← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
มาดูส่วนประกอบรอบๆ ตัวเครื่อง Neato Botvac D7 Connected กันดูบ้างว่ามีอะไร ในที่นี้จะแบ่งออกเป็นส่วนประกอบหลักๆ ทั้งหมด 4 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ
- ส่วนประกอบด้านบน
- ส่วนประกอบด้านล่าง
- ส่วนประกอบภายในเครื่อง
- ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และแผ่นกรองอากาศ
- ส่วนประกอบของแผงไฟแสดงสถานะ
Top Component (ส่วนประกอบด้านบน)
- Laser Cover (ฝาครอบอุปกรณ์ของระบบนำทางด้วยเลเซอร์) : ข้างในฝาครอบจะเป็นพลาสติกกลมๆ อีกชั้น ที่เขาเรียกว่า “Botvision™” ที่ภายในจะมี เลเซอร์วัดระยะทาง (Laser Distance Sensor) แบบ LIDAR 360 หรือที่ย่อมาจากคำว่า “Light Detection and Ranging” โดยมันจะคอยหมุนติ้ว เวลาเครื่องกำลังทำงาน เป็นส่วนของ ระบบนำทางด้วยเลเซอร์ (Laser-Guided Navigation System)
- Dirt Bin and Filter (กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และแผ่นกรองอากาศ) : กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (ยี่ห้ออื่นจะเรียกว่า “Dustbin“) ของ Neato ตระกูล Botvac Connected Series ทุกรุ่นจะมีขนาดความจุ 0.7 ลิตร (ถือว่าใหญ่มากๆ) มันมาพร้อมกับ แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง ที่สามารถบีบสลักล็อค และนำออกมาทำความสะอาดได้ง่ายๆ
- Start Button (ปุ่มสั่งเครื่องเริ่มต้นทำงาน) : ปุ่มเดียวบนตัวเครื่อง ที่มีหน้าที่เอาไว้สั่งให้เครื่องเริ่มต้นทำงาน (Start) ในโหมดอัตโนมัติ (House Clean) หรือหยุดการทำงานชั่วคราว (Pause)
- LED Indicator Panel (แผงไฟแสดงสถานะ) : เครื่องนี้มีไฟแสดงสถานะต่างๆ อยู่บนตัวเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รู้ถึงสถานะของตัวเครื่องว่า แบตเตอรี่เป็นอย่างไร เชื่อมต่อ Wi-Fi อยู่หรือไม่ เป็นต้น โดยถ้าเครื่องปิดอยู่ หรือว่าไฟดวงนั้นดับอยู่จะมองอะไรไม่เห็นเลย สวยไปอีกแบบ ถือว่าซ่อนได้เนียนดีจริงๆ (รายละเอียดส่วนประกอบของแผงไฟแสดงสถานะ)
- Front Bumper (กันชนหน้า) : อุปกรณ์พื้นฐาน ที่ช่วยดูดซับแรงกระแทกระหว่าง ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเอง กับเฟอร์นิเจอร์ หรือข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของเรา นอกจากมันจะเป็นกันชนแล้ว มันก็ยังเป็นเซ็นเซอร์กันกระแทก และปุ่มลับ ที่เอาไว้ใช้ในการเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่น กับตัวเครื่อง อีกด้วยเช่นกัน
รูปภาพส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง (Top and Side Components)
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Drop Sensors (เซ็นเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มีอยู่เพียงแค่ 2 ตำแหน่ง (ฝั่งซ้ายสุด กับขวาสุด) ที่หน้าเครื่องเท่านั้น มันมีหน้าที่ยิงแสงอินฟราเรด ไปตกกระทบกับพื้นห้องแล้วสะท้อนกลับมา โดยถ้าเกิดว่าตรงไหนที่ระยะห่างมากเกินไป นั่นหมายความว่าด้านหน้าตรงนั้นมีพื้นที่ต่างระดับที่สูง ไมโครโปรเซสเซอร์ของตัวเครื่อง ก็จะสั่งให้หันหัวไปยังทิศทางอื่นทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่น จนเกิดความเสียหาย
- Brush Guard (ฝาครอบแปรงกวาดหลัก) : ช่วยป้องกัน การเสียดสี ระหว่างใต้ท้องเครื่อง กับ พื้นบ้าน ทำมาจากวัสดุพลาสติกคุณภาพดี คุณสมบัติเหนียว ทนทาน พร้อมกับ ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า (Front Caster Wheels) เพื่อรับน้ำหนัก และ ป้องกัน บริเวณด้านหน้าของตัวเครื่อง
- Main Brush (แปรงกวาดหลัก) : ที่ให้มาจะเป็น แปรงผสมแบบ “Spiral Combo Brush” มีความยาวประมาณ 27.6 เซนติเมตร ลักษณะเป็น แปรงยาง กับแปรงขน ผสมกันในลักษณะเส้นทแยงมุมเฉียงเล็กน้อย มีประสิทธิภาพในการดูดฝุ่นขนาดเล็ก และใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นผมของสุภาพสตรี หรือแม้แต่ขนสัตว์เลี้ยงต่างๆ
- Side Brush (แปรงกวาดข้าง) : แปรงขนาดเล็กแบบ 5 แฉก (ยาวแฉกละ 2.5 เซนติเมตร) ถูกติดตั้งด้วยแม่เหล็กทางฝั่งขวาของตัวเครื่อง เพื่อใช้เก็บกวาดสิ่งสกปรกที่อยู่ตามขอบมุมของห้อง หรือเฟอร์นิเจอร์ ให้หมดจด
