เครื่องฟอกอากาศ Airbot
รีวิวนี้ ผมได้มีโอกาสได้กลับมารีวิวสินค้าประเภท เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) กันอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายจากการรีวิวสินค้าชนิดนี้ ไปปีกว่าๆ เลยทีเดียว โดยตัวนี้มีชื่อว่า เครื่องฟอกอากาศ Airbot (ภาษาไทยอ่านว่า “แอร์บอท“) ซึ่งเป็นเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไม่ถึง 3 กิโลกรัม เท่านั้น สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวกมากๆ เช่น เวลาไปเที่ยว ไปพักแรมต่างจังหวัด หรือจะพกไปที่ทำงาน ก็สามารถพกติดตัวไปด้วยง่ายๆ ด้วยเช่นกัน
โดยข้อดีของมันนั้น ไม่ใช้มีดีแค่ขนาดที่เล็กอย่างเดียว แต่ความสามารถด้านการฟอกอากาศของมันนั้น ไม่ได้เล็กไปตามขนาดเครื่องเลย เพราะมันมีประสิทธิภาพในการกรองอากาศที่สูงอีกด้วย ทั้งการฝุ่น กรองกลิ่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ด้วยแผ่นกรองอากาศ ที่จัดมาให้มากถึง 4 ชั้น และแถมใน 4 ชั้นนี้ยังมี แผ่นกรองอากาศอีนาโน (E-Nano Filter) ที่ถือเป็นแผ่นกรองไฮไลท์ของเขา มาเป็นตัวชูโรงของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ตัวนี้อีกด้วย
ข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลนี้ ไม่ได้เป็นแค่เป็นราคาคุยอย่างเดียว แต่มีการรับรองมาตรฐาน จากสถาบันทดสอบผลิตภัณฑ์ ต่างๆ กว่า 8 สถาบัน จากหลายประเทศ อย่าง เยอรมัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมด เป็นสถาบันที่เชื่อถือได้ มาเป็นเครื่องการันตี ยืนยันได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ Airbot นี้มีประสิทธิภาพจริงๆ เดี๋ยวจะมาเล่าสู่กันฟังในลำดับต่อไป
ด้านล่างเป็นเมนูลัด ที่จะให้คุณได้สามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของรีวิวนี้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สามารถกดจากลิงค์เชื่อมต่อด้านล่างนี้ได้เลย
- ทำความรู้จักกับเครื่องฟอกอากาศ Airbot
- แกะกล่องผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ของ ตัวเครื่อง
- คุณสมบัติ และ ความสามารถของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot
- ผลการทดสอบ และรับรอง จากสถาบันต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ
- สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง
- การใช้งาน และ คำแนะนำการใช้งาน
- คำถามที่ต้องอยากรู้ หรือ ถูกถามบ่อย (FAQs)
- บทสรุปการใช้งานผลิตภัณฑ์
ด้านล่างนี้เป็น คลิปวีดีโอ รีวิวเครื่องฟอกอากาศ Airbot อธิบายอย่างละเอียดยิบ ทุกส่วน พร้อมทดสอบการใช้งาน การตรวจจับกลิ่นไม่พึงประสงค์จริงๆ รีวิวโดยผมเอง
ทำความรู้จักกับเครื่องฟอกอากาศ Airbot
เครื่องฟอกอากาศ Airbot แบรนด์ของประเทศไทย ที่เริ่มทำตลาดและจัดจำหน่าย เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ภายใต้แบรนด์ “Airbot – แอร์บอท” ในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 (พ.ศ. 2017) โดย บริษัท โรบอท เมคเกอร์ จำกัด บริษัทฯ ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น AUTOBOT ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และ เห็นวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ชั้นนำมากมาย แถมยังได้เห็นรีวิวของเขาหลายตัวมาแล้วบน เว็บไซต์ Thanop.com แห่งนี้อีกด้วยเช่นกัน
ตัว เครื่องฟอกอากาศ Airbot ถูกผลิตมาจากประเทศเกาหลีใต้ โดย บริษัท จีเวลโคเรีย จำกัด (Gwellkorea Co., Ltd.) โดยเน้นไปที่เครื่องสร้างความบริสุทธิ์ให้กับอากาศ เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เป็นต้น
แกะกล่อง เครื่องฟอกอากาศ Airbot
มาถึงช่วงของการแกะกล่องผลิตภัณฑ์ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ดูกันว่าด้านนอกกล่อง กับ ด้านในกล่อง มีอะไร จุดไหนที่น่าสนใจกันบ้าง
ด้านนอกกล่อง
