← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

  1. Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
  2. Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
  3. Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
  4. Dustbin Component (ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)

Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)

Roborock S7 Component Top and Side
ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้างของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7
  1. Front Bumper and Dock Locator (กันชนหน้า และ ตัวระบุตำแหน่งแท่นชาร์จ) : แผงกันชนหน้าที่สามารถให้ตัวได้ระดับนึงเลยทีเดียว เพื่อรองรับ และดูดซับแรงกระแทกระหว่าง ตัวเครื่องกับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของเรา และยังมีเซนเซอร์ที่ฝังอยู่ภายในกันชน ทำหน้าที่เป็น ตัวระบุตำแหน่งแท่นชาร์จ เพื่อช่วยให้กลับเข้าสู่แท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ
  2. Control Panel (แผงควบคุมเครื่อง) : ประกอบไปด้วยปุ่มกดหลักๆ ทั้งหมด 3 ปุ่มหลักๆ ด้วยกันคือ
    1. SPOT Clean / Child Lock Button (ปุ่มเปิดโหมดการทำความสะอาดเฉพาะจุด และ ล็อกป้องกันเด็ก)*
    2. POWER or CLEAN Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มต้น หรือหยุดทำความสะอาด)
    3. HOME Button (ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ)*
  3. LiDAR Sensor Cover (ฝาครอบเซนเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : ฝาครอบพลาสติกสีขาว ทำหน้าที่เป็นกันชนแนวตั้ง (Vertical Bumper) ที่จะคอยช่วยป้องกันตัว เซนเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ (สีแดงๆ) ที่หมุนๆ อยู่ด้านใน
  4. Top Cover or Dustbin Cover (ฝาปิดด้านบน หรือ ฝาเปิดปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ฝาปิดพลาสติกสีขาวขนาดใหญ่ กินพื้นที่เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ด้านบนของตัวเครื่อง สามารถยกเปิดขึ้นมาได้ โดยภายในมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น สวิตซ์เปิดปิดเครื่อง เครื่องมือทำความสะอาดอเนกประสงค์ ฯลฯ (รายละเอียดส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
Roborock S7 Top and Side Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง (Top and Side Component Details) ของตัวเครื่อง
  1. Outer Air Outlet or Air Vent (ช่องอากาศออกด้านนอก) : ช่องปล่อยอากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่นละออง แต่ผ่านการกรองจากแผ่นกรองอากาศ HEPA จนได้อากาศที่สะอาดแล้ว ก็จะถูกระบายออกมาทางช่องนี้
  2. Water Tank Latch (สลักปลดล็อกถังน้ำ) : ปุ่มสีแดงๆ ที่อยู่ด้านบนส่วนหลังของตัวเครื่อง สามารถบีบลง เพื่อนำถังน้ำออกมาจากตัวเครื่องได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องยกเครื่องขึ้นเพื่อคว่ำลงให้เมื่อย ถือว่ามีความสะดวกสบายอยู่
  3. Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ) : ถังน้ำพลาสติกสีขุ่น มีขนาดความจุ 300 มิลลิลิตร (0.3 ลิตร) สามารถดึงออกมาจากตัวเครื่องได้เลยด้วยการกดสลักปลดล็อกถังน้ำ
  4. Wall Sensor (เซนเซอร์ขอบกำแพง) : มีด้านขวาฝั่งเดียว มีหน้าที่เอาไว้วัดระยะทาง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่าง ตัวเครื่องกับขอบกำแพง เพื่อไม่ให้ชิด หรือห่างกันจนมากเกินไป เพื่อให้มันสามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)