- Battery Door and Cover (ช่องใส่ และฝาครอบแบตเตอรี่) : ฝาครอบแบตเตอรี่พลาสติกที่ภายในมี แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-Ion Battery) ความจุ 4,200 มิลลิแอมป์ (mAh) โดยการนำฝาออกจะต้องใช้ไขควง 4 แฉกธรรมดาในการไขน๊อตเปิดฝาออกมา แต่อย่างไรก็ตามเปลี่ยนแบตเตอรี่ควรให้ช่างที่ ศูนย์บริการ Neato ทำให้จะดีกว่า
- Main Wheels (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อพลาสติกหุ้มลายดอกยางขนาดใหญ่เพื่อการยึดเกาะพื้นที่ดี ถูกติดตั้งอยู่กับชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนแบบแยกอิสระจากกัน 2 ฝั่ง พร้อมกับสปริงโช๊คอัพที่ให้ตัวได้ค่อนข้างมาก มันสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับ หรือสิ่งกีดขวางได้ในระดับ 2 เซนติเมตร (ถือว่าสูงมากๆ ถ้าเทียบกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไปที่ส่วนมากจะได้แค่ประมาณ 1.5 เซนติเมตรเท่านั้น)
- Information and Serial Number (S/N) Labels (ฉลากบอกรายละเอียด และ หมายเลขเครื่อง) : ส่วนที่เป็นฉลากแปะ บอกรายละเอียดต่างๆ ของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ชื่อยี่ห้อ ที่อยู่บริษัท หมายเลขซีเรียลนัมเบอร์ (Serial Number – S/N) รายละเอียดไฟ คำเตือนการใช้งานเกี่ยวกับเลเซอร์ พร้อมโลโก้รับรอง ต่างๆ มากมาย
- Rear Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง) : ที่ท้ายเครื่อง ยังมีล้อเลื่อนขนาดกลางอีก 2 ล้อ เพื่อช่วยรับน้ำหนักของตัวเครื่อง และช่วยรับน้ำหนักเครื่อง ลดการเสียดสีกับพื้นที่ด้านหลังของตัวเครื่อง ขณะที่ตัวเครื่องกระดกเงยขึ้น ขณะกำลังวิ่งผ่านสิ่งกีดขวาง หรือพื้นที่ต่างระดับต่างๆ
รูปภาพส่วนประกอบด้านล่าง (Underside Components)
Inside Component (ส่วนประกอบภายในเครื่อง)
เราจะเห็นส่วนประกอบภายในเครื่องต่อเมื่อเรานำ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ออกมา โดยหลักๆ จะเห็นช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) ที่อยู่ฝั่งด้านหน้าของตัวเครื่อง และยังมีช่องเสียบพอร์ต Micro USB ขนาดเล็ก ที่เอาไว้เสียบสายอัพเกรดข้อมูลในเครื่อง (Upgrade Cable) แต่ว่ารุ่นนี้ไม่ได้ให้สายมาเหมือนรุ่นก่อนๆ แล้ว เพราะว่า การอัพเกรดซอฟต์แวร์ (เฟิร์มแวร์) ของตัวเครื่องสามารถทำได้ผ่านแอพพลิเคชั่นโดยตรงเลยสะดวกกว่ามากๆ
ขณะที่ฝั่งด้านหลังจะเป็นช่องอากาศเข้า (Air Inlet) ไปยังพัดลมดูดอากาศที่อยู่ด้านในกล่องถูกปล่อยกลับออกมาข้างนอก โดยอากาศที่เข้าไปจะเป็นอากาศเปล่าๆ อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฝุ่นละอองต่างๆ ได้ถูกดักเอาไว้ด้วยแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูงทั้งหมดแล้ว
Dirt Bin and Filter Components (ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง และแผ่นกรองอากาศ)
กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dirt Bin) ส่วนใหญ่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นยี่ห้ออื่นจะเรียกว่า “Dustbin” มีขนาดความจุอยู่ที่ 0.7 ลิตร (หรือ 700 มิลลิลิตร) ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato ตระกูล Botvac ทุกรุ่น การนำออกมาทำความสะอาดก็ง่ายมากๆ ดึงขึ้นมาจากด้านบนได้เลย ไม่ต้องคว่ำเครื่องให้ยุ่งยาก
กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองมีลักษณะเป็นพลาสติกใสทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า (Scalene Triangle Shape) ด้านหน้าถูกปิดด้วยแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง หรือ แผ่นกรองอากาศ HEPA สีดำ โดยการนำเอาแผ่นกรองฯ ออกก็ง่ายๆ เพียงแค่บีบสลักล็อคแล้วดึงออกมาได้เลย ถือว่าง่ายมากๆ ขณะที่ด้านหลัง เป็นช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) พร้อมแผ่นยางอยู่ที่ขอบ เพื่อป้องกันอากาศ หรือฝุ่นต่างๆ เล็ดลอดออกมา ทำให้เสียพลังการดูดไป
โดยแผ่นกรองอากาศ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato ตระกูล Botvac Connected Series จะมีขนาดเท่ากันหมด สามารถใส่ทดแทนกันได้ทั้งหมดเลย
