← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI
มาดูกันว่าส่วนประกอบของในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง และแต่ละส่วนเป็นอย่างไร โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 4 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่
- Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
- All-in-One OMNI Station Component (ส่วนประกอบของแท่นชาร์จอัจฉริยะ)
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Y-Power Button with Indicator Light (ปุ่ม Power รูปตัว Y พร้อมไฟแสดงสถานะ) : กดสั้นๆ สั่งให้หุ่นยนต์เริ่ม / หยุดทำงาน (Start / Pause), กดค้าง 3 วินาที สั่งให้หุ่นยนต์กลับแท่นชาร์จอัจฉริยะ (Return to All-in-One OMNI Station)
- Top Cover (ฝาครอบหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ด้านบน) : ตัวฝาเป็นวัสดุพลาสติก มีแม่เหล็กสำหรับยึดเกาะกับตัวหุ่นยนต์
- 3D AIVI Camera (กล้อง AIVI 3D) : กล้องสำหรับจับภาพเพื่อวิเคราะห์วัตถุ และใช้เป็นกล้องแบบ Real-time ผ่านแอป ECOVACS HOME ได้
- TrueDetect 3D Sensor (เซนเซอร์ TrueDetect 3D) : เซนเซอร์สำหรับสแกนวัตถุ 3 มิติ (3D Objects) เพิ่มข้อมูลการวิเคราะห์วัตถุ
- Camera Indicator Light (ไฟแสดงสถานะกล้อง) : แสดงสถานะกล้องระหว่างการใช้งาน
- Anti-Collision Sensors and Bumper (เซนเซอร์ป้องกันการชน และกันชน) : ใช้ตรวจจับวัตถุตรงหน้า เพื่อป้องกันการกระแทก ติดตั้งอยู่ในส่วนของกันชน (Bumper) ที่สามารถให้ตัวได้
- Solid-State LiDAR Sensors (เซนเซอร์ LiDAR ตรวจจับระยะห่าง) : เป็นเซนเซอร์ LiDAR ใหม่แบบคู่ (Dual LiDAR) ที่เพิ่มความกว้างในการตรวจจับถึง 210 องศา ใช้ตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวเครื่องกับวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัวมัน
- Charging Contacts (แม่เหล็กสัมผัสสำหรับชาร์จไฟ) : แม่เหล็กอยู่ด้านหลังตัวเครื่อง เมื่อเข้าฐานจะสัมผัสกับแม่เหล็กฝั่งของสถานีและชาร์จไฟ
- Water Inlet (ช่องน้ำเข้า) : ที่ด้านหลังของตัวเครื่องจะมี ช่องเติมน้ำเพื่อถูพื้น จากแท่นชาร์จฯ ลงถังน้ำขนาดความจุ 180 มิลลิลิตร (0.18 ลิตร) ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง
- Edge Sensors (เซนเซอร์ขอบด้านข้าง) : มี 2 จุดทางด้านขวาของตัวเครื่อง ไว้ตรวจจับผนัง รวมไปถึงสิ่งกีดขวางด้านข้าง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างตัวเครื่อง กับวัตถุที่อยู่ด้านข้างอย่างกำแพง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเสมอ (สาเหตุที่มีข้างเดียว เพราะหุ่นยนต์จะเดินเลาะขวาเสมอ)
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Carpet Detection Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับพื้นพรม) : อยู่ใต้ตัวเครื่องด้านหน้า เมื่อเครื่องวิ่งขึ้นพรม เซ็นเซอร์จะตรวจจับ และยกผ้าม็อบขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มแรงดูดให้แรงขึ้นโดยอัตโนมัติ
- Caster Wheel or Universal Wheel (ล้อหน้ารอบทิศทาง) : เป็นล้อรับน้ำหนักด้านหน้า ที่จะช่วยพยุงด้านหน้าของหุ่นยนต์ ใช้เพื่อให้ตัวเครื่องทรงตัวเมื่อหมุนไปในทิศทางต่างๆ ได้แบบ 360 องศา โดยล้อนี้ไม่มีกลไกขับเคลื่อนใดๆ