Roborock S7 Component Underside
ส่วนประกอบด้านล่างของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7
  1. Cliff Sensor (เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มีทั้งหมด 6 จุด ถือว่าเยอะมากๆ โดยแต่ละจุดจะปล่อยแสงอินฟราเรดลงพื้น เพื่อดูระยะห่างความสูงระหว่างตัวเครื่องกับพื้น ถ้าพบว่ามากผิดปกติ หรือ เกินกำหนด จะหันหัวไปยังทิศทางอื่นทันที
  2. Carpet Detection Sensor (เซนเซอร์ตรวจจับพรม) : เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับ ระบบยกผ้าม็อบถูพื้นขึ้นอัจฉริยะ ด้วยเซนเซอร์อัลตร้าโซนิค ที่สามารถให้เครื่องหยุดการถูพื้นบนพรมก็ได้ หรือไม่ต้องขึ้นไปทำความสะอาด (ทั้งดูดฝุ่น และถูพื้น) บนพรมเลยก็ได้ (สามารถตั้งค่าได้ผ่านแอปพลิเคชัน)
  3. Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ล้อที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง (Omni-Directional Wheel) แบบ 360 องศา สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เองง่ายๆ
  4. Charging Contact (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ไว้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแท่นชาร์จ เพื่อที่จะนำไปชาร์จลงแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาดความจุ 5,200 มิลลิแอมป์ เป็นลำดับต่อไป
Roborock S7 Underside Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านล่าง (Underside Component Details) ของตัวเครื่อง
  1. Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : มีแค่ด้านขวาด้านเดียว ใช้ติดตั้งแปรงกวาดข้างแบบ 5 แฉก ซึ่งยึดกับตัวเครื่องด้วยน๊อต อาจจะติดตั้งลำบากกว่าการใช้สลักล็อก แต่แน่นกว่าอย่างแน่นอน
  2. Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ที่มีลายดอกยาง เพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างตัวเครื่อง กับพื้นห้อง และมีสปริงโช๊คอัพ ที่จะทำให้เครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้ สูงสุดถึง 2 เซนติเมตร กันเลยทีเดียว
  3. Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ประกอบไปด้วยฝาครอบพลาสติก ที่มีเหล็กเส้นเล็กๆ ค้ำยัน 2 จุดตรงกลาง เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว และตัวแปรงกวาดหลัก ที่ผสมระหว่างขน และยาง แบบเกลียว ช่วยดูดฝุ่นขนาดเล็กใหญ่ เส้นผม ขนสัตว์ได้ดีมี ความยาวประมาณ 180 มิลลิเมตร (18 เซนติเมตร)
  4. Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ) : ถังน้ำขนาดความจุ 0.3 ลิตร ถูกติดตั้งเข้าไปที่ส่วนท้าย หรือด้านหลัง ตัวเครื่องเลย หากต้องการถูพื้นแบบเปียก ก็เพียงแค่นำ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ พร้อมแผ่นติด มาเสียบที่ด้านหลังได้เลย โดยไม่ต้องยกเครื่องเพื่อพลิกคว่ำ ถือว่าสะดวกมากๆ

Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)

Roborock S7 Inside Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านใน (Inside Component Details) ของตัวเครื่อง
  1. Wi-Fi Indicator (ไฟแสดงสถานะการทำงานของ Wi-Fi) : แจ้งสถานะว่าการทำงานของ Wi-Fi ว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่ โดยมีทั้งหมด 4 สถานะคือ
    1. Off (ไฟดับ) : ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi
    2. Flashing Slowly (กระพริบช้า) : รอการเชื่อมต่อ Wi-Fi
    3. Flashing Quickly (กระพริบเร็ว) : กำลังเชื่อมต่อ Wi-Fi
    4. Steady (สว่างค้าง) : การเชื่อมต่อ Wi-Fi สำเร็จ
  2. System Reset Button (ปุ่มล้างการตั้งค่าระบบ) : รีเซ็ต หรือล้างการตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น เพื่อให้เครื่องพร้อมที่จะทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi อีกครั้ง
  3. Air Inlet (ช่องอากาศเข้า) : ช่องที่ให้อากาศที่อัดจากด้านนอก เข้ามาด้านใน เพื่อขับดับฝุ่นละออง ที่อยู่ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกไปเก็บยัง แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ (ต้องเอาฝาปิดออก ถ้าใช้แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ)
  4. Dust Inlet (ช่องฝุ่นเข้า) : ฝุ่นที่ถูกดูดเข้ามาภายในเครื่องด้วยแปรงกวาดหลัก และพลังลมดูด จะถูกลำเลียงเข้ามาทางช่องนี้
  5. Dustbin Installation Area (พื้นที่ติดตั้งกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เอาไว้เก็บกล่องใส่ฝุ่นละอองขนาด 0.47 ลิตร (470 มิลลิลิตร) ถ้านำกล่องฯ ออกมาจะเห็นช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) อย่างชัดเจน
  6. Inner Air Outlet or Air Vent (ช่องอากาศออกด้านใน) : อากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่น จะถูกกรอก และส่งกลับออกด้านนอก ผ่านทางช่องนี้

Dustbin Component (ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)

Roborock S7 Dustbin Detail
รายละเอียดส่วนประกอบของ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin Details)

