เชื่อกันว่าเราทุกคน คงจะรู้จักกับ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แบรนด์ “Samsung (삼성) – ซัมซุง” จากประเทศเกาหลีใต้ (South Korea) กันดี เป็นทุนเดิมอยู่แล้วอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่ขอกล่าวประวัติยี่ห้อ หรือท้าวความอะไรให้มากมายและเสียเวลา แต่รู้หรือไม่ว่า
ผลิตภัณฑ์สินค้า ยี่ห้อ Samsung แม้จะโดดเด่น ในเรื่องอุปกรณ์ไอที อย่าง โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ทั้งในประเภทของ จอ LED จอ LCD หรือแม้แต่ เครื่องพิมพ์ (Printer) แต่ Samsung เองก็ยังบุกไลน์ ไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เกือบทุกชนิดอีกด้วยเช่นกัน อาทิ ไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปรับอากาศ (Air Condition) และอะไรต่อมิอะไร อีกมากมาย ที่บรรยายได้ไม่หมดจริงๆ
และด้วยความที่ Samsung เป็นบริษัทระดับโลก ที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขายังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกอย่างนึง ที่ถือว่ามีนวัตกรรมที่ล้ำทันสมัย อีกสิ่งนึงที่เขาผลิตและจำหน่ายออกมาสู่ท้องตลาด นั่นก็คือ “หุ่นยนต์ดูดฝุ่น (Robot Vacuum Cleaner)” นั่นเอง
ทาง Samsung นั้นเริ่มกระโดดเข้าสู่ตลาด เข้าสู่วงการ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น แบบจริงๆ จังๆ กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (สิบกว่าปีก่อน) โดยเป็นการให้ความร่วมมือ แบ่งปันเทคโนโลยี ร่วมกับแบรนด์อื่น แต่ก็ดูเงียบๆ ไป ประกอบกับช่วงนั้น ราคาเทคโนโลยีด้านนี้ยังสูงลิบลับ จึงเป็นเหตุทำให้ วงการหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
หลังจากนั้นให้หลังมาในปี ค.ศ. 2011 ทาง Samsung เองก็ได้กลับมาเริ่ม ผลิตและวางจำหน่าย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น แบบจริงๆ จังๆ กันอีกครั้ง ถือเป็นการออกจำหน่าย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น อย่างเป็นทางการในตระกูล “Navibot” มีชื่อรุ่นแบบเต็มๆ ว่า Samsung Navibot SR8950 โดยในเวลานั้น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นรุ่นนี้ ถือว่ามีความเฉลียวฉลาดค่อนข้างสูงมาก มันมีแท่นชาร์จ (Charge Base) หรือ “Docking Station” เปรียบเสมือนบ้านที่ให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น สามารถวิ่งกลับไปชาร์จไฟลงแบตเตอรี่เองได้โดยอัตโนมัติ เมื่อดูดฝุ่นเสร็จ หรือ แบตเตอรี่ใกล้หมด นอกจากนี้มีคุณสมบัติในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางเป็นอย่างดี เป็นต้น นอกจากนั้นในซีรีย์ Navibot ก็ยังมีรุ่นอื่นๆ ออกมาอีกเล็กน้อย อย่างซีรีย์ SR8750 และ SR10F71UC
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Samsung POWERbot ที่สุดแห่งความสะอาด และ ฉลาด
หลังจากที่ทาง Samsung ออกจำหน่าย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ในตระกูล Navibot มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็ได้มีการนำเอาจุดอ่อน จุดด้อย ของมันมาเพื่อปรับปรุง และ พัฒนาออกตัวใหม่ ให้มีรูปแบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้นออกไปอีกกว่าเดิม เนื่องจากคู่แข่งของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ในยี่ห้ออื่นๆ ก็ต่างงัดเอาเทคโนโลยีเด็ดๆ แจ่มๆ ออกมาสู้กันทั้งนั้น
