← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4
มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่
- ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง (Top and Side Components)
- ส่วนประกอบด้านล่าง (Underside Component)
- ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลังไซโคลน (Cyclone Force Dustbin Component)
- ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และถังน้ำ แบบไฮบริด (Hybrid Dustbin Component)
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Control Panel (แผงควบคุมเครื่อง) : ประกอบไปด้วยปุ่มกดหลักๆ ทั้งหมด 2 ปุ่มหลักๆ ด้วยกันคือ
- POWER Button and Indicator Light (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง และไฟแสดงสถานะ) : ปุ่มเดียว สามารถเป็นได้หลายคำสั่ง ถ้าเครื่องอยู่คนละสถานะดังต่อไปนี้
- When Power Off (เมื่อเครื่องปิดอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อสั่งเปิดเครื่อง และให้เครื่องพร้อมใช้งาน
- When Power On (เมื่อเครื่องเปิดอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำความสะอาดในโหมดอัตโนมัติ
- When Working (ขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราว (Pause)
- When Pausing (ขณะที่เครื่องกำลังหยุดทำงานชั่วคราว) : กด 1 ครั้งเพื่อให้เครื่องทำงานต่อ (Start)
- Press and Hold (กดและค้างเอาไว้ 3 วินาที) : ปิดเครื่องทันที (ในกรณีที่จะไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานาน)
- HOME Button (ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ) : สั่งให้เครื่องวิ่งกลับบ้าน หรือแท่นชาร์จโดยทันที ไม่ว่าตัวเครื่องจะอยู่แห่งหนใดก็ตาม แต่มีข้อแม้ว่า เครื่องจะต้องเริ่มต้นการทำงานด้วยการออกจากแท่นชาร์จด้วย ถึงจะกลับถูก
- POWER Button and Indicator Light (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง และไฟแสดงสถานะ) : ปุ่มเดียว สามารถเป็นได้หลายคำสั่ง ถ้าเครื่องอยู่คนละสถานะดังต่อไปนี้
- Front Bumper and Infrared Receiving Sensor (กันชนหน้า และ เซนเซอร์รับสัญญาณอินฟราเรด) : กันชนหน้ามีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก และลดโอกาสเกิดความเสียหายระหว่างตัวเครื่อง กับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของเรา นอกจากนี้ยังมี เซนเซอร์รับสัญญาณอินฟราเรด ใช้รับส่งสัญญาณระหว่างแท่นชาร์จ กับตัวเครื่อง เพื่อให้เครื่องเข้าออกแท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ
- Laser Radar Cover (ฝาครอบเลเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : ที่ตัวฝาครอบให้ตัวได้ระดับนึงด้วย เปรียบเสมือนกันชนหน้า ป้องกันความเสียหาย ข้างใต้มีเซนเซอร์ที่หมุนได้รอบตัว 360 องศา เพื่อยิงแสงเลเซอร์ ให้ไปตกกระทบกับวัตุที่อยู่รอบๆ ก่อนที่จะสะท้อนกลับมา เพื่อคำนวณหาระยะทางระหว่างตัวเครื่องกับวัตถุ ก่อนสร้างแผนที่จำลอง
- Top Cover (ฝาครอบด้านบน) : ฝาครอบพลาสติกใส ปิดทับด้านบน เพื่อป้องกันตัวเครื่อง และที่ส่วนท้ายมีช่องให้สามารถมองทะลุผ่านไปได้ด้วย เพื่อให้เห็นว่าเราใส่กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองชนิดใดอยู่ข้างใน
- Air Outlet and Speaker (ช่องอากาศออก และ ลำโพง) : ช่องที่เป็นซี่ๆ มีอยู่ที่ตัวเครื่องเหมือนกันทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายเป็นช่องปล่อยอากาศ (Air Outlet) ที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับเศษฝุ่น (แต่ผ่านการกรองแล้ว) ออกไปข้างนอก ในขณะที่ด้านขวาคือลำโพง ที่จะปล่อยเสียงคนพูด หรือเสียงสัญญาณต่างๆ ออกมาทางช่องนี้
- Dustin Eject Button (ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : สลักที่ใช้บีบ เพื่อปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองทั้ง 2 แบบ (ทั้งแบบไซโคลน และแบบไฮบริด) ออกมาจากตัวเครื่อง โดยไม่ต้องออกแรงยกตัวเครื่องใดๆ
