← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot

มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 3 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

  1. ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง (Top and Side Components)
  2. ส่วนประกอบด้านล่าง (Underside Component)
  3. ส่วนประกอบของระบบถูพื้น (Wash Base Component)

Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)

AUTOBOT Veniibot Component Top and Side
ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot
  1. LASER SLAM Cover (ฝาครอบเซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : ฝาครอบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 71 มิลลิเมตร ที่ใต้ฝาครอบมีเซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ ที่จะหมุนติ้ว 360 องศา ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เพื่อยิงแสงเลเซอร์ออกไปเพื่อตกกระทบกับวัตถุ ก่อนสะท้อนกลับมาเพื่อสร้างแผนที่จำลอง
  2. Dust Bag Cover (ฝาครอบถุงเก็บฝุ่น) : สามารถยกเปิดขึ้นมาเพื่อนำถุงเก็บฝุ่นขนาด 1 ลิตร ออกมาทำความสะอาดได้ง่ายๆ
  3. HOME Button (ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นทำความสะอาด) : สั่งให้เครื่องวิ่งกลับบ้านโดยทันที ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด แต่มีข้อแม้ว่า ตอนแรกที่มันเริ่มทำงาน มันจะต้องออกมาจากแท่นทำความสะอาด หรือบ้านของมันด้วย
  4. POWER Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง) : ปุ่มเดียว สามารถเป็นได้หลายคำสั่ง ถ้าเครื่องอยู่คนละสถานะดังต่อไปนี้
    1. When Power Off (เมื่อเครื่องปิดอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อสั่งเปิดเครื่อง และให้เครื่องพร้อมใช้งาน
    2. When Power On (เมื่อเครื่องเปิดอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำความสะอาดในโหมดอัตโนมัติ
    3. When Working (ขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่) : กด 1 ครั้งเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราว (Pause)
    4. When Pausing (ขณะที่เครื่องกำลังหยุดทำงานชั่วคราว) : กด 1 ครั้งเพื่อให้เครื่องทำงานต่อ (Continue)
    5. Press and Hold (กดและค้างเอาไว้ 3 วินาที) : ปิดเครื่องทันที (ใช้ในกรณีที่จะไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ)
  5. Front Bumper (กันชนหน้า) : แผ่นพลาสติกด้านหน้า ที่โอบล้อมเข้ามาจนครึ่งตัวของตัวเครื่องหุ่นยนต์ถูพื้น ให้ตัวได้เล็กน้อย ช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตัวเครื่อง กับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน
  6. Indicator Light (ไฟแสดงสถานะเครื่อง) : แถบไฟ LED แสดงสถานะของตัวเครื่อง และสถานะของแบตเตอรี่
  7. Anti-Collision Sensor (เซ็นเซอร์ป้องกันการชน) : ป้องกันการชนกับวัตถุ ที่กีดขวางด้านหน้าของตัวเครื่อง
AUTOBOT Veniibot Top and Side Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง ของตัวเครื่อง

Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)