LED Indicator Panel Component (ส่วนประกอบของแผงไฟแสดงสถานะ)
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นตรง ส่วนประกอบด้านบน ว่า ไฟแสดงสถานะต่างๆ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected นั้นจะซ่อนอยู่ข้างใน พูดง่ายๆ คือ ถ้าเครื่องปิดอยู่จะไม่เห็นหลอดไฟดังกล่าวเลย ตรงนี้จะมาขยายให้ดูกันว่า มันมีไฟอะไรซ่อนอยู่ตรงไหนอย่างไรบ้าง
- House Clean Icon (สัญลักษณ์โหมดอัตโนมัติ)
- . Solid Blue (ไฟสีน้ำเงินสว่างค้าง) : เมื่อเครื่องทำความสะอาดในโหมดอัตโนมัติ
- . Pulse Blue (ไฟสีเงินกระพริบช้าๆ) : เมื่อเครื่องหยุดการทำงานชั่วคราว
- Spot Clean Icon (สัญลักษณ์โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด)
- . Solid Blue (ไฟสีน้ำเงินสว่างค้าง) : เมื่อเครื่องทำความสะอาดในโหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด
- . Pulse Blue (ไฟสีเงินกระพริบช้าๆ) : เมื่อเครื่องหยุดการทำงานชั่วคราว
- Wi-Fi Icon (สัญลักษณ์รูป Wi-Fi)
- . Soft Glowing Blue (ไฟสีน้ำเงินอ่อนๆ) : กำลังอยู่ในโหมดเชื่อมต่อ (Paring Mode) กับ Wi-Fi
- . Fast Blinking Blue : (ไฟสีน้ำเงินกระพริบเร็ว) : กำลังเชื่อมต่อกับแอพ หรือบัญชีผู้ใช้ของ Neato
- . Fast Blinking Red (ไฟสีแดงกระพริบเร็ว) : เกิดความผิดพลาดในการเชื่อมต่อ
- . Solid Blue (ไฟสีน้ำเงินสว่างค้าง) : การเชื่อมต่อสำเร็จ
- Battery Icon (สัญลักษณ์รูปแบตเตอรี่)
- . Solid Green (ไฟสีเขียวสว่างค้าง) : แบตเตอรี่มีสถานะปกติ และพร้อมที่จะทำงาน
- . Solid Yellow (ไฟสีเหลืองสว่างค้าง) : แบตเตอรี่อยู่ในระดับต่ำ ต้องชาร์จไฟก่อนการทำงานในครั้งต่อไป
- . Solid Red (ไฟสีแดงสว่างค้าง) : แบตเตอรี่อยู่ในระดับต่ำ และต้องกลับแท่นชาร์จทันที
เปิดใช้งานเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
ในส่วนของการเตรียมเครื่องเพื่อใช้งาน ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนมากมายนัก ขอสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลักๆ ด้วยกันคือ
1. เอาฟิล์ม และ สติ๊กเกอร์ ป้องกันตัวเครื่องต่างๆ ที่ติดมาจากโรงงานออก
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ มีกระบวนการป้องกันรักษาตัวเครื่องก่อนมาถึงมือลูกค้า เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยง ในการเกิดความเสียหายขณะขนส่ง เคลื่อนย้าย ให้เหลือน้อยที่สุด และด้วยเหตุนี้เอง ทางโรงงานผู้ผลิตเขาจะมีการ ติดสติ๊กเกอร์ ติดฟิลม์ป้องกัน ส่วนประกอบต่างๆ พร้อม ถุงกันความชื้น (Dry Bag) มาให้จากโรงงาน บนตัวเครื่อง และ แท่นชาร์จ
2. ติดตั้ง แท่นชาร์จ และ เตรียมพื้นที่รอบๆ ให้เรียบร้อย
นำแท่นชาร์จไปวางในพื้นที่โล่ง ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางอะไรใดๆ เลยในระยะ 1 เมตร (ประมาณ 3 ฟุต)* ตัวนี้ถือว่าต้องการพื้นที่น้อยมากๆ (ส่วนมากจะมากกว่านี้) เพื่อให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้าออกจากแท่นชาร์จได้อย่างสะดวกสบาย และไม่มีการติดขัดอะไรใดๆ
หมายเหตุ* : ในความเป็นจริงแล้ว มันสามารถวางในพื้นที่แคบกว่านี้ในระดับ 10 เซนติเมตรก็สามารถเข้าออกได้เช่นกัน (อันนี้ทดลองเอง)
3. ชาร์จแบตเตอรี่เครื่องให้เต็ม ก่อนใช้งาน
เนื่องจากเครื่องนี้ ใช้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion Battery) ซึ่งโดยนิสัยส่วนตัวของแบตฯ ชนิดนี้คือ มันจะจ่ายไฟแรง และ คงที่ แม้แบตเตอรี่จะใกล้หมด แถมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ทั้งนี้ก็จะต้องมีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ถูกวิธีเช่นกัน
4. ติดตั้ง และเชื่อมต่อ แอพพลิเคชั่น Neato Robotics
ขั้นตอนสุดท้ายคือการเชื่อมต่อระหว่าง แอพพลิเคชั่น “Neato Robotics” กับตัวเครื่อง Neato Botvac D7 Connected เพื่อให้คุณได้สามารถตั้งค่าเวลา ตั้งเวลาทำความสะอาด ดูสถานะเครื่อง สถานะแบตเตอรี่ พร้อมรับการแจ้งเตือน (Notification) ต่างๆ ได้โดยตรงผ่านโทรศัพท์มือถือ ของคุณได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ก็ตาม