ด้านหน้ากล่อง : เครื่องฟอกอากาศ Airbot มาในสีขาวสะอาด พร้อมกับตัวเครื่องที่เป็นสีเขียววางอยู่ตรงกลาง ด้านบนเขียนว่า “Airbot Powered by AUTOBOT – Nano Air Purifier” ด้านขวามีคำว่า “MADE IN KOREA” เครื่องผลิตจากประเทศเกาหลี 100% แน่นอน ด้านหลังมีสัญลักษณ์ “RoHS Compliance” หมายถึง สินค้าได้รับมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมจากยุโรป
ด้านซ้ายกล่อง : อธิบายส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง พร้อม คุณสมบัติของแผ่นกรองอากาศ (ไส้กรอง) ทั้ง 4 ชั้น แต่เน้นไปที่ แผ่นกรองอากาศ ชนิด อีนาโน (E-Nano Air Filter) ที่ดักจับฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศได้มีประสิทธิภาพ พร้อมฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศทั้งแบคทีเรีย และ ไวรัส ได้มากถึง 99%
ด้านขวากล่อง : มีรายละเอียดของข้อมูลจำเพาะตัวเครื่อง และ คุณสมบัติด้านการใช้งาน ของตัวเครื่อง
ด้านหลังกล่อง : มีบอกคุณสมบัติทางกายภาพ ของตัวเครื่อง 5 อย่าง พร้อมรายละเอียดการติดต่อผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย อย่างละเอียดทุกช่องทางอย่างแน่นอน
(อ่านสรุปคุณสมบัติ เครื่องฟอกอากาศ Airbot เพิ่มเติมได้ที่นี่)
ด้านในกล่อง
เมื่อเปิดฝากล่องผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว ก็พบว่ามีอุปกรณ์ทั้งหมด 3 อย่างเท่านั้น เรียกได้ว่า ไม่ต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี อะไรใดๆ เลย ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ง่ายๆ ทันทีเลย
- Airbot Air Purifier (เครื่องฟอกอากาศ Airbot) : เครื่องฟอกอากาศสี่เหลี่ยม ทรงลูกบาศก์ ขนาด 260 x 260 x 140 มิลลิเมตร น้ำหนักเบามาก
- AC Adapter (อะแดปเตอร์แปลงไฟ) : อะแดปเตอร์พร้อมสายไฟ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร ใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ ไฟบ้าน ในช่วง 100-240 โวลต์ (ใช้ได้กับทุกประเทศทั่วโลก) ให้มาเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ใช้ภายในเครื่องฟอกอากาศ
- User Manual (คู่มือการใช้งานภาษาไทย) : มีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นพับ ภายใน มีทั้งหมด 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (อยู่กระดาษแผ่นเดียวกัน แยกฝั่งซ้ายขวา) และ ภาษาเกาหลี ที่แยกออกไปอีกส่วนนึง
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot
รายละเอียด (Specification) |
|
ขนาดมิติ (Dimension) |
260 x 260 x 140 มิลลิเมตร |
น้ำหนักเครื่อง (Net Weight) |
2.9 กิโลกรัม |
ไฟเข้า (Input) |
AC 100-240V 50/60 Hz |
อัตราการกินไฟ (Power Consumption) |
30 วัตต์ (Watts)* 12 โวลต์ (Volts) 1.0 แอมป์ (Amps) |
พื้นที่รองรับ (Area Coverage) |
33 ตารางเมตร (m2) หรือ 84 ลูกบาศก์เมตร |
ชั้นของแผ่นกรองอากาศ (Air Filter Layers) |
|
ระดับเสียงขณะนำงาน (Noise Level) |
ประมาณ 36 dB. |
*ค่าไฟเฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 0.1 บาท
(คำนวณจากระบบ คำนวณค่าไฟฟ้าจากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง : http://www.mea.or.th/)
คุณสมบัติ และ ความสามารถของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot
แม้จะเห็นเครื่องเล็กๆ กล่องสี่เหลี่ยมๆ น่ารักๆ แบบนี้ บอกเลยว่าคุณสมบัติของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ตัวนี้ไม่ธรรมดา มาดูกันเลย
1. Four Layer Air Filters (แผ่นกรองอากาศ 4 ชั้น)
ในตัวเครื่องมีแผ่นกรองอากาศ (ไส้กรอง) มาให้มากถึง 4 ชั้น เพื่อคุณสมบัติการกรอง ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น กรองเพื่อดักฝุ่น (จุดประสงค์หลัก) และยังมี กรองเพื่อฆ่าเชื้อโรค กรองเพื่อดักฝุ่น อีกด้วย โดยขอเรียงลำดับของแผ่นกรอง จากด้านนอก ไปจนถึงด้านในสุดท้าย ก่อนอากาศจะถูกปล่อยกลับออกมาสู่ห้องตามนี้
