← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)
สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV
มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่
- ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง (Top and Side Components)
- ส่วนประกอบด้านล่าง (Underside Component)
- ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง (Inside Component)
- ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin Component)
Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
- Front Bumper and Navigation System Components (กันชนหน้า และส่วนประกอบของระบบนำทาง) : แผงกันชนด้านหน้า ที่ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของด้านข้างตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น สามารถให้ตัวได้พอสมควร เพื่อลดแรงกระแทก การเกิดรอย ความเสียหายระหว่างตัวเครื่องกับวัตถุต่างๆ ในห้องของเรา และภายในกันชนยังมี ส่วนประกอบของระบบนำทาง ไม่ว่าจะเป็น กล้องหน้าคู่
- LiDAR Sensor Cover (ฝาครอบเซนเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : ฝาพลาสติกที่เป็นโดมกลมๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 เซนติเมตร ถูกติดตั้งอยู่ที่ ด้านบนของตัวเครื่อง มันสามารถให้ตัวดูดซับแรงกระแทกได้เล็กน้อย ด้านในคือเซนเซอร์ LiDAR ที่จะหมุนติ้วรอบตัว 360 องศา เพื่อวัดระยะห่างระหว่างตัวเครื่องกับวัตถุที่อยู่ในห้อง
- Control Panel (แผงควบคุมเครื่อง) : ประกอบไปด้วยปุ่มกดหลักๆ ทั้งหมด 3 ปุ่มหลักๆ ด้วยกันคือ
- SPOT Clean Button (ปุ่มเปิดโหมดการทำความสะอาดเฉพาะจุด)*
- POWER or CLEAN Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มต้น หรือหยุดทำความสะอาด)
- HOME Button (ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ)*
- Top Cover or Dustbin Cover (ฝาปิดด้านบน หรือ ฝาเปิดปิดกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ฝาปิดขนาดใหญ่ ครอบคลุมตัวเครื่องเกินครึ่งของพื้นที่ทั้งหมด สามารถยกเปิดขึ้นมาได้ ภายในมีส่วนประกอบต่างๆ อีกเล็กน้อย เช่น สวิตซ์เปิดปิดเครื่อง เครื่องมือทำความสะอาดอเนกประสงค์ ฯลฯ (รายละเอียดส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
- Air Outlet or Air Vent (ช่องอากาศออก) : ช่องปล่อยอากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่นละออง แต่ผ่านการกรองจากแผ่นกรองอากาศ HEPA จนได้อากาศที่สะอาดแล้ว ก็จะถูกระบายออกมาทางช่องนี้
- Wall Sensor (เซนเซอร์ขอบกำแพง) : ช่วยวัดระยะห่างระหว่างตัวเครื่องกับขอบกำแพง ไม่ให้ใกล้ชิด หรือห่างกันจนมากเกินไป โดยเครื่องนี้จะวิ่งชิดขอบกำแพงทางด้านขวาเป็นหลัก และมีแปรงกวาดข้างอยู่ที่ฝั่งขวาฝั่งเดียว
หมายเหตุ* : หากกดที่ปุ่ม SPOT Clean และปุ่ม HOME พร้อมกัน และค้างเอาไว้ประมาณ 3 วินาที จะเป็นการล้างการตั้งค่าการเชื่อมต่อไวไฟ (Reset Wi-Fi)
Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
- Cliff Sensor (เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : มีทั้งหมด 6 จุด ถือว่าเยอะมากๆ โดยแต่ละจุดจะปล่อยแสงอินฟราเรดลงพื้น เพื่อดูระยะห่างความสูงระหว่างตัวเครื่องกับพื้น ถ้าพบว่ามากผิดปกติ หรือ เกินกำหนด จะหันหัวไปยังทิศทางอื่นทันที
- Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ล้อที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง (Omni-Directional Wheel) แบบ 360 องศา สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เองง่ายๆ
- Charging Contact (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ไว้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแท่นชาร์จ เพื่อที่จะนำไปชาร์จลงแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาดความจุ 5,200 มิลลิแอมป์ เป็นลำดับต่อไป
- Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : มีแค่ด้านขวาด้านเดียว ใช้ติดตั้งแปรงกวาดข้างแบบ 5 แฉก ซึ่งยึดกับตัวเครื่องด้วยน๊อต อาจจะติดตั้งลำบากกว่าการใช้สลักล็อก แต่แน่นกว่าอย่างแน่นอน
- Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ที่มีลายดอกยาง เพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างตัวเครื่อง กับพื้นห้อง และมีสปริงโช๊คอัพ ที่จะทำให้เครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้ สูงสุดถึง 2 เซนติเมตร กันเลยทีเดียว
- Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ประกอบไปด้วยฝาครอบพลาสติก ที่มีเหล็กเส้นเล็กๆ ค้ำยัน 2 จุดตรงกลาง เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว และตัวแปรงกวาดหลัก ที่ผสมระหว่างขน และยาง แบบเกลียว ช่วยดูดฝุ่นขนาดเล็กใหญ่ เส้นผม ขนสัตว์ได้ดีมี ความยาวประมาณ 180 มิลลิเมตร (18 เซนติเมตร)
- Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ) : ถังน้ำขนาดความจุ 0.3 ลิตร ถูกติดตั้งเข้าไปที่ส่วนท้าย หรือด้านหลัง ตัวเครื่องเลย หากต้องการถูพื้นแบบเปียก ก็เพียงแค่นำ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ พร้อมแผ่นติด มาเสียบที่ด้านหลังได้เลย โดยไม่ต้องยกเครื่องเพื่อพลิกคว่ำ ถือว่าสะดวกมากๆ
Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
- Wi-Fi Indicator (ไฟแสดงสถานะการทำงานของ Wi-Fi) : แจ้งสถานะว่าการทำงานของ Wi-Fi ว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่ โดยมีทั้งหมด 4 สถานะคือ
- Off (ไฟดับ) : ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi
- Flashing Slowly (กระพริบช้า) : รอการเชื่อมต่อ Wi-Fi
- Flashing Quickly (กระพริบเร็ว) : กำลังเชื่อมต่อ Wi-Fi
- Steady (สว่างค้าง) : การเชื่อมต่อ Wi-Fi สำเร็จ
- Wi-Fi Reset Button (ปุ่มล้างการตั้งค่าการเชื่อมต่อไวไฟ) : รีเซ็ต หรือล้างการตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น เพื่อให้เครื่องพร้อมที่จะทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi อีกครั้ง
- Dustbin Installation Area (พื้นที่ติดตั้งกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เอาไว้เก็บกล่องใส่ฝุ่นละอองขนาด 0.48 ลิตร (480 มิลลิลิตร) ถ้านำกล่องฯ ออกมาจะเห็นช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) อย่างชัดเจน
- Cleaning Tools (เครื่องมือทำความสะอาดอเนกประสงค์) : อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝั่งนึงเป็นแปรงขนขนาดเล็ก และด้านหลังคือใบมีดคัตเตอร์ เอาไว้ตัดเส้นผม หรือขนสัตว์ ที่ติดพันอยู่ที่ตัวเครื่อง
Dustbin Component (ส่วนประกอบของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)
กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองพลาสติกขนาดความจุ 0.5 ลิตร เป็นพลาสติกชนิดขุ่น ซึ่งอาจจะมองเห็นเศษฝุ่นละอองที่อยู่ภายในได้ไม่ถนัดนัก (แต่ก็ยังพอมองเห็นได้อยู่) โดยขนาดความหนาของแผ่นพลาสติกอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร (0.2 เซนติเมตร) ถือว่าหนาพอสมควร และตรงขอบระหว่างฝาเปิดกับตัวกล่อง หรือแม้แต่ช่องอากาศเข้ามีซีลยางปิดทุกจุด เพื่อป้องกันฝุ่น และอากาศรั่วไหลออกมา ทำให้สูญเสียพลังดูดไปได้
เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV
- Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
- First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
- Microfiber Cloth and Water Tank Installations (การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ กับ ถังน้ำ)
- Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
การติดตั้งแท่นชาร์จ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ อีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่งการวางที่ดีด้วย เพื่อที่จะได้ใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเครื่องนี้ ถ้าดูจากคำแนะนำในคู่มือ คุณควรจะต้องมีระยะเว้นห่างจากสิ่งกีดขวางใดๆ อยู่ที่ ฝั่งซ้าย และขวา 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) และ ด้านหน้า 1.5 เมตร (4.9 ฟุต)
นอกจากนี้แล้วเครื่องนี้ยังมีแถบเทปกาว (ต้องลอกสติ๊กเกอร์ออกก่อน) เพื่อที่จะให้ตัวแท่นชาร์จสามารถยึดติดกับพื้นได้อย่างเหนียวแน่น แต่ถ้าใครไม่ชอบ หรือต้องย้ายแท่นชาร์จกันบ่อยๆ ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องยึดเทปกาวกับพื้นก็ได้
2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
สำหรับการชาร์จไฟเพื่อเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ ควรชาร์จไฟค