โดยทางบริษัทฯ เขามีแอพพลิเคชั่นให้เลือกดาวน์โหลด สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้ง 2 ค่ายเลยคือ iOS และ Android จากที่สังเกตดูก็มีการอัพเดทแก้ไขเวอร์ชั่นใหม่ๆ อยู่บ่อยครั้ง
- ดาวน์โหลดแอพ Neato Robotics สำหรับ iOS ผ่าน App Store
- ดาวน์โหลดแอพ Neato Robotics สำหรับ Android ผ่าน Play Store
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ แอพพลิเคชั่น Neato Robotics กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
- เปิดแอพพลิเคชั่น Neato Robotics เพื่อลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ ตามขั้นตอน (สำหรับคนที่เคยลงทะเบียนมาก่อนหน้านี้ แล้วข้ามขั้นตอนไปได้เลย)
- ที่หน้าจอ “My Robots” กดที่รูปไอคอนสัญลักษณ์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเล็กๆ ที่มุมขวาบนของหน้าจอ แล้วกด “ปุ่ม Add a new robot“
- เลือกรุ่นของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato ที่เราต้องการจะเชื่อมต่อ โดยในที่นี้ให้เลือกรุ่น “Botvac D7 Connected” แล้วกด “ปุ่ม Next“
- ระบบจะพาเข้ามาในหน้าจอที่เป็น คำแนะนำที่เป็นวีดีโอสั้นๆ พร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษจะขึ้นมาว่าจะเข้า “โหมดเชื่อมต่อ (Pairing Mode)” ได้อย่างไร หลังจากนั้นกด “ปุ่ม Next“
- กลับไปกดที่ “ปุ่มสั่งเครื่องเริ่มต้นทำงาน (Start Button) หรือ ปุ่ม Start” และกดที่ “กันชนหน้าฝั่งขวา (Right Side Bumper)” บนตัวเครื่อง พร้อมกัน และค้างเอาไว้ 10 วินาที จนกว่าเครื่องจะดับไป เพื่อเป็นการรีเซ็ตค่าโรงงาน (Factory Reset) ให้เป็นค่าตั้งต้นใหม่อีกครั้ง (ถ้าไฟแสดงสัญลักษณ์ Wi-Fi แสดงอยู่ให้ข้ามข้อนี้ไปเลย)
- กดที่ “ปุ่ม Start” บนตัวเครื่องอีกครั้ง เพื่อเปิดเครื่องใหม่ และรอประมาณ 30 วินาทีจนกว่า ไฟสัญลักษณ์รูป Wi-Fi สีฟ้า จะกระพริบอ่อนๆ
- กลับไปกดที่ “ปุ่ม Next” บนแอพพลิเคชั่น ระบบจะแนะนำวิธีการเชื่อมต่อ Wi-Fi (SSID) ของตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น สถานะจะยังขึ้นว่า “Not Connected” อยู่ และยังไม่สามารถกด “ปุ่ม Next” ไปต่อได้
- ออกไปยังหน้าจอเลือกค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของมือถือเรา
- เลือกชื่อของ Wi-Fi (SSID) ที่โผล่ขึ้นมาใหม่ ในชื่อประมาณว่า “neato-xxxxxxxxxxxx“
- กลับไปยังแอพพลิเคชั่นอีกครั้ง คราวนี้ระบบจะขึ้นสถานะการเชื่อมต่อ เป็นข้อความสีเขียวๆ ว่า “Connected” หลังจากนั้นกดที่ “ปุ่ม Next” เพื่อดำเนินการต่อ (คราวนี้จะกดได้แล้ว)
- เลือกชื่อของ Wi-Fi (SSID) ที่เราจะต้องใช้เชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (เป็น Wi-Fi ที่ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ทุกวัน) หลังจากนั้นใส่รหัสผ่าน เพื่อให้เครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เชื่อมต่อ Wi-Fi ตัวเดียวกับเรา (ให้สามารถออกอินเทอร์เน็ตได้)
- ตั้งชื่อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น สามารถเปลี่ยนชื่อจาก “My Neato” เป็นชื่ออื่นก็ได้ตามต้องการ (หรือจะไม่ตั้งก็ได้ หรือจะเปลี่ยนชื่อภายหลังก็ได้)
- รอระบบทำการเชื่อมต่อข้อมูล ประมาณไม่เกิน 1 นาที เพื่อให้ตัวเครื่อง รู้จักและสามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi วงเดียวกับที่เราใช้อยู่ประจำได้ โดยระหว่างนี้หน้าจอจะแสดงรายการตรวจสอบมาเป็นข้อๆ ถ้าข้อไหนเรียบร้อยก็จะขึ้นเป็นเครื่องหมายถูกสีเขียว ถ้าเรียบร้อยทั้งหมดกด “ปุ่ม OK” เป็นอันเสร็จพิธี
คุณสมบัติ และความสามารถ ของแอพพลิเคชั่น Neato Robotics กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
ความสามารถของแอพพลิเคชั่น Neato Robotics ที่ใช้กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected ตัวนี้จัดว่าเยอะแยะมากมายเหลือเกิน โดยขอสรุปมาให้ตามฟังก์ชั่นการใช้งานดังต่อไปนี้
- การสั่งให้เครื่องทำงาน (Execute Cleaning Command)
- สามารถสั่งให้เครื่องเริ่มทำงาน (Start)
- สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราว (Pause)
- สั่งให้เครื่องทำงานต่อ (Resume)
- สั่งให้เครื่องหยุดทำงานถาวร (Stop)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Dock)