อากาศจากข้างนอกเข้ามา (Air Inlet) → แผ่นกรองไอออน (Ion Filter) → แผ่นกรองอีนาโน (e-Nano Filter) → แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter) → แผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน (UPI Filter) → อากาศถูกปล่อยกลับออกไปข้างนอก (Air Outlet)
มาถึงจุดนี้เราลองมาดูคุณสมบัติของ แผ่นกรองอากาศ ทั้ง 4 ชั้น 4 ชนิดกันดูบ้าง ว่าเป็นอย่าไร ตามตารางด้านล่างนี้เลย
ลำดับชั้น | ประเภทแผ่นกรอง | คุณสมบัติแผ่นกรองอากาศ | หลักการทำงาน |
กรองชั้นแรก | แผ่นกรองไอออน (Ion Filter) |
เรียกฝุ่นขนาดเล็กเข้ามาในตัวเครื่อง และยังช่วยให้ แผ่นกรองอีนาโน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | ปล่อยไอออนลบ (Negative Ion) เพื่อเรียกฝุ่นขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ในอากาศ เข้ามาในตัวเครื่อง |
กรองชั้นสอง | แผ่นกรองอีนาโน (e-Nano Filter) |
กรองฝุ่นและมลพิษขนาดเล็ก (Micro Fine Dust) ที่อยู่ในอากาศ ได้เล็กสูงสุดถึง PM2.51 เช่นควันบุหรี่ และ มลพิษต่างๆ ภายในห้อง | เมื่อฝุ่นในอากาศเคลื่อนตัวผ่านไส้กรอง ฝุ่นละอองจะถูกดักจับ ด้วยระบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Discharge) ภายในแผ่นกรอง |
กรองชั้นสาม | แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter) |
กรองสารอินทรีย์ ที่ระเหยง่าย (คลอรีน – Cl) และ สารประกอบอินทรีย์ (ฟอร์มาลิน – CH2O) กรดน้ำส้ม แอมโมเนีย และ สารอื่นๆ | ไส้กรองชนิดพิเศษ ที่ไม่ได้ผ่านการทอ ทำให้สามารถดักจับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ได้เป็นอย่างดี |
กรองชั้นสี่ | แผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน (UPI – Ultra Performance Ion Filter) |
กรองฝุ่นและมลพิษ อย่างละเอียดอีกชั้น | ไมโครชิพ สร้างประจุไฟฟ้าปริมาณสูง ทำงานร่วมกับ แผ่นกรองอีนาโน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองอากาศและมลพิษ ที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน (µ) |
* ข้อมูลอ้างอิงจาก คู่มือการใช้งานของผลิตภัณฑ์ (Use Manual)
1ข้อมูลเพิ่มเติม : คำว่า “PM2.5” ตามคำจำกัดความของ US.EPA หมายถึง ฝุ่นละเอียด ที่มีขนาดอนุภาคเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน (µ) ฝุ่นละเอียดที่มีแหล่งกำเนิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน นอกจากนี้ก๊าซ SO2 NOx และสาร VOC จะทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดฝุ่นละเอียดได้
(เว็บไซต์ : http://www.thaigoodview.com/node/46558)
2. Verified Test Results (ผ่านการรับรองจากสถาบันชั้นนำ หลายแห่ง)
เครื่องฟอกอากาศ Airbot ผ่านการรับรองการทดสอบ จากสถาบันทดสอบชั้นนำ ที่น่าเชื่อถือกว่า 8 สถาบัน จากหลายประเทศ ซึ่งแต่ละสถาบันที่ทดสอบนั้น ก็มีความเชี่ยวชาญ ที่แตกต่างกันออกไป รับรองได้ว่า มีความสามารถการกรองอากาศ กรองเชื้อโรคต่างๆ ได้สูงอย่างแน่นอน ดูจากรายงานด้านล่างนี้ได้เลย
Test Results and Reports (ผลการทดสอบ และ รายงานการทดสอบ)
รายการทดสอบ (Tested Item) |
ตัวชี้วัด (Source) |
ผลลัพธ์ที่ได้ (Results) |
รับรองโดย (Verified by) |
สารพิษ (Pollution) |
ฝุ่นละออง (Fine Dust) – 0.3 μm | 99.0% | KMM |
การกำจัดกลิ่นต่างๆ (Deodorization) |
แอมโมเนีย (Ammonia) – NH3 | 100% | KCL |
ฟอร์มาลีน (Formalin) – HCHO | 100% | KCL | |
โทลูอีน (Toluene) – C6H5CH3 | 100% | KCL | |
เบนซีน (Benzene) – C6H6 | 100% | KCL | |
การฆ่าเชื้อโรค (Sterilization) |
แบคทีเรีย (Bacteria) – Coli | 99.9% | KCL |
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) – H1N1 | 80.0% | Kitasato Institute | |
โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (Coronavirus Infection) |
99.6% | Microbac Lab | |
ประมาณไอออน (Ion Quantity) |
(+), (-) Ion | 1,557,969/cm2 | KCL |