- Side Brush (แปรงกวาดข้าง) : อยู่ในตำแหน่งมุมขวาบนของเครื่อง เข้าถึงขอบมุมได้มากกว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบบทรงกลม
- Floating Rubber Brush (แปรงกวาดหลักแบบยาง) : มีลักษณะเป็นแปรงยางยาว 200 มิลลิเมตร (20 เซนติเมตร) ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่อมฝุ่น สามารถทำความสะอาดได้ง่าย (ใช้น้ำเปล่าล้างได้เลย)
- Main Driving Wheels (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : มีด้วยกัน 2 ล้อแยกด้านซ้าย-ขวา สามารถให้ตัวได้อยู่พอสมควร และสามารถวิ่งผ่านข้ามสิ่งกีดขวางได้ถึง 22 มิลลิเมตร (2.2 เซนติเมตร) (สูงที่สุดในตลาด)
- Anti-Drop Sensors (เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มีอยู่ด้วยกัน 6 จุดรอบตัวเครื่อง (ยกเว้นด้านท้ายเครื่อง) ใช้ตรวจจับพื้นต่างระดับ ไม่ให้หุ่นยนต์ตกจากที่สูง เช่น บันไดบ้าน เป็นต้น
- Washable Mopping Pads (ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์แบบคู่ที่ซักได้) : ระบบถูพื้นแบบผ้าม็อบกลม หมุนเข้าหากันเพื่อขัดพื้น และซักผ้าม็อบได้สะอาดยิ่งขึ้น สามารถยกผ้าม็อบเมื่อขึ้นพรมได้สูงถึง 15 มิลลิเมตร (1.5 เซนติเมตร)
Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
- Power Switch (สวิตซ์หลักเปิด-ปิดเครื่อง) : สวิตซ์สีแดง สามารถเลื่อนซ้าย-ขวา เพื่อเปิด-ปิดการใช้งานเครื่องได้เลย “I” = ON, “O” = OFF
- Wi-Fi Status Indicator Light and Reset Button (ไฟแสดงสถานะไวไฟ และปุ่มรีเซ็ต) : ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi กับแอปพลิเคชันครั้งแรก หรือเชื่อมต่อใหม่ อยู่ภายใต้ฝาปิด ระหว่างการใช้งานทั่วไปจึงมองไม่เห็นไฟแสดงสถานะ
- Dust Bin Installation Area (พื้นที่ติดตั้งกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองขนาดความจุ 420 มิลลิลิตร (0.42 ลิตร) สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ แต่โดยปกติแล้ว ฝุ่นจะถูกดูดเก็บโดยแท่นชาร์จอัจฉริยะ
All-in-One OMNI Station Component (ส่วนประกอบของแท่นชาร์จอัจฉริยะ)
- Top Cover (ฝาปิดด้านบน) : ใช้ปิดตัวถังน้ำทั้ง 2 ถัง สามารถยกเปิดได้ด้วยมือ
- Clean Water Tank (ถังเก็บน้ำสะอาด) : ขนาด 4,000 มิลลิลิตร (4 ลิตร) เราต้องเติมน้ำสะอาดเพื่อใช้งานในถังนี้
- Dirty Water Tank (ถังเก็บน้ำสกปรก) : ถังที่เก็บน้ำที่ผ่านการทำความสะอาดมาแล้ว ขนาด 3,500 มิลลิลิตร (3.5 ลิตร) น้ำสกปรกจะถูกส่งมาเก็บในถังนี้ ถอดเททิ้งและทำความสะอาดได้ตามปกติ
- Button on Station (ปุ่มสั่งงานบนฐานแท่นชาร์จอัจฉริยะ) : อยู่บริเวณด้านขวาบนของตัวแท่น
- กด 1 ครั้งเมื่อหุ่นยนต์อยู่ในแท่นชาร์จฯ : เริ่มทำงาน หรือ หยุดทำงาน
- กดค้าง 3 วินาที : ทำความสะอาดตัวเอง (Self-Clean)
- Light Strip (เส้นไฟแสดงสถานะ ของแท่นชาร์จอัจฉริยะ) : อยู่ถัดจากปุ่มสั่งงานบนฐานแท่นชาร์จฯ
- Glowing Blue (ไฟสีฟ้า) : เตรียมพร้อม / กำลังวิ่ง (Standby / Running)
- Flashing Red (ไฟสีแดงกะพริบ) : เกิดความผิดปกติ (Malfunction)
- Goes Out (ไม่แสดงไฟใด ๆ) : ไม่มีไฟ / โหมดหลับลึก (Power Outage / Deep Sleep Mode)
- Dust Collection Cabin (ช่องเก็บฝุ่น) : อยู่ส่วนกลางของตัวฐานแท่นชาร์จฯ สลักล็อกฝาเป็นแบบกดเพื่อเปิด/ปิด (Push to Open/Close) ด้านในเป็นถุงเก็บฝุ่น (Dust Bag) ขนาดความจุ 3,000 มิลลิลิตร (3 ลิตร) ฝาปิดเป็นกระดาษ เป็นถุงแบบใช้แล้วทิ้ง
