← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum
ส่วนประกอบของตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum มาดูกันว่าแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 5 หัวข้อหลักๆ ได้แก่
- ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง
- ส่วนประกอบด้านล่าง
- ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin)
- ส่วนประกอบถังน้ำ (Water Tank)
- ส่วนประกอบของรีโมทคอนโทรล (Remote Control)
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Control Button (ปุ่มควบคุมเครื่อง) : สั่งเครื่องเริ่มทำงาน หยุดทำงานชั่วคราว ถ้ากดค้างคือเชื่อมต่อ Wi-Fi
- Front Bumper (กันชนหน้า) : ดูดซับแรงกระแทก ระหว่างตัวเครื่องกับเฟอร์นิเจอร์ ป้องกันความเสียหาย
- Power Switch Button (ปุ่มสวิตซ์เปิดปิดเครื่องหลัก) : ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ ให้กดปิดสวิตซ์นี้ด้วย
- DC Power Jack (ช่องเสียบไฟตรงกับอะแดปเตอร์) : ใช้กรณีแท่นชาร์จเสีย หรือ ลืมเอาแท่นชาร์จมาด้วย
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Floor Sensors (เซ็นเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มีอยู่ 3 ตำแหน่ง ป้องกันเครื่องวิ่งตกจากที่สูง (ตกบันได)
- Charge Pins (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ถ่ายทอดพลังงานไฟฟ้าลงไปเก็บในแบตเตอรี่ ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง
- Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : หมุนได้อิสระ 360 องศา ไปยังทิศทางที่ต้องการได้
- Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : มีทั้งหมด 2 จุดคือฝั่งซ้าย และฝั่งขวา
- Batter Cover (ฝาครอบแบตเตอรี่) : สามารถเปิดออกได้ด้วยการไขน็อต 2 ตัว แล้วดึงขึ้นมาได้เลย
- Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่มีลายดอกยาง วิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้เกือบ 2 เซนติเมตร
- Speaker (ลำโพง) : ใช้แจ้งสถานะการทำงาน แจ้งเตือนข้อผิดพลาดต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษแบบชัดถ้อยชัดคำ
- Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ด้านนอกเป็นฝาครอบแปรงสีส้มดึงออกง่าย ขณะที่ด้านในคือแปรงกวาดหลักแบบเกลียวผสม ระหว่างแปรงขน กับแปรงยาง มีความยาวแปรง 15 เซนติเมตร
- Dustbin or Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้ง กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หรือถังน้ำ) : เลือกได้ว่าต้องการจะดูดฝุ่นอย่างเดียว หรือ ดูดฝุ่นและถูพื้นแบบเปียก ไปพร้อมๆ กันด้วย
Dustbin Component (ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) (ดูดฝุ่นอย่างเดียว)
- Dust Inlet (ช่องฝุ่นเข้า) : มีขนาดความกว้างประมาณ 155 มิลลิเมตร (หรือ 15.5 เซนติเมตร) ถือว่ากว้างมากๆ ในการเปิดอ้ารับเศษฝุ่นละอองต่างๆ ให้เข้ามาเก็บในตัวกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองนี้ ได้อย่างสะดวกสบาย
- Dustbin Release Button (ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : เป็น “ปุ่มสีส้ม” บีบลงและดึงออกมาได้เลย
- Dustbin Cover (ฝาปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ยกขึ้นมา แล้วนำฝุ่นไปทิ้งได้เลย ทำความสะอาดง่ายมากๆ
- Filter Cover (ฝาปิดแผ่นกรองอากาศ) : ฝาเล็กๆ อยู่ที่ตัวฝาปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองอีกที ใช้นำเอาแผ่นกรองอากาศต่างๆ มาทำความสะอาด
- Filter (แผ่นกรองอากาศ) : มีแผ่นกรองอากาศมาทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน เพื่อกรองอากาศให้บริสุทธิ์ ปราศจากฝุ่นละออง ก่อนถูกปล่อยกลับออกมาภายนอก
- First Layer or Pre-Filter (แผ่นกรองชั้นแรก) : ตาข่ายกรองฝุ่น (Mesh Filter) ที่มีหน้าที่ กรองฝุ่นขนาดใหญ่ อาทิเส้นผม ขนสัตว์ เศษเล็ก เศษขนมขบเคี้ยว ฯลฯ (สามารถล้างทำความสะอาดได้)
- Second Layer Filter (แผ่นกรองชั้นที่สอง) : ฟองน้ำกรองฝุ่น (Sponge Filter) ใช้กรองฝุ่นขนาดเล็กลงมาหน่อย ด้วย ฟองน้ำกรองฝุ่น (สามารถทำไปล้างทำความสะอาดได้ แต่ต้องล้างด้วยความระมัดระวัง)
- Third Layer Filter (แผ่นกรองชั้นที่สาม) : แผ่นกรองอากาศ HEPA กรองฝุ่นละอองอนุภาคเล็กมากๆ ให้เหลือแต่อากาศที่บริสุทธิ์ อย่างเดียว ก่อนที่จะถูกปล่อยกลับออกมาข้างนอกอีกครั้ง (ไม่แนะนำให้ล้างเลย)
Water Tank Component (ส่วนประกอบถังน้ำ) (ดูดฝุ่น และ ถูพื้นแบบเปียก)
ในกรณีถ้าต้องการจะดูดฝุ่น และถูพื้นแบบเปียก (Wet Mopping) ไปด้วยพร้อมๆ กัน จะต้องเปลี่ยนเป็นถังน้ำ แทนการใช้งานกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองอย่างเดียว โดยตัวนี้จะสามารถเป็นได้ทั้ง ถังน้ำ และ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (ที่มีขนาดเล็กกว่า) ไปได้พร้อมๆ กัน
- Vacuum Pump (ปั๊มสุญญากาศ) : ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหยดซึมลงพื้น ในขณะที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น จอดอยู่เฉยๆ
- Dustbin Release Button (ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : เป็น “ปุ่มสีส้ม” บีบลงและดึงออกมาได้เลย
- Water Fill Cap (ฝาเปิดเติมน้ำ) : จุกยางสีฟ้าไว้เปิดเติมน้ำลงในถัง ไม่ต้องห่วง หรือกังวลเรื่องน้ำรั่วเลย
- Water Tank Area (พื้นที่เก็บน้ำ) : พื้นที่เก็บน้ำขนาดความจุ 0.35 ลิตร มองเข้าไปเห็นได้ว่าน้ำหมดถังหรือยัง
- Dust Inlet (ช่องฝุ่นเข้า) : ขนาดความกว้างประมาณ 155 มิลลิเมตร (เท่ากับของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)
- Mopping Cloth Installation Area (พื้นที่ติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์) : มีแถบตีนตุ๊กแกยาว 4 แถบ
Remote Control Component (ส่วนประกอบรีโมทคอนโทรล)
หนึ่งในข้อดีของเครื่องคือ มีรีโมทคอนโทรลมาให้ด้วย โดยรีโมทคอนโทรลตัวนี้ สามารถสั่งงานได้เกือบเต็มฟังก์ชั่นอีกด้วย ถือว่าเหมาะสำหรับคนที่อาจจะไม่ถนัดการใช้งาน และสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน โดยรีโมทคอนโทรลนี้ ใช้พลังงานจากถ่านแบตเตอรี่ขนาด AAA จำนวน 2 ก้อน (ไม่ได้แถมถ่านแบตเตอรี่มาให้ด้วย ต้องหาซื้อเอง) มาดูส่วนประกอบของปุ่มกันดูเลย
- Power On/Off Button : ปุ่มเปิดปิดเครื่อง
- Display Screen : หน้าจอแสดงผล ขนาด 1.5 นิ้ว
- Return for Auto Charging Button : ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ
- Confirm Button : ปุ่มยืนยันคำสั่ง
- Preset Button : ปุ่มตั้งเวลาทำความสะอาดอัตโนมัติ (Scheduled Cleaning)
- Single Room Cleaning Button : ปุ่มสั่งเครื่องทำความสะอาดห้องเดียว
- Edge Cleaning Button : ปุ่มเปิดปิดโหมดทำความสะอาดแบบเลาะขอบกำแพง
- Auto Cleaning Button : ปุ่มเปิดโหมดทำความสะอาดอัตโนมัติ
- Direction Button : ปุ่มควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง
(สั่งเครื่องให้เดินหน้า ↑ ถอยหลัง ↓ เลี้ยวซ้าย ← และ เลี้ยวขวา →) - Suction Settings Button : ปุ่มปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น
- Mopping Mode Button : ปุ่มเปิดปิดโหมดถูพื้น
- Clock Settings Button : ปุ่มตั้งเวลาเครื่อง
เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum
หลังจากที่ทำความรู้จักกับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นมาพอสมควรแล้ว ก็ได้เวลาเริ่มใช้งานกันแล้ว โดยขั้นตอนก็เหมือนหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ไม่มีอะไรมาก มีหลักๆ 3 ขั้นตอนได้แก่
- การติดตั้งแท่นชาร์จ และชาร์จไฟครั้งแรก
- การใช้งานอุปกรณ์สำหรับถูพื้น (การติดตั้งถังน้ำ และผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์)
- การเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่น ผ่าน Wi-Fi ด้วยแอปพลิเคชัน WeBack
1. Charge Base Installation and First Time Charging (การติดตั้งแท่นชาร์จ และการชาร์จไฟครั้งแรก)
ก่อนอื่นเราจะต้องทำการติดตั้งแท่นชาร์จ ในพื้นที่โล่งเสียก่อน เพื่อให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ได้สามารถวิ่งเข้าออกได้อย่างสะดวก โดยพื้นที่ที่เขาแนะนำคือ ฝั่งซ้าย และขวา ของแท่นชาร์จควรมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 1.0 เมตร (3.3 ฟุต) และ ด้านหน้าอีกประมาณ 2.0 เมตร (6.6 ฟุต) (ข้อมูลนี้ระบุเอาไว้ในคู่มือการใช้งาน)
โดยการชาร์จไฟลงแบตเตอรี่ ที่อยู่ภายในตัวเครื่องนั้น เครื่องนี้สามารถได้ 2 รูปแบบด้วยกันคือ
- Charge via Charge Base : ชาร์จไฟผ่านแท่นชาร์จ
- Charge via DC Jack : ชาร์จไฟผ่านช่องผ่านเสียบไฟตรงกับอะแดปเตอร์
โดย สำหรับครั้งแรก ให้ชาร์จไฟทิ้งเอาไว้ 12 ชั่วโมงต่อเนื่อง แต่ สำหรับครั้งอื่นๆ ระยะเวลาการชาร์จไฟลงแบตเตอรี่ จะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ชั่วโมง (ตามสเปคที่ระบุเอาไว้โดยผู้ผลิต) โดยเมื่อแบตเตอรี่เต็มความจุ ตัวเครื่องจะสามารถทำงานได้ต่อเนื่องนานถึง ประมาณ 2 ชั่วโมง (120 นาที) กันเลยทีเดียว
2. Mopping Device and Water Tank Usage (การใช้งานอุปกรณ์สำหรับถูพื้น)
การถูพื้นแบบเปียก (Wet Mopping) ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่บีบ “ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง” สีส้มๆ ของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออก แล้วนำก็เตรียมถังน้ำให้เรียบร้อย ด้วยการนำเติมน้ำสะอาด* ลงให้เต็มถัง พร้อมกับติดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์เข้ากับถังน้ำ ด้วยการไว้บนแถบตีนตุ๊กแก (Velcro Tape) หรือ แถบหนามเตย หลังจากนั้นก็ใส่เข้าไปแทนที่กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่อยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง (ดูรูปประกอบด้านบน)
หมายเหตุ* : ไม่ควรเติมน้ำยาทำความสะอาดพื้น หรืออะไรใดๆ เข้าไปในถังน้ำทั้งสิ้น ควรเป็นแค่น้ำสะอาดอย่างเดียวเท่านั้น
3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่น ผ่าน Wi-Fi)
ในการควบคุมเครื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่า สั่งงานต่างๆ จะต้องทำผ่านแอปพลิเคชัน WeBack ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Shenzhen Yugong Technology Co. Ltd. เท่านั้น เนื่องจากบนตัวเครื่อง มีปุ่มควบคุมหลักอยู่เพียงแค่ปุ่มเดียวเท่านั้น จึงให้ทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่
โดยเครื่องนี้ มีให้เลือกใช้กันทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการเลยคือ iOS และ Android
เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้านล่างนี้คือขั้นตอนการเชื่อมต่อ แอปพลิเคชัน WeBack กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum ได้เลย โดยขั้นตอนก็มีอยู่ประมาณนี้
- เปิดแอป WeBack และ อ่านและยอมรับข้อตกลง (Agreement) ต่างๆ ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นเข้าไปลงทะเบียน (Register)
- การลงทะเบียนจะมีแค่ เลือกประเทศ (Country/Region) กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล (Email) ใส่รหัสผ่าน (Password) และใส่รหัสยืนยัน (Verification Code) ซึ่งจะส่งมาให้ทางอีเมล ที่เราได้ใส่ไว้ด้านบน แล้วหลังจากนั้นกดที่ “ปุ่มลูกศรขวา 🡢” เพื่อดำเนินการลงทะเบียน
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ให้กดที่ “ปุ่ม Add a device” เพื่อเพิ่มอุปกรณ์เข้าระบบ ให้อยู่ในการควบคุม
- หลังจากนั้น แอปฯ ให้เราสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) หรือบาร์โค้ด (Barcode) ซึ่งในที่นี้จะอยู่ ด้านล่างของเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตรงสติ๊กเกอร์ที่เขียนว่า “Scanning link equipment“
- เมื่อสแกนเสร็จ ระบบจะพาเราไปหน้าตั้งค่า Wi-Fi ต่อทันที ซึ่งจะต้องติ๊กเลือกข้อกำหนดของเขาก่อน 2 ข้อคือ สัญญาณ Wi-Fi คุณ ต้องรองรับคลื่น 2.4 GHz และ ต้องรองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n ถึงจะผ่านไปต่อได้
- หลังจากนั้น เราจึงจะสามารถกรอกรหัสผ่าน Wi-Fi ของ SSID ปัจจุบัน ที่เราใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ (แต่เราสามารถกดที่ปุ่ม “Replace Wi-Fi” ข้างๆ ได้เพื่อเปลี่ยนการเชื่อมต่อ Wi-Fi ไปได้ตามชื่อ SSID ที่ต้องการ) แล้วกด “ปุ่ม Next” เพื่อดำเนินการต่อไป
- ระบบจะขึ้นคำแนะนำให้รีสตาร์ทเครื่อง (Restart the device) และ ให้เครื่องเข้าสู่โหมดตั้งค่า Wi-Fi ด้วยการกด “ปุ่มควบคุมเครื่อง (ปุ่ม Control)” ที่มีอยู่ปุ่มเดียวบนตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ค้างเอาไว้ประมาณ 3-5 วินาที จนได้ยินเสียงคนพูดว่า “🔊 Connecting to Wi-Fi” ก่อนกลับมากด “ปุ่ม Quick Mode” ที่แอปพลิเคชัน เพื่อดำเนินการต่อไป
- รอสักครู่ ระหว่างนี้ระบบจะแสดงแถบบอกความคืบหน้า (Progress Bar) เป็นหน่วยเปอร์เซ็นต์ (%) จนครบ 100% แล้วที่ตัวเครื่อง ก็จะพูดว่า “🔊 Wi-Fi Connected” แล้วกด “ปุ่ม Finish” ออกมาได้เลย
- เราจะเห็นรายการหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum แสดงภายในบนแอป และหลังจากนั้นก็สามารถเข้าไปควบคุมต่อ สั่งงาน หรือตั้งค่าต่างๆ ต่อได้เลย
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน WeBack
- การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำงานในโหมดอัจฉริยะ (Start Smart Clean Mode) (จริงๆ คือโหมดอัตโนมัติ นั่นเอง)
- หยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Charge)
- ความสามารถเสริมพิเศษ (Special Features)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Clean Mode)
- โหมดทำความสะอาดแบบเลาะขอบกำแพง (Edge Clean Mode)
- โหมดควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง (Direction Mode)
- การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Current Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- กำลังทำงาน (Cleaning)
- หยุดชั่วคราว (Paused)
- กำลังกลับแท่นชาร์จ (Recharge)
- พร้อมใช้งาน (Standby)
- ดูแผนที่จำลองของห้องแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map) เพื่อดูว่าเครื่องทำงานครบทั่วทั้งพื้นที่ห้องแล้วหรือยัง และ ตรวจสอบรูปแบบการทำความสะอาดว่าทำงานอยู่ในโหมดใด นอกจากนี้ยังมีการบอก จำนวนตารางเมตร ที่เครื่องทำความสะอาดไปแล้ว
- ขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaning Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
- ปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Remaining Power) (บอกเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
- ระยะเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaning Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Current Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- การตั้งค่าทั่วไป (General Settings)
- สามารถตั้งชื่อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (Set Remark) ได้ตามต้องการ จะมีประโยชน์มากในกรณีที่เรามีหลายเครื่อง
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาดอัตโนมัติ (Scheduled Cleaning) ได้แบบยืดหยุ่น ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ตั้งล่วงหน้าครั้งเดียวเท่านั้น (Execute it Once)
- ตั้งเวลาทำความสะอาดทุกวัน (Every Day)
- ตั้งเวลาทำความสะอาดเฉพาะวันธรรมดา (Weekdays)
- ตั้งเวลาทำความสะอาดเฉพาะวันหยุด (Weekends)
- ตั้งเวลาทำความสะอาดแบบเลือกวันเอง (Self-Defined)
- สามารถบริหารจัดการการเชื่อมต่อ (Manage Device) ด้วยแบ่งปันการเชื่อมต่อให้สมาชิกในครอบครัวมาร่วมควบคุมเครื่องได้ (Share Device to Family Member)
- สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ (Third-Party Connection) อย่างอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Smart Home Devices) ได้อาทิ
- Google Home : ผู้ช่วยเสมือนที่รับคำสั่งเราด้วยเสียง แล้วนำไปประมวลผล ส่งคำสั่งไปยังเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mamibot ของเรา
- Amazon Alexa : ผู้ช่วยเสมือนที่รับคำสั่งเราด้วยเสียง แล้วนำไปประมวลผล ส่งคำสั่งไปยังเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mamibot ของเรา
- บริการช่วยเหลือจากทางผู้ผลิต (Online Services) ด้วยการแชท ส่งข้อความ รูปภาพ วีดีโอ ให้ทีมช่วยเหลือช่วยแก้ไขปัญหาได้
- ตรวจสอบการอัพเดท (Check for Update)
- ตรวจสอบชื่อรุ่น (Model)
คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum
มาดูคำถามที่ผมตั้งขึ้นมาเอง แล้วก็ตอบเองกันดูบ้างว่า มีอะไรจุดไหน ที่น่าสนใจบ้าง
1. ประมาณฝุ่นละอองหลังการใช้งานผ่านไป 2 วันเป็นอย่างไร ?
หลังจากใช้งานไป 2 วันก็พบว่า มีประมาณฝุ่นละอองเข้ามาภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ส่วนมากแล้วจะเข้ามาติดที่แผ่นกรองชั้นแรก ที่เป็นตาข่ายกรองฝุ่น อยู่มากพอสมควรเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นผม
ซึ่งนี่ก็เป็นผลพวง มาจากความแรงของมอเตอร์พัดลมดูดฝุ่น ที่มีความแรงกว่า 1,800 Pa
2. ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน มีเสียงดังมากน้อยแค่ไหน ?
มีระดับเสียงขณะที่เครื่องกำลังวิ่งดูดฝุ่น ทำงาน อยู่ที่ระดับ ประมาณ 60 เดซิเบล (dB.) (วัดห่างจากเครื่องประมาณ 1 เมตร) ซึ่งวัดจากแอปพลิเคชัน Sound Meter ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ iOS (ใช้กับโทรศัพท์มือถือ iPhone)
จากตารางเปรียบเทียบนั้น ระดับเสียงแบบไม่เกิน 60 เดซิเบลแบบนี้ ก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างเงียบ เสียงอยู่ในระดับบทสนทนาทั่วไปของมนุษย์ (Usual Conversation)
3. เครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้สูงสุด 2 เซนติเมตร อย่างที่ได้กล่าวไว้หรือไม่ ?
แม้ทางผู้ผลิตเขาเคลมเอาไว้ในคลิปวีดีโอที่นำเสนอความสามารถของตัว หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mamibot EXVAC660 Platinum ว่ามันสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้สูงสุด 2 เซนติเมตร แต่ส่วนตัวไม่อยากเคลมว่ามันได้ถึง 2 เซนติเมตรจริงๆ แต่อยากจะบอกว่า มันสามารถวิ่งขึ้นพื้นพรมได้อย่างสบายๆ โดยไม่มีท่าทีว่าจะติดขัดแต่อย่างใด
แต่ว่าพื้นพรมที่ทดสอบนั้น มีขนาดความสูงจากพื้นกระเบื้อง อยู่แค่ประมาณหนึ่งเซนติเมตรกว่าๆ เท่านั้นเอง จึงไม่สามารถวัดอะไรได้มาก และก็มีวิ่งผ่านธรณีประตู (Doorsill) ที่วางกั้นระหว่างห้องต่างๆ ได้อย่างสบายๆ เช่นกัน
ดังนั้นจึงขอสรุปว่า ระดับ 2 เซนติเมตร ไม่ขอคอนเฟิร์ม 100% แต่ขอคอนเฟิร์มในระยะความสูง 1.5 เซนติเมตร ว่าได้สบายๆ แน่นอน
4. การดูแลรักษาเครื่อง มีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ?
การดูแลรักษาเครื่องหลักๆ ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการนำเอาฝุ่นที่อยู่ภายใน กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ออกไปทิ้งขยะ ซึ่งก็ควรจะหมั่นนำไปเททิ้งบ่อยๆ เพราะแม้ว่าตัวกล่องฯ จะมีขนาดใหญ่กว่า 0.6 ลิตร ก็ตาม แต่ถ้าฝุ่นถูกเก็บสะสมไว้เยอะๆ แล้ว ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการดูดฝุ่นลดน้อยลงก็เป็นได้
อีกเรื่องนึง ที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็จะเป็นการทำความสะอาดแปรงกวาดหลัก ที่เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ก็อาจจะมีเศษฝุ่น เส้นด้าย เส้นผม หรือแม้แต่ขนเลี้ยงต่างๆ เข้าไปพันที่ตัวแปรงได้ โดยวิธีการนำแปรงกวาดหลักออกจากตัวเครื่องก็ง่ายๆ ดูรูปประกอบด้านล่างนี้ได้เลย
5. ตัวเครื่องมีการรับประกันกี่ปี และ ค่าอะไหล่ราคาเท่าไหร่บ้าง ?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum มีรายละเอียดการรับประกัน ต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
- เครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (ในส่วนของแผงวงจรภายใน และ มอเตอร์พัดลมดูดฝุ่น) : รับประกัน 1 ปี
- แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน : รับประกัน 6 เดือน
หมายเหตุ : ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ แปรงกวาดข้าง และ แผ่นกรองอากาศ จะไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกัน เนื่องจากเป็นอะไหล่ชนิดสิ้นเปลือง (Consumable Parts)
อย่างไรก็ตาม ค่าอะไหล่สิ้นเปลืองต่างๆ ของตัวเครื่องนี้จัดว่าถูกมากๆ รายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้เลย
ชื่ออะไหล่ภาษาอังกฤษ (English Part Name) |
ชื่ออะไหล่ภาษาไทย (Thai Part Name) |
ราคาต่อหน่วย (Unit Prices) |
HEPA Filter | แผ่นกรองอากาศ HEPA | 180 บาท |
Mopping Cloth | ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ | 180 บาท |
Side Brush | แปรงกวาดข้าง | 200 บาท / คู่ |
Main Brush | แปรงกวาดหลัก | 590 บาท |
Li-Ion Battery | แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน | 1,800 บาท |
6. สามารถติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum ได้หลากหลายช่องทาง อาทิ
- Website (เว็บไซต์) : www.iggoothailand.com
- LINE ID (ไลน์ไอดี) : @iGGOO
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : อิกกูไทยแลนด์ (iGGOO Thailand) กรอบด้านล่าง
หรือ ถ้าอยากจะไปเห็นตัวจริง ก่อนสั่งซื้อ ทาง iGGOO Thailand (ผู้นำเข้า และจัดจำหน่าย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mamibot) ก็มีชอป ที่เป็นสถานที่จัดจำหน่าย ไว้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ทั่วไปอยู่มากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- ห้างสรรพสินค้าเดอะมอล์ ในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกสาขา
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขา
- เซ็นทรัลพลาซาพระราม 2 (Central Plaza Rama 2)
- เซ็นทรัลพลาซาพระราม 3 (Central Plaza Rama 3)
- เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว (Central Plaza Lardprao)
- เซ็นทรัลพลาซาเวสต์เกต (Central Plaza WestGate)
- เซ็นทรัลเฟสติวัลอีสต์วิลล์ (Central Festival EastVille)
- ร้าน B2S บางสาขา
บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Mamibot EXVAC660 Platinum
ข้อดีทั่วไป 🙂
- สามารถวิ่งกลับแท่นชาร์จได้เองอย่างแม่นยำ และในกรณีที่ไม่มีแท่นชาร์จ เครื่องจะกลับมายังจุดที่สั่งให้เครื่องเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ
- ถังน้ำมีขนาดใหญ่มากถึง 350 มิลลิลิตร ทำให้สามารถถูพื้นแบบเปียกได้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น (ประมาณ 150 มิลลิเมตร) โดยไม่ต้องคอยหมั่นเติมน้ำบ่อยๆ
- มีเสียงคนพูดเป็นภาษาอังกฤษ เสียงดังฟังชัด พร้อมเสียงสัญญาณแจ้งเตือนต่างๆ ฟังแล้วเข้าใจง่าย
- ตัวเครื่องมีขนาดไม่ใหญ่มาก และน้ำหนักเบา กว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ยี่ห้ออื่น หรือ รุ่นอื่นๆ หลายตัว ยกไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก
- มีรีโมทคอนโทรลมาให้ใช้ควบคุมเครื่อง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น
- ให้อุปกรณ์เสริมมาสำรองอย่างครบครัน เช่น แผ่นกรองอากาศ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ และ แปรงกวาดข้าง ก็ให้มากอย่างละ 2 ชุด ถือเป็นอีก 1 ข้อดี
- ระดับเสียงขณะที่เครื่องทำงานค่อนข้างเงียบมาก ไม่รบกวนผู้พักอาศัยขณะที่เครื่องกำลังปฏิบัติงานอยู่
- คู่มือการใช้งานมีความละเอียดค่อนข้างสูงมาก มีคำอธิบาย พร้อมกับรูปประกอบ ที่ดูแล้วเข้าใจง่ายมากๆ มีทั้งเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
ข้อดีในส่วนของแอปพลิเคชัน 🙂
- การเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่นกับตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น สามารถทำได้ง่ายมากๆ เพราะนำเอาการสแกน QR Code เข้ามาช่วย ลดขั้นตอนไปได้มากเลยทีเดียว
- แม้จะไม่ใช่เครื่องที่นำทางด้วยระบบกล้องสร้างแผนที่จำลองของห้อง หรือเลเซอร์วัดระยะทาง แต่มีการข้อมูลการทำความสะอาดบอกแบบเรียลไทม์สดๆ จริงๆ ว่าตอนนี้เครื่องอยู่ที่ส่วนไหนส่วนใดของห้องแล้ว และทำความสะอาดไปแล้วกี่ตารางเมตร
- ข้อมูลบอกค่อนข้างละเอียด เช่น ดูแผนที่จำลองของห้องแบบสดๆ ขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว ระยะเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด ปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ ฯลฯ
ข้อเสีย 🙁
- รีโมทคอนโทรลไม่มีถ่านแบตเตอรี่แถมมาให้ (แต่ก็ยังดีกว่า ไม่ได้ให้รีโมทคอนโทรลมาเลย)
- ถังน้ำ ที่ใช้สำหรับถูพื้นแบบเปียก ไม่ตัวแผ่นกรองฝุ่น
ข้อเสียในส่วนของแอปพลิเคชัน 🙁
- ไม่สามารถเก็บสถิติ หรือประวัติการทำความสะอาด เพื่อนำมาดูย้อนหลังได้ (ดูได้แค่ครั้งล่าสุดเท่านั้น)