ถ้าหากว่าเราไม่ได้ใช้ แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ (Auto-Empty Dock) เราก็สามารถใช้ กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ขนาด 0.47 ลิตร ที่ติดมากับเครื่องได้ โดยลักษณะหน้าตาของมัน ก็เหมือนกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไปเลย คือมีช่องฝุ่นเข้า ช่องอากาศออก และ แผ่นกรองอากาศ HEPA ที่เอาไว้ใช้กรองฝุ่นที่ถูกดูดเข้ามา ไม่ให้หลุดกลับออกไปข้างนอกอีก

เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

  1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
  2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
  3. Microfiber Cloth and Water Tank Installations (การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ กับ ถังน้ำ)
  4. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)

Roborock S7 Charging Area
ติดตั้งแท่นชาร์จของ Roborock S7 ในพื้นที่โล่ง ฝั่งซ้าย-ขวา 0.5 เมตร และ ด้านหน้า 1.5 เมตร

การติดตั้งแท่นชาร์จนั้น เพื่อที่จะได้ใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ถ้าดูจากคำแนะนำในคู่มือ คุณควรจะต้องมีระยะเว้นห่างของแท่นชาร์จ จากสิ่งกีดขวางใดๆ อยู่ที่ ฝั่งซ้าย และขวา 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) และ ด้านหน้า 1.5 เมตร (4.9 ฟุต)

นอกจากนี้แล้วเครื่องนี้ยังมีแถบเทปกาว (ต้องลอกสติ๊กเกอร์ออกก่อน) เพื่อที่จะให้ตัวแท่นชาร์จสามารถยึดติดกับพื้นได้อย่างเหนียวแน่น แต่ถ้าใครไม่ชอบ หรือต้องย้ายแท่นชาร์จกันบ่อยๆ ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องยึดเทปกาวกับพื้นก็ได้

2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)

สำหรับการชาร์จไฟเพื่อเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ ควรชาร์จไฟค้างคืน ทิ้งเอาไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยตามสเปกเครื่องบอกว่า การชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม จะใช้เวลาสูงสุดไม่เกิน 6 ชั่วโมงเท่านั้น (แต่ไม่ต้องห่วง เพราะหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ในสมัยนี้ รวมถึงเครื่องนี้ด้วย มีการตัดการจ่ายไฟอัตโนมัติ เมื่อแบตเตอรี่เต็มอยู่แล้ว)

3. Microfiber Cloth Installations (การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์)

Roborock S7 Microfiber Cloth Installation
การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ VibraRise เข้ากับตัวเครื่อง

ลักษณะจะเหมือนกับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่มีความสามารถของการถูพื้นทั่วๆ ไปคือ เรานำเอาผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ มาติดเข้ากับ แผ่นติด และนำเอาแผ่นติดผ้าม็อบถูพื้นฯ สอดเข้าไปข้างใต้ตัวเครื่อง (โดยไม่ต้องยกหงายเครื่องให้เมื่อย) พร้อมนำถังน้ำออกมาเติมน้ำสะอาดลงถัง ก็เป็นอันเสร็จพิธี พร้อมใช้งาน

4. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

การควบคุม และสั่งงาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S7 ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนั้น สามารถทำได้ผ่าน 2 แอปฯ ด้วยกันได้แก่ แอป Roborock ของทางบริษัทผู้ผลิตเอง และแอป Mi Home จากที่ผลลัพธ์ของการที่ Roborock ไปเป็นส่วนหนึ่งของ ห่วงโซ่ในระบบนิเวศของเสี่ยวหมี่ (Xiaomi Ecological Chain) สรุปก็คือใช้ควบคุมได้ทั้งคู่

ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Rorobock*
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง โรโบร็อค เทคโนโลยี จำกัด – Beijing Roborock Technology Co., Ltd.)

  1. ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ Android ผ่าน Play Store

ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Mi Home
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง เสี่ยวหมี่ จำกัด – Beijing Xiaomi Co., Ltd.)