ปริมาณโอโซน (Ozone Quantity) |
ระดับมาตรฐานไม่ควรเกิน 0.05 ppm (Standard should not > 0.05 ppm)1 |
0.02 ppm | KIMM |
ระดับความเสียง (Noise Level) |
เดซิเบล (dB) |
35.3 dB | KIMM |
การกักฝุ่น (Collecting Filter) |
แรงดันอากาศที่ไหลผ่าน (Pressure Lose) |
0.1 mmH20 | KITECH |
ความปลอดภัย (Safety) |
สิ่งที่ทำให้เกิดสารพิษ (Inhalation Toxicity) |
ไม่มี (N/A) | Chemon Lab |
พื้นที่ครอบคลุม (Area Coverage) |
0.3 μm / 3h | 84m3 | KCL |
การตรวจสอบ (Certified) |
CE2 | Yes | TÜV NORD |
สารพิษ (Toxic Substance) |
RoHS3 | ไม่มี (N/A) | TÜV SÜD |
1อ้างอิงจาก : องค์กรปกป้องสภาพแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (United State Environmental Protection Agency = US.EPA)
(เว็บไซต์ : https://www.epa.gov/indoor-air-quality-iaq/ozone-generators-are-sold-air-cleaners)
2ข้อมูลเพิ่มเติม : อักษรย่อ “CE” ที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์สินค้า นั้นย่อมาจากคำว่า “Conformité Européene” แปลความหมายว่า “European Conformity” สินค้าที่ได้เครื่องหมายนี้ เป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานด้าน สุขภาพ ความปลอดภัย และ กฎหมายการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ของยุโรป
(เว็บไซต์ : http://www.ce-marking.org/what-is-ce-marking.html)
3ข้อมูลเพิ่มเติม : อักษรย่อ “RoHS” มาจากคำว่า “Restriction of Hazardous Substances” ซึ่งมันเป็นกฏระเบียบและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีข้อกำหนดต่างๆ มากมาย โดยเน้น ไปที่การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการ รีไซเคิล (Recycle) ของวัสดุที่ใช้ทำ นั่นเอง
Reference Documents from Tester (ไฟล์เอกสารอ้างอิงจากผู้ทดสอบ)
- ผลการทดสอบเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.Coli) จากสถาบัน KCL
- ผลการทดสอบสิ่งที่ทำให้เกิดสารพิษ (Inhalation Toxicity) จากสถาบัน ChemOn Lab
- ผลการทดสอบโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส จาก สถาบัน Microbac Lab
- ผลการทดสอบแผ่นกรองอากาศ (Filter) ขนาดเล็กกว่า 2.5PM ไมครอน
- ผลการทดสอบการกำจัดกลิ่น (Deodorization) จากสถาบัน KCL
หมายเหตุ : จากเอกสารอ้างอิง ชื่อบริษัท ในผลการทดสอบ จะเป็นชื่อ บริษัท จีเวลโคเรีย จำกัด (Gwellkorea Co., Ltd.) เนื่องจาก บริษัทนี้เป็นบริษัท ผู้ผลิต เครื่องฟอกอากาศ Airbot ที่ประเทศเกาหลีใต้ นั่นเอง
Tester Information (ข้อมูลผู้ทำการทดสอบ)
คราวนี้ลองมาดูรายละเอียดขององค์กร หรือ สถาบัน ต่างๆ ที่ทำการทดสอบ พร้อมรับรอง เครื่องฟอกอากาศ Airbot ตัวนี้กันดูบ้าง ว่าเป็นใครมาจากไหน
ชื่อสถาบัน (Institution Name) |
ของประเทศ (Country of Origin) |
เว็บไซต์สถาบัน (Institution Website) |
การทดสอบ (Test Area) |
KIMM (Korea Institute of Machinery and Materials) |
เกาหลีใต้ | www.kimm.re.kr | สถาบันช่วยทดสอบอุปกรณ์ ประเมินส่วนประกอบของวัสดุ เครื่องจักร หรือ ผลิตภัณฑ์ |
KCL (Korea Conformity Laboratories) |
เกาหลีใต้ | www.kcl.re.kr | องค์กรทดสอบ และ ออกใบรับรอง ผลิตภัณฑ์ สำหรับรู้ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน |
The Kitasato Institute (The Kitasato Institute for Life Sciences) |
ญี่ปุ่น | www.kitasato-u.ac.jp | สถาบันคิตาซาโตะ เชี่ยวชาญด้านการทดสอบจุลินทรีย์ การติดต่อแพร่เชื้อต่างๆ อาทิ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในสายพันธุ์ต่างๆ |
Microbac Lab (Microbac-analytical Testing Laboratory) |
สหรัฐอเมริกา | www.microbac.com | แลปไมโครแบค ทดสอบผลิตภัณฑ์ สินค้า ในหลากหลายวงการ รวมถึง การทดสอบ โรคติดเชื้อต่างๆ อย่าง โคโรนาไวรัส |
KITECH (Korea Institute of Industrial Technology) |