- Charging Contacts (ขั้วชาร์จไฟ) : หรือจุดสัมผัสจ่ายไฟ มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะสีเงิน มีหน้าที่เอาไว้จ่ายไฟจากแท่นชาร์จฯ เพื่อเข้าชาร์จไฟลง แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery) ขนาดความจุ 6,400 มิลลิแอมป์ (mAh) ให้กับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- Cleaning Sink (ถาดล้างผ้าม็อบถูพื้นฯ) : เป็นถาดใสที่สามารถถอดนำไปล้าง หรือทำความสะอาด มันมาพร้อมกับรูจำนวนมาก มีเอาไว้เพื่อกรองเศษสิ่งสกปรกออกจากน้ำ ที่ผ่านการชะล้างผ้าม็อบถูพื้นฯ ก่อนน้ำเหล่านั้นจะถูกดูดกลับเข้าไปเก็บในถังเก็บน้ำสกปรก
- Dock Base (ส่วนฐานของแท่น) : ใช้เป็นฐานให้ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น สามารถวิ่งขึ้น สามารถถอดประกอบได้
เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI
- Robot Vaccum Cleaner Installation (การติดตั้งตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
- All-in-One OMNI Station Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จอัจฉริยะ)
- Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
1. Robot Vaccum Cleaner Installation (การติดตั้งตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
ที่ตัวเครื่องนั้น เมื่อแกะออกจากกล่องจะมีฟิล์มกันรอย และแผ่นโฟมต่างๆ ที่คอยบล็อกตามข้อต่อเพื่อป้องกันการกระแทกเสียหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งก่อนใช้งานนั้น เราจะต้องทำการถอดออกให้หมดเสียก่อน
จากนั้น ให้เราทำการติดตัวแปรงปัดข้างและแปรงยางสำหรับดูดฝุ่น รวมทั้งฝาครอบลงไปในตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเพื่อให้พร้อมใช้งานด้วย เมื่อเรียบร้อยทุกอย่างแล้ว ถอดฝาปิดด้านบนออก และเลื่อนสวิตซ์จาก O (OFF) เป็น I (ON) ตัวเครื่องก็จะพร้อมใช้งานแล้ว
2. All-in-One OMNI Station Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จอัจฉริยะ)
เมื่อฟังก์ชันเยอะ ก็อาจจะทำให้ดูยุ่งยาก แต่จริงๆ แล้วขั้นตอนของการติดตั้งสถานีชาร์จไม่ได้มากมายอย่างที่ติด อย่างแรกให้เราทำการลอกฟิล์มกันรอยทุกอย่างออกจากตัวสถานีชาร์จก่อน หาที่วางที่เหมาะสมใกล้กับปลั๊กไฟ เว้นพื้นที่ด้านซ้ายและขวาด้านละ 0.05 เมตร (5 เซนติเมตร) และพื้นที่ด้านหน้า 0.8 เมตร (80 เซนติเมตร)
จากนั้นทำการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
- ฐานแท่นเก็บฝุ่นด้านหน้าของตัวสถานี
- ฐานซักผ้าม็อบด้านในล่างสุดของสถานี
- ถุงเก็บฝุ่นตรงกลางของสถานี (กดเพื่อเปิดฝา)
- ถังน้ำสะอาดและถังน้ำใช้แล้ว โดยเติมน้ำถังน้ำสะอาดให้เต็มจนถึงระดับ MAX จะมีเส้นบอกระดับระบุไว้ (ฝาด้านบนสามารถยกเปิดได้เลย)
3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
สำหรับการควบคุมและสั่งงานเครื่อง ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สามารถทำได้ผ่าน แอป ECOVACS HOME ที่มีให้ใช้งานทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เราสามารถเชื่อมต่อตัวหุ่นยนต์เข้ากับ Wi-Fi บ้านได้เลยทันที โดยหลังจากที่ดาวน์โหลดแอปฯ แล้ว ก็สามารถที่จะสแกน QR Code ที่อยู่ใต้ฝาปิดด้านบนของตัวเครื่อง และทำตามขั้นตอนได้เลย
ลิงก์ดาวน์โหลดแอป ECOVACS HOME
(พัฒนาโดย : บริษัท อีโคแวคส์ โรโบติกส์ จำกัด – Ecovacs Robotics Inc.)
