BCC มีคำอธิบายว่า การทำ IUI คืออะไร ?
บทความนี้ ผมจะพามาดูคำอธิบาย IUI คืออะไร ? ซึ่งถ้าใครที่แต่งงานสมรส มาได้สักระยะ แล้วพยายามมีลูกเกิน 1 ปีขึ้นไป และยังไม่สำเร็จ อาจจะต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยแล้วละครับ โดยบทความนี้ได้รับคำแนะนำมาจาก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ศูนย์ผู้มีบุตรยากกรุงเทพ (Bangkok Centreal Clinic – BCC) สถานพยาบาลที่มาพร้อมมาตรฐานระดับสากล รองรับการรักษาผู้มีบุตรยากครบวงจรด้วยทีมแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ ตอบโจทย์การรักษาที่เห็นผล เพิ่มโอกาสการมีบุตรให้สูงขึ้น โดยทาง BCC มีคำอธิบายว่า IUI คืออะไร แบ่งออกเป็นส่วนของความหมาย ขั้นตอนการทำ อัตราความสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผล รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มาดูกันต่อเลยครับ
- การทำ IUI คืออะไร ?
- ขั้นตอนการทำ IUI มีอะไรบ้าง ?
- อัตราความสำเร็จของการทำ IUI
- ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ IUI
การทำ IUI คืออะไร ?
คำว่า “IUI” นั้นย่อมาจากคำว่า “Intrauterine Insemination” เป็นการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก จัดเป็นวิธีผสมเทียมที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยการนำเชื้ออสุจิที่ผ่านการปั่นล้างและคัดแยกฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง วิธีนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน ซึ่งส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่สำเร็จ จุดประสงค์สำคัญในการทำ IUI คือการเพิ่มโอกาสให้อสุจิเดินทางไปถึงท่อนำไข่ จึงช่วยแก้ปัญหาในคู่สมรสที่ฝ่ายชายอสุจิไม่แข็งแรงได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงในคู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีท่อนำไข่ตีบตันข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถพึ่งวิธีการทำ IUI เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้
ขั้นตอนการทำ IUI มีอะไรบ้าง ?
นอกจากทาง BCC จะมีคำอธิบายว่า IUI คืออะไรแล้ว ยังได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ IUI สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก เอาไว้อย่างละเอียด ดังต่อไปนี้
- ปรึกษาเบื้องต้น
- ชักนำให้ตกไข่
- ติดตามผล
- เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ
- เตรียมน้ำเชื้อ
- ผสมเทียม
- พักฟื้นและสังเกตอาการ
- ติดตามผล
1. ปรึกษาเบื้องต้น
สำหรับคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก จะต้องเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้นจากแพทย์เฉพาะทางก่อน เพื่อประเมินถึงสาเหตุของการมีบุตรยากคร่าวๆ จากการซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการมีบุตร นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความกังวลต่างๆ โดยแพทย์อาจจะแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้น ว่ามีอะไรบ้างและคนไข้เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีไหน
2. ชักนำให้ตกไข่
หลังรับคำปรึกษาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคนไข้ตกลงที่จะเข้ารับการรักษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการผสมเทียม หนึ่งในการทำ IUI คือการชักนำไข่ให้ตก เพื่อให้รังไข่ของคนไข้ฝ่ายหญิงผลิตไข่ออกมาหลายๆ ใบ อาจใช้ยาช่วยชักนำในขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งปริมาณยาที่ใช้อาจแตกต่างกันออกไปแต่ละราย แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป ในการผลิตไข่หลายใบจะช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิที่สำเร็จ