- ออปชั่นเสริมในการทำความสะอาด (Cleaning Options)
- โหมดทำความสะอาดอัตโนมัติ (House Cleaning Mode)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Cleaning Mode)
- ทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ 2 x 2 เมตร (Normal Spot) (ค่าตั้งต้นมาตั้งแต่แรก)
- ทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ 4 x 4 เมตร (Large Spot) (ปรับเพิ่มได้ในแอพพลิเคชั่น)
- โหมดควบคุมทิศทางเครื่องเอง (Manual Cleaning Mode)
- เลือกพลังการดูดได้ 2 โหมด (Cleaning Profiles or Suction Powers)
- โหมดประหยัดพลังงาน (ECO Mode) – ดูดเบา (ใช้ในชีวิตประจำวัน)
- โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) – ดูดแรง (ใช้กรณีที่ไม่อยู่บ้านมาหลายวัน)
- โหมดดูแลเป็นพิเศษ (Extra Care) (วิ่งห่างข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน ป้องกันเฟอร์นิเจอร์เป็นรอย)
- สามารถดูสถานะของแบตเตอรี่ (Battery Status) ได้ว่าความจุของแบตเตอรี่ที่เหลือทั้งหมด อีกกี่เปอร์เซ็นต์ (%) รวมไปถึงข้อมูล
- ขณะกำลังชาร์จ (When Charging) : เวลาคงเหลือที่ยังทำความสะอาดได้จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด (Time to Empty)
- ขณะกำลังทำงาน (When Working) : เวลาคงเหลือที่จะต้องชาร์จจนกว่าแบตเตอรี่จะเต็มความจุ (Time to Full)
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาดรายวัน (Daily Robot Schedule) ได้แบบอิสระในแต่ละวัน ตามต้องการ
- สามารถดูแผนผังห้อง (My Floor Plan) พร้อมกับ สร้างเส้นกั้นขอบเขตจำลอง หรือกำแพงจำลอง (“No-Go” Lines) ผ่านแอพพลิเคชั่นได้เลย
- การตั้งค่า (Robot Settings)
- สามารถดูรายละเอียดของตัวเครื่อง (Robot Info) และ แบตเตอรี่ (Battery Info) ได้หลากหลาย อาทิ
- ชื่อรุ่น (Model)
- หมายเลขซีเรียลประจำเครื่อง (Serial Number – S/N)
- เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ (Software Version)
- จำนวนรอบทั้งหมดของการชาร์จ (Charge Cycles)
- ประเภทของแบตเตอรี่ (Authorization Status)
- สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนในด้านต่างๆ (Robot Preference)
- แจ้งเตือนการทำความสะอาดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dirt Bin Alert Reminder)
- การเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ (Filter Change Reminder)
- แจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงกวาดหลัก (Brush Change Reminder)
- สามารถดูรายละเอียดของตัวเครื่อง (Robot Info) และ แบตเตอรี่ (Battery Info) ได้หลากหลาย อาทิ
- สามารถหาหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในห้องได้ด้วยเสียง ในฟังก์ชั่น “Find Me” ในกรณีที่หาไม่เจอว่าไปจอดอยู่ที่ไหน โดยเครื่องจะส่งเสียงร้องดังขึ้นมา พร้อมกับ ไฟสัญลักษณ์โหมดอัตโนมัติ . จะกระพริบอย่างช้าๆ
- สามารถอัพเดทซอฟต์แวร์ของตัวเครื่อง ได้ผ่าน แอพพลิเคชั่น ได้โดยตรงเลย
- สามารถตั้งชื่อให้กับเครื่องได้ (จะได้ไม่สับสนในกรณีใน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato หลายเครื่อง)
- สามารถดูสถิติ และประวัติการทำความสะอาด (Cleaning Summary) พร้อมค่าเฉลี่ย และผลรวมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็น
- จำนวนชั่วโมงในการทำความสะอาดแต่ละครั้ง (Cleaning Time – Hours)
- ขนาดพื้นที่ตารางเมตรที่ได้ทำความสะอาดไป (Area Cleaned – m2)
รูปประกอบความสามารถของ การใช้ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected ผ่านแอพพลิเคชั่น Neato Robotics
คำถามที่ต้องอยากรู้ เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
ส่วนนี้จะเป็นคำถามที่อยากรู้จากการตั้งคำถาม พร้อมคำตอบ เกี่ยวกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac Connected ถ้าใครอยากรู้อะไรเพิ่มเติม สามารถทิ้งคำถามได้ที่ส่วนของการ แสดงความคิดเห็น ที่อยู่ด้านล่างของรีวิวนี้ได้เลย
1. ฝุ่นที่ได้มาจากการดูด 1 ครั้ง มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ?
