนวดตั้งแต่บริเวณช่วงต้นคอ ยาวลงมาถึงช่วงบริเวณสะโพกส่วนบน (ไม่ได้ลงไปถึงบริเวณก้นกบนะครับ)
ในขณะที่ถุงลมนวดนั้น เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ให้มาทั้งหมด 28 ถุง โดยมันถูกติดตั้งฝังอยู่บริเวณแขน (8 ถุง), น่อง (12 ถุง) และเท้า (8 ถุง) ที่จะคอยบีบนวดให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นเฉพาะที่ชั่วคราว โดยสามารถปรับระดับความแรงของการบีบถุงลมได้ 3 ระดับ ตามความต้องการของผู้ใช้งานเลย
3. Five Auto Massage Programs and Five Manual Massages (5 โปรแกรมนวดสำเร็จรูป และ 5 การนวดแบบกำหนดเอง)
เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ก็มีโปรแกรมนวดอัตโนมัติ หรือ โปรแกรมนวดสำเร็จรูป (Auto Massage Programs) มาให้เลือกใช้งานกันทั้งหมด 5 รูปแบบ เช่น โปรแกรมนวดเพื่อการผ่อนคลาย (RELAX Massage Program), โปรแกรมนวดเพื่อความสบาย (COMFORT Massage Program) และอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมนวดเหล่านี้ เราสามารถใช้งานได้เลยด้วยการกดปุ่มควบคุมบนรีโมทคอนโทรล แล้วปล่อยให้มันทำงานจนครบเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องกดปุ่มอื่นๆ อีกให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก หรือซับซ้อนในการใช้งาน
ในขณะที่รูปแบบการนวดหลักอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจคือ การนวดแบบกำหนดเอง (Manual Massages) ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการให้เครื่องนวดร่างกายเราเฉพาะจุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การนวดในรูปแบบนี้ก็มีความซับซ้อนในการใช้งานเพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย เพราะจะต้องเลือกรูปแบบการนวดเอง ว่าจะให้กดจุด, คลึง, เคาะนวด และอื่นๆ รวมไปถึงการปรับตำแหน่งของลูกกลิ้งนวด ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการเอง พร้อมปรับระดับความแรงของมัน เป็นต้น
4. SL-Track Roller System (ระบบรางลูกกลิ้งนวดทรง SL)
และเช่นเคย เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 เครื่องนี้ ได้ใช้ระบบรางลูกกลิ้งนวดทรง SL (SL-Track Roller System) ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่าง รางลูกกลิ้งนวด “ทรง L” (หักมุมบริเวณช่วงแผ่นหลัง กับก้นกบ) และ “ทรง S” (มีส่วนโค้งรับบริเวณแผ่นหลัง ช่วงกระดูกสันหลัง) เพื่อช่วยให้รับกับสรีระร่างกายให้มากขึ้นไปอีก
โดยตัวรางลูกกลิ้งนวดทรง SL นี้มีความยาวทั้งสิ้นรวม 0.95 เมตร (หรือ 95 เซนติเมตร) ถูกติดตั้งแบบเปลือย ชนิดที่ไม่มีเบาะรองนั่งปิดทับอยู่ด้านใน โดยปกติแล้ว เก้าอี้นวดไฟฟ้าทั่วๆ ไป รางลูกกลิ้งนวด จะถูกปิดทับด้วยเบาะรองนั่งอีกที แต่ตัวนี้จะมีช่องโหว่ตรงกลาง (ที่ปิดด้วยผ้าใยสังเคราะห์บางๆ เท่านั้น) เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการนวด และจุดปวดเมื่อยต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
โดยความสามารถของการนวดนั้น สามารถนวดต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงบริเวณต้นคอ ลงมาถึงช่วงบริเวณช่วงก้นกบ (หรือก้น) ของผู้ใช้งาน