เกาหลีใต้ | eng.kitech.re.kr | สถาบันวิจัยรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ทดสอบผลิตภัณฑ์ สินค้า ที่ผลิตโดยธุรกิจ ระดับเล็กถึงกลาง (SMEs) |
ChemOn Lab (ChemOn Inc.) |
เกาหลีใต้ | www.chemon.co.kr | บริษัท เคมออน จำกัด ทดสอบความปลอดภัยด้านสารเคมี สารพิษต่างๆ |
TÜV NORD | เยอรมนี | www.tuv-nord.com | ทูฟ นอร์ด สถาบันออกและรับรอง เครื่องหมาย CE ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ |
TÜV SÜD | เยอรมนี | www.tuv-sud.com | ทูฟ ซูด สถาบันออกและรับรอง เครื่องหมาย RoHS ด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ของผลิตภัณฑ์ |
3. Air Quality Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศ)
ภายในตัวเครื่องฟอกอากาศ Airbot มีเซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศ ที่เอาไว้ใช้ ตรวจจับคุณภาพอากาศ ว่าสะอาดบริสุทธิ์ดีหรือไม่ ? มีฝุ่น มลพิษ ปะปนอยู่หรือไม่ ? มากน้อยเพียงใด โดยประโยชน์ของการมีเซ็นเซอร์ฯ ตัวนี้มี 2 อย่างคือ
- ส่งข้อมูลไปยัง ระบบทำงานแบบอัตโนมัติ (ข้ามไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ข้อ 3)
- ไฟแสดงระดับคุณภาพอากาศ (Air Quality Display) จะแสดงในลักษณะของสีไฟ 3 ระดับ โดยจะแสดง หลังเครื่องทำงานไปแล้วประมาณ 2 นาที (สีเขียว = ระดับดี | สีม่วง = ระดับปกติ | สีแดง | ระดับแย่)
4. Automatic Control System (ระบบทำงานแบบอัตโนมัติ)
เครื่องฟอกอากาศ นี้มีความสามารถในการตรวจจับสิ่งสกปรก อย่าง ฝุ่น หรือ มลพิษ ต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศ หากมีปริมาณที่มากไป อากาศไม่บริสุทธิ์ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ตัวนี้จะปรับระดับความแรงของพัดลมดูดอากาศ ให้สามารถฟอกอากาศได้มากยิ่งขึ้น
5. Time Reservation System (ระบบตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติล่วงหน้า)
เครื่องฟอกอากาศ Airbot สามารถตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ เพื่อ ฟอกอากาศล่วงหน้าได้ 5 รูปแบบ และ นานสูงสุดถึง 10 ชั่วโมง เป็นอีกหนึ่งความสามารถที่ไม่มีใครเหมือน โดยมันสามารถตั้งเวลาเปิดเครื่องล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง จนถึง 10 ชั่วโมง (สูงสุด) ให้อากาศที่บ้านบริสุทธิ์ ฆ่าเชื้อโรค ลดกลิ่นอับ ต่างๆ ภายในห้อง ก่อนเรากลับบ้าน
6. Filter Replacement Notification (ระบบแจ้งเตือนการเปลี่ยนแผ่นกรอง)
เมื่อแผ่นกรองอากาศมีความสกปรก หรือ ใกล้หมดอายุการใช้งาน ระบบจะทำการแจ้งเตือนด้วยไฟที่อยู่บนตัวเครื่อง โดยทันที เพื่อให้ผู้ใช้งาน ได้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพจริงๆ
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องฟอกอากาศ Airbot
ส่วนประกอบของตัวเครื่องนี้ ดูจากข้างนอก ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมากมาย จะมีก็แค่อยู่ตรงส่วนของปุ่มควบคุม หรือ แผงสั่งงาน เท่านั้น โดยจะขออธิบายส่วนประกอบ เป็น ส่วนประกอบด้านหน้า (Front Component) ส่วนประกอบด้านหลัง (Backside Component) และสุดท้ายคือ ส่วนประกอบด้านใน (Internal Component)
Front Component (ส่วนประกอบด้านหน้า)
- Air Outlet (ช่องลมออก) : ด้านหน้าเครื่องเป็นช่องลมออก เหมือน เครื่องฟอกอากาศ ทั่วๆ ไปที่ ดูดลมเข้าด้านหลัง และ ปล่อยลมออกด้านหน้า ตามขอบด้านข้างของฝาครอบเครื่องด้านหน้า
- LED Display (ไฟแสดงสถานะการทำงาน) : ขณะเครื่องทำงาน จะมีไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่อง อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประมาณ 5 นาที ไฟต่างๆ จะหรี่ลงในระดับนึง เพื่อประหยัดไฟ
- Control Panel หรือ Operation Unit (แผงควบคุมสั่งงาน) : เป็นปุ่มเล็กๆ มีทั้งหมด 5 ปุ่ม (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