- ดาวน์โหลดแอป ECOVACS HOME สำหรับ iOS ผ่าน App Store
- ดาวน์โหลดแอป ECOVACS HOME สำหรับ Android ผ่าน Play Store
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน ECOVACS HOME
- การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำความสะอาดห้อง (Start Room Cleaning)
- ทำความสะอาดทั่วทั้งบริเวณ (Full)
- ทำความสะอาดเฉพาะห้องที่กำหนด (Rooms)
- ทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด (Zones) วางได้หลายโซนพร้อมกัน
- ตัวเลือกการทำความสะอาด (Cleaning Options)
- โหมดดูดฝุ่น (Vacuum Mode)
- โหมดถูพื้น (Mopping Mode)
- โหมดดูดฝุ่น+ถูพื้น (Vacuum and Mopping Mode)
- โหมดดูดฝุ่นก่อนถูพื้น (Vacuum before Mopping Mode)
- สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จอัจฉริยะ (Return to Dock)
- ชาร์จไฟอย่างเดียว (Return to Charging)
- ขจัดฝุ่นในกล่องเก็บฝุ่น (Empty Dust)
- การเป่าแห้ง (Drying Mop)
- ทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้น (Wash Mop)
- ทำความสะอาดตัวเอง (Self Cleaning)
- ปรับระดับกำลังดูด (Adjust Vacuum Power Level)
- โหมดเงียบ (Quite Mode) – ดูดเบา (ควรใช้ในเวลากลางคืน)
- โหมดมาตรฐาน (Standard Mode) – ดูดปกติ
- โหมดสูงสุด (Max Mode) – ดูดแรง
- โหมดสูงสุด+ (Max+ Mode) – ดูดแรงมากๆ
- ปรับระดับการไหลของน้ำ (Water Flow Level)
- ต่ำ (Low)
- กลาง (Medium)
- สูง (High)
- จำนวนครั้งในการทำความสะอาด (Cleaning Time)
- ทำความสะอาดรอบเดียว (x1)
- ทำความสะอาดซ้ำเป็น 2 รอบ (x2)
- เลือกรูปแบบเส้นทางการถู (Mop Route)
- การถูธรรมดา (Standard) (ระบบดูดฝุ่น และ ระบบถูพื้น เปิดปกติ)
- การขัดแบบล้ำลึก (ถูพื้นเป็นรูปตัว S มากยิ่งขึ้น เหมาะกับทำความสะอาดสิ่งสกปรกในที่ฝังแน่น)
- ความสามารถการทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features)
- โหมดทำความสะอาดแบบ AI เรียนรู้พฤติกรรมของคุณ จดจำประเภทห้องและวัสดุพื้นห้อง เพื่อเสนอวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสม
- การตั้งขอบเขตเสมือน (Virtual Wall) สามารถตั้งแยกใช้งานระหว่างโหมดดูดฝุ่นพร้อมถูพื้น และถูพื้นอย่างเดียวได้
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำความสะอาดห้อง (Start Room Cleaning)
- การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
-
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- กำลังทำความสะอาด (Cleaning)
- กำลังทำความสะอาดห้อง หรือแบบโซน (Room / Zone Cleaning)
- หยุดชั่วคราว (Pause)
- กำลังกลับแท่นชาร์จ (Returning to Dock)
- กำลังชาร์จแบตเตอรี่ (Charging)
- ชาร์จแบตเตอรี่เสร็จสิ้น (Charge Completed)
- กำลังซักผ้าม็อบถูพื้น (Washing the Mop)
- กำลังกลับไปซักผ้าม็อบถูพื้นฯ (Going to Wash the Mop)
- กำลังเป่าแห้งผ้าม็อบถูพื้น (Drying the Mop)
- กำลังดูดฝุ่น (Emptying)
- และอื่นๆ อีกมากมาย (and More …)
- ดูขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaning Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
- ดูปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Battery Level) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
- ดูเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaning Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
- ดูแผนที่การทำความสะอาดแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map)
- ดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing) (ผ่านกล้องหน้าคู่ – ตอนห้องมืดก็ดูได้)
- ดูภาพแบบ HDR (ความละเอียดสูง – High Dynamic Range)
- เปิดระบบวิดีโอคอล (Video Call)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
-
- การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Settings and Information)
- สร้างแผนที่การทำความสะอาด (Create Cleaning Map) ของพื้นที่แต่ละชั้น หรือแต่ละสถานที่ (สามารถสร้างได้สูงสุด 4 แผนที่) และยังสามารถ
- แก้ไขข้อมูลห้อง (Edit Room)
- รวมห้อง (Merge Room)
- แบ่งห้อง (Divide Room)
- เปลี่ยนชื่อห้อง (Rename Room)
- แก้ไขเฟอร์นิเจอร์ (Edit Furniture) (มีให้เลือกมากกว่า 10 รายการ)
- แก้ไขข้อมูลห้อง (Edit Room)
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง และเลือกระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น และ ระดับความเข้มข้นของการถู ได้ด้วย
- ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning History) (ทั้งข้อมูล พร้อมแผนที่ที่เครื่องวิ่งผ่าน)
- สร้างแผนที่การทำความสะอาด (Create Cleaning Map) ของพื้นที่แต่ละชั้น หรือแต่ละสถานที่ (สามารถสร้างได้สูงสุด 4 แผนที่) และยังสามารถ
- การตั้งค่า และข้อมูลทั่วไป (General Settings and Information)
- ดูอายุการใช้งานวัสดุสิ้นเปลืองและชิ้นส่วนอะไหล่ได้ (Check Spare Part’s usage time.)
- สร้างการทำความสะอาดที่กำหนดค่าเองได้ กำหนดห้องและรูปแบบการทำความสะอาด ไว้เรียกใช้งาน (Set Cleaning Formation)
- ตั้งกำหนดการการทำความสะอาด เลือกเวลาและรูปแบบการทำความสะอาดได้ (Set Time Schedule and Cleaning Mode)
- ตั้งค่าการทำความสะอาดอัจฉริยะ (Smart Cleaning Setting)
- การทำความสะอาดต่อเนื่อง (Continuous Cleaning)
- ห้ามรบกวน (Do not Disturb)
- ทำความสะอาดแบบด่วน (Fast Cleaning)
- การเพิ่มแรงดูดอัตโนมัติ (Boost Suction Power)
- เลือกหน่วยวัดพื้นที่ (Change Area Unit) เป็น ตารางเมตร (m2) หรือ ตารางฟุต (ft2)
- เปิดการใช้งาน AIVI™ 3D 2.0 (Turn On AIVI™ 3D 2.0)
- การตั้งค่าสถานี (OMNI Station Setting)
- ความถี่ในการกำจัดฝุ่นอัตโนมัติ (Auto-Empty Mode) แบบอัตโนมัติ หรือ อัจฉริยะ
- รอบการทำความสะอาดผ้าม็อบ (Mops Cleaning Cycle) 10, 15, 25 นาที หรือ ซักแผ่นดูแยกตามห้องที่ทำความสะอาด
- วิธีการทำความสะอาดผ้าม็อบ (Mops Cleaning Mode) ประหยัดพลังงาน, การซักด้วยน้ำร้อน, การซักแบบล้ำลึก
- ไม่ต้องซักผ้าม็อบ (Do Not Wash The Mops)
- เวลาการเป่าแห้งด้วยลมร้อน (Mops Drying Time) แบ่งเป็น 2 ชั่วโมง, 3 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง
- การตั้งค่า YIKO สำหรับรับคำสั่งเสียง (YIKO Voice Assistant Settings)
- ตั้งให้แจ้งเตือนวัสดุสิ้นเปลืองเมื่อใกล้หมดอายุ (Alert When Consumables Nearly Expire)
- เลือกภาษาของหุ่นยนต์ (Robot Voice) (รองรับภาษาไทย) และปรับระดับเสียง (Volume)
- การตั้งค่าหุ่นยนต์ (Robot Settings)
- อัปเดตเวอร์ชันของหุ่นยนต์ DEEBOT (Device Software Update)
- ตั้งค่าโซนเวลาของหุ่นยนต์ (Change Time Zone)
- จัดการ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อ (Manage Wi-Fi)
- เปลี่ยนชื่อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น (Change Device Name) (สูงสุด 24 ตัวอักษร)
- ตัวจัดการวิดีโอ ตั้งรหัสผ่านก่อนเข้าถึงการใช้งานกล้อง
- ลบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกจากแอปพลิเคชัน (Delete Device)
สภาพหลังการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI
1. สภาพหลังการใช้งานของระบบดูดฝุ่น
ในส่วนของการดูดฝุ่น เมื่อฝุ่นถูกดูดเข้าไปเก็บเอาไว้ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองที่ตัวเครื่องแล้ว เมื่อเสร็จสิ้นการทำความสะอาด และหุ่นยนต์กลับไปยังสถานีชาร์จ ระบบก็จะดูดฝุ่นที่อยู่ในตัวเครื่องเข้าไปเก็บเอาไว้ใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Dust Bag) ทันที จึงไม่มีทั้งฝุ่นขนาดเล็กหรือใหญ่ หลงเหลือทิ้งไว้อยู่ในตัวเครื่องเลย (ฟังจากเสียงตอนดูด และพลังวัตต์ต่อการดูดเก็บฝุ่นที่ 1,000 วัตต์ ก็น่าจะแสดงถึงความแรงในการดูดฝุ่นอยู่ ว่ามีอยู่พอสมควร)
สำหรับภาพถ่ายด้านบน คือเมื่อผมทดลองดึงถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งออกมาจากตัวแท่นชาร์จฯ และลองส่องดู จะเห็นว่าฝุ่นน้อยใหญ่ถูกเก็บไว้ในถุงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ทดสอบมาสัปดาห์หนึ่งเต็มๆ ก็ยังเหลือพื้นที่ในถุงอีกเยอะเลย
2. สภาพหลังการใช้งานของระบบถูพื้น
ส่วนนี้เป็นการพิสูจน์ฟีเจอร์การซักผ้าด้วยน้ำอุ่นได้เป็นอย่างดี ด้วยการให้ตัวแท่นชาร์จฯ ซักผ้าด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิ 55 องศา (กินไฟ 1,650 วัตต์) ซึ่งในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น หลาย ๆ รุ่น ถ้าหากคราบที่ถูพื้นมีความเหนียว หรือฝังแน่นจริง ๆ การซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ทั่ว ๆ ไปอาจต้องใช้ถึง 2-3 รอบถึงจะกลับมาสะอาดเหมือนใหม่
แต่ตรงกันข้ามกับตัวนี้ การใช้น้ำอุ่นคือเห็นผลชัดเจนเลยว่า คราบต่าง ๆ สามารถหลุดออกจากผ้าม็อบถูพื้นฯ ได้ง่ายกว่าการใช้น้ำอุณหภูมิปกติทั่วไป ด้านล่างนี้คือภาพเปรียบเทียบระหว่างก่อน-หลัง การซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ที่ถูกซักโดยแท่นชาร์จอัจฉริยะ
และนี่เป็นสภาพน้ำหลังจากที่ได้ทำความสะอาดห้องไปแล้ว คราบสกปรกของทั้งห้องเหมือนจะถูกเอามารวมอยู่ในถังน้ำใบนี้ สีดำขุ่นน่ากลัวเลยทีเดียว ซึ่งเรื่องกลิ่นก็ไม่ต้องพูดถึง “เหม็นแน่นอน” (๕๕๕)
ส่วนฐานซักผ้าม็อบที่เป็นจุดศูนย์รวมของกระบวนการนั้น ในเบื้องต้น น้ำสกปรกต่างๆ ได้ถูกดูดขึ้นไปเก็บบนถังน้ำใช้แล้วทั้งหมด แต่นานๆ ทีก็มาหมั่นตรวจเช็ค ถอดไปล้างบ้างก็ได้ครับ
การติดต่อสั่งซื้อ และ การรับประกัน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI
1. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อเครื่องนี้ ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย โดยมีโปรโมชันพิเศษช่วงเปิดตัว ราคาเริ่มต้น 36,999 บาท เท่านั้น จากราคาปกติ 82,900 บาท
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 02-114-8683
- EMail (อีเมล) : contact@ecovacsthailand.com
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : ecovacs.th (อีโคแวคส์ดอททีเอช)
- สั่งซื้อผ่านช่องทาง Shopee : https://bit.ly/ECOVACSX2OMNI_SH
- สั่งซื้อผ่านช่องทาง Lazada : https://bit.ly/ECOVACSX2OMNI_LZ
2. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันทุกชิ้นส่วนเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม (ครอบคลุมรวมไปถึงแบตเตอรี่ และเซนเซอร์ LiDAR อีกด้วย) สามารถติดต่อกับศูนย์ซ่อมบริการ ECOVACS CARE ในประเทศไทยได้โดยตรง
บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ECOVACS DEEBOT X2 OMNI
ความรู้สึกเกี่ยวกับการใช้งาน !
