← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6
แม้ว่าเครื่องนี้จะดูมีอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องผลิตภัณฑ์เยอะแยะมากมาย แต่ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นอุปกรณ์เสริมด้วยกันทั้งหมด ในขณะที่หลักๆ จะเป็น ตัวเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย (Cordless Vacuum Cleaner) ที่ถือเป็นหัวใจหลักของผลิตภัณฑ์นี้เลยก็ได้ โดยในส่วนนี้จะมีอุปกรณ์ 4 ส่วนหลักๆ ที่จะอธิบายให้ดูเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
- Main Body Component (ส่วนประกอบของตัวเครื่องหลัก)
- Dustbin Component (ส่วนประกอบของถังเก็บฝุ่น)
- Motorized Mini-Brush Component (ส่วนประกอบของหัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก)
- Floor Brush Component (ส่วนประกอบของหัวดูดพื้น)
- Floor Stand Set Component (ส่วนประกอบของชุดขาตั้งพื้น) (ซื้อแยกต่างหาก)
1. Main Body Component (ส่วนประกอบของตัวเครื่องหลัก)
- OLED Screen (หน้าจอแสดงผลแบบ OLED) : หน้าจอขนาด กว้าง (W) 20 x ยาว (L) 35 มิลลิเมตร แสดงผลแบบขาวดำ แต่ภาพบนหน้าจอชัดแจ๋ว มีระบบพักหน้าจอในขณะที่กำลังชาร์จ
- Mode Button (ปุ่มเปลี่ยนโหมดการดูดฝุ่น) : เลือกโหมดว่าต้องการจะดูดแรง (กินแบตเตอรี่มาก แบตฯ หมดเร็ว ดูดได้แป๊บเดียว) หรือดูดเบา (กินแบตเตอรี่น้อย แบตฯ หมดช้า ดูดได้นานกว่า)
- Sustain Button (ปุ่มล็อกระบบดูดฝุ่น) : กดเพื่อล็อกระบบดูดฝุ่นของเครื่องให้ทำงานตลอด โดยไม่ต้องกดปุ่มเปิดการทำงานของระบบดูดฝุ่น (Trigger Button) ให้เมื่อยนิ้ว ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายขึ้นมาอีกระดับ
- Trigger Button (ปุ่มเปิดการทำงานของระบบดูดฝุ่น) : สามารถกดปุ่มนี้ค้างเอาไว้ เพื่อให้ระบบดูดฝุ่นของเครื่องทำงาน แต่ถ้าเกิดเราปล่อยเมื่อไหร่ ระบบดูดฝุ่นก็จะหยุดทำงานทันที
- Charging Port (ช่องเสียบไฟตรงกับอะแดปเตอร์) : ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการชาร์จไฟผ่านแท่นชาร์จ ก็สามารถเสียบให้ชาร์จไฟตรง ให้เข้าไปยังแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในตัวเครื่องได้เลย
- Lithium Polymer Battery (แบตเตอรี่แบบลิเธียมพอลิเมอร์) : จริงๆ มันก็คือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบพอลิเมอร์ เป็นก้อนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ขนาดความจุ 3,610 มิลลิแอมป์ (mAh) ถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังส่วนล่าง (ใต้ด้ามจับของตัวเครื่อง)
- Emptying Latch (สลักเปิดฝาถังเก็บฝุ่น) : ใช้กดเพื่อเปิดฝาถังเก็บฝุ่นด้านล่าง เพื่อให้เศษฝุ่นต่างๆ ตกลงสู่ถังขยะเองตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ต้องเปรอะมือ (ควรกดสลักเมื่อวัตถุด้านล่างคือถังขยะ หรือถุงขยะ เท่านั้น)
- Dustbin Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังเก็บฝุ่น) : อยู่ที่ด้านหน้าเครื่อง มีส่วนที่ติดกับหัวต่อที่เชื่อมต่อกับหัวดูดต่างๆ
- Rear Filter (แผ่นกรองอากาศด้านหลัง) : แผ่นกรองอากาศ HEPA คุณภาพสูง ที่อยู่ด้านบนสุดของตัวเครื่อง ทำหน้าที่กรองอากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมฝุ่น ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนถูกปล่อยออกจากตัวเครื่อง สามารถหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อนำออกมาทำความสะอาด หรือเปลี่ยนได้
- Dust Inlet (ช่องฝุ่นเข้า) : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร รับฝุ่นที่มาจากท่อต่อหัวดูด หรือหัวดูดชนิดต่างๆ เข้าไปยังถังเก็บฝุ่น
2. Dustbin Component (ส่วนประกอบของถังเก็บฝุ่น)
- Dustbin Body (กระบอกเก็บฝุ่น) : กรอบพลาสติกใสทรงกระบอก สามารถมองทะลุเห็นปริมาณเศษฝุ่นละออง ที่อยู่ด้านใน ด้านหน้ามีส่วนปลายเอาไว้เชื่อมต่อกับหัวดูด และท่อต่อต่างๆ ถ้ามองเข้าไปที่ขอบด้านบน จะเห็นสายไฟสีขาวๆ ซึ่งเอาไว้จ่ายไฟเพื่อไปหล่อเลี้ยง หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก กับหัวดูดพื้น ให้แปรงของมันหมุนได้
- Multi-Cyclone Assembly (ตัวรวมฝุ่นพลังไซโคลน) : พลาสติกทรงกระบอกสีแดง ถูกติดตั้งอยู่กับตัวเครื่อง (ไม่ได้เชื่อมกับกระบอกเก็บฝุ่นแต่อย่างใด) มีส่วนปลายที่แคบ พร้อมกับตะแกรงกรองฝุ่นโลหะสีเงิน ที่เอาไว้ช่วยกรองฝุ่นขั้นตอน ที่มีขนาดใหญ่ๆ ต่างๆ หรือแม้แต่ เส้นผม ขนสัตว์ เศษยางลบ ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ (ล้างน้ำได้)
- Front Filter (แผ่นกรองอากาศด้านหน้า) : ถึงแม้จะเรียกว่า แผ่นกรองอากาศด้านหน้า แต่จริงๆ แล้วมันคือ แผ่นกรองอากาศที่อยู่ภายในถังเก็บฝุ่น เป็นแผ่นฟองน้ำทรงกลม มีหน้าเอาไว้กรองฝุ่นละเอียดเป็นชั้นที่ 2 (ต่อจากตะแกรงกรองฝุ่น) ก่อนจะถูกดูดเข้าไปยังพัดลมดูดฝุ่น และถูกแผ่นกรองอากาศด้านหลัง (Rear Filter) ที่อยู่ด้านนอกกรองอีกชั้น
3. Motorized Mini-Brush Component (ส่วนประกอบของหัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก)
- Mini Brush Roll Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงหมุนขนาดเล็ก) : เอาไว้ใส่ แปรงขนแบบเกลียวสีดำ ความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร เพื่อเอาไว้ตีฝุ่นที่อยู่บนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ เข้าไปเก็บในถังเก็บฝุ่น
- Mini Brush Roll Locking Mechanism (ที่ล็อกแปรงหมุนขนาดเล็ก) : วงกลมที่ตรงกลางมีช่องสำหรับใช้ด้านข้างของเหรียญในการปลดล็อกเพื่อนำมันออกมา ด้วยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา (Counterclockwise)
- Vacuum Hose Connector (ขั้วต่อลำเลียงฝุ่น) : ช่องลำเลียงฝุ่นที่ถูกดูดเข้ามาได้ ที่เกิดจากการช่วยกันระหว่างพลังลม กับแปรงหมุน เข้าไปเก็บไว้ในถังเก็บฝุ่น สามารถต่อตรงกับตัวเครื่องดูดฝุ่นไร้สายได้เลย หรือจะต่อผ่านท่อต่อหัวดูด (Baton) ได้อีกด้วยเช่นกัน
4. Floor Brush Component (ส่วนประกอบของหัวดูดพื้น)
- Soft Roller Installation Area (พื้นที่ติดตั้งลูกกลิ้งนุ่ม) : พื้นที่ติดตั้งลูกกลิ้งนุ่ม (Soft Roller) สีแดงคาดเทา ความยาวลูกกลิ้งอยู่ที่ 22 เซนติเมตร เพื่อเอาไว้ช่วยดูดฝุ่นที่อยู่บนพื้นชนิดต่างๆ อย่างพื้นกระเบื้อง พื้นไม้ หรือพื้นพรม เพื่อที่จะเข้าไปเก็บในถังเก็บฝุ่นเป็นลำดับต่อไป
- Soft Roller Locking Mechanism (ที่ล็อกลูกกลิ้งนุ่ม) : เป็นฝาท้าย (End Cap) ทรงกลม (คล้ายเหรียญ) ที่ตรงกลางมีช่องสำหรับใช้ด้านข้างของเหรียญในการปลดล็อกเพื่อนำมันออกมา ด้วยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา (Counterclockwise) เพื่อนำมันออกมา
- Rotatable Vacuum Hose Connector (ขั้วต่อลำเลียงฝุ่นแบบหมุนได้รอบตัว) : ช่องลำเลียงฝุ่นที่ถูกดูดเข้ามาได้ ที่เกิดจากการช่วยกันระหว่างพลังลม กับลูกกลิ้งนุ่ม เข้าไปเก็บไว้ในถังเก็บฝุ่น สามารถต่อตรงกับตัวเครื่องดูดฝุ่นไร้สายได้เลย หรือจะต่อผ่านท่อต่อหัวดูด (Baton) ได้อีกด้วยเช่นกัน
- Rear Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง) : ล้อพลาสติกขนาดเล็ก มีล้อเดียว ความยาว 3 เซนติเมตร ช่วยรับน้ำหนักหัวดูดพื้นด้านหลัง ป้องกันความเสียหายกับพื้น และลดแรงเสียดทาน ให้ผู้ใช้งานออกแรงน้อยลง สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
- Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ล้อพลาสติกขนาดเล็ก มีสองล้อ ติดตั้งอยู่ที่ส่วนปลาย ของตัวลูกกลิ้งนุ่ม ทั้ง 2 ฝั่ง ช่วยรับน้ำหนักหัวดูดพื้นด้านหน้า และป้องกันความเสียหายกับพื้น เช่นกัน
5. Floor Stand Set Component (ส่วนประกอบของชุดขาตั้งพื้น)
ชุดขาตั้งพื้น เป็นชุดที่ต้องซื้อแยกต่างหาก (ขายแยก) ในราคาประมาณ 1,890 บาท สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเจาะผนังบ้าน (เจาะกำแพง) เพื่อติดตั้ง ที่เก็บอุปกรณ์เสริม (Accessory Rack) และแท่นชาร์จ (Docking Station) เพื่อมันจะเป็นรูถาวร ซื้อชุดขาตั้งพื้น มาใช้ได้ โดยแค่วางอยู่บนพื้นเฉยๆ อย่างเดียวเท่านั้น โดยสิ่งที่เขาให้มาก็จะมี
- Floor Stand Base (ฐานของชุดขาตั้ง) : ชุดเหล็กแข็งแรงไว้วางบนพื้น ข้างล่างมีแถบยางกันรอย และกันลื่น
- Long Floor Stand Upright (เสาตรงแบบยาว) : ด้านล่างต่อกับฐานของชุดขาตั้ง ด้านบนต่อกับที่เก็บอุปกรณ์เสริม (อุปกรณ์อยู่ภายใน กล่องผลิตภัณฑ์ หลัก) พร้อมยึดนอตทั้ง 2 ด้าน
- Short Floor Stand Upright (เสาตรงแบบสั้น) : ด้านล่างต่อกับที่เก็บอุปกรณ์เสริม ด้านบนต่อกับแท่นชาร์จ
- Hex Socket Cap Screw (นอตหัวจม 6 เหลี่ยม) : เอาไว้ยึดอุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน
- Hex Wrench (ประแจหกเหลี่ยม) : แถมมาให้ด้วย จะได้ไม่ต้องไปหาซื้อให้เสียเวลา
เริ่มต้นใช้งาน เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6
- การทำความสะอาดพื้น
- การทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน
- การทำความสะอาดกำแพง และเพดาน
- การทำความสะอาดในรถยนต์
Floor Cleaning (การทำความสะอาดพื้น)
การทำความสะอาดพื้น เราจะใช้ ท่อต่อหัวดูด และ หัวดูดพื้น ในการดูดพื้นกระเบื้อง หรือพื้นไม้ชนิดต่างๆ เนื่องจากมันเป็นเป็นแปรงขนแบบนุ่ม จึงไม่ทำให้พื้นผิวชนิดต่างๆ เสียหาย แถมยังสามารถดูดฝุ่นขนาดเล็ก หรือใหญ่ ได้อย่างดีอีกด้วย
แต่ถ้าเป็นการดูดฝุ่นที่อยู่พรม อาจจะประยุกต์ใช้ด้วยการนำเอา ท่อต่อหัวดูด มาใช้ควบคู่ไปกับ หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก ที่ตัวแปรงเขาใช้เป็น แปรงขนแบบเกลียว ที่มีคุณสมบัติการดูดฝุ่นบนพรม หรือเบาะผ้า ได้ดีกว่า
Appliance Cleaning (การทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน)
ในส่วนของการทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน นี้จะค่อนข้างที่หลากหลาย พอสมควร เพราะเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องใช้ภายในบ้านได้แทบจะทุกอย่าง แต่อยู่ที่ว่าเราจะนำหัวดูด และท่อต่อต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมหรือไม่ (แต่หลักๆ คงไม่ต้องใช้ท่อต่อหัวดูดหรอก)
Wall and Ceiling Cleaning (การทำความสะอาดกำแพง และเพดาน)
การดูดฝุ่นที่อยู่บนกำแพง และฝ้าเพดาน ต้องกลับมาพึ่งพาท่อต่อหัวดูดอีกครั้ง เพื่อป้องกันการปีนบันได ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และการปวดหลัง ปวดตัว โดยเราสามารถนำไปต่อกับ หัวดูดฝุ่นทั่วไป หรือ หัวดูดซอก ร่อง แล้วแต่สะดวก
Car Cleaning (การทำความสะอาดในรถยนต์)
การทำความสะอาดในรถยนต์ สามารถใช้ ท่อย่นยืดหดได้ ต่อกับ หัวดูดฝุ่นทั่วไป หรือ หัวดูดซอก ร่อง ในการดูดฝุ่นบนพื้น หรือซอกต่างๆ ในรถยนต์ ในขณะที่ถ้าต้องการดูดฝุ่นบนเบาะรถยนต์ สามารถใช้ หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก ต่อตรงกับตัวเครื่องเลย
Vacuum Attachment Conclusion Table (ตารางสรุปการใช้หัวดูดชนิดต่างๆ)
ด้านล่างนี้เป็นตารางสรุปการใช้หัวดูดชนิดต่างๆ ในตัวอย่างสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางสถานการณ์ ก็สามารถใช้หัวดูดได้มากกว่า 1 อย่าง
สถานการณ์ | หัวดูดพื้น | หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก | หัวดูดทั่วไป | หัวดูดซอก ร่อง | ท่อต่อหัวดูด | ท่อย่นยืดหดได้ |
บนพื้น | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | ||
บนโซฟา | ✕ | ✕ | ✕ | |||
บนที่นอน | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | |
ซอกปุ่มคีย์บอร์ด | ✕ | ✕ | ✕ | |||
บนที่นอน | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | |
ซอกปุ่มคีย์บอร์ด | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | ||
บนฝ้าเพดาน | ✕ | ✕ | ✕ | |||
ซอกเบาะรถยนต์ | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ | |
เบาะรถยนต์ | ✕ | ✕ | ✕ | ✕ |
หมายเหตุ : ท่อย่นยืดหดได้ (Flex Tube) จะไม่สามารถต่อกับ หัวดูดพื้น และ หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็กได้
คำถามที่ต้องอยากรู้ เกี่ยวกับการใช้งาน เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6
1. สภาพของฝุ่น และเศษขยะขนาดเล็ก-ใหญ่ ต่างๆ ภายในถังเก็บฝุ่น เป็นอย่างไร ?
ถ้าเป็นเศษขยะขนาดใหญ่อย่างเช่น เส้นผม ขนสัตว์ ต่างๆ จะถูกเข้าไปม้วนพันกันเป็นก้อน เมื่อสะสมไปเรื่อยๆ ขนาดก็จะใหญ่ขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ เช่นกัน ในขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กๆ ก็จะนอนพื้นอยู่ภายในกระบอกเก็บฝุ่น ซึ่งทั้งหมด สามารถถอดไปเททิ้ง หรือจะล้างน้ำสะอาดได้ตามต้องการ
2. ทำไมท่อย่นยืดหดได้ (Flex Tube) ถึงไม่สามารถต่อกับ หัวดูดพื้น และ หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็กได้ ?
เนื่องจากทั้ง หัวดูดพื้น และ หัวดูดมอเตอร์ขนาดเล็ก มีความจำเป็นจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการหมุนมอเตอร์ของแปรงที่อยู่ภายใน แต่เนื่องจากท่อย่นยืดหดได้ เป็นท่ออ่อนแบบพลาสติกใสล้วนๆ จึงไม่มีช่องทางที่จะจ่ายไฟจากส่วนหัวของท่อ ไปยังส่วนปลายของท่อได้ ดังนั้นท่อย่นยืดหดได้ จึงจะสามารถใช้ได้กับ หัวดูดทั่วไป กับ หัวดูดซอกร่อง เท่านั้น
3. ราคาอะไหล่ เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6 มีอะไรบ้าง และราคาเท่าไหร่ ?
ชื่ออะไหล่ (Part Name) |
ราคาต่อหน่วย (Unit Price) |
1. แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนแบบพอลิเมอร์ x 1 ชุด (Lithium-Ion Polymer Battery x 1 Set) |
2,500 บาท |
2. แผ่นกรองอากาศด้านหน้า x 2 ชิ้น และ แผ่นกรองอากาศด้านหลัง x 1 ชิ้น (Front Filter x 2 Pieces and Rear Filter x 1 Piece) |
699 บาท |
3. แผ่นกรองอากาศด้านหลัง x 1 ชิ้น (Read Filter x 1 Piece) |
369บาท |
4. ชุดขาตั้งพื้น x 1 ชุด (Floor Stand x 1 Set) |
1,890 บาท |
5. แผ่นกรองอากาศ HEPA x 2 แผ่น (HEPA Filter x 2 Pieces) |
590 บาท |
4. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม (ยกเว้นอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ)
5. ติดต่อสั่งซื้อ เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H7 ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อ เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6 ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-2388-1688
- LINE Official Account (บัญชีไลน์ธุรกิจ) : @RoborockThailand
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : RoborockTHA (โรโบร็อคทีเฮชเอ)
บทสรุปข้อดีข้อเสีย หลังการใช้งาน เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Roborock H6
ข้อดี 🙂
- อุปกรณ์เสริมให้มาเยอะมากๆ สามารถดูดได้ทั้งบนพื้น (พื้นเนื้อแข็ง หรือพื้นเนื้ออ่อน) รวมไปถึงบนข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น บนโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ซอกร่องต่างๆ รวมไปถึงกำแพง และฝ้าเพดาน เรียกได้ว่าอเนกประสงค์ สุดๆ ซื้อตัวเดียวคุ้มค่ามากๆ
- ท่อย่นยืดหดได้ ถือว่าตอบโจทย์ และเป็นเครื่องดูดฝุ่นไร้สายตัวแรก (ที่เคยรีวิวมา) ที่มีมาให้
- การเชื่อต่ออุปกรณ์เสริมอย่าง ท่อต่อ หรือ หัวดูดต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้หมดอย่างอิสระ
- หน้าจอแสดงผลแบบ OLED ที่มีคมชัดสูง ทำให้เรารู้ค่า และสถานะต่างๆ ของตัวเครื่องว่าเป็นอย่างไร และทำอะไรอยู่ เช่น ระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น ณ ปัจจุบัน, ระยะเวลาคงเหลือที่สามารถใช้เครื่องต่อไปได้จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด, ปริมาณแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่
- มีปุ่มล็อกระบบดูดฝุ่น (Sustain Button) เพื่อให้ทำงานตลอด ไม่ต้องคอยกดปุ่มเปิดการทำงานของระบบดูดฝุ่น (Trigger Button) อยู่ตลอดเวลาให้เมื่อยนิ้ว
- ขณะที่กำลังชาร์จไฟ จะไม่สามารถเปิดระบบดูดฝุ่นใดๆ ได้ถือเป็นอีกหนึ่งระบบความปลอดภัยดีๆ ที่ให้มา
- ตัวถังเก็บฝุ่นสามารถนำไปล้างน้ำได้ เพิ่มระดับความสะอาดให้มากขึ้นไปอีก
- รับประกันเครื่อง 2 ปี อุ่นใจได้ในเรื่องของค่าใช้จ่ายหลังการขาย ที่ไม่ต้องเสียเพิ่ม หากมีปัญหา และคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์
ข้อเสีย 🙁
- กล่องผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักค่อนข้างมาก (แต่ก็เข้าใจได้เพราะอุปกรณ์ในกล่องค่อนข้างเยอะ)
- แบตเตอรี่ไม่สามารถเปลี่ยนเองได้ ต้องให้ช่างผู้ชำนาญการเปลี่ยน