ในส่วนของ ไฟแสดงสถานะการทำงาน (LED Display) มีทั้งหมด 8 ดวง หลักๆ ด้วยกัน ขออธิบายเรียงลำดับลงมาเลย เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ
- Air Quality Display (ไฟแสดงระดับคุณภาพอากาศ) (ไฟอยู่ฝั่งซ้ายมือยาวๆ เดี่ยวๆ)
- Time Reservation Indicator (ไฟบอกจำนวนชั่วโมง ของการตั้งเวลาเปิดเครื่องล่วงหน้า)
- UPI Filter Operation Condition (ไฟสถานะแผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน)(1)
- e-Nano Filter Operation Condition (ไฟสถานะแผ่นกรองอีนาโน)(2)
- Carbon Filter Operation Condition (ไฟสถานะแผ่นกรองคาร์บอน กรองกลิ่น)(2)
- Ion Filter Operation Condition (ไฟสถานะระบบกรองด้วยไอออน)(1)
- Fan Operation Condition (ไฟสถานะของพัดลมดูดอากาศ – หมุนเร็วคือโหมดเทอร์โบ หมุนช้าโหมดเงียบ)**
- Manual Mode Operation Condition (ไฟสถานะการทำงานโหมดควบคุมเอง)(3)
- Automatic Mode Operation Condition (ไฟสถานะการทำงานโหมดอัตโนมัติ)(3)
(1) หมายเหตุ : ไฟสีเขียว = ทำงานปกติ | ไฟสีเขียวดับ = ไม่มีแผ่นกรองอยู่ข้างใน หรือ ทำงานผิดปกติ
(2) หมายเหตุ : ไฟสีเขียว = ทำงานปกติ | ไฟสีเขียวดับ = ไม่มีแผ่นกรองด้านใน หรือ ใส่ผิดด้าน | ไฟสีเขียวกระพริบ = ควรทำความสะอาดแผ่นกรอง
(3) หมายเหตุ : ไฟ 2 ดวงนี้แสดงสลับกัน นั่นหมายความว่าจะต้องเลือกโหมดในโหมดหนึ่ง (ระหว่าง Manual หรือ Auto)
Backside Component (ส่วนประกอบด้านหลัง)
- Air Inlet (ช่องลมเข้า) : อากาศจากภายนอก จะถูกดูดเข้าไปฟอกทางช่องสีเขียวๆ ที่อยู่รอบๆ กรอบของตัวเครื่อง
- Adapter Jack หรือ Power Unit (ช่องเสียบอะแดปเตอร์แปลงไฟ) : ตำแหน่งอยู่ที่รูกลมๆ ฝั่งซ้ายมือ ด้านล่าง
- Air Quality Sensing Portion (เซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศ) : ใช้วัดความสกปรก ปริมาณฝุ่น มลพิษ ต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ พร้อมแสดงผลออกมาเป็นสีต่างๆ ของไฟบนตัวเครื่อง พร้อม ส่งข้อมูลไปประมวลผล ช่วยในการปรับระดับความแรงของพัดลมดูดอากาศ ในโหมดอัตโนมัติ (Auto Mode)
Internal Component (ส่วนประกอบด้านใน)
- Front Cover (ฝาครอบเครื่องด้านหน้า) & UPI Filter (แผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน) : ที่ด้านหลัง (ด้านใน) ของฝาครอบด้านหน้าเครื่อง จะมี แผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน (UPI Filter) ติดอยู่ คอยช่วยกรองอากาศอย่างละเอียด เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนอากาศจะถูกปล่อยออกทางช่องลมออก
- Vacuum Fan (พัดลมดูดอากาศ) : พัดลมดูดอากาศ ลักษณะคล้ายๆ กับ พัดลมระบายอากาศในเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ เรานี่เอง
- Carbon Filter (แผ่นกรองคาร์บอน) : ลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมสีเข้ม (สีคาร์บอน ปกติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว) ตัว แผ่นกรองคาร์บอน จะเป็นซี่ๆ วางอยู่ในถาดพลาสติก ที่รองตัวแผ่นกรองเอาไว้
- e-Nano Filter (แผ่นกรองอีนาโน) : แผ่นกรองเรือธง ของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ตัวนี้เลยก็ว่าได้ มีลักษณะเป็นสีขาว ทรงกลม หนักอยู่พอสมควร
- Ion Filter (แผ่นกรองไอออน) : ชุดแผ่นกรองไอออน จะติดอยู่กับ ฝาครอบเครื่องด้านหลัง (Backside Cover) มีหน้าที่ปล่อยไอออนลบ (Negative Ion) เข้าไปในอากาศ เพื่อเรียกฝุ่นขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ในอากาศ เข้ามาในตัวเครื่อง เพื่อฟอกอากาศต่อไป
- Backside Cover (ฝาครอบเครื่องด้านหลัง) : ด้านนอกจะเป็นพลาสติกผิวด้าน ชนิดเหนียว แข็งแรง จับแล้วไม่เป็นรอยนิ้วมือ (เพราะผิวสัมผัสเป็นแบบด้าน)
การใช้งาน เครื่องฟอกอากาศ Airbot
เริ่มต้นเปิดใช้งานเครื่อง สามารถทำได้ง่ายมากๆ เพียงแค่นำอะแดปเตอร์แปลงไฟ มาเสียบ กับ ช่องเสียบอะแดปเตอร์แปลงไฟ ที่อยู่ด้านหลังตัวเครื่อง พร้อมกดปุ่มเปิดเครื่องได้เลย โดย ปุ่มต่างๆ มีทั้งหมด 5 ปุ่มเท่านั้น ตามรูปด้านล่าง