- หลายๆ ครั้งที่ตัวหุ่นยนต์ติดกับเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นที่ลักษณะไม่ค่อยปกติ เช่น ขาโต๊ะที่มีคานเตี้ย ๆ พาดไปมา ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ แต่หุ่นยนต์ก็มีแจ้งเตือนมาที่แอปฯ และเราสามารถควบคุมหุ่นยนต์ผ่านตัวแอปฯ และดูเส้นทางผ่านตัวกล้องของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นได้เลย ทำให้แก้ไขปัญหานี้ได้ โดยที่ไม่ต้องเดินไปถึงตัวหุ่นยนต์เอง
- การทำความสะอาด ถ้าเลือกออปชันที่มีการถูพื้นไปด้วย จะเสียเวลามากขึ้น เพราะว่าจะต้องมีการกลับมาซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ที่ตัวแท่นชาร์จอัจฉริยะ ในระหว่างที่กำลังทำความสะอาด และกลับไปทำความสะอาดต่อในพื้นที่ที่เหลือ
- การขัดถูพื้นด้วยผ้าม็อบแบบกลม สามารถขัดถูพื้นให้เงาสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะทดสอบด้วยน้ำเปล่าที่ไม่มีน้ำยาใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งน้ำในถังเก็บน้ำสกปรก ก็มีกลิ่นเหม็นออกมาจริง ๆ เมื่อนำไปเททิ้ง แต่ระหว่างที่อยู่ในตัวสถานี ตัวถังปิดมิดชิด ไม่มีกลิ่นใด ๆ เล็ดลอดออกมา
- การซักผ้าด้วยน้ำอุ่น ช่วยทำให้ผ้าที่ซักสะอาดขึ้นได้ง่ายกว่าจริง ๆ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้นที่มีฟังก์ชันการซักผ้าจากที่ทดสอบ อาจต้องซัก 2-3 รอบ แต่กับรุ่นนี้ รอบเดียวจบ
- การเก็บฝุ่นที่แท่นชาร์จอัจฉริยะ จะใช้ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่นาน และต้องเปลี่ยนใหม่ (แนะนำว่าสามารถใช้ซ้ำได้ หากห้องที่ใช้งานหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ไม่มีขยะที่เน่าเสียได้)
ข้อดี 🙂
- มีออปชันที่เลือกได้ทั้ง ดูดฝุ่น และถูพื้น (Vacuum & Mop), ถูพื้นอย่างเดียว (Mop) และ ดูดฝุ่นอย่างเดียว (Vacuum)
- การดูแลรักษาเครื่องง่ายมากๆ ทิ้งเครื่องเอาไว้ได้เป็นสัปดาห์ ค่อยกลับมาดูแลมันทีนึง
- มีระบบการนำทางที่ชาญฉลาด แยกออกเป็นการสร้างแผนที่ห้องนำทางระบบ Solid State LiDAR และ AINA Model แยกกับการสร้างแผนที่วัตถุด้วย กล้อง AIVI 3D เพื่อแบ่งงาน หรือแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
- ซักผ้าม็อบได้สะอาดมากด้วยน้ำอุ่น ที่ยังไม่เห็นเจ้าไหนในตลาดทำ
- อุปกรณ์ทุกอย่างถูกแพ็กเอาไว้ในกล่องเดียว แต่หนัก และใหญ่
- แอปพลิเคชัน เน้นการเข้ากล้องและควบคุมหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น แบบสดๆ เรียลไทม์ ด้วยการเอาเมนูนี้มาไว้ด้านหน้า ใช้งานสะดวกมาก ได้ใช้บ่อย
ข้อเสีย 🙁
- น้ำหนักของตัวกล่องผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะเยอะมากๆ อาจจะขนย้ายลำบากสักนิด เพราะกล่องทั้งใหญ่ และหนัก
- ระบบคำสั่งเสียง ตอบรับเร็ว แต่ประมวลผลคำสั่งค่อนข้างช้า อาจจะไม่ทันใจหลาย ๆ คน ได้ แต่คาดว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยซอฟต์แวร์อัปเดตในอนาคต