AUTOBOT Veniibot Component Underside
ส่วนประกอบด้านล่าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot
  1. Floor Sensor (เซ็นเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มี 3 จุด ใช้เพื่อป้องกันเครื่องวิ่งตกจากที่สูง หรือตกจากบันได
  2. Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : มี 1 ล้อหมุนได้รอบตัว 360 องศา และถอดออกมาได้
  3. Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : มีแปรงกวาดข้างแค่ฝั่งขวา ถอดเข้าออกง่าย
  4. Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ด้านนอกมีฝาครอบสีดำอยู่ แกะออกได้ง่ายๆ
  5. Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ พร้อมลายดอกยางจำนวน 2 ล้อ มีสปริงโช๊คอัพให้ตัวได้ ไว้ขับเคลื่อนพาตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น เคลื่อนที่ไปทำความสะอาดตามจุดต่างๆ ได้ (วิ่งขึ้นพรมก็ได้)
  6. Product Label (ฉลากกำกับเครื่อง) : ฉลากสติ๊กเกอร์บอกข้อมูลที่สำคัญของตัวเครื่อง เช่นอัตราการกินไฟ ชื่อยี่ห้อ ชื่อรุ่น ชื่อโรงงานที่ผลิต หรือแม้แต่หมายเลขซีเรียล (Serial Number) เป็นต้น
  7. Rear Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง) : ล้อขนาดเล็ก 2 ล้อ หมุนไม่ได้ ใช้ป้องกันเครื่องกระแทก หรือครูดกับพื้น ในขณะที่ตัวเครื่องทิ้งน้ำหนักลงมาด้านหลัง
  8. Mop Panel (แผงถูพื้น) : แผ่นพลาสติกเป็นที่ติดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ขนาดใหญ่ พร้อมระบบยกขึ้นยกลง (Lift-Mop™) เพื่อเพิ่มแรงกดลงบนพื้น และหลีกเลี่ยงการถูพื้นเปียกบนพรม
AUTOBOT Veniibot Underside Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านล่าง ของตัวเครื่อง

Wash Base Component (ส่วนประกอบของแท่นทำความสะอาด)

ภายในแท่นทำความสะอาด มีระบบทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ด้วยแปรงขัด พร้อมปล่อยน้ำสะอาดออกมา โดยเมื่อครบระยะเวลาในการทำความสะอาดแต่ละรอบ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot เครื่องนี้ก็จะกลับเข้ามาที่แท่นทำความสะอาด เพื่อซักผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ โดยอัตโนมัติ และกลับออกไปทำความสะอาดต่อในพื้นที่ที่เหลือจนเสร็จสิ้น

ซึ่งภายในแท่นทำความสะอาดของเครื่องนี้ มีส่วนประกอบต่างๆ อยู่มากมายเหมือนกัน เนื่องจากมันมีระบบทำความสะอาดผ้าถูพื้น เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เราลองมาดูจากรูปประกอบด้านล่างนี้กันดูว่ามันมีอะไรมาให้บ้าง

AUTOBOT Veniibot Component Wash Base
ส่วนประกอบของแท่นทำความสะอาด หรือ แท่นชาร์จ (Wash Base or Charge Base Component)
  1. Clean Water Tank (ถังน้ำสะอาด) : ไม่สามารถนำออกมาได้ จะยึกติดกับตัวแท่นทำความสะอาดเลย สามารถเปิดได้ด้วยการหมุนฝาปิดถังน้ำสะอาด (Clean Water Tank Lid) ด้านบนออกมา
  2. Dirty Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำสกปรก) : ส่วนนี้จะนำออกมาจากเครื่องได้ มันเป็นน้ำส่วนที่ดูดกลับเข้ามาเหลักจากการทำความสะอาดผ้าม็อบฯ และเข้ามาเก็บไว้ในถังนี้ เพื่อรอการนำไปเททิ้ง โดยเมื่อนำออกมาแล้ว เราสามารถดึงจุกยางที่อยู่ด้านล่างของถังน้ำออกมาเพื่อปล่อยน้ำออก ตามแรงโน้มถ่วงของโลก
  3. Microfiber Fabric Water Squeegee (ตัวรีดน้ำทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์) : แถบยาง 2 แผ่นคู่ ติดอยู่บนตัวยึดกับสายพานพลาสติกสีเขียว ที่อยู่ด้านหลังแผงทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ เพื่อใช้รีดน้ำออกจากผ้าม็อบฯ (หลักการเหมือนกับใช้มือคนขยี้ผ้าม็อบฯ นั่นเอง)
  4. Microfiber Fabric Wash Panel (แผงทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์) : แผงขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าของแท่นทำความสะอาดมีความกว้าง 340 มิลลิเมตร พอที่จะโอบล้อมส่วนหน้าของตัวเครื่อง AUTOBOT Veniibot เข้าไปได้ทั้งตัว เพื่อทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ โดยไม่ต้องถอดผ้าม็อบฯ ออกไปซักเอง
  5. Dirty Water Tray (ถาดรองน้ำสกปรก) : ถาดพลาสติก ที่สามารถถอดออกมาได้ขนาด กว้าง (W) 120 x ยาว (L) 129 มิลลิเมตร ใช้รองน้ำสกปรก ที่เกิดขึ้นหลังจากการทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ จากแผงทำความสะอาดด้านบน ก่อนจะถูกสูบเข้าไปเก็บภายในถังน้ำสกปรก ที่อยู่ด้านบน (มีตะแกรงดักเศษสิ่งสกปรก ไว้ตรงจุดนี้ด้วย)
AUTOBOT Veniibot Wash Base Detail
รายละเอียดแท่นทำความสะอาด (Wash Base Detail)

เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot

  1. การติดตั้งแท่นทำความสะอาด และ การเติมน้ำลงในถังน้ำ
  2. การชาร์จไฟครั้งแรก
  3. การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi

1. Wash Base Installation and Water Tank Filling (การติดตั้งแท่นทำความสะอาด และ การเติมน้ำลงในถังน้ำ)

หาพื้นที่ในการติดตั้งแท่นทำความสะอาด ที่ปราศจากข้าวของเครื่องใช้ใดๆ ที่วางอยู่ภายในรัศมี 0.5 เมตร (ฝั่งซ้าย และ ฝั่งขวา) และ 1.0 เมตร (ด้านหน้า) เป็นอย่างน้อย

และเนื่องจากที่แท่นทำความสะอาดของเครื่องนี้ไม่มีพื้นที่ในการพับเก็บ หรือม้วนเก็บสายไฟ จึงทำให้ต้องวางพาดสายไฟส่วนเกิน อยู่บนตัวแท่นทำความสะอาดแทน ในกรณีที่ปลั๊กไฟ อยู่ในตำแหน่งใกล้กับแท่นทำความสะอาด

และภาพด้านล่างนี้คือ วิธีการเติมน้ำสะอาดลงในถังน้ำสะอาด ขนาด 0.8 ลิตร จริงๆ เราสามารถเติมน้ำลงได้ตรงๆ ผ่านขวดน้ำพลาสติกธรรมดา หรือผ่านถ้วยตวงที่ ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์ ได้ด้วยเช่นกัน

2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)

AUTOBOT Veniibot Charging
ขณะที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot กำลังชาร์จไฟ

การชาร์จไฟของเครื่องนี้ สามารถทำได้วิธีเดียวคือ ชาร์จผ่านแท่นชาร์จ (Charge via Charge Base) เท่านั้น โดยการชาร์จไฟในครั้งแรกนั้น ก็ขอแนะนำให้ชาร์จไฟทิ้งเอาไว้ข้ามคืนไปเลย ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ให้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน เก็บประจุไฟให้เต็มเสียก่อน เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการใช้งานในครั้งแรก

3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

การควบคุม และสั่งงาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot นอกจากที่จะควบคุมได้ผ่านปุ่มควบคุม 2 ปุ่มบนตัวเครื่องได้แล้ว ถ้าหากต้องการจะตั้งค่า หรือดูค่าต่างๆ ได้มากกว่านี้ ก็ยังสามารถควบคุมได้ผ่าน แอปพลิเคชัน Veniibot ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท เฉิงตู เวนิบอท จำกัด (Chengdu Veniibot Co., Ltd.) ได้อีกด้วยเช่นกัน

Veniibot App Logo
โลโก้ แอปพลิเคชัน Veniibot ที่ใช้กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot

โดยแอปฯ นี้มีให้เลือกใช้กันทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการเลยคือ iOS และ Android

  1. ดาวน์โหลดแอป Venii สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป Venii สำหรับ Android ผ่าน Play Store

วิธีการเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน Venii กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot อย่างละเอียดยิบ (ใช้บนระบบปฏิบัติการ iOS)

  1. เปิดแอปพลิเคชัน Venii ขึ้นมาจะพบกับหน้าจอให้เข้าสู่ระบบ
  2. เลือกประเทศไทย (Thailand) พร้อมใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของเราเข้าไปเช่น +66 081xxxxxxx และกด “ปุ่มส่งรหัสยืนยัน (Verification Code)” ที่อยู่ข้างๆ ช่องใส่รหัสยืนยัน
  3. ระบบจะส่งรหัสยืนยันเข้ามาทาง SMS ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ระบุเอาไว้ผ่านผู้ให้บริการ AliSMS และนำรหัสยืนยันมาใส่ในช่องใส่รหัสยืนยัน (Enter Verification Code) หลังจากนั้นกด “ปุ่ม Login” เพื่อเข้าสู่ระบบ
  4. เมื่อเข้าสู่หน้าจอหลักให้กด “ปุ่ม Add Venii” (ในกรอบสีแดง) เพื่อเพิ่มตัวเครื่องให้เข้าสู่การควบคุมของแอปฯ
  5. ระบบจะแสดงคำแนะนำการเชื่อมต่อ โดยให้กด “ปุ่ม START” และ “ปุ่ม FUNCTION” ที่อยู่บนตัวเครื่อง พร้อมกัน โดยให้กดค้างเอาไว้ 3 วินาที จนได้ยินคำว่า “🔊 Network Reset” ดังขึ้นมาพร้อมๆ กัน
  6. เปิด Location ด้วย เลือก “While Using the App” ก็พอ
  7. กรอกรหัสผ่าน Wi-Fi ของ SSID (รองรับเฉพาะคลื่น 2.4 GHz เท่านั้น) ปัจจุบันที่เราใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ เสร็จแล้วกดที่ “ปุ่ม Next” เพื่อไปต่อ
  8. ระบบจะขึ้นคำแนะนำในการเปลี่ยนการเชื่อมต่อจาก SSID ของเรา ไปเป็น SSID ของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เมื่ออ่านแล้วให้ออกไปเปลี่ยนการตั้งค่า Wi-Fi ของสมาร์ทโฟนเราโดยทันที
  9. เลือก SSID ที่เป็นชื่อของ AUTOBOT Veniibot โดยชื่อ SSID จะขึ้นต้นประมาณ “VENII_xxxxxxx
  10. กลับไปที่แอป Venii อีกครั้ง โดยระบบจะขึ้นแสดงวงกลม ที่ภายในมีแถบเปอร์เซ็นต์ บอกสถานะการเชื่อมต่อ พร้อมได้ยินคำว่า “🔊 Start Device Finding” และหลังจากนั้นสักพักจะได้ยินคำว่า “🔊 Connecting Successful” หมายถึงการเชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว
  11. หลังจากนั้นระบบจะพาเข้ามาที่หน้าจอตั้งชื่อตัวหุ่นยนต์ (ค่าตั้งต้นคือ “Venii”) สามารถเปลี่ยนได้ตามต้องการ หรือจะไม่เปลี่ยนก็ได้ เมื่อเรียบร้อยให้กด “ปุ่ม Start Venii
  12. ระบบพาเข้าสู่หน้าจอหลักของการควบคุมเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เป็นอันเสร็จพิธีการเชื่อมต่อ

คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Veniibot

Veniibot App Interface Example
รูปตัวอย่างหน้าจอในเมนูต่างๆ ของแอปพลิเคชัน Veniibot ที่ใช้ในการควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot
  1. การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
    1. สั่งให้เครื่องเริ่มทำงานในโหมดทำความสะอาดอัตโนมัติ (Start Cleaning)
    2. สั่งให่เครื่องหยุดทำงานชั่วคราว (Pause Cleaning)
    3. สั่งกลับแท่นทำความสะอาด เพื่อทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ (Clean Fabric)
    4. สั่งให้เครื่องกลับแท่นทำความสะอาด หรือแท่นชาร์จ (Charge)
    5. ความสามารถเสริมพิเศษ (Special Features)
      1. สั่งให้ทำความสะอาดเฉพาะจุดที่กำหนด (Clean Where You Point)
      2. สั่งให้ทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด (Clean on Specific Area)
  2. การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
    1. ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Current Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
      1. พร้อมใช้งาน (Device Online)
      2. กำลังชาร์จไฟ (Charging)
      3. กำลังทำงาน (Cleaning)
      4. หยุดชั่วคราว (Cleaning Paused)
      5. กำลังกลับไปทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ (Back to Wash Fabric)
      6. กำลังกลับแท่นทำความสะอาด (Return for Charging)
    2. ดูปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Battery Residual) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
    3. ดูระยะเวลาในการทำความสะอาดล่าสุด (Last Clean Time) (หน่วยเป็นนาที)
    4. ดูพื้นที่ในการทำความสะอาดล่าสุด (Last Clean Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
    5. แจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียงผ่านแอปพลิเคชัน (Find Device)
  3. การตั้งค่าการทำความสะอาด (Cleaning Settings)
    1. ตั้งค่าให้เครื่องกวาดพื้นอย่างเดียว (Sweeping ONLY)
    2. ตั้งค่าให้เครื่องถูพื้นอย่างเดียว (Mopping ONLY)
    3. ตั้งค่าให้เครื่องทั้งกวาดพื้น และถูพื้นไปพร้อมๆ กัน (Sweeping and Mopping)
    4. สามารถตั้งขนาดพื้นที่ก่อนจะเข้าไปทำซักทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ (Cleaning Area Before Return for Washing Fabric) ได้ (ตั้งค่าได้ระหว่าง 5 ถึง 40 ตารางเมตร – m2)
    5. สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Scheduled Cleaning) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง นอกจากนี้แล้ว มันยังสามารถตั้งเวลาทำความสะอาดต่อวันได้วันละหลายครั้ง (กี่ครั้งก็ได้)
  4. การตั้งค่าทั่วไป (General Settings)
    1. สามารถปรับระดับความดังของเสียงพูด (Device Volume) ได้ (ตั้งค่าได้ระหว่าง 0 ถึง 100)
    2. ห้ามรบกวน (Do Not Disturb)
    3. สามารถตั้งเปลี่ยนชื่อเรียก (Robot Name) ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นได้
    4. สามารถตรวจสอบ และอัปเดทเฟิร์มแวร์ (Firmware Update) ของตัวเครื่อง ผ่านแอปพลิเคชันได้โดยตรง
    5. สามารถล้างการตั้งค่าทั้งหมด (Reset All Settings) ให้เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน เพื่อเริ่มต้นใหม่ได้

คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot

1. จำเป็นต้องนำถังน้ำสกปรก ไปเททิ้งทุกครั้งหลังการใช้งานหรือไม่ ?

ไม่จำเป็น เพราะถังน้ำสกปรก มีขนาดความจุ มากถึง 0.8 ลิตร ทำให้เก็บน้ำปริมาณได้ในมาก แต่ควรหมั่นตรวจเช็คอยู่บ่อยๆ อย่าให้น้ำเต็มถัง

2. สำหรับน้ำ 1 ถังสามารถใช้ถูพื้นได้กี่ครั้ง ?

ตอบยากจริงๆ เพราะมันขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของห้องเราด้วย และก็ขนาดของพื้นที่ส่วนที่เป็นพรม ที่มีอยู่ในห้องเราด้วย แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วถ้าพื้นที่ประมาณ 30 ตารางเมตร จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน กว่าน้ำจะหมดถัง

3. จะให้มันถูพื้นอย่างเดียว หรือ ดูดฝุ่นอย่างเดียว ได้หรือไม่ ?