รายละเอียดของปุ่มควบคุม จะมี 3 ปุ่มหลัก (Main Button) อยู่ด้านบน และ ปุ่มรีเซ็ตค่าแผ่นกรองอากาศ (Filter Reset Button) เล็กๆ อยู่ด้านล่างอีก 2 ปุ่ม
- Power On/Off Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง “ปุ่ม O |”) : กดครั้งแรกคือเปิดเครื่อง กดอีกครั้งคือปิดเครื่อง
- Time Reservation Button (ปุ่มตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ หรือ “ปุ่ม t”) : กดปุ่มนี้ เพื่อเพิ่มเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติไปทีละ 2 ชั่วโมง เช่น กด 1 ครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงานในอีก 2 ชั่วโมง ข้างหน้า ไปเรื่อยๆ โดยรูปแบบจะเป็น กด 1 ครั้ง 2 ชั่วโมง → กด 2 ครั้ง = 4 ชั่วโมง → กด 3 ครั้ง = 6 ชั่วโมง → กด 4 ครั้ง 8 ชั่วโมง → กด 5 ครั้ง = 10 ชั่วโมง เป็นต้น หากเปลี่ยนใจ ต้องการยกเลิกการตั้งเวลา ให้กดปุ่มปิดเครื่อง
- Mode Selection Button (ปุ่มเลือกโหมดการทำงาน “ปุ่ม m”) : ปุ่มนี้จะมี 3 ฟังก์ชั่น ทำงานวนไป คือโหมดอัตโนมัติ (Auto Mode) → โหมดเสียงเงียบ (Sleep Mode) → โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) → กลับไปโหมดอัตโนมัติ อีกครั้ง เป็นต้น
- e-Nano Filter Reset Button (ปุ่มรีเซ็ตแผ่นกรอง อีนาโน)*
- Carbon Filter Reset Button (ปุ่มรีเซ็ตแผ่นกรอง คาร์บอน)*
หมายเหตุ* : ปุ่มรีเซ็ตแผ่นกรองทั้ง 2 จะใช้ในกรณีที่ เราเพิ่งเปลี่ยนแผ่นกรองใหม่ หรือ เพิ่งนำออกไปทำความสะอาด แล้วนำกลับมาติดตั้งอีกครั้ง
คำถามที่ต้องอยากรู้ หรือ ถูกถามบ่อย (FAQs) ของ เครื่องฟอกอากาศ Airbot
ส่วนนี้คือส่วนที่ ผมได้รวบรวมคำถามต่างๆ ที่หลายคนมักจะสงสัย เกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ ของตัวเครื่อง นำมาสรุปให้อ่านและทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ
1. การถอดชิ้นส่วนเครื่อง ในแต่ละชั้น ต้องทำอย่างไร ?
ในส่วนนี้จะมาแสดงให้เห็นชิ้นส่วนของตัว เครื่องฟอกอากาศ ว่าถ้าเราถอดชิ้นส่วนของมันออกมา จะเจออะไรกันบ้าง มีกี่ชั้น และถอดยังไง สไลด์ดูรูปเรียงไปได้เลย
2. การดูแลรักษาเครื่องเป็นอย่างไร ยุ่งยากหรือไม่ ?
จะเห็นได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ Airbot มีแผ่นกรองอากาศ ทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะการดูแลรักษา ไม่ได้ยุ่งยากมากมายอย่างที่คิด รายละเอียดตามตารางด้านล่างเลย
ประเภทแผ่นกรอง (Institution Name) |
การทำความสะอาด (Cleaning Method) |
การทำความสะอาดแผ่นกรอง (Cleaning Cycle) |
การเปลี่ยนแผ่นกรอง (Replacement Cycle) |
แผ่นกรองไอออน (Ion Filter) |
ไม่ต้องทำอะไรเลย | ||
แผ่นกรองอีนาโน (e-Nano Filter) |
นำออกมาแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ ประมาณ 4-5 ชั่วโมง และ นำมาตากแดดให้แห้ง (ห้ามใช้สบู่ หรือ น้ำยาใดๆ มาล้าง) | 2-5 เดือน | เปลี่ยนทุกๆ 1 ปี |
แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter) |
นำมาเคาะๆ แปรงปัดฝุ่นมาปัด หรือ เครื่องดูดฝุ่น มาดูด (ห้ามใช้นำล้างเด็ดขาด !) | 2-5 เดือน | เปลี่ยนทุกๆ 1 ปี |
แผ่นกรองอัลตร้าพลาสม่าไอออน (Ultra Performance Ion Filter) |
ไม่ต้องทำอะไรเลย |
3. แผ่นกรองอากาศ e-Nano เป็นอย่างไร หลังการใช้ไปนานๆ ?
จากรูปด้านบน จะเห็นว่า แผ่นกรองอากาศอีนาโน จากเดิมที่เป็นสีขาวๆ หากใช้งานไปสักพัก สีจะขุ่นมัว และคล้ำลง ตามระยะเวลาการใช้งาน และ ปริมาณฝุ่นละออง มลพิษ ในพื้นที่บริเวณ นั้นๆ เนื่องจากมันเข้าไปเกาะตัวอยู่เป็นจำนวนมาก การทำความสะอาดก็ง่ายๆ แค่เอาไปแช่น้ำสะอาด (ไม่ต้องใส่น้ำยา หรือ สบู่อะไรทั้งนั้น !) ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 ชั่วโมง แล้วนำมาตากให้แห้ง หลังจากนั้นก็พร้อมใช้งานต่อไปได้เลย
4. ไฟแสดงระดับคุณภาพอากาศ ที่บอกว่ามี 3 สี จะแสดงเป็นอย่างไร ?