5. Zero Space Design (การออกแบบที่กินพื้นที่น้อย)
เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ได้ถูกออกแบบให้ประหยัดพื้นที่ในการใช้สอยค่อนข้างมาก โดยในขณะที่เราปรับพนักพิง หรือที่นั่งให้ตั้งตรงสุด (Fully Upright) เราสามารถที่จะวางตัวเครื่อง อยู่ห่างจากขอบกำแพงที่อยู่ด้านหลังด้านหลัง ให้มีระยะห่างเพียงแค่ 5 เซนติเมตรเท่านั้น ! (ถึงว่ากินพื้นที่น้อยมาก) ในขณะที่เก้าอี้นวดไฟฟ้าส่วนใหญ่ ถ้าหากมีการปรับที่นั่งให้เอนนอนจนสุด (Full Reclined) จะใช้พื้นที่ด้านหลังประมาณ 60-80 เซนติเมตร กันเลยทีเดียว
เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ของเครื่องนี้นั้น เวลาที่ตัวเครื่องปรับพนักพิงเอนนอนลง ตัวเครื่องจะมีการเลื่อนขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อยตามลำดับด้วย (ในขณะที่ฐานเครื่องยังคงอยู่ที่เดิม) เพื่อที่จะไปกินพื้นที่ส่วนด้านหน้าแทน แทนที่จะไปใช้พื้นที่ด้านหลัง นี่คืออีกจุดหนึ่งที่ได้เปรียบกว่าเก้าอี้นวดไฟฟ้าในอีกหลายๆ ตัวที่มีอยู่ในท้องตลาด
6. Zero Gravity Position (ท่าเอนนอนแบบแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์)
ถึงแม้ว่าเก้าอี้นวดไฟฟ้าเครื่องนี้ จะเป็น ขนาดกลาง แต่ก็ยังมีออปชันของ ท่าเอนนอนแบบแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ (Zero Gravity Position) มาให้ด้วย โดยท่านี้จะมีการปรับท่านั่งของตัวเก้าอี้ฯ ให้ช่วงบริเวณต้นขา (Thigh) ถูกยกขึ้นจากลำตัว ทำมุม 123 องศา ในขณะที่ช่วงน่อง (Calve) ก็จะถูกยกขึ้นจากช่วงต้นขา ทำมุม 145 องศา ซึ่งจะทำให้อยู่เหนือหัวใจ ทำให้ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายลงบนทุกๆ ส่วนของเก้าอี้นวดไฟฟ้า อย่างเท่าๆ กัน แถมยังช่วยให้การหมุนเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้นชั่วคราวอีกด้วยคอนเซ็ปต์ “ความรู้สึกลอย (Float Feeling)”
สำรวจส่วนประกอบของ เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92
มาดูส่วนประกอบหลักๆ ของตัวเครื่องนี้กันดูบ้างว่ามีจุดไหนน่าสนใจบ้าง โดยจะขอแยกออกเป็น ส่วนต่างๆ ทั้งหมด 4 ส่วนหลักๆ ด้วยกันได้แก่
- Front Machine Components (ส่วนประกอบของตัวเครื่องด้านหน้า)
- Rear Machine Components (ส่วนประกอบของตัวเครื่องด้านหลัง)
- Massage Mechanism Components (ส่วนประกอบของกลไกการนวด)
- Remote Control Component (ส่วนประกอบของรีโมทคอนโทรล)
Front Machine Components (ส่วนประกอบของตัวเครื่องด้านหน้า)
- Pillow Pad (หมอนรองศีรษะ) : เป็นหมอนรองศีรษะที่สามารถนำส่วนที่พับอยู่ ให้ทิ้งตัวลงมาหนุนส่วนของแผ่นหลังได้อีกด้วย มันถูกยึดติดกับตัวเครื่องด้วยแถบซิป ที่แน่นหนา ไม่หลุดออกมาง่ายๆ
- Arm Massage Area (ส่วนของบริเวณที่นวดแขน) : ประกอบไปด้วยชุดถุงลม 4 ถุง (ข้างละ 2 ถุง = ถุงนึงอยู่ด้านบน อีกถุงนึงอยู่ด้านล่าง) ที่จะคอยช่วย บีบนวดบริเวณช่วงท่อนแขน (Forearm)