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Cliff Sensor (เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : ในคู่มือเขียนว่า “Boundary Sensor” มีทั้งหมด 3 ตำแหน่งใต้ตัวเครื่อง (ซ้าย-กลาง-ขวา) เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องวิ่งตกจากที่สูง หรือตกบันได
- Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ล้อพลาสติกทรงกลม สามารถหมุนได้รอบตัว 360 องศา เพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องด้านหน้า และยังสามารถถอดออกมาได้เพื่อเปลี่ยน หรือเพื่อทำความสะอาด
- Charge Pins and Battery (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ และแบตเตอรี่) : ลูกแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-Ion) ขนาดความจุ 6,400 มิลลิแอมป์ สามารถไขน๊อตด้วยไขควง แล้วยกออกมาได้ทั้งลูกเลย ในขณะที่จุดสัมผัสแท่นชาร์จก็ติดอยู่ที่ตัวแบตเตอรี่เลย
- Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : แปรงกวาดข้างของเครื่องนี้ มีอยู่ตำแหน่งเดียว คือที่ด้านขวามือของตัวเครื่อง
- Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ประกอบไปด้วยฝาครอบแปรงกวาดหลัก (Main Brush Cover) และตัวแปรงกวาดหลัก (Main Brush) แบบแปรงขน และยางแบบเกลียว ความยาว 160 มิลลิเมตร (16 เซนติเมตร) โดยพื้นที่ตรงนี้ก็ยังสามารถให้ตัวได้ด้วย เพื่อการดูดฝุ่นที่ดีขึ้น เวลาวิ่งขึ้นพื้นที่ต่างระดับเช่นพรม เป็นต้น
- Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : เป็นล้อพลาสติกหุ้มด้วยดอกยางที่เห็นลายได้อย่างชัดเจน หน้าที่หลักๆ ของมันคือเอาไว้ขับเคลื่อน ให้ตัวเครื่องสามารถวิ่งไปมาได้ ไม่ว่าจะเป็น เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา โดยแต่ละล้อจะมีมอเตอร์ฝังอยู่ ซึ่งจะแยกอิสระ ซ้าย-ขวา จากกัน ใช้ขับเคลื่อนให้สามารถไปในทิศทางที่ต้องการได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสปริงโช๊คอัพ ที่จะทำให้เครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้ ประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร
- Water Tank Installation Area and Product Label (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ และ ฉลากรายละเอียดผลิตภัณฑ์) : ที่ส่วนท้ายเครื่องด้านล่างจะเป็น พื้นที่เอาไว้ยึดติดกับถังน้ำขนาด 0.15 ลิตร ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์ด้วย โดยเราสามารถนำมาติดตั้ง หรือถอดออกก็ได้ พร้อมกับฉลากรายละเอียดผลิตภัณฑ์คร่าวๆ
Cyclone Force Dustbin Component (ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลังไซโคลน)
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลังไซโคลน ซึ่งจะมีแค่พื้นที่เก็บฝุ่นอย่างเดียว (ไม่มีถังน้ำ) ซึ่งมีขนาดความจุอยู่ที่ 0.50 ลิตร แต่มันมีจุดเด่นคือ ที่ช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) หรือประจูของฝุ่น ของมันจะมีรูปทรงเป็นแบบเกลียว (Spiral Shape) ซึ่งจะทำให้ฝุ่นหมุนเข้าไปเก็บภายในเครื่อง ซึ่งข้อดีคือ ฝุ่นจะถูกจับตัวกันเป็นก้อน แทนการอยู่อย่างกระจัดกระจาย ผลลัพธ์คือ ง่ายต่อการนำฝุ่นไปเททิ้ง และทำความสะอาดนั่นเอง ลองมาดูส่วนประกอบกันเลย
Hybrid Dustbin and Water Tank Components (ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และถังน้ำ แบบไฮบริด)
ส่วนนี้เป็น กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และถังน้ำ แบบไฮบริด ที่จะประกอบไปด้วย อุปกรณ์ 2 ชนิดถูกประกบเข้าด้วยกันด้วยสลักล็อค นั่นคือ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ขนาดความจุ 0.20 ลิตร* และ ถังน้ำขนาดความจุ 0.26 ลิตร
เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4