เครื่องฟอกอากาศ ตัวนี้มี เซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศ ที่จะคอยทำหน้าที่เหมือน รปภ. คอยสอดส่องดูแลอากาศ ที่จะเข้ามาทำการฟอก จึงทำให้ผู้ใช้งาน ได้รับรู้ถึงคุณภาพอากาศ ผ่านทาง ไฟแสดงระดับคุณภาพอากาศ เป็นสีๆ เช่นกัน ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ สีเขียว สีม่วง และ สีแดง ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
(สีเขียว = ระดับดี (Good) | สีม่วง = ระดับปกติ (Normal) | สีแดง | ระดับแย่ (Bad))
5. ตัวเครื่องมี เงื่อนไขการรับประกัน เป็นอย่างไร ?
เครื่องฟอกอากาศ Airbot มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะที่ พัดลมดูดอากาศ รับประกัน 3 ปี หลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถ ติดต่อสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เลย
โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลยที่
- Hotline (สายด่วน) : 0-2215-2577
- LINE ID (ไลน์ไอดี) : autobot
6. อะไหล่ แผ่นกรองอากาศ ต่างๆ แพงหรือไม่ ?
รายการอะไหล่ (Part Lists) |
ราคาอะไหล่ (Part Prices) |
แผ่นกรองอีนาโน (e-Nano Filter) |
1,500 บาท |
แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter) |
800 บาท |
แผ่นกรองอีนาโน + แผ่นกรองคาร์บอน (ซื้อคู่) (e-Nano + Carbon Filter) |
2,000 บาท |
พัดลมดูดอากาศ (Fan) |
500 บาท |
- ราคาอะไหล่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
7. ติดต่อสั่งซื้อ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อ เครื่องฟอกอากาศ Airbot ได้ผ่านทางหลายช่องทาง ถ้าไปซื้อหน้าร้านก็ เช่นที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ทุกสาขา และ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ในบางสาขา อาทิ เซ็นทรัลพระราม 9 เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ฯลฯ หรือจะโทรศัพท์ไปติดต่อสอบถามก่อนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 0-2215-2577
- Website (เว็บไซต์) : http://www.autobotvacuum.com/
- Line ID (ไลน์ไอดี) : @autobot
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : robotmaker (โรบอทเมคเกอร์) ตามกรอบด้านล่าง
บทสรุปการใช้งาน เครื่องฟอกอากาศ Airbot
ช่วงสุดท้ายของการรีวิวผลิตภัณฑ์ ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติ คือ จะต้องเป็นการสรุปข้อดี ข้อเสีย ของผลิตภัณฑ์ มาดูกันเลย
ข้อดี 🙂
- เครื่องมีขนาดเล็ก (ถ้าเทียบกับบรรดาเครื่องฟอกอากาศทั่วๆ ไป) และ น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก
- มีไฟแสดงสถานะการทำงาน บอกอย่างละเอียดยิบ ทุกประเภทของการกรอง และ สถานะโหมดต่างๆ ของตัวเครื่อง
- มีไฟแสดงระดับคุณภาพอากาศ แสดงเป็นสี ทำให้เรารู้คุณภาพอากาศ ณ ปัจจุบัน ภายในห้องได้เลยว่าเป็นอย่างไร
- สามารถตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติล่วงหน้าได้
- มีเสียงเงียบมากๆ ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ไม่รบกวนการหลับนอน หรือ ทำงานใดๆ เลย
- วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกอบเครื่องถือว่าเป็นวัสดุเนื้อดี มีความหนา คงทน และ ไม่เป็นรอยขีดข่วน ต่างๆ ได้ง่าย
- สามารถถอดอุปกรณ์ภายในไปทำความสะอาด ได้ง่ายๆ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน
- ฝาครอบเครื่องด้านหลัง สามารถใช้มือดึงออกมาได้เลย โดยไม่ต้องไขน๊อตใดๆ เพราะยึดเกาะด้วย “แม่เหล็ก” ถือว่าง่ายมากๆ และเป็นไอเดียที่ดีมากๆ เช่นกัน
- ตัวเครื่องออกแบบดูทันสมัย สวยงาม นอกจากจะใช้ฟอกอากาศแล้ว ยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ชั้นดี ตกแต่งบ้าน หรือ ออฟฟิศสำนักงาน ให้ดูเก๋ มีสไตล์ ได้อีกด้วย
- มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการทดสอบ และ รับรองจากสถาบันทดสอบ หลายสถาบัน พร้อมแสดงใบรับรองให้เห็นกันจริงๆ
- มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ เพียงแค่ 30 วัตต์ โดยเฉลี่ยค่าไฟจะอยู่ประมาณ 0.10 บาท (10 สตางค์) ต่อชั่วโมง
ข้อเสีย 🙁
- การตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติล่วงหน้า มีช่วงให้เลือกอย่างละ 2 ชั่วโมง น่าจะมีสเกล หรือ ช่วงเวลาที่แคบกว่านี้ เช่น ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรือ ทุกชั่วโมง เป็นต้น
- ไม่สามารถ ตั้งเวลาปิดเครื่องอัตโนมัติ ได้ (ตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ ได้อย่างเดียว)
- ไม่สามารถปิด ไฟแสดงสถานะการทำงาน ที่อยู่หน้าเครื่องได้ แต่มันจะทำได้แค่หรี่ลงอัตโนมัติ หลังจากเปิดเครื่องไปแล้ว 5 นาที เท่านั้น
ราคาครับ