  1. ดาวน์โหลดแอป Mi Home สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป Mi Home สำหรับ Android ผ่าน Play Store

ข้อมูลเพิ่มเติม* : รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน Roborock สามารถอ่านได้ที่หนังสือคู่มือเริ่มต้นการใช้งานแอป Roborock ได้เลย

คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Roborock

Roborock App Interface General Example for Roborock S7
รูปตัวอย่างหน้าจอในเมนูต่างๆ ของแอปพลิเคชัน Roborock ที่ใช้ในการควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7
  1. การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
    1. สั่งให้เครื่องเริ่มทำงาน (Start Auto Cleaning)
    2. สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
    3. สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Return to Charge Base – Dock)
    4. ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น (Adjust Vacuum Power Level)
      1. โหมดเงียบ (Quite Mode) – ดูดเบา
      2. โหมดสมดุล (Balanced Mode) – ดูดปกติ
      3. โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) – ดูดแรง
      4. โหมดสูงสุด (Max Mode) – ดูดแรงมากๆ
    5. ปรับระดับความเข้มข้นของการถู (Scrub Intensity)
      1. ปิดระบบ (Close)
      2. ระดับอ่อนโยน (Mild)
      3. ระดับปานกลาง (Moderate)
      4. ระดับเข้มข้น (Intense)
    6. เลือกรูปแบบเส้นทางการถู (Mop Route)
      1. การถูธรรมดา (Standard) (ระบบดูดฝุ่น และ ระบบถูพื้น เปิดปกติ)
      2. การถูแบบล้ำลึก (Deep) (เปิดแต่ ระบบถูพื้น อย่างเดียว เส้นทางเดินเป็นตัว Z พร้อมวิ่ง 2 รอบ)
    7. ความสามารถการทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features)
      1. โหมดควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง (Manual Control Mode)
        1. ควบคุมแบบปุ่มกด (Push-Button Control)
        2. ควบคุมแบบจอยสติ๊ก (Joystick Control)
      2. โหมดการทำความสะอาดแบบเลือกห้อง (Selective Room Cleaning)
      3. โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Cleaning Mode) (ในพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร จากจุดเริ่มต้น)
      4. โหมดการทำความสะอาดเฉพาะโซน (Zone Cleaning) (ลากตำแหน่งที่ต้องการทำความสะอาด)
      5. โหมดการทำความสะอาดแบบปักหมุดแล้วไป (Pin n Go Cleaning)
      6. กำหนดกำแพงจำลอง (Virtual Wall) (ทาง Roborock เรียกว่า กำแพงล่องหน หรือ Invisible Wall)
      7. กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องเข้าไปทำความสะอาด (No-Go Zones)
      8. กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องการถูพื้น (No-Mop Zone)
  2. การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
    1. ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
      1. กำลังทำงาน (Working)
      2. กำลังกลับแท่นชาร์จ (Docking)
      3. กำลังชาร์จแบตเตอรี่ (Charging)
      4. ชาร์จแบตเตอรี่เสร็จสิ้น (Charge Completed)
    2. ดูขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaning Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
    3. ดูปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Battery Level) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
    4. ดูเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaning Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
    5. ดูแผนที่การทำความสะอาดแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map)
    6. แจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียง (Location) (สั่งผ่านแอปพลิเคชัน)
  3. การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Settings and Information)
    1. สร้างแผนที่การทำความสะอาด (Create Cleaning Map) ของพื้นที่แต่ละชั้น (สามารถสร้างได้มากกว่า 1 แผนที่)
    2. สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง และเลือกระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น และ ระดับความเข้มข้นของการถู ได้ด้วย
    3. ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning History) (ทั้งข้อมูล พร้อมแผนที่ที่เครื่องวิ่งผ่าน)
    4. โหมดห้ามรบกวน (Do not Disturb Mode) (ปิดการทำงานของเครื่องในช่วงเวลาพักผ่อน กำหนดเวลาได้)
    5. การตั้งค่าเกี่ยวกับการทำงานบนพรม (Carpet Settings)
      1. เพิ่มแรงดูดเมื่ออยู่บนพรม (Carpet Boost)
      2. โหมดหลีกเลี่ยง (Avoidance Modes)
        1. ยกขึ้น (Rise) (เหมาะสำหรับพรมขนสั้น ระบบถูพื้นจะยกลอยขึ้น เหลือแต่การดูดฝุ่นอย่างเดียว)
        2. หลีกเลี่ยงพื้นพรม (Avoid) (เหมาะสำหรับพรมขนสั้นถึงยาว โดยเครื่องจะไม่เข้าไปยังพื้นที่นี้)
        3. ถูบนพื้นพรมแบบธรรมดาไม่สนใจ (Ignore) (เหมาะกับพื้นที่ ที่ไม่มีพรมใดๆ อยู่ในบริเวณนั้นๆ)
  4. การตั้งค่า และข้อมูลทั่วไป (General Settings and Information)
    1. เปลี่ยนชื่อเครื่อง (Change the Device Name)
    2. เปิดปิดไฟแสดงสถานะ ของปุ่มกดบนตัวเครื่อง (Enable Button Lights)
    3. เปิดปิดไฟแสดงสถานะ ของตัวเครื่อง (Enable or Disable Indicator Light)
    4. เปิดปิดโหมดล็อกป้องกันเด็กกดปุ่มบนตัวเครื่อง (Enable or Disable Child Lock Mode)
    5. ปรับตั้งเวลาเครื่องให้ตรงกับปัจจุบัน (Synchronize Time zone)
    6. การตั้งค่าหน่วยวัดพื้นที่ (Unit of Area) (ตารางเมตร – m2 | ตารางฟุต – ft2 | ปิง – py)
    7. ดูหมายเลขจำเพาะของเครื่อง  (Robot ID)
    8. ปรับภาษาของเสียงพูด (Voice) (มีภาษาไทยด้วย !) และ ระดับความดังของเสียง (Volume)
    9. การบำรุงรักษา และดูสถานะของวัสดุสิ้นเปลือง (Maintenance and Consumable Product Status)
    10. ดูคู่มือการใช้งาน (User Manual) (ข้อมูลเหมือนในเล่มที่ให้มาภายใน กล่องผลิตภัณฑ์)
    11. อัปเกรดเฟิร์มเวอร์ของตัวเครื่อง (Firmware Upgrade)
    12. เพิ่มผู้ควบคุมเครื่อง (Device Sharing) (เพื่อให้อีกคนสามารถควบคุมเครื่องนี้ได้เช่นกัน)
    13. ลบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกจากแอปพลิเคชัน (Delete Device)