1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
วิธีการติดตั้งแท่นชาร์จ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 เครื่องนี้ก็เหมือนกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทั่วๆ ไป คือตั้งวางอยู่ในพื้นที่โล่งโปร่ง ปราศจากสิ่งกีดขวางใดๆ รอบๆ ข้างของมัน เพื่อที่จะให้เครื่องมีพื้นที่เข้าออกได้อย่างสะดวกสบาย โดยจะต้องมีพื้นที่ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา อย่างละครึ่งเมตร (0.5 เมตร) และพื้นที่ด้านหน้าต้องโล่ง 1.5 เมตร
2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
สำหรับการชาร์จไฟเพื่อเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ ควรชาร์จไฟค้างคืน ทิ้งเอาไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบในครั้งแรก และครั้งต่อๆ ไป
3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
การควบคุม และสั่งงาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 ด้วยสมาร์ทโฟน ผ่านเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi นั้น สามารถทำได้ด้วยการดาวน์โหลด “แอปพลิเคชัน Lazer 4” ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท เซินเจิ้น ทรีไอ โรโบติก จำกัด (Shen Zhen 3i Robotics Company Limited) ซึ่งมีให้เลือกใช้กันทั้ง 2 บนระบบปฏิบัติการเลยคือ iOS และ Android
ข้อมูลเพิ่มเติม : รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้ง สามารถอ่านได้ที่หนังสือคู่มือเริ่มต้นใช้งานฉบับย่อ (Quick Start Guide) ได้เลย
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Lazer 4
- การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำงาน (Start Auto Cleaning)
- สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Back to Charge Base – Recharge)
- ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น (Adjust Suction or Vacuum Power Level)
- โหมดประหยัดพลังงาน (ECO Mode) – ดูดเบา
- โหมดธรรมดา (Normal Mode) – ดูดปกติ
- โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) – ดูดแรง
- ปรับระดับของปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น (Adjust Seepage or Water Control Level)
- เปียกน้อย (Low)
- เปียกปานกลาง (Medium)
- เปียกมาก (High)
- ความสามารถการทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features)
- โหมดควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง (Manual Control Mode)
- โหมดทำความสะอาดที่เน้นการถูพื้น (Scrubbing Cleaning Mode)
- โหมดทำความสะอาดแบบเลาะขอบกำแพง (Edge Cleaning Mode) (วิ่งเลาะขอบ ชิดขวาอย่างเดียว)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Clean Mode) (วิ่งทำความสะอาดภายในกรอบ พื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส 2 x 2 เมตร หรือ 4 ตารางเมตร)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ (Area Cleaning Mode)
- การสร้างกำแพงจำลอง (Virtual Wall)
- การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- กำลังทำงาน (Working)
- กำลังกลับแท่นชาร์จ (Recharge)
- ชาร์จแบตเตอรี่เสร็จสิ้น (Charge Completed)
- ขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaned Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
- ปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Remaining Power) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
- เวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaned Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
- ดูแผนที่การทำความสะอาดแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map)
- แจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียงผ่านแอปพลิเคชัน (Location)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Settings and Information)
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง นอกจากนี้แล้ว มันยังสามารถตั้งเวลาทำความสะอาดต่อวันได้วันละหลายครั้ง (กี่ครั้งก็ได้)
- ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning Record)
- ดูขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาด และเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาดแต่ละครั้ง (Cleaned Area and Time)
- ดูแผนที่การทำความสะอาดในแต่ละครั้งได้หมด ว่าจุดไหนวิ่งเข้าไปหรือไม่ได้วิ่งเข้าไป (Cleaned Map)
- ลบประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Delete Cleaning Record)
- การตั้งค่า และข้อมูลทั่วไป (General Settings and Information)
-
- เปลี่ยนชื่อเครื่อง (Modify Device Nickname)
- ดูหมายเลขจำเพาะของเครื่อง (Robot ID)
- ปรับเวลาให้ตรงกับปัจจุบัน (Synchronize Time Zone)
- การงดทำความสะอาดในช่วงเวลาพักผ่อน 22:00 ถึง 07:00 น. (สามารถเปลี่ยนได้) (Quite Mode)
- เปิดปิดการแจ้งสถานะเครื่องด้วยเสียง (Voice Enable)
- ปรับระดับความดังของเสียงแจ้งเตือน (Voice Volume Control)
- เปิดระบบการจดจำแผนที่ (Memory Map)
- รีเซ็ต หรือลบแผนที่ใหม่ (Reset Map)
- การสอบเทียบกับค่ามาตรฐาน (Zero Calibration)
- ดูสถานะของวัสดุสิ้นเปลือง (Consumable Product Status)
- เปิดระบบการอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติ (Auto Firmware Upgrade)
- ดูเวอร์ชั่นของเฟิร์มแวร์เครื่อง (Firmware Version)
- ล้างการตั้งค่าทั้งหมด กลับไปค่าตั้งต้นจากโรงงาน (Factory Reset)
-
หมายเหตุ : ความสามารถต่างๆ ของแอปพลิเคชันนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากมันมีการพัฒนาและอัพเดทอย่างต่อเนื่องจากทางผู้พัฒนา
คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4
1. สภาพกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองเป็นอย่างไร หลังการใช้งาน ?
เราทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องนี้ด้วยการใส่กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลังไซโคลน เข้าไป พบว่าฝุ่นที่ได้มา จับตัวเป็นก้อนมากกว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไป ที่ฝุ่นถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย
2. ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน มีเสียงดังมากน้อยแค่ไหน ?
โดยปกติแล้ว การรีวิวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นช่วงหลังๆ จะไม่ค่อยได้วัดระดับเสียงให้เห็นกันแล้ว เนื่องจากว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนมาก มันก็ไม่ได้ดัง หรือค่อยไปกว่ากันมากเท่าไหร่นัก
แต่สำหรับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 ตัวนี้ ในขณะที่ใช้งาน แม้จะเป็นแค่โหมดธรรมดา (Normal Mode) ก็ยังรู้สึกว่าเสียงดัง ยิ่งถ้าเป็นโหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) เสียงยิ่งดังมากขึ้นเข้าไปใหญ่ เลยอยากจะลองขอวัดระดับเสียงดูซะหน่อยว่าเป็นอย่างไร
- ECO Mode (โหมดประหยัดพลังงาน) : 56 เดซิเบล
- Normal Mode (โหมดธรรมดา) : 63 เดซิเบล
- Turbo Mode (โหมดเทอร์โบ) : 70 เดซิเบล
ข้อมูลข้างบนเป็นการตรวจรวัดคร่าวๆ ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งไมโครโฟน ก็เป็นของดังนั้นค่าอาจจะมีการคลาดเคลื่อนบวกลบ (+/-) ได้นิดหน่อย
คำแนะนำ : ถ้าเปิดเครื่องใช้ทุกวันอยู่แล้ว แนะนำให้เปิดแค่โหมดประหยัดพลังงาน (ECO Mode) ก็เพียงพอแล้ว เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของตัวเครื่อง และได้เสียงที่เงียบ
3. ราคาอะไหล่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 มีอะไรบ้าง และราคาเท่าไหร่ ?