- Seat Cushion (เบาะรองนั่ง) : มีความหนา และนุ่มพอสมควร จัดเป็นเก้าอี้นวดไฟฟ้าที่นั่งสบายตัวนึงเลย แต่ตรงกลางจะเว้นเป็นร่องเอาไว้สำหรับรางลูกกลิ้งนวด เพื่อให้ลูกกลิ้งนวดขึ้นลงได้ และนวดเข้าถึงจุดปวดเมื่อยของผู้ใช้งาน
- Calve Massage Area (ส่วนของบริเวณที่นวดน่อง) : บริเวณน่อง ที่นอกจากจะมีถุงลมนวด ที่ค่อยบีบเข้า-คลายออกแล้ว มันยังสามารถที่จะนวดคลึงบริเวณน่อง ด้วยการเลื่อนขึ้นลง ในแนวดิ่งได้อีกด้วยเช่นกัน (นี่คือเก้าอี้นวดไฟฟ้าตัวแรก ที่เคยรีวิว และที่มีความสามารถนี้)
- Footrest (ที่พักเท้า) : ประกอบไปด้วยชุดนวดขา และเท้า ที่มีกลไกการนวดทั้งหมด 3 รูปแบบคือ ลูกกลิ้งนวด 2 ชุด อยู่ที่บริเวณฝ่าเท้า, ถุงลมนวดบริเวณน่อง / เอ็นร้อยหวาย / เท้า รวมไปถึงระบบการนวดคลึงบริเวณน่อง
- Front Shrouding (ส่วนหุ้มด้านหน้า) : พลาสติกเนื้อแข็ง ที่ปิดส่วนของกลไกที่อยู่ด้านหน้า ที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่อง และระบบไฮดรอลิก เพื่อใช้ในการยกตัวของที่พักเท้า
- Backrest Pad (เบาะรองหลัง) : เบาะหนังชนิด PU ที่ถูกเย็บเป็นชิ้นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงศีรษะ ยาวลงมาจนถึงส่วนของเบาะรองนั่ง
- Decorating Strip (แถบตกแต่ง) : เพื่อช่วยเพิ่มลวดลาย และตกแต่งตัวเก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ให้มีสีสัน และดูมีมิติมากยิ่งขึ้น
- Lower Side Cover (ฝาปิดด้านข้างส่วนล่าง) : แผ่นฝาปิดด้านข้างบุนวม ของเก้าอี้นวดไฟฟ้า ที่เป็นส่วนหนึ่งของที่พักแขน (Armrest)
- Slide Side Plate (แผ่นสไลด์ด้านข้าง) : แผ่นพลาสติกที่ยึดติดกับลำตัวของตัวเครื่อง เวลาตัวเครื่องเอนนอน แผ่นตัวนี้จะขยับขึ้นไปข้างหน้า พร้อมกับตัวเครื่อง
- Base of Unit (ส่วนของฐานเครื่อง) : ส่วนนี้จะเป็นส่วนรับน้ำหนักของตัวเครื่อง จะอยู่ติดกับพื้น และไม่ได้เคลื่อนที่เข้า-ออก ตามการปรับเอนนอนของตัวเก้าอี้นวดไฟฟ้า
Rear Machine Components (ส่วนประกอบของตัวเครื่องด้านหลัง)
- Backrest Cover (แผ่นปิดพนักพิงด้านหลัง) : แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ ใช้ปิดอุปกรณ์ รวมไปถึงกลไกภายในของตัวเครื่อง และตรงที่เส้นชี้เข้าไปคือ ที่จับยกของตัวเครื่อง ใช้ในเวลาขนย้ายเครื่องนั่นเอง
- Remote Control (รีโมทคอนโทรล) : รีโมทคอนโทรลแบบมีสาย (ความยาว 1.9 เมตร) ซึ่งถือว่ายาวมาก เอาไว้ใช้ควบคุมเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย แถมไม่ต้องใส่ถ่านแบตเตอรี่อีกด้วย
- Drive Box Cover (กล่องควบคุมการทำงาน) : เพื่อให้ตัวเครื่องเก้าอี้นวดไฟฟ้า สามารถทำงานได้อย่างราบลื่น และมีความสัมพันธ์ กันในทุกๆ ส่วน
- Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนัก) : ล้อพลาสติกขนาดเล็ก (แต่มีขนาดกว้างอยู่พอสมควร) ใช้รับน้ำหนักตอนขนย้ายเครื่อง
- Power Cord (สายไฟ) : สายไฟคุณภาพ มาพร้อมกับความยาว 1.6 เมตร มีความเหนียว และหนา พอสมควร
- Power Socket (ช่องเสียบสายไฟ) : เพื่อรับกระแสไฟฟ้าจากไฟบ้าน เข้าไปใช้ และแจกจ่ายยังส่วนประกอบต่างๆ ของตัวเครื่ง
- Fuse Holder (อุปกรณ์บรรจุฟิวส์) : ใช้ฟิวส์ขนาด 15 แอมป์ (A) / 250 โวลต์ (V) เพื่อป้องกันปัญหาไฟเกิน หรือไฟกระชาก เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ฟิวส์จะขาด เพื่อช่วยตัดวงจรการเชื่อมต่อกับภายในเครื่องทันที เป็นการรักษาอุปกรณ์ภายใน อย่างกล่องควบคุมการทำงาน เอาไว้ให้อยู่กับเราไปนานๆ
- Main Switch (สวิตซ์เปิดปิดเครื่องหลัก) : สวิตซ์ใช้จ่ายไฟ เข้าไปในตัวเครื่อง ต้องเปิดก่อน แล้วค่อยเดินไปนั่ง
- Controller Jack (ช่องเชื่อมต่อรีโมทคอนโทรล) : เป็นช่องเสียบสายจากรีโมทคอนโทรล ซึ่งเป็นสายควบคุมเครื่อง โดยมันมีความเซฟตี้อยู่พอสมควร เพราะมันมีหัวเกลียวล็อก ที่จะต้องหมุนเพื่อติดตั้งก่อน ทำให้ไม่สามารถดึงสายออกจากตัวเครื่องได้ทันที
Massage Mechanism Components (ส่วนประกอบของกลไกการนวด)
ภาพด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงกลไกการนวด ของเก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ว่ามีความสามารถในการนวดอวัยวะส่วนใดได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของศีรษะ (Head), ท่อนแขน (Arm), หลัง (Back), สะโพก (Hip), ขา (Leg) และเท้า (Foot) รวมไปถึงแสดงจำนวนของถุงลม ที่ถูกติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ของตัวเครื่องเก้าอี้นวดไฟฟ้าอีกด้วยเช่นกัน
Remote Control Component (ส่วนประกอบของรีโมทคอนโทรล)
เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO A92 ได้ใส่ปุ่มควบคุมต่างๆ แบบแยกฟังก์ชัน เข้าไว้ทั้งหมด พร้อมคำอธิบาย หรือสัญลักษณ์ที่ปุ่ม (ที่เคยรีวิวมาบางรุ่น จะมีปุ่มน้อย แต่ต้องกดปุ่มเดิมวนซ้ำกันไป) ซึ่งข้อดีของมันคือทำความเข้าใจง่าย แต่ข้อเสียคือ มันจะดู (เหมือน) ว่ามีปุ่มกดเยอะไปหน่อย แต่จริงๆ แล้วไม่ต้องตกใจครับ
ซึ่งหลังจากที่ผมทำความเข้าใจอยู่พักนึง ก็พอแยกออกแล้วว่า ทางผู้ผลิตเขาต้องการที่จะสื่ออะไร จึงขอแบ่งหมวดออกมาได้ดังต่อไปนี้
1. Main and Auto Massage Program Controllers (ส่วนควบคุมหลัก และโปรแกรมนวดสำเร็จรูป)
- ON/OFF Switch (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง) : หลังจากเปิดสวิตซ์เปิดปิดเครื่องหลัก ที่อยู่ด้านหลังแล้ว ต้องกดปุ่มนี้ด้วย เพื่อให้เครื่องเริ่มโปรแกรมนวด
- Auto Mode Controllers (ส่วนควบคุมโปรแกรมนวดสำเร็จรูป) : มีอยู่ทั้งหมด 5 ปุ่มหลักๆ ได้แก่
- Neck and Shoulder Button (ปุ่มเปิดโปรแกรมนวดที่เน้นบริเวณคอ และไหล่)
- Back and Waist Button (ปุ่มเปิดโปรแกรมนวดที่เน้นบริเวณหลัง และเอว)
- Relax Button (ปุ่มเปิดโปรแกรมนวดเพื่อผ่อนคลาย)
- Comfort Button (ปุ่มเปิดโปรแกรมนวดเพื่อความสบาย)
- Decompress Button (ปุ่มเปิดโปรแกรมนวด)
2. Position Adjustment Controllers (ส่วนควบคุมการปรับตำแหน่ง)
ส่วนนี้จะเป็นชุดปุ่มวงกลม ที่อยู่ตรงกลางรีโมทคอนโทรล ที่รายล้อมไปด้วย ส่วนควบคุมหลัก (ในข้อ 1.) มีหน้าที่ในการปรับตำแหน่งท่านนั่งให้ตั้งตรง หรือเอนนอน ต่างๆ ลองมาดูปุ่มกันเลย
- Backrest Incline (ปุ่มปรับพนักพิงขึ้น) : ใช้ปรับพนักพิงหลังขึ้นมา ให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อมใช้งานในตอนแรก