จากการทดลองใช้งานมา 1 ครั้ง เป็นการทำความสะอาดในพื้นที่ชั้น 2 ของบ้าน มีจำนวนห้องทั้งหมด 3 ห้องย่อย พื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร (m2) เวลาที่ใช้ในการทำความสะอาดอยู่ที่ 54 นาที นับตั้งแต่ออกจากแท่นชาร์จ จนกลับเข้ามาจอดยังแท่นชาร์จเหมือนเดิม (ข้อมูลจากรายงานการทำความสะอาด – Cleaning Summary ของแอพพลิเคชั่น) ผลลัพธ์ก็จะประมาณนี้
2. การใช้งานระบบกั้นขอบเขตจำลอง ผ่านแอพพลิเคชั่น (Virtual “No-Go” Lines) ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
ความสามารถ Virtual “No-Go” Lines หรือระบบกั้นขอบเขตจำลอง ผ่านแอพพลิเคชั่นโดยตรง ถือเป็นไฮไลท์เด็ดของรุ่น Botvac D7 Connected เลยก็ว่าได้ ประโยชน์ของมันคือ เราไม่จำเป็นจะต้องวาง แถบแม่เหล็กกั้นขอบเขต (Boundary Marker) อยู่หน้าพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้มันวิ่งเข้าไปทำความสะอาดอีกต่อไป
การใช้งานก็ง่ายๆ เพียงแค่กดเข้าไปในแอพพลิเคชั่น ที่เมนูหลัก เพื่อให้เครื่องสร้างแผนผังห้องของเรา (My Floor Plan) เสียก่อน โดยเครื่องจะออกมาทำความสะอาดตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันมันก็จะสร้างแผนผังห้องไปในตัวด้วย
โดยก่อนสร้างแผนผังห้องมันจะมีขึ้นคำเตือน ให้เราต้องไปจัดข้าวของในห้อง เพื่อให้เครื่องสามารถวิ่งเข้าไปได้เสียก่อน รวมไปถึงเปิดประตูให้ทุกห้องสามารถทะลุถึงกันได้ทั้งหมด เพื่อได้แผนผังห้องที่ละเอียด ครบถ้วนที่สุด
เมื่อเสร็จแล้วเครื่องจะวิ่งกลับมายังแท่นชาร์จ โดยแอพฯ มันจะบอกเราว่ามีแผนผังห้องใหม่เพิ่งสร้างเสร็จ ต้องการจะบันทึก (Save) หรือไม่ ถ้าเราพอใจแล้วก็บันทึกได้เลย แต่ถ้ายังไม่พอใจ ก็สามารถจัดข้าวของในห้องใหม่ และสั่งให้เครื่องออกไปสร้างได้อีกเรื่อยๆ จนกว่าเราจะพอใจ
3. ทำไมเครื่อง Neato Botvac D7 Connected มีแปรงกวาดข้างแค่ฝั่งเดียว ?
การมีแปรงกวาดข้างประโยชน์ของมันคือเอาไว้ใช้ปัดฝุ่นที่อยู่รอบๆ เครื่องเข้ามาในรัศมีทำการของแปรงกวาดหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เป็นทรงกลม ที่จะมีจุดบอดอยู่มุมซ้ายและขวาของเครื่องด้านหน้า
แต่เนื่องจากเครื่องนี้เป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทรง D
คือด้านหน้าเป็นทรงเหลี่ยม และด้านหลังเป็นทรงกลม ดังนั้นมันจึงไม่มีจุดบอดในการดูดฝุ่นตามขอบมุมของห้อง แต่ก็ยังอุตสาห์ให้แปรงกวาดข้างมาด้วย (แม้ขนแปรงจะมีขนาดสั้นก็ตาม) โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato ตระกูล Botvac Series ทุกรุ่น (ทั้ง D Series และ Connected Series) มันถูกโปรแกรมให้วิ่งทำงานด้วยการวิ่งชิดขอบกำแพงด้านขวาตลอด ดังนั้นการเข้าขอบมุมกำแพง หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จะชิดขวาอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีฝั่งซ้ายนั่นเอง
4. ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน มีเสียงดังมากน้อยแค่ไหน ?