3.ติดตามผล
หลังทำการชักนำไข่ให้ตกไปแล้ว แพทย์จะติดตามผลการตกไข่ โดยสังเกตว่าไข่ที่ได้มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไร เมื่อพบว่าไข่มีขนาดที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะเลือกวันผสมเทียมต่อไป ขั้นตอนนี้กระทำโดยการตรวจเลือดและอัลตราซาวด์
4.เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ
ในวันผสมเทียมหรือวันที่นัดคนไข้เข้ามาทำ IUI จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อในวันนั้น แพทย์จะเตรียมพื้นที่มิดชิดเอาไว้ให้ และให้คนไข้ฝ่ายชายเก็บอสุจิใส่ภาชนะปลอดเชื้อด้วยตนเอง ก่อนจะนำเข้าสู่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำ IUI
5.เตรียมน้ำเชื้อ
เมื่อได้น้ำเชื้อจากการเก็บตัวอย่างใส่ภาชนะมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการเตรียมน้ำเชื้อโดยการปั่นล้าง เพื่อกำจัดสารที่เป็นอันตราย และช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิที่เคลื่อนที่ได้
6.ผสมเทียม
หลังจากนั้น ก็เข้าสู่ขั้นตอนการทำ IUI คือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าคีมปากเป็ด เปิดอวัยวะเพศหญิงให้เห็นปากมดลูก จากนั้นใช้สายสวนขนาดเล็กสอดผ่านปากมดลูกเข้าไป เพื่อฉีดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้เข้าไปในมดลูก
7.พักฟื้นและสังเกตอาการ
เมื่อดำเนินการฉีดน้ำเชื้อเสร็จแล้ว แพทย์จะให้คนไข้นอนพักในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อสังเกตอาการ ก่อนปล่อยให้คนไข้กลับบ้าน และหลังจากนั้นคนไข้ยังต้องเฝ้าสังเกตความผิดปกติของตัวเอง โดยอาการปวดหรือเลือดออกเพียงเล็กน้อย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากมีเลือดออกมาก หรือปวดมาก ควรรีบกลับไปพบแพทย์
8.ติดตามผล
หลังจากทำ IUI เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะต้องติดตามผลว่าการตั้งครรภ์สำเร็จหรือไม่ โดยแพทย์จะนัดวันคนไข้ให้เข้าไปพบเพื่อติดตามผลหลังทำ หากพบว่าผลเป็นบวก จะต้องกลับไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการตั้งครรภ์ว่าราบรื่นหรือไม่ แต่ถ้าหากผลเป็นลบ แพทย์และคนไข้จะปรึกษาหารือเรื่องการรักษาขั้นต่อไป
อัตราความสำเร็จของการทำ IUI
อัตราความสำเร็จของการทำ IUI ทางศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก BCC ได้อธิบายเอาไว้ว่าอยู่ที่ประมาณ 20% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อายุ ที่มีส่วนอย่างมาก หากอายุเยอะแล้ว การทำ IUI ให้สำเร็จก็อาจเป็นไปได้ยาก รวมถึงภาวะโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก และจังหวะเวลาในการผสมเสียม หรือจำนวนรอบของการผสมเทียมก็มีผลต่ออัตราความสำเร็จของการทำ IUI
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ IUI
- ปวดท้อง
- ท้องอืดหรือท้องบวม
- คลื่นไส้อาเจียน
- หายใจไม่อิ่มหรือหายใจลำบาก
- มีเลือดออกจากอวัยวะเพศ
- การติดเชื้อ
- ร้อนวูบวาบ
- อารมณ์แปรปรวน อาจมีภาวะซึมเศร้า
- ภาวะขาดน้ำ
นี่คือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำ IUI เพราะอวัยวะได้รับการกระทบกระเทือนจากเครื่องมือแพทย์ แต่ก็อาจไม่เกิดขึ้นเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายคนไข้ และการทำ IUI ของแพทย์แต่ละรายด้วย
และทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก BCC ที่ได้คำอธิบายว่า IUI คืออะไร นั่นก็คือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก ช่วยเร่งปฏิกิริยาการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหามีบุตรยากชนิดไม่รุนแรง สามารถพึ่งวิธีการนี้ได้