- Backrest Recline (ปุ่มปรับพนักพิงลง) : ใช้ปรับพนักพิงหลังลง ให้อยู่ในท่าเอนนอนตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
- Auto Lie-down Mode (ปุ่มปรับเอนนอนอัตโนมัติ) : กดปุ่มนี้ตัวเก้าอี้จะเอนนอนลงมาในตำแหน่งที่ถูกผู้ผลิตโปรแกรม (ตั้งค่า) เอาไว้ โดยมีทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน เอนนอน → เอนปานกลาง → เอนมากสุด (ท่าเอนนอนแบบแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ หรือ Zero-G)
- Shoulder Adjustment Button (ปุ่มปรับตำแหน่งของลูกกลิ้งนวดบริเวณไหล่) : สามารถปรับตำแหน่งของลูกกลิ้งนวด ให้อยู่ตรงกับบริเวณไหล่ของเรา (เพราะแต่ละคนมีสรีระร่างกาย ที่ไม่เหมือนกัน)
3. Manual Massage Controllers (ส่วนควบคุมการนวดแบบกำหนดเอง)
สำหรับชุดปุ่มในส่วนนี้ จะอยู่ในฝาพับ หรือฝาปิดของรีโมทคอนโทรล ต้องเปิดฝาพับออกมาก่อน แล้วจะพบกับชุดปุ่มต่างๆ อีกมากมาย ดังต่อไปนี้
- Manual Massage Controllers (ส่วนควบคุมการนวดแบบกำหนดเอง) : มีทั้งหมด 5 ปุ่มหลักๆ ได้แก่
- Knead Button (ปุ่มเปิดการนวดแบบคลึง)
- Tap Button (ปุ่มเปิดระบบการนวดแบบเคาะนวด)
- Knead and Tap Button (ปุ่มเปิดนวดแบบคลึง และ แบบเคาะนวด)
- Knock Button (ปุ่มเปิดปิดระบบการนวดแบบเคาะเบาๆ หรือทุบ)
- Shiatsu Button (ปุ่มเปิดปิดระบบการนวดแบบกดจุด)
- Width and Speed Button (ปุ่มปรับระดับความกว้าง และความเร็วของลูกกลิ้งนวด) : สามารถใช้ได้กับการนวดแบบกำหนดเองในบางรูปแบบเท่านั้น
- Roller Position Adjustment Button Set (ชุดปุ่มปรับตำแหน่งลูกกลิ้งนวด) : มี 3 ปุ่มหลักๆ คือ
- Level up Button (ปุ่มลูกศรชี้ขึ้น – ปรับตำแหน่งของลูกกลิ้งนวดขึ้น) : ปรับลูกกลิ้งนวดขึ้นเล็กน้อย
- Area Positioning Button (ปุ่มกำหนดตำแหน่งพื้นที่) : สั่งให้ลูกกลิ้งนวดอยู่กับที่, เลื่อนขึ้น-ลง เฉพาะบริเวณนั้น (แคบๆ), เลื่อนขึ้น-ลงทั่วทั้งแผ่นหลังทั้งหมด ฯลฯ
- Level down Button (ปุ่มลูกศรชี้ลง – ปรับตำแหน่งของลูกกลิ้งนวดลง) : ปรับลูกกลิ้งนวดลงเล็กน้อย
- Air Massage Controllers (ส่วนควบคุมถุงลมนวดแบบกำหนดเอง) : มีทั้งหมด 3 ปุ่มหลักๆ ได้แก่
- Full Air Button (ปุ่มเปิดปิดระบบการนวดด้วยถุงลมทั่วร่างกาย) (ทั้งบริเวณแขน, น่อง และเท้า)
- Arm Button (ปุ่มเปิดการนวดด้วยถุงลมเฉพาะบริเวณแขน)
- Leg Button (ปุ่มเปิดการนวดด้วยถุงลมเฉพาะบริเวณขา) (เฉพาะบริเวณน่อง และเท้า เท่านั้น)
- Air Pressure Intensity Button (ปุ่มปรับความแรงของถุงลมนวด) : ใช้ปรับระดับความแรงในการบีบของถุงลมนวด มีทั้งหมด 3 ระดับ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
- Back / Heat Button (ปุ่มเปิดปิดระบบปล่อยความร้อน) : ใช้เปิด หรือปิดระบบปล่อยความร้อน ที่บริเวณแผ่นหลัง (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที หลังจากกดปุ่มนี้) เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยเฉพาะที่ชั่วคราว
- Memory Massage Button (ปุ่มตั้งค่าระบบความจำ) : มีทั้งหมด 3 ปุ่มคือ “ปุ่ม M1”, “ปุ่ม M2” และ “ปุ่ม M3”