ส่วนนี้จะเป็นการวัดระดับเสียงด้วยแอพพลิเคชั่น Sound Meter ที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS (ใช้สำหรับ iPhone หรือ iPad) และเนื่องจากเครื่องนี้มีการทำงานใน 2 โหมดหลักๆ คือ โหมดประหยัดพลังงาน และโหมดเทอร์โบ ดังนั้นจึงขอวัดมาให้ดูกัน 2 ค่าเลย
- ECO Mode (โหมดประหยัดพลังงาน) : 60 เดซิเบล
- Turbo Mode (โหมดเทอร์โบ) : 70 เดซิเบล
ข้อมูลข้างบนเป็นการตรวจรวัดคร่าวๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น ดังนั้นจึงไม่ได้แม่นเป๊ะ ดังนั้นค่าอาจจะมีการคลาดเคลื่อนบวกลบ (+/-) ได้นิดหน่อย แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะ ในแต่ละระดับความแรงของการดูดฝุ่น ระดับเสียงจะต่างกันอยู่ที่ประมาณ 10 เดซิเบล (dB)
คำแนะนำ : การเปิดใช้งานในโหมดประหยัดพลังงาน ก็เพียงพอต่อการใช้งาน Neato Botvac D7 Connected เป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปิดแรง ไม่เปลืองพลังงาน และเสียงจะเบากว่า
5. ถ้าหากว่าใช้เครื่องทุกวัน วันละครั้ง ค่าไฟต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ ?
ใช้เครื่องทดสอบอัตราการกินไฟดิจิตอล (Digital Power Consumption Meter) ในการวัดอัตราการกินไฟ ขณะกำลังชาร์จไฟ และชาร์จเสร็จแล้วแต่เสียบปลั๊กไฟค้างเอาไว้ เหมือนกับที่เคยทดสอบกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ
สถานการณ์ (Situation) |
การกินไฟ (Power Consumption) |
การคำนวณค่าไฟ (Power Consumption Calculation) |
ค่าไฟ / เดือน (Electricity Charge / Month) |
1. ขณะไฟยังไม่เต็มแบตเตอรี่ (When Charging) |
≈ 40.3 วัตต์ | (40.3 วัตต์* x 1 ชั่วโมง** x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต***) / 1,000 | 6.04 บาท |
2. ขณะไฟเต็มแบตเตอรี่แล้ว (Fully Charged) |
≈ 0.0 วัตต์ | (0.0 วัตต์ x 22 ชั่วโมง** x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต***) / 1,000 | 0.00 บาท |
รวมทั้งสิ้นค่าไฟของเครื่องนี้ประมาณ 6.04 บาท ต่อเดือน
หมายเหตุ* : ตัวเลข 40.3 วัตต์ (Watts) นี้ เป็นจำนวนวัตต์แรกเริ่ม เมื่อชาร์จไฟ แต่พอชาร์จไปได้สักพัก จำนวนวัตต์ขณะชาร์จก็จะลดลงไปเรื่อยๆ (ไม่ได้อยู่นิ่งคงที่ 40.3 วัตต์ ไปแบบนี้ตลอด 1 ชั่วโมง) แต่ก็ยังคงใช้ค่านี้คำนวณค่าไฟตลอดการชาร์จ 1 ชั่วโมง เพื่อเป็นการคำนวณค่าสูงสุด ดังนั้นค่าไฟจะถูกกว่านี้อีกแน่นอน สาเหตุที่คำนวณแบบนี้เพราะคำนวณสูงเอาไว้ก่อนจะดีกว่า
หมายเหตุ** : ประเมินจากสถานการณ์ ถ้าหากเครื่องทำงานจนแบตเตอรี่เกือบหมดเกลี้ยง จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาการชาร์จไฟสูงสุดประมาณ์ : 1 ชั่วโมง (ต่อครั้ง ต่อวัน)
- ระยะเวลาที่เหลือขณะจอดที่แท่นชาร์จเฉยๆ : 22 ชั่วโมง (ต่อวัน)
- ระยะเวลาที่เครื่องออกไปทำงาน : 1 ชั่วโมง (ต่อวัน) (ไม่ถูกนำไปคำนวณ เพราะไม่ได้จอดอยู่ที่แท่นชาร์จ)
หมายเหตุ*** : คุณสามารถเปลี่ยน ค่าไฟต่อยูนิต (ในตัวอย่างนี้คิด 5 บาทต่อยูนิต – ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง) ให้เป็นตามที่จ่ายจริง เพราะที่พักอาศัยในแต่ละที่อาจจะคิดไม่เท่ากัน
6. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected มีการรับประกันในส่วนขอ ตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปีหลังจากหมดช่วงระยะประกันแล้วสามารถ ติดต่อสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายได้เช่นกัน
โดยลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว ถ้าหากเครื่องมีปัญหา ก็สามารถติดต่อแผนกบริการหลังการขาย (After Service Support Team) ได้โดยตรงเลยที่