หมายเหตุ : ความสามารถต่างๆ ของแอปพลิเคชันนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากมันมีการพัฒนาและอัพเดทอย่างต่อเนื่องจากทางผู้พัฒนา

สภาพหลังการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

Roborock S7 Working in Various Situations
ขณะที่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Roborock S7 กำลังทำความสะอาด ในสถานการณ์ต่างๆ

สภาพหลังการใช้งาน มาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้ ในแง่มุมต่างๆ ทั้งหมด 4 มุมได้ดังต่อไปนี้

  1. ตัวเครื่องแทบจะหาร่องรอยใดๆ ไม่เจอเลย มีเพียงรอขีดข่วนเล็กๆ (ย้ำว่าเล็กมากๆ) อยู่ที่ขอบตัวเครื่องนิดเดียว
  2. กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ก็มีฝุ่นขนาดเล็ก-ใหญ่ และเส้นผมต่างๆ ถูกดูดเข้าเก็บไว้อย่างพร้อมเพรียง ในขณะที่ตรงแปรงกวาดหลัก ไม่มีเส้นผมใดๆ มาติดอยู่เลย
  3. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ก็สกปรกตามสภาพการใช้งาน มีความดำเล็กน้อย (ถ้าเอาไปซักก็หาย)
  4. แปรงกวาดหลัก หลังจากที่ถูกเปลี่ยนเป็นแปรงยางล้วนๆ (ไม่มีส่วนของแปรงขนแล้ว) ก็ไร้เส้นผมติดแปรงอีกต่อไป ถือเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุดจริงๆ

ราคาอะไหล่ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

ชื่ออะไหล่
(Part Name)
ราคาต่อหน่วย
(Unit Price)
1. แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน x 1 ชุด
(Lithium-Ion Battery x 1 Set)
2,000 บาท
2. แปรงกวาดข้าง x 2 ชิ้น
(Side Brush x 2 Pieces)
290 บาท
3. แปรงกวาดหลัก x 1 ชิ้น
(Main Brush x 1 Piece)
790 บาท
4. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 2 ชิ้น
(Microfiber Cloth x 2 Pieces)
490 บาท
5. แผ่นกรองอากาศ HEPA x 2 แผ่น
(HEPA Filter x 2 Pieces)
790 บาท

การติดต่อสั่งซื้อ และ การรับประกัน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

1. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 ได้ที่ไหน ?

คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย

  • Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-2388-1688
  • LINE Official Account (บัญชีไลน์ธุรกิจ) : @RoborockThailand
  • Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : RoborockTHA (โรโบร็อคทีเฮชเอ)

2. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม (ยกเว้นอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ)

บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7

ความรู้สึกเกี่ยวกับการใช้งาน !

  • ความรู้สึกในการนำทาง ถือว่าดีมาก แม่นยำมาก แต่รู้สึกว่าไม่ได้แตกต่างจากรุ่นก่อนที่เคยรีวิว (S6 MaxV) เท่าไหร่นัก (เพราะมันดีอยู่แล้วไงครับ :))
  • การสร้างแผนที่ทำความสะอาด เพื่อที่จะได้สามารถแบ่งห้อง แบ่งโซน จะต้องไปที่เมนูแก้ไขแผนที่ (Edit Map) → แผนที่ของฉัน (My Map) ที่อยู่ในหน้าจอหลักของแอป Roborock (สามารถบันทึกได้มากกว่า 1 แผนที่)
  • ระยะเวลาในการทำความสะอาดของทั้งตัว S7 และ S6 MaxV ถือว่าพอๆ กันคือประมาณ 43-46 นาที ในพื้นที่ 52 ตารางเมตร ถือว่าสูสี
  • การถูพื้นจัดว่าดีจริงๆ เวลาเอามือไปจับตรง แผ่นติดผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ VibraRise แล้วรู้สึกถึงการแรงสั่นสะเทือนจริงๆ (แต่ไม่ได้นับว่าถึง 3 พันครั้งหรือเปล่านะครับ)
  • ควรต้องหมั่นนำผ้าม็อบถูพื้นฯ ไปซักอยู่บ่อยๆ อย่าให้สกปรก (จริงๆ ควรซักครั้งต่อครั้ง) เพราะมิเช่นนั้น พื้นจะมีคราบที่เกิดจากการถูพื้นแทน
  • สามารถที่จะปรับเปลี่ยนโหมดการทำงานของตัวเครื่องได้ แม้ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ (On-the-Fly Mode Switching) โดยไม่ต้องหยุดเครื่องก่อนแต่อย่างใด
  • เอกสารประกอบเครื่องที่ให้มาถือว่ามีความละเอียดสูงมากๆ อธิบายเข้าใจง่าย พร้อมรูปประกอบ

ข้อดี 🙂

  • การถูพื้น คือความรู้สึกที่ดูโดดเด่นขึ้นมามากๆ ไม่ใช่แค่เฉพาะจากการเปรียบเทียบกับรุ่นที่แล้ว แต่ยังรวมไปถึง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ตัวอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาดอีกด้วยเช่นกัน
  • ถังน้ำมีตัวกรองเศษสิ่งสกปรก ไม่ให้หลุดลงไปในถังน้ำ เพื่อช่วยรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบถูพื้น อย่างเช่น ท่อยาง ปั๊มน้ำ ให้อยู่กับเรานานๆ
  • มีโหมดล็อกป้องกันเด็กด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีเด็ก และสัตว์เลี้ยง ที่อาจจะซนไปโดนปุ่มกดบนตัวเครื่อง
  • สายไฟให้มายาว 1 เมตร ถือว่ายาวขึ้นกว่ารุ่นก่อน (S6 MaxV) อยู่ประมาณ 10 เซนติเมตร (ก็ยังดีนะ)
  • แปรงกวาดหลักของตัว S7 ไม่มีเส้นผม (ที่ยาวๆ) มาติดพันกับตัวแปรงเลยแม้แต่เส้นเดียว ผิดกับ S6 MaxV ที่มีมาเพียบ ซึ่งต้องคอยหมั่นนำออกอยู่บ่อยๆ (ประมาณสัปดาห์ละครั้ง)
  • ไม่ต้องใช้แผ่นรองกันชื้น เหมือนกับรุ่น S6 MaxV เพราะรุ่นนี้จะยก ส่วนของผ้าม็อบถูพื้นฯ (Mop Module) ให้ลอยขึ้นสูงจากพื้น เมื่อจอดอยู่ที่แท่นชาร์จ เพื่อป้องกันน้ำเปียกบนพื้น
  • สามารถเปิดระบบให้ดูดฝุ่นอย่างเดียว หรือ ถูพื้นอย่างเดียว หรือจะทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน (ดูดฝุ่น และ ถูพื้น ไปพร้อมๆ กัน) ก็สามารถทำได้
  • สามารถซื้อแท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ มาเป็นออปชันเสริมได้ด้วย หากไม่ต้องการดูแลเครื่องในการดูดฝุ่นบ่อยครั้ง (แต่ถ้าเป็นการถูพื้น ยังไงก็ต้องดูแลทุกวันอยู่ดี ทั้งเติมน้ำลงถัง และนำผ้าม็อบถูพื้นฯ ไปซัก)