เครื่องนี้มีโหมดการทำความสะอาด (Cleaning Mode) อยู่ทั้งหมด 3 โหมดหลักๆ ให้เลือกด้วยกันผ่านบนตัวแอปพลิเคชันเท่านั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน ได้แก่

  1. Sweeping & Mopping (ดูดฝุ่น และ ถูพื้น) : ระบบจะดูดฝุ่น และถูพื้นแบบเปียกไปพร้อมๆ กัน จำเป็นจะต้องกลับแท่นทำความสะอาด ในทุกๆ 12 ตารางเมตร จะเสียเวลานิดนึงแต่สะอาดจริง คอนเฟิร์ม
  2. Sweeping ONLY (ดูดฝุ่นอย่างเดียว) : แผงถูพื้นจะถูกยกขึ้นตลอดการทำความสะอาด เนื่องจากเป็นระบบดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียว ในขณะที่แปรงกวาดข้าง และ แปรงกวาดหลัก จะหมุนทำงานตามปกติ
  3. Mopping ONLY (ถูพื้นอย่างเดียว) : แผงถูพื้นจะถูกยกลง เพื่อสัมผัสกับตัวพื้น ในขณะที่ระบบดูดฝุ่น อย่างแปรงกวาดข้าง และแปรงกวาดหลัก จะหยุดทำงาน

4. สภาพน้ำในถังน้ำสกปรกหลังการใช้งาน 2 ครั้งเป็นอย่างไรบ้าง ?

AUTOBOT Veniibot Dirty Water After Washing Microfiber Cloth
น้ำสกปรก ที่ได้จากการ ทำความสะอาด ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์

หลังจากที่ทดสอบถูพื้นบ้านที่ห้องรับแขก ห้องครัว ขนาดพื้นที่ประมาณ 30 ตารางเมตร เพียงแค่ 2 ครั้ง แล้วก็ลองเอาน้ำที่ถูกเก็บอยู่ภายใน ถังน้ำสกปรก มาเทใส่ถ้วยตวง

แล้วก็พบว่า น้ำที่ซักผ้าถูพื้นไมโครไฟเบอร์นั้น ดูสกปรกอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

เมื่อเห็นแบบนี้ ก็แสดงว่าซักผ้าได้จริง สามารถนำเอาสิ่งสกปรกที่ฝังอยู่ในผ้าม็อบฯ ได้จริงๆ ซึ่งก็ถือว่าได้ผลดีเลยทีเดียว

5. การดูแลรักษาหุ่นยนต์ถูพื้น เครื่องนี้ต้องทำอะไรบ้าง ?

การดูแลรักษาเครื่องหลักๆ ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot จะมีอยู่ทั้งหมด 4 อย่างหลักๆ ที่เราต้องหมั่นดูแล ดังต่อไปนี้

  1. นำเศษฝุ่นที่อยู่ภายในถุงเก็บฝุ่นแบบเททิ้งได้ไปทิ้ง
    (แต่ถ้าเป็นถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้เสร็จแล้วก็ต้องทิ้งสถานเดียว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า)
  2. เติมน้ำสะอาดลงในถังน้ำสะอาด
  3. นำเศษฝุ่นขนาดใหญ่ อย่างเช่นเส้นผม ที่อยู่ภายในถาดรองน้ำสกปรกไปทิ้ง
  4. นำน้ำในถังน้ำสกปรกไปปล่อยทิ้ง

6. ราคาอะไหล่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Lazer 4 มีอะไรบ้าง ? และราคาเท่าไหร่ ?