- Hotline (สายด่วน) : 0-2215-2577
- LINE ID (ไลน์ไอดี) : @neatoroboticsth
7. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถซื้อเครื่อง Neato Botvac D7 Connected นี้ได้ผ่านทางหลายช่องทาง ถ้าไปซื้อหน้าร้านก็ เช่นที่ ร้าน habitech ถนนสาทร หรือ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ในบางสาขา หรือจะโทรศัพท์ไปติดต่อสอบถามก่อนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 0-2215-2577
- Website (เว็บไซต์) : http://www.neatoroboticsth.com/
- Line ID (ไลน์ไอดี) : @neatoroboticsth
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : neatoroboticsth (นีโต้โรโบติกส์ทีเฮช) ตามกรอบด้านล่าง
บทสรุปการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac D7 Connected
ข้อดี 🙂
- การนำทางด้วยระบบเลเซอร์วัดระยะทาง มีความแม่นยำในตัวของมันเองสูงมากอยู่แล้ว และยิ่งทาง Neato เองเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีนี้อยู่แล้วอีกด้วย หายห่วงเลย
- ไม่ต้องตั้งเวลาเครื่องก่อนเริ่มต้นใช้งาน หรือหลังเปลี่ยนแบตเตอรี่ เพราะเครื่องนี้ปรับเวลาให้ตรงกับปัจจุบัน (Sync) จากอินเทอร์เน็ตโดยตรง ลดขั้นตอนการเริ่มใช้งานไปได้อีก
- การตั้งเวลาทำความสะอาดแบบยืดหยุ่น ผ่านแอพพลิเคชั่น ในรุ่นนี้ยังคงมีอยู่ ให้ความสามารถสะดวกสบาย ตอบสนองไลฟ์สไตล์ชิวิตเรามากขึ้น
- ไฟแสดงสถานะต่างๆ ให้มา 4 ดวงความหมายชัดเจน ดูเข้าใจง่ายไม่ต้องตีความอะไรมากมาย ไม่เหมือนกับรุ่น Botvac D5 Connected ที่ให้มาแค่ 2 ดวง และต้องเปิดคู่มือเพื่อตีความหมายเอง
- เสียงเงียบลงในขณะทำงาน ถ้าเทียบกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Neato Botvac รุ่นเก่าๆ เสียงจะดังมากๆ แต่ตัวนี้ถือว่าพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นมาก ทั้งตัวแปรงกวาดหลักเองที่มาใช้แปรงผสมแบบ Spiral Combo Brush ลดเสียงรบกวนลง หรือแม้แต่มอเตอร์พัดลมดูดฝุ่นก็ถูกพัฒนาให้ทำงานได้เงียบลง
- รองรับ Wi-Fi คลื่นความถี่ 5 GHz เพื่อการมีช่องสัญญาณที่มากขึ้น การเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น จะมีประโยชน์มากๆ ในกรณีที่จะต้องอัพเกรดซอฟต์แวร์ (เฟิร์มแวร์) ของตัวเครื่อง ที่จะต้องมีการดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมากๆ
- ระบบกั้นขอบเขตจำลอง ผ่านแอพพลิเคชั่น (Virtual “No-Go” Lines) สามารถทำได้ดี ไม่ต้องวางแถบแม่เหล็กกั้นขอบเขตหน้าพื้นที่ ที่เราไม่ต้องการให้มันทำความสะอาดอีกต่อไป แต่แถบแม่เหล็กฯ ตัวนี้เขาก็ยังอุตสาห์ให้มาด้วย เผื่อให้ใครไม่สะดวกสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่น
- การใช้งาน แอพพลิเคชั่น Neato Robotics ถือว่ามีความเสถียรขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โหมดควบคุมทิศทางเครื่องเอง มีความสมูท และตอบสนองได้ดีขึ้นกว่ารุ่น Botvac Connected มากๆ
- ไม่กินไฟขณะชาร์จไฟเต็ม เพราะมีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นหลายตัวมากๆ มีการกินไฟขณะที่ไฟในแบตเตอรี่เต็มแล้ว แต่เครื่องนี้ไม่มี วัดค่าได้ 0.0 วัตต์ (ถึงจะมี ก็อาจจะอยู่ในสเกลที่ต่ำมากๆ จึงไม่ขอนำมาคิด)
ข้อเสีย 🙁
- ไม่มีสาย USB OTG เพื่อใช้ในการอัพเกรดข้อมูลในเครื่อง มาให้แล้ว เพราะทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านแอพพลิเคชั่นอย่างเดียว (แต่ยังมีพอร์ต Micro USB รองรับอยู่)
- ราคาแพง (อย่างอื่นหาข้อเสียไม่เจอแล้วครับ)