ชื่ออะไหล่ (Part Name) |
ราคาต่อหน่วย (Unit Price) |
1. แปรงกวาดข้าง x 1 คู่ (Side Brush x 1 Pair) |
250 บาท |
2. แท่นชาร์จ x 1 ชุด (Charge Base x 1 Set) |
950 บาท |
3. ชุดอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ x 1 ชุด (Adapter Set x 1 Set) |
450 บาท |
4. กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง x 1 กล่อง (Dustbin x 1 Box) |
500 บาท |
5. ถังน้ำ x 1 ถัง (Water Tank x 1 Tank) |
500 บาท |
6. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 1 ผืน (Microfiber Cloth x 1 Piece) |
250 บาท |
7. แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน x 1 ลูก (Lithium-Ion Battery x 1 Piece) |
2,000 บาท |
8. แผ่นกรองอากาศ HEPA สำหรับกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลังไซโคลน x 1 แผ่น (HEPA Filter for Cyclone Force Dustbin x 1 Piece) |
300 บาท |
9. แผ่นกรองอากาศ HEPA สำหรับชุดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และถังน้ำ แบบไฮบริด x 1 แผ่น (HEPA Filter for Hybrid Dustbin and Water Tank x 1 Piece) |
400 บาท |
4. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถ ติดต่อสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เลย
โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลยที่
- Hotline (สายด่วน) : 0-2215-2577
- LINE ID (ไลน์ไอดี) : @allaboutbot
5. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 06-3265-2560 หรือ 0-2215-2577
- Line ID (ไลน์ไอดี) : @allaboutbot หรือ @autobot
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : allaboutbot.th (ออลอเบ้าท์บอทดอททีเฮช) หรือ robotmaker (โรบอทเมคเกอร์)
บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4
ข้อดี 🙂
- การนำกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หรือถังน้ำ ออกจากตัวเครื่อง สามารถทำได้ง่ายขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ โดยไม่ต้องออกแรงยกเพื่อหงายท้องตัวเครื่องให้ลำบากอีกต่อไป เพราะสามารถปลดสลักล็อคจากข้างๆ ได้เลย
- กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองแบบไฮบริด (ที่มีถังน้ำด้วย) มีแผ่นกรองอากาศ HEPA มาให้ด้วย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว ในหุ่นยนต์ดูดฝุ่นหลายๆ รุ่น กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองที่มีถังน้ำอยู่ด้วยมักจะไม่มีแผ่นกรองอากาศ HEPA มาให้ด้วย
- ฝาครอบเลเซอร์วัดระยะทาง ที่อยู่ด้านบนสามารถให้ตัวได้ด้วย เหมือนเป็นกันชนหน้า แต่อยู่ด้านบน ช่วยดูดซับแรงกระแทก ระหว่างตัวเครื่องกับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน (นี่คือตัวแรกที่มีความสามารถตรงนี้ ที่เคยรีวิวมา)
- พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลักสามารถให้ตัว หรือขยับตัวได้เล็กน้อย ช่วยให้ดูดฝุ่นได้ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงพื้นที่ต่างระดับต่างๆ
ข้อดีในส่วนของแอปพลิเคชัน 🙂
- มีฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เลือกค่อนข้างหลากหลายมากๆ ให้เลือกกันแบบเต็มอิ่ม จุใจ เช่นการปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น ปรับระดับของปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น รวมไปถึงโหมดทำความสะอาดเสริมพิเศษต่างๆ ให้มาเยอะมากๆ
ข้อเสีย 🙁
- เสียงในขณะทำงานค่อนข้างดังมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูดในโหมดเทอร์โบ (ดูดแรง) เนื่องจากเครื่องนี้มีพลังดูดสูงถึง 8,000 ปาสคาล ก็ต้องแลกกับเสียงที่ดังมากขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา