← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
ในส่วนนี้จะแบ่งส่วนประกอบของตัวเครื่องออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจคือ ส่วนประกอบด้านหน้า ส่วนประกอบด้านหลัง และ ส่วนประกอบภายใน
Front and Side Component (ส่วนประกอบด้านหน้า และด้านข้างเครื่อง)
- Dishwasher Door Handle (ที่เปิดฝาเครื่อง) : ด้ามจับเอาไว้ดึงฝาเครื่องในลักษณะเอนลงมา ใช้จับเปิดเครื่อง (ดึงจากบนลงล่าง)
- Vacuum Fan (พัดลมดูดอากาศ) : ดูดอากาศเย็นจากภายนอก เข้าไปเป่าภาชนะที่อยู่ภายในตัวเครื่องให้แห้ง
- Dishwasher Door (ฝาเครื่อง) : ฝาเครื่องแบบกระจกใส ให้เห็นทุกขั้นตอนการทำงานของเครื่อง มันถูกยึดติดกับตัวเครื่องด้วยแม่เหล็ก และที่ ฝาเครื่องด้านใน จะมีช่องใส่ผงล้างจาน พร้อมกับขอบยางทุกมุม เพื่อป้องกันน้ำจากในเครื่องรั่วไหลออกมาภายนอก
- Carry Handle (ที่จับยกเครื่อง) : ช่องเหลี่ยมเล็กๆ เอาไว้สอดมือเพื่อยกขนย้ายเครื่องไปไหนมาไหนได้สะดวก
- Control Panel (แผงควบคุม) : ปุ่มควบคุมบนตัวเครื่องแบบสัมผัส ไฟแสดงสถานะเครื่อง และหน้าจอแสดงผล
- Base of Unit (ฐานรองเครื่อง) : รองรับน้ำหนักตัวเครื่อง พร้อมยางรองใต้เครื่องเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน
Rear Component (ส่วนประกอบด้านหลังเครื่อง)
- Drain Water Outlet (ช่องต่อท่อน้ำทิ้ง) : จะถูกปิดด้วยจุดอุดท่อสีดำ จะมีท่อยื่นออกมาเล็กน้อย เพื่อให้สามารถนำท่อน้ำทิ้งมาสวมทับได้พอดี (อย่าลืมใช้ที่หนีบ หนีบท่อด้วย เพื่อความแข็งแรง) โดยท่อนี้จะต้องถูกต่อตลอดการใช้งาน เพราะน้ำทิ้ง (น้ำเสีย) หลังการล้างจาน หรือทำความสะอาดเสร็จ จะไหลออกตรงจุดนี้
- Clean Water Inlet (ช่องต่อท่อน้ำสะอาด) : จะถูกปิดด้วยจุดอุดท่อสีขาว ใช้ในกรณีที่ต้องการต่อท่อตรงจากก๊อกน้ำ ด้วยท่อน้ำสะอาด ก็นำจุกที่อุดอยู่ออก แล้วใส่ท่อน้ำสะอาดเข้าไปพร้อมหมุนเกลียวให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม (เนื่องจากท่อน้ำสะอาดมีแรงดันน้ำด้วย จึงต้องใช้ความระมัดระวัง)
- Product Label (ฉลากกับกับเครื่อง) : แผ่นสติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดของตัวเครื่อง อาทิหมายเลขซีเรียลประจำเครื่อง (Serial Number – S/N) อัตราการกินไฟต่างๆ พร้อมระบุมาตรฐานการกันน้ำของอุปกรณ์ (IPX) คือ IPX1 หมายความว่าโดนน้ำได้เล็กน้อย กันฝนแต่ไม่ควรนานเกิน 10 นาทีนั่นเอง
- Power Cord (สายไฟ) : สายไฟความยาว 1.45 เมตร มีขนาดใหญ่ ที่มีทั้งความหนา และเหนียว สามารถทนความร้อน และพลังงานไฟฟ้าได้สูง
Top Component (ส่วนประกอบด้านบนของตัวเครื่อง)
- Water Tank Fill Cap (ฝาเปิดเติมน้ำของถังน้ำ) : ในกรณีที่เราไม่ได้ต่อท่อตรงจากก๊อกน้ำ เราจะต้องเติมน้ำลงถังน้ำผ่านทางฝาเปิดเติมน้ำอันนี้ (ตอนซื้อมาจะมีสตติ๊กเกอร์ปิดทับเอาไว้อยู่)
Inside Component (ส่วนประกอบภายในเครื่อง)
เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาแล้ว ก็จะพบกับส่วนประกอบหลักๆ 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนประกอบภายในเครื่องด้านบน (เพดานเครื่อง) ส่วนประกอบภายในเครื่องด้านล่าง และ ส่วนประกอบฝาเครื่องด้านใน ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น โดยเราไม่สามารถถ่ายรูป 2 ส่วนนี้ได้พร้อมกัน จึงขอแยกภาพออกเป็น 2 ภาพด้วยกันตามนี้เลย
Top Inside Component (ส่วนประกอบภายในเครื่องด้านบน)
- Internal Light (ไฟส่องสว่างภายในเครื่อง) : หลอดไฟ LED ที่จะช่วยให้คุณได้สามารถเห็นการทำงานของเครื่องขณะกำลังล้างจานได้อย่างจัดเจน และที่สำคัญมีคุณสมบัติกันน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- Upper Spray Arm (ก้านฉีดน้ำด้านบน) : ก้านกลมๆ เล็กๆ ขนาดความยาว 6 เซนติเมตร สามารถหมุนได้ 360 องศา จะคอยฉีดน้ำจากด้านบน (เพดานเครื่อง) ลงสู่ภาชนะที่วางอยู่ด้านล่าง
Underside Inside Component (ส่วนประกอบภายในเครื่องด้านล่าง)
- Salt Container Fill Cap (ช่องเติมเกลือ) : ช่องเติมเกลือเข้าไปยังที่เก็บเกลือ ที่อยู่ใต้ฝาปิดช่องเติมเกลือขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องเป็นผงเกลือบริสุทธิ์ ที่ใช้สำหรับเครื่องล้างจานเท่านั้น (ไม่สามารถใช้เกลือปรุงอาหารมาใส่ได้)
- Lower Spray Arm (ก้านฉีดน้ำด้านล่าง) : ความยาวของตัวก้านจะยาวกว่าด้านบน มีทั้งหมด 2 แขนหลักๆ แต่ละแขนมีความยาว 14 เซนติเมตร (รวม 28 เซนติเมตร) และมีช่องน้ำออกทั้งหมด 5 ช่อง (รวม 10 ช่อง)
- Residue Filter (ตัวกรองเศษอาหาร) : ตะแกรงสเตนเลส ที่ความถี่สูง ใช้ดักเศษอาหารขนาดใหญ่ๆ ไม่ให้ไหลออกไปกับน้ำเสีย เพื่อป้องกันการอุดตัน และตามหลักสุขอนามัย
- Tableware Basket Rail (รางวางตะกร้าใส่ภาชนะเครื่องครัว) : พื้นที่วาง จาน ชาม ชนิดต่างๆ รวมไปถึง ช้อน ส้อม หรือผักผลไม้ และขวดนมเด็ก ต่างๆ ที่นำมาล้าง
- Air Outlet (ช่องปล่อยอากาศเย็น) : หลังจากที่พัดลมดูดอากาศเย็นจากภายนอกเข้ามาแล้ว ก็จะมาออกทางช่องนี้ เพื่อใช้ในกระบวนการเป่าภาชนะที่อยู่ภายในตัวเครื่องให้แห้ง ก่อนเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด
- Steam Outlet (ช่องปล่อยไอน้ำ) : ไอน้ำที่ถูกผลิตขึ้นมาจนได้ อุณหภูมิประมาณ 72 องศาเซลเซียส จะถูกปล่อยเข้ามาภายในเครื่องผ่านทางช่องนี้ เพื่อใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคให้กับภาชนะที่อยู่ภายในตัวเครื่อง
Dishwasher Door Inside Component (ส่วนประกอบฝาเครื่องด้านใน)
- Powder Detergent Fill Cap (ช่องใส่ผงล้างจาน) : อยู่ที่ฝาเครื่องด้านใน จะมีเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า “Detergent” ให้ตักผงล้างจานใส่เข้าไปในช่องนี้ให้เต็ม แล้วปิดฝาเครื่อง ผงล้างจานก็จะหกเข้าไปในตัวเครื่อง พร้อมผสมกับน้ำทันที
Control Panel Component (ส่วนประกอบบนแผงควบคุม)
แผงควบคุมมีส่วนประกอบต่างๆ อยู่มากมาย หลักๆ คือจะมี ปุ่มกดแบบสัมผัส (Touch Button) และ หน้าจอแสดงผล (Display Screen)
โดยการสั่งงานเครื่องต่างๆ เช่น การเปิดปิดเครื่องการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการล้าง ต่างๆ จะอยู่ที่นี่ทั้งหมด มาดูรายละเอียดจากตารางอธิบายด้านล่างนี้เลย
หมายเลขระบุตำแหน่ง (Position Number) |
คำอธิบาย (Description) |
1. ปุ่มเปิดปิดเครื่อง (Power ON/ OFF Button) |
กดค้าง 1 ครั้งเพื่อเปิดเครื่อง และกดค้างอีก 1 ครั้ง เพื่อปิดเครื่องล้างจาน |
2. ปุ่มเลือกโปรแกรมการล้าง (Program Button – P) |
สามารถเลือกโปรแกรมการล้างได้ทั้งหมด 3 โปรแกรมคือ
|
3. ปุ่มเลือกฟังก์ชั่นเสริม (Function Button – F) |
สามารถกดปุ่มนี้ เพื่อเลือกฟังก์ชั่นเสริม เพื่อช่วยในการล้างได้ทั้งห
|
4. ปุ่มตั้งเวลาล้างล่วงหน้า (Delay Button) |
แสดงการตั้งเวลาล้างล่วงหน้า 0 – 24 ชั่วโมง |
5. หน้าจอแสดงผล (Display Screen) |
แสดงเวลาคงเหลือ และสถานะการทำงานของเครื่องอื่นๆ |
6. ปุ่มล้างผลไม้ (Fruit Wash Button) |
|
7. ปุ่มล้างขวดนมเด็ก (Baby Bottle Wash Button) |
สำหรับใช้ล้างขวดนมเด็ก (มีระบบไอน้ำ) |
8. ปุ่มล้างเครื่องแก้ว (Glassware Wash Button) |
สำหรับล้างภาชนะที่ไม่เลอะเทอะมาก เช่น แก้วน้ำ หรือ เครื่องแก้วคริสตัล ชุดถ้วยจานชามเซรามิค (Fine China) ที่นิยมเก็บในตู้โชว์ (มีระบบไอน้ำ) |
9. ปุ่มเริ่มทำงาน/ หยุดทำงาน (Start/ Pause Button) |
กด 1 ครั้งเพื่อเริ่มล้าง และกดอีก 1 ครั้ง เพื่อหยุดล้าง (ไฟแสดงสถานะจะกระพริบเมื่อเครื่องกำลังเริ่มทำงาน) |
หมายเหตุ : ข้อมูลตารางด้านบน นำมาจากคู่มือการใช้งานผลิตภัณฑ์ และสามารถดู รายละเอียด 1 รอบการล้างในแต่ละโปรแกรม ได้ที่นี่
การติดตั้ง เครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
การติดตั้งเครื่อง ก็ไม่ได้มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนมากเท่าไหร่นัก หลักๆ สรุปออกมาได้ทั้งหมด 3 ขั้นตอนด้วยกัน มาดูกันเลย
1. Connect Machine to the Hose (ต่อท่อน้ำ)
ต่อท่อน้ำต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังเครื่อง ให้เรียบร้อย โดยหลักๆ จะมีอยู่เพียง 2 ท่อคือ
- Drain Hose Connection (การต่อท่อน้ำทิ้ง) : หาตำแหน่งท่อระบายน้ำที่เหมาะสม โดยสวมท่อน้ำทิ้งเข้าไปกับตัวเครื่องพร้อมใช้ไขควงไขน๊อตที่หนีบท่อให้เรียบร้อย และยึดยางดูดสูญญากาศกับวัตถุรอบๆ เพื่อป้องกันท่อสะบัด จนน้ำหกเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีท่อระบายน้ำจริงๆ แนะนำให้นำถังน้ำขนาดมากกว่า 5 ลิตร มารองเอาไว้
- Inlet Hose Connection (การท่อน้ำสะอาด) : ถ้าต้องการต่อท่อตรงจากก๊อกน้ำประปา ให้นำท่อน้ำสะอาด มาหมุนเกลียวเข้ากับช่องต่อน้ำสะอาด
2. Salt into the Salt Container (เติมเกลือเข้าในที่เก็บเกลือ)*
เราจะต้องเติมเกลือเพื่อปรับความกระด้างของน้ำ (Water Hardness) เพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ดีที่สุด โดยเกลือที่สามารถใช้ได้กับเครื่องล้างจานเครื่องนี้ได้ จะต้องเป็นเกลือบริสุทธิ์ที่เอาไว้ใช้สำหรับเครื่องล้างจานเท่านั้น โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- หมุนเปิดฝาปิดช่องเติมเกลือ
- เติมน้ำสะอาด 1 ลิตรเข้าไปในเครื่องก่อน (สำหรับการใช้งานครั้งแรกเท่านั้น)
- เติมผงเกลือบริสุทธิ์ผ่านกรวยที่ให้มา ให้ได้ขนาดประมาณ 130 กรัม (0.13 กิโลกรัม) ลงไปยัง ที่เก็บเกลือ (Salt Container) ภายในตัวเครื่อง
- หมุนปิดฝาปิดช่องเติมเกลือให้เรียบร้อย
3. Plug to the Power Socket (เสียบปลั๊กเครื่อง)
เสียบปลั๊กเข้ากับเต้ารับแบบ 3 ขา (แบบมีสายดิน) ของไฟบ้าน (ไม่ควรต่อผ่านรางปลั๊กไฟ หรือ ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรจะต้องต่อผ่านรางปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน)
เริ่มใช้งานเครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
เนื่องจากเครื่องล้างจานเครื่องนี้มาพร้อมกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายเอามากๆ เพราะฉะนั้นเราจึงควรศึกษาคู่มือการใช้งานก่อนเปิดใชเ้ครื่องจริงๆ เพื่อการใช้ งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และตรงกับวัตถุประสงค์ของเรามากที่สุด และหลังจากที่ใช้เวลาทำความเข้าใจอยู่สักพัก ก็พบว่าจริงๆ การใช้งานก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเท่าไหร่ มาดูกันเลย
1. Turn on Dishwasher (เปิดเครื่องล้างจาน)
กด “ปุ่มเปิดปิดเครื่อง (Power ON Button)” ค้างเอาไว้ประมาณ 2 วินาที จนเครื่องเปิด (ไฟในเครื่องจะสว่าง และหน้าจอแสดงผลจะแสดงค่าต่างๆ ขึ้นมา) โดยสาเหตุที่ให้เปิดเครื่องก่อน เพราะจะได้รู้ว่าน้ำเต็มถังแล้วหรือยังนั่นเอง เพราะจะต้องเติมน้ำจนไฟแจ้งเตือนระดับน้ำดับลง
2. Add Water to the Water Tank (เติมน้ำลงถังน้ำ) (กรณีไม่ได้ต่อท่อตรง)
ในกรณีถ้าเครื่องไม่ได้ต่อท่อน้ำสะอาด ให้ใช้วิธีการเติมน้ำลงในถังน้ำแทน โดยใช้กาตวงน้ำที่ให้มาด้วย โดยให้เติมน้ำลงไปจนกว่าจะได้ยินเสียงตี๊ดดังรัวๆ และไฟสัญลักษณ์รูปก๊อกน้ำที่อยู่บนหน้าจอแสดงผลจะดับลงโดยทันที
หมายเหตุ : หากต่อท่อน้ำสะอาดเข้ากับตัวเครื่องโดยตรง วิธีการใช้งานจะเหมือนกับเครื่องซักผ้าทั่วๆ ไปเลยคือ ถ้าเราเปิดเครื่อง และเลือกโปรแกรมล้างที่ต้องการ กดปุ่มเริ่มทำงาน เครื่องจะดึงน้ำเข้าเครื่อง และตัดน้ำเองโดยอัตโนมัติ โดยเราสามารถเปิดก๊อกน้ำทิ้งเอาไว้ได้ตลอดเวลาเลย โดยไม่ต้องคอยหมุนเปิดหรือปิดก๊อกน้ำให้เสียเวลา
3. Add Powder Detergent into the Fill Cap (เติมผงล้างจาน)
ในกรณีที่ต้องการล้างภาชนะต่างๆ อย่าง จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด แก้ว ฯลฯ ให้ใช้ช้อนตวงตักผงล้างจานจากกระป๋อง เข้าไปให้เต็มช่อง “Detergent 6g” หรือ “ผงล้างจาน 6 กรัม” ที่อยู่ฝาเครื่องด้านใน พอปิดฝาเครื่อง ผงล้างจานก็จะหกเข้าไปภายในเครื่องโดยทันที (ถือเป็นเรื่องปกติ)
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้เกลือ* :
- ไฟเตือนระดับเกลือจะดับลงภายใน 2-6 วันหลังจากเติมเกลือเสร็จแล้ว
- หลังจากเติมเกลือลงที่เก็บเกลือแล้ว ถ้าเกลือหกอยู่ภายในชิ้นส่วนอื่นๆ จะต้องเปิดเครื่องใช้งานโดยทันทีเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากัดกร่อน ของเกลือต่อชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในเครื่อง
4. Load Utensil into the Basket (จัดวางภาชนะต่างๆ ลงบนตะกร้า)
เราจะต้องวาง ตะกร้าใส่ภาชนะเครื่องครัว ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์หลัก เข้าไปภายในตัวเครื่องก่อน (วางบนรางให้เรียบร้อย) แล้วอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น ตะกร้าช้อนส้อม และมีด ที่ใส่ขวดนมเด็ก หรือแม้แต่ ตะกร้าใส่ผลไม้ ก็ค่อยวางหรือแขวนไว้บนตะกร้านี้อีกทีหนึ่ง
ด้านล่างนี้เป็นตารางบอกแนวทางการจัดวางภาชนะต่างๆ ลงบนตะกร้าใส่ภาชนะเครื่องครัว และ ตะกร้าช้อนส้อม ว่าวางอย่างไรถึงจะใช้พื้นที่ได้คุ้มค่าที่สุด (จริงๆ มันก็ไม่ได้มีกฏตายตัวอะไร วางแบบไหนก็ได้เอาที่ถนัดเลย)
การจัดเรียงภาชนะในตะกร้าใส่ภาชนะเครื่องครัว (Tableware Basket Utensil Loading Layout) |
การจัดเรียงภาชนะในตะกร้าช้อนส้อม และมีด (Cutlery Basket Utensil Loading Layout) |
1. จานอาหารขนาดใหญ่ – จานอาหารหลัก (Dinner Plate) |
1. มีด (Knife) |
2. จานอาหารขนาดกลาง – ชามซุป (Soup Plate) |
2. ช้อนซุป (Soup Spoon) |
3. จานอาหารขนาดเล็ก – จานของว่าง (Dessert Dish) |
3. ส้อม (Fork) |
4. แก้วน้ำ (Glass) |
4. ช้อนของหวาน (Dessert Spoon) |
5. ถ้วยน้ำ (Cup) |
5. ช้อนชา (Teaspoon) |
6. จานรอง (Saucer) |
6. ช้อนกลาง (Serving Spoon) |
7. จานลักษณะยาว – จานทรงรี (Oval Plate) |
7. ส้อมกลาง (Serving Fork) |
8. ชามน้ำแกงหรือถ้วยแกงขนาดเล็ก (Small Serving Bowl) |
8. กระบวยตักน้ำซุป ตักน้ำแกง (Gravy Ladle) |
9 ชามน้ำแกงหรือถ้วยแกงขนาดกลาง (Medium Serving Bowl) |
5. Select Washing Program and Mode (เลือกโปรแกรมการล้าง และโหมดการล้าง)
ในการล้างจานปกติ เครื่องจะเปิดมาด้วย โปรแกรมล้าง P1 (ล้าง 160 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 40 นาที) แต่ถ้าคิดว่าภาชนะเราไม่ได้สกปรกอะไรมากมายขนาดนั้น ก็สามารถปรับเป็นโปรแกรมอื่นๆ อย่าง โปรแกรม P2 (ล้าง 60 นาที หรือ 1 ชั่วโมง) หรือแม้แต่ โปรแกรมล้างด่วน P3 (ล้าง 29 นาที) ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของเครื่องล้างจานเครื่องนี้เลยก็ได้ เพราะโปรแกรมนี้จะใช้เวลาล้างเพียง 29 นาที แต่ภาชนะต่างๆ ก็จะสะอาดหมดจด เหมาะกับการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
หรือถ้าหากใครที่ต้องการเลือกโปรแกรมการล้างสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมล้างผลไม้ ที่สามารถเลือกได้แบบ ล้างร้อน (12 นาที) และ ล้างเย็น (6 นาที) (เปลี่ยนได้โดยการกด “ปุ่มล้างผลไม้” ซ้ำอีกรอบแล้วสังเกตที่เวลานับถอยหลังที่หน้าจอแสดงผล)
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมล้างขวดนมเด็ก หรือโปรแกรมล้างแก้ว ก็สามารถกดปุ่มตามสัญลักษณ์โปรแกรมได้เลย (เมื่อกดแล้วจะมีไฟขึ้นกำกับที่ด้านบน) (รายละเอียด 1 รอบการล้างในแต่ละโปรแกรม)
คำเตือน ! : เครื่องไม่ได้มีระบบตรวจจับว่า คุณใส่วัตถุอะไรเข้าไปในเครื่อง ดังนั้นขณะที่กำลังตั้งโปรแกรมล้าง ควรจะดูดีๆ มิเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายได้ เช่น ใส่ผักผลไม้เข้าไปล้าง แต่ดันเลือกโปรแกรมล้างจานปกติ แบบนี้จะมีอบไอน้ำด้วย ซึ่งจะทำให้ผักผลไม้เสียหายได้
6. Press Start Button and Wait (กดปุ่มเริ่มทำงาน และคอยจนเสร็จ)
ด้วยความที่เครื่องนี้เปรียบเสมือนเครื่องหุ่นยนต์ล้างจาน ดังนั้นเพียงแค่กด “ปุ่มเริ่มทำงาน (Start Button)” ที่อยู่ด้านขวาสุดของแผงควบคุม เครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติทันที
โดยขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เราสามารถดูการทำงานของมัน ผ่านกระจกใสที่ฝาเครื่องได้สบายๆ แค่รอให้เครื่องทำงานเสร็จแล้วก็เปิดฝาเครื่อง นำภาชนะไปเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จพิธี
คำถามที่คุณต้องอยากรู้เกี่ยวกับ เครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
1. ก่อนและหลังล้าง มีความแตกต่าง มากน้อยแค่ไหน สะอาดหรือไม่ ?
ส่วนตรงนี้เป็นการล้างจาน 2 ใบ พร้อมกับช้อนส้อมอีก 1 คู่ (ที่กวาดเศษอาหารขนาดใหญ่ออกไปหมดแล้ว) พร้อมถ้วยกาแฟ สะอาดหรือไม่อย่างไร ขอให้ภาพมันเล่าเรื่องแทนจะดีกว่า (สามารถกดที่รูปภาพ เพื่อขยายใหญ่ได้)
2. การจัดเรียงภาชนะเครื่องครัวลงตะกร้า ต่างๆ ให้คุ้มค่าที่สุดจะออกมาเป็นอย่างไร ?
อย่างที่แจ้งไปในหัวข้อด้านบนว่า การจัดเรียงภาชนะลงตะกร้าต่างๆ จริงๆ แล้วไม่ได้มีกฏระเบียบตายตัวอะไร แต่ภาพด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างการจัดเรียงภาชนะจริงให้ใช้พื้นที่ ให้คุ้มค่ามากที่สุดว่าเป็นอย่างไร
3. ถ้าหากว่าเปิดฝาเครื่อง ระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ จะเป็นอย่างไร ?
เครื่องจะหยุดการทำงานทั้งหมดทันที ไม่ว่าจะเป็น ระบบการฉีดน้ำ ทำความร้อน อะไรต่างๆ และจะกลับมาทำงานต่ออีกครั้งหลังจากปิดฝาเครื่อง
4. ถ้าหากว่าไฟดับ หรือมีคนมาดึงปลั๊กออก ระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ จะเป็นอย่างไร ?
ระหว่างไฟดับ เครื่องจะส่งเสียงตี๊ด 1 ครั้ง เพื่อส่งเสียงเตือนว่าเครื่องหยุดทำงาน และเมื่อไฟมา (หรือเสียบปลั๊กเหมือนเดิม) เครื่องจะกลับมาทำงานในโปรแกรมล้างจานเดิม ก่อนที่ไฟจะดับ แต่จะเริ่มเวลานับถอยหลังใหม่ตั้งแต่แรก
ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราตั้ง โปรแกรมล้างด่วน P3 (29 นาที) เอาไว้ และขณะที่กำลังล้างไปได้ 10 นาที (เหลืออีก 19 นาทีจะหมดเวลา) เกิดไฟดับลง และถ้าหากไฟกลับมาแล้ว เครื่องจะทำงานต่ออัตโนมัติในโปรแกรมล้างเดิมโดยทันที แต่เวลาคงเหลือจะกลับไป 29 นาทีเหมือนเดิม เท่ากับว่าเริ่มใหม่ในโปรแกรมเดิม (แต่ไม่ต้องเติมน้ำเพิ่มนะ)
5. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน ?
เครื่องล้างจาน Mister Robot Home Dishwasher จะมีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เลย
โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลยที่
- Hotline (สายด่วน) : 08-3898-1212 หรือ 06-3269-9500
- LINE ID (ไลน์ไอดี) : @servicemisterrobot
หมายเหตุ : เมื่อแกะกล่องใช้งานแล้ว อย่าลืมกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในบัตรรับประกันสินค้าเสียก่อน แล้วเก็บเอาไว้กับตัว (แนะนำให้เก็บไว้ในกล่องผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม) เผื่อกรณีเครื่องมีปัญหา จะได้นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
6. สั่งซื้อเครื่องล้างจาน Mister Robot Home Dishwasher ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อเครื่องล้างจาน Mister Robot Home Dishwasher เครื่องนี้ได้ผ่านทางหลายช่องทาง ถ้าไปซื้อหน้าร้านก็ เช่นที่ ห้างโฮมโปร (HomePro) หรือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (Central Department Store) ที่ร่วมรายการ หรือจะโทรศัพท์ไปติดต่อสอบถามทาง บริษัท เอ็ม เอ็ม โกลบอลเทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่าย ก่อนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-3898-1212
- Website (เว็บไซต์) : http://www.misterrobotcleaner.com
- Line ID (ไลน์ไอดี) : @mister_robot
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : misterrobotcleaner (มิสเตอร์โรบอทคลีนเนอร์) ตามกรอบด้านล่าง
บทสรุปการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย เครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
ข้อดี 🙂
- เครื่องมือช่วยทุ่นแรง ในการล้างจานได้เป็นอย่างดี บ้านใครที่จัดปาร์ตี้บ่อยๆ มีแขกมาบ้านบ่อยๆ ใช้เครื่องนี้คุ้มมาก
- ไม่ได้เป็นแค่เครื่องล้างจานอย่างเดียว แต่ยังช่วยล้างผักผลไม้ อาหารสดต่างๆ ตลอดจนขวดนมเด็ก
- ล้างจานไม่ได้แค่ล้างสะอาดอย่างเดียว แต่ยังช่วยฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนด้วย ตรงนี้เป็นจุดที่การล้างจานธรรมดา ไม่สามารถทำได้
- สามารถตั้งเวลาล้างจานล่วงหน้าได้ ตามต้องการ เรียกได้ว่าเอาจานหรือภาชนะต่างๆ ใส่ไว้ในเครื่อง แล้วรอมันล้างตามเวลาที่เรากำหนด
- อุปกรณ์เสริมต่างๆ จัดว่าให้มาอย่างครบครัน ตอบโจทย์
- วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัวเครื่อง มีความคงทน และแข็งแรง
ข้อเสีย 🙁
- ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ล้างจานเฉพาะที่กำหนดไว้ใช้กับเครื่องล้างจานเท่านั้น ผงล้างจาน และเกลือบริสุทธิ์ ต้องหาซื้อเอง และต้องเป็นตัวใช้กับเครื่องล้างจานเท่านั้น (ไม่ได้แถมมาให้ในกล่องผลิตภัณฑ์)
- การใช้งานอาจจะดูยุ่งยากในตอนแรก เนื่องจากเครื่องมีหลากหลายฟังก์ชั่นให้เลือกใช้ (ควรศึกษาข้อมูลจากคู่มือการใช้งานให้เรียบร้อยเสียก่อน)
รายละเอียดรอบการล้างของ เครื่องล้างจาน อบจาน Mister Robot Home Dishwasher
ตารางด้านล่างนี้จะแสดงให้เห็นว่า ใน 1 รอบการล้าง ในแต่ละโปรแกรมนั้น มีทำอะไรไปบ้าง ใช้ผงล้างจานไปเท่าไหร่ เวลาที่ใช้กี่นาที และอัตราการกินไฟอยู่ที่เท่าใด โดยทุกโปรแกรมการล้าง จะใช้น้ำอยู่ที่ 5 ลิตร
โปรแกรมการล้าง (Wash Program) |
วัตถุประสงค์ (Objective) |
ขั้นตอนใน 1 รอบการล้าง (1 Wash Cycle) |
ผงล้างจาน (Powder Detergent) |
เวลาที่ใช้ (Time Used) |
อัตราการกินไฟ (Power Consumption) |
ล้างแบบ ECO | ล้างจานชาม ช้อนส้อม และมีด ที่ใช้งานปกติ |
|
6 กรัม | 160 นาที | 0.43 kWh |
ล้าง 1 ชั่วโมง | ล้างจานชาม ช้อนส้อม และมีด ที่เลอะปานกลาง |
|
6 กรัม | 60 นาที | 0.40 kWh |
ล้างด่วน | ล้างจานชาม ช้อนส้อม และมีด ที่เลอะน้อย |
|
6 กรัม | 29 นาที | 0.35 kWh |
ล้างผลไม้ (น้ำอุ่น) |
สำหรับล้างผลไม้บาง เช่น แอปเปิล องุ่น พุทรา |
|
เบกกิ้งโซดา เล็กน้อย | 12 นาที | 0.20 kWh |
ล้างผลไม้ (น้ำเย็น) |
สำหรับล้างผลไม้ที่มีผิวบอบบาง เช่น สตรอว์เบอร์รี |
|
✕ | 6 นาที | 0.01 kWh |
ล้างขวดนม | สำหรับล้างขวดนมเด็ก |
|
✕ | 120 นาที | 0.50 kWh |
ล้างแก้ว | สำหรับล้างภาชนะที่ไม่เลอะเทอะมาก |
|
✕ | 90 นาที | 0.40 kWh |
หมายเหตุ : ข้อมูลตารางด้านบน นำมาจากคู่มือการใช้งานผลิตภัณฑ์
I bought a Mister Robot dishwasher in January 2019 and it STOPPED WORKING in August 2020. and I messaged support to get it fixed and 1st they lost my machine, then they send it back BROKEN. Then I send it back a second time to get fixed and yet again, STILL BROKEN. ***NOT HAPPY*** The Mister Robot company can not be trusted and the products are not good.
ต้องเติมเกลือ ทุกครั้ง ไหมครับในการล้างจานนึงครั้ง