ชื่ออะไหล่
(Part Name)
ราคาต่อหน่วย
(Unit Price)
1. แปรงกวาดข้าง x 2 ชิ้น
(Side Brush x 2 Set)
200 บาท
2. แปรงกวาดหลัก x 1 ชิ้น
(Main Brush x 1 Set)
200 บาท
3. แผ่นกรองอากาศ HEPA 
(HEPA Filter x 1 Set)
200 บาท
4. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 1 ผืน
(Microfiber Cloth x 1 Set)
200 บาท
5. ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง x 1 ถุง
(Single-Use Dust Bag x 1 Set)
200 บาท
6. ถุงเก็บฝุ่นแบบเททิ้งได้ x 1 ถุง
(Reusable Dust Bag x 1 Set)
200 บาท

7. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถ ติดต่อสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เลย

โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลยที่

  • Hotline (สายด่วน) : 0-2215-2577
  • LINE ID (ไลน์ไอดี) : @allaboutbot

8. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot ได้ที่ไหน ?

คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย

  • Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 06-3265-2560
  • Line ID (ไลน์ไอดี) : @allaboutbot
  • Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : allaboutbot.th (ออลอเบ้าท์บอทดอททีเฮช) ตามกรอบด้านล่าง

บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot

ข้อดี 🙂

  • การใช้งานดูเหมือนจะมีความซับซ้อนมาก แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมากมาย กลับง่ายกว่าที่คิดอีกต่างหาก เพราะเราไม่จำเป็นต้องคอยมาซักทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ด้วยตัวเอง ในขณะที่การใช้งานอื่นๆ ก็เหมือนกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทั่วๆ ไปในท้องตลาดเลย
  • หมดห่วงเรื่องเวลาถูพื้นในห้องใหญ่ๆ แล้วผ้าม็อบฯ จะไม่สะอาด เพราะว่ามันจะกลับมาซักทำความสะอาด เมื่อทำความสะอาดครบทุก 12 ตารางเมตร และกลับไปทำความสะอาดต่อในพื้นที่ที่เหลือจนครบทั่วทั้งบริเวณ
  • แม้ตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ แต่ก็มีน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเบา เพราะว่าได้ตัดส่วนของถังน้ำออกไปแล้ว (เพราะระบบการถูพื้นหลัก ย้ายไปอยู่ที่แท่นชาร์จหมดแล้ว)
  • การทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ด้วยการฉีดน้ำออกมาจากแผงทำความสะอาดผ้าม็อบฯ พร้อมรีดน้ำออกด้วยตัวรีดน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรก ออกจากตัวผ้าม็อบฯ และก็พบว่าน้ำสกปรกจริงๆ

ข้อเสีย 🙁

AUTOBOT Veniibot Wash Base Rear
ด้านหลังของแท่นทำความสะอาด หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot
  • ทั้งตัวเครื่อง และตัวแท่นทำความสะอาด มีขนาดใหญ่ อาจจะดูเทอะทะ ไปหน่อย
  • แท่นทำความสะอาด ไม่มีที่เก็บม้วนสายไฟด้านหลัง ต่อเก็บดีๆ เพื่อป้องกันการถูพื้น
  • อุปกรณ์เสริมให้มาน้อยเช่น แปรงกวาดข้าง ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ให้มาแค่อันเดียว

← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

1
2
ทบทวนภาพรวม
ความสะอาดการดูดฝุ่น
9
ความสะอาดการถูพื้น
10
การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง
10
การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง
9
การดูแลรักษา ทำความสะอาด
9
ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม
7
ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน
9
ความสามารถของแอปพลิเคชัน
10
ความสะดวก และ ง่ายของการใช้แอปพลิเคชัน
9
ความคุ้มค่าเทียบกับราคา
9
ความพึงพอใจโดยรวม
10
บทความก่อนหน้านี้iRobot Braava jet m6 หุ่นยนต์ถูพื้นระบบฉีดน้ำ ที่วิ่งกลับแท่นชาร์จเองได้ สั่งงานผ่าน App ได้
บทความถัดไปAUTOBOT Lazer 4 แบตเตอรี่สุดอึด มีปั๊มน้ำ ถูบ้านฉลาด ควบคุมผ่าน App
Thanop Somprasong
Thanop.com Founder + Thaiware.com Co-Founder + Business Director, Cloud Business Co.,Ltd. + Committee Thai Webmaster Association
autobot-veniibot-reviewหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot จัดเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวแรก ตั้งแต่เคยรีวิวมา ที่มีความสามารถของการทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน (Pain Point) ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นจากทั่วโลก ที่มีความสามารถของการถูพื้นได้ทุกตัว ที่เราจะต้องบำรุงรักษามันด้วยการนำผ้าม็อบฯ ไปซักทำความสะอาดด้วยตัวเองเกือบทุกครั้งที่ใช้งาน เพราะว่าถ้าไม่นำไปซัก มันก็สกปรก พอถูพื้นไป แทนที่จะทำให้พื้นสะอาดขึ้น กลับทำให้พื้นสกปรกหนักกว่าเดิมด้วยซ้ำไป <br /><br /> แต่ว่า หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น AUTOBOT Veniibot ตัวนี้ มีความสามารถของการทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ด้วยตัวเองเบ็ดเสร็จที่แท่นทำความสะอาด โดยเขาใช้ชื่อว่า Self-Cleaning Mop Wash Base ที่เมื่อเวลาเครื่องเข้าไปจอดยังแท่นทำความสะอาด แผงถูพื้นที่ติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นฯ จะเข้าไปสัมผัสกับ แผงทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นฯ พอดี <br /><br /> และหลังจากนั้นระบบก็จะปล่อยน้ำออกมาจากด้านบนสู่ด้านล่าง พร้อมกันนั้นก็ยังมี ตัวรีดน้ำทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นฯ ที่เป็นแถบยาง 2 แผ่นคู่ รีดน้ำไปมา เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก ที่อยู่บนผ้าม็อบถูพื้นฯ ให้หลุดออกไป และถูกดูดไปเก็บในถังน้ำสกปรก เป็นลำดับต่อไป เพิ่มความสะดวกสบาย ให้กับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ <br /><br /> ด้านการควบคุมนั้น หลักๆ จะเป็นการควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Veniibot ที่ใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android การเชื่อมต่อกับตัวเครื่องหุ่นยนต์ฯ นั้นง่ายมาก แถมความสามารถก็เยอะแยะมากมายอีกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ภายในแอปฯ ก็นี้ยังมีออปชั่นเลือกได้ด้วยว่าจะดูดฝุ่น (Sweeping) หรือถูพื้น (Mopping) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่าจะทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกันก็ได้เช่นกัน <br /><br /> ในส่วนของสเปกเครื่อง หลักๆ ก็จัดว่าดูดีเลย เช่น มีพลังดูดสูงถึง 2,000 ปาสคาล (Pa) และแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาดความจุ 5,200 มิลลิแอมป์ (mAh) เพียงพอที่จะให้เครื่องได้ดูดฝุ่น ถูพื้น ได้ยาวนานต่อเนื่องจึง 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง กันเลยทีเดียว ถังน้ำสะอาด และ ถังน้ำสกปรก แยกกัน แต่ละถังมีขนาดความจ 0.8 ลิตร ถือว่าเยอะพอสมควร ในขณะที่ถุงเก็บฝุ่นมีขนาดความจุ 1.0 ลิตร ถือว่าใหญ่มากๆ

3 ความคิดเห็น

  1. ติดต่อซ่อม veniirobot ได้ที่นี่ หรือเปล่าคะ
    มันเสียส่วนที่เป็นตัวยก ขึ้นลง ของผ้าม้อปถูค่ะ มันค้าง
    และกลับไปชาร์จที่แท่นไม่ทัน คือเธอตายกลางทางค่ะ ตอนนี้ไม่ทราบจะไปซ่อมที่ไหนแล้วค่ะ
    ติดตอกกลับ 0816724991

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้