กล่าวโดยรวมๆ จากหลายยี่ห้อคือ ส่วนมากแล้ว จุดอ่อน จุดด้อย ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนใหญ่นั้น จะมาจากการที่วิ่งทำงานไปแล้วติดสิ่งกีดขวาง ติดเฟอร์นิเจอร์ ล้อติดสายไฟ แล้วก็จอดแบตเตอรี่หมด ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “จอดตาย” อยู่ตรงนั้น ไม่ยอมวิ่งกลับแท่นชาร์จเองโดยอัตโนมัติ ลำบากถึงเจ้าของที่จะต้องมายกตัวเครื่อง กลับไปวางที่แท่นชาร์จเอง และอีกปัญหาคือ มันมีพลังการดูดฝุ่นที่ไม่สะอาด ไม่ละเอียดพอ เช่น เศษผมเข้าไปพันกับแปรงกวาด หรือแม้แต่ ตัวเครื่องวิ่งเข้าไปชนวัตถุต่างๆ ในห้อง สร้างความเสียหายให้กับตัวเครื่องเอง และ ข้าวของเครื่องใช้ภายในห้อง อะไรแบบนี้เป็นต้น
ทาง Samsung เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาตรงนั้น เอาปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด กลับไปทำการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ดูดฝุ่นรุ่นใหม่ออกมา ออกมาใหม่ คราวนี้ไม่ได้ใช้อยู่ภายใต้ ตระกูล Navibot เหมือนกับรุ่นก่อนแล้ว แต่มาในชื่อ ตระกูลใหม่ นั่นก็คือ Samsung POWERbot ซึ่งเปิดตัวครั้งแรก ในรุ่น POWERbot VR9000 ที่งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลก อย่าง IFA 2014 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อช่วงเดือน กันยายน พ.ศ.2557 (ค.ศ.2014) ที่ผ่านมา ลองดูคลิปประกอบของการจัดแสดงในงาน IFA 2014 ด้านล่างนี้เลย
เปรียบเทียบความสามารถ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Samsung รุ่นที่เคยรีวิว
ด้านล่างเป็นตารางเปรียบเทียบความสามารถ ของตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่เคยรีวิวทั้งหมดบนเว็บไซต์ Thanop.com ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร …
รายละเอียด (Specification) |
Samsung POWERbot VR7000 | Samsung POWERbot VR9000 | Samsung POWERbot VR9300 |
ขนาดมิติ (Dimension) |
348 x 340 x 97 มม. | 378 x 362 x 135 มม. | 378 x 362 x 135 มม. |
น้ำหนัก (Weight) |
4.3 กิโลกรัม | 4.8 กิโลกรัม | 4.9 กิโลกรัม |
พลังดูด (Suction Power) |
20 วัตต์ | 10 วัตต์ | 40 วัตต์ |
จำนวนความแรงดูดฝุ่น (Vacuum Fan Power) |
3 ระดับ (Quiet / Normal / Max) | ||
ความจุแบตเตอรี่ (Battery Capacity) |
3,600 มิลลิแอมป์ | 3,900 มิลลิแอมป์ | 4,500 มิลลิแอมป์ |
อัตราการกินไฟ (Power Consumption) |
130 วัตต์ | 75 วัตต์ | 250 วัตต์ |
ความยาวแปรงกวาดหลัก (Main Brush Width) |
29.0 เซนติเมตร (290 mm.) | 31.1 เซนติเมตร (311 mm.) | 31.1 เซนติเมตร (311 mm.) |
จำนวนแปรงกวาดข้าง (No of Side Brush) |
0 แปรง | ||
การควบคุมผ่าน Wi-Fi (Wi-Fi Control) |
✓ | ✗ | ✓ |
ขนาดกล่องใส่ขยะ (ลิตร) Dustbin or Dirt Bin Capacity (Litre) |
0.30 ลิตร | 0.70 ลิตร | |
รูปแบบการควบคุม (Type of Control Panel) |
|
|
|
ระบบการนำทาง (Navigation System) |
การอ่านรูปทรงของเพดานผ่านกล้องสร้างแผนที่จำลอง (Visionary Mapping™ Plus System by Mapping Camera) |
||
กำแพงจำลอง (Virtual Wall) |
เทปเครื่องหมายขอบเขต (ไม่ใช้ถ่านแบตเตอรี่) |
กล่องแสงอินฟราเรด (ใช้ถ่านแบตเตอรี่) |
|
ชัตเตอร์อัตโนมัติ (Auto Shutter Tool) |
✓ | ✗ | |
สีกระบอกพัดลมดูดฝุ่น (Vacuum Fan Cover Color) |
สีดำ | สีทอง | สีดำ |