ข้อเสีย 🙁

  • ฟังก์ชันการใช้งานเยอะมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอปพลิเคชัน Roborock ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปกับการใช้งานนานพอสมควร
  • ตัวเครื่องมีน้ำหนักมากทีเดียว (เนื่องจากแข็งแรง มีฟังก์ชันเยอะ แถมยังช่วยเพิ่มแรงกดลงบนพื้น ให้ถูพื้นสะอาดอีกด้วย)
  • ไม่มีอะไหล่สำรอง (Spare Part) ให้มาเลย ต้องซื้อแยกต่างหากทั้งหมด

← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

1
2
ทบทวนภาพรวม
ความสะอาดการดูดฝุ่น
10
ความสะอาดการถูพื้น
10
การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง
10
การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง
10
การดูแลรักษา ทำความสะอาด
10
ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม
6
ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน
9
ความสามารถของแอปพลิเคชัน
10
ความสะดวก และ ง่ายของการใช้แอปพลิเคชัน
8
ความคุ้มค่าเทียบกับราคา
10
ความพึงพอใจโดยรวม
10
บทความก่อนหน้านี้LightAir​ IonFlow​ Evolution เครื่องฟอกอากาศประจุลบ ไร้เสียง ไร้แผ่นกรองอากาศ กำจัดฝุ่น เชื้อโรค ได้กว่า 99.94%
บทความถัดไปRoborock Auto-Empty Dock แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ ที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นไปอีก
Thanop Somprasong
Thanop.com Founder + Thaiware.com Co-Founder + Business Director, Cloud Business Co.,Ltd. + Committee Thai Webmaster Association
roborock-s7-review<p><strong>ความสะอาดการดูดฝุ่น (10/10)</strong> : เครื่องนี้สามารถปรับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น ได้สูงสุดถึง 4 ระดับ หากเปิดระดับสูงสุด (Max Mode) เสียงอาจจะดังสักนิดนึง แต่ก็แลกมาด้วยความสะอาด ก็จัดว่าคุ้มค่ามากๆ เอาไปเลย 10 เต็ม</p> <p><strong>ความสะอาดการถูพื้น (10/10)</strong> : เรื่องที่สุดของการถูพื้น ในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่มีรูปทรง และขนาดปกติ คงต้องยกให้เครื่องนี้จริงๆ (ถ้าไม่นับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ที่สามารถซักผ้าม็อบถูพื้นได้เอง แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก) เสียดายที่ คะแนนเต็มมีแค่ 10 จริงๆ (ใจจริง อยากให้สัก 12/10)</p> <p><strong>การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง (10/10)</strong> : เครื่องนี้ใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์แบบ LiDAR ที่เป็นเทคโนโลยีที่ ขึ้นชื่อเรื่องความแม่นยำที่สูงมากๆ มาเป็นเวลานานอยู่แล้ว ประกอบกับเราสามารถเห็นแผนที่การทำความสะอาดสดๆ จากบนแอปพลิเคชัน Roborock ได้อีกด้วย และเห็นว่ามันวิ่งทำความสะอาดครอบคลุมทั้งห้อง (ทั่วทุกพื้นที่จริงๆ ที่เข้าไปได้) หาที่หักคะแนนไม่ได้จริงๆ</p> <p><strong>การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง (10/10)</strong> : เครื่องนี้ได้ถูกติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ อยู่รอบตัวมากมาย เช่นเซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น, เซนเซอร์ขอบกำแพง, เซนเซอร์ตรวจจับพรม, ตัวระบุตำแหน่งแท่นชาร์จ ฯลฯ ทำให้การจดจำพื้นที่ต่างๆ ที่ถูกบันทึกลงในรูปแบบของแผนที่จำลอง ช่วยสนับสนุนการวิ่งกลับแท่นชาร์จ ได้เป็นอย่างดี</p> <p><strong>การดูแลรักษา ทำความสะอาด (10/10)</strong> : จริงๆ แล้ว เครื่องนี้ ก็ดูปกติเหมือนหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไปที่ใช้กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ในการเก็บเศษฝุ่นต่างๆ ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร แต่ว่า ! ถ้าเราซื้ออุปกรณ์เสริมอย่าง แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ (Auto-Empty Dock) เข้ามาใช้ด้วย ก็จะช่วยลดการดูแลรักษาให้น้อยลง ซึ่งการใช้ชีวิตของเราก็ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก</p> <p><strong>ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม (6.0/10)</strong> : ข้อนี้ถือว่าหักเยอะที่สุด (เหลือ 6.0 คะแนน) เพราะว่า ภายในกล่องผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ให้อะไหล่สำรอง ที่เป็นวัสดุสิ้นเปลือง (Consumable Parts) ใดๆ มาเลย แม้แต่แผ่นกรองอากาศ HEPA ชุดสำรอง ก็ตาม ตัวไหนเสื่อม ต้องซื้อมาเปลี่ยนเอง</p> <p><strong>ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน (9.0/10)</strong> : ถามว่าใช้ง่ายมั้ย ก็ง่าย แต่มันก็ยังไม่สุด (เลยให้ 9.0 / 10 คะแนน) เพราะหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทุกตัว ถึงจะใช้ง่ายจริง แต่สุดท้ายมันก็ยังต้องมีเรื่องของการหาตำแหน่งในการวางแท่นชาร์จให้เหมาะสม การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ กับ ตัวแผ่นติด ฯลฯ</p> <p><strong>ความสามารถของแอปพลิเคชัน (10/10)</strong> : เป็นอีกข้อนึง (นอกจาก ความสะอาดการถูพื้น) ที่อยากจะให้เกิน 10 คะแนน (แต่ให้ไม่ได้) เพราะความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Roborock กับ การเชื่อมต่อค่อนข้างจัดเต็มมากๆ ที่นอกจากจะสั่งให้มันทำงานได้ทั่วๆ ไปแล้ว ยังสามารถตั้งค่ายิบย่อยต่างๆ ได้อย่างละเอียดมาก ถึงมากที่สุด (<a href="https://www.thanop.com/roborock-s7-review/2/#roborock-app-feature-for-roborock-s7">ดูความสามารถแอปพลิเคชัน Roborock กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7</a>)</p> <p><strong>ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้แอปพลิเคชัน (8.0/10)</strong> : ด้วยความที่ ความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน มันเยอะ และซับซ้อนมากๆ จึงทำให้ผู้ใช้งานต้องมีการเรียนรู้ ที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย ช่วงแรกๆ จึงอาจจะไม่ค่อยรู้สึกสะดวกเท่าไหร่นัก แต่ถ้ามองเพื่อประโยชน์ในระยะยาว จัดว่าคุ้มมาก</p> <p><strong>ความคุ้มค่าเทียบกับราคา (10/10)</strong> : ราคา 2 หมื่นต้นๆ (ลองดูตอนจัดโปรโมชันอีกที อาจจะมีถูกกว่านี้) จัดไปครับ มีแต่คุ้มกับคุ้ม ใช้กันยาวๆ มันเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ไม่ใช่ของเล่นเด็กอย่างแน่นอน</p> <p><strong>ความพึงพอใจโดยรวม (10/10)</strong> : ที่กล่าวมาจัดว่าดีทั้งหมด มีติดแค่เรื่อง ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม อย่างอะไหล่สำรอง ที่เป็นวัสดุสิ้นเปลือง ที่ไม่ได้ให้มาเลย แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความพึงพอใจลดลง จัดไปเต็มสิบครับ</p>

4 ความคิดเห็น

  1. สอบถามครับ อาจารย์
    ควรซื้อ Roborock S6 หรือ S7 ดีครับ

    • ควรจะไปที่ Roborock S7 เลยดีกว่าครับ เป็นรุ่นที่ใหม่กว่า และเทคโนโลยีสูงกว่าครับ แต่ถ้าพอมีงบประมาณ ให้ไปที่ Roborock S7 MaxV ไปเลยครับ คุ้มกว่าเยอะครับ

      • รุ่น S6 max ใช้แท่นเก็บฝุ่นได้มั้ยครับ
        เพื่อจะซื้อรุ่นเก่ามาใช้ร่วมกับแท่นเก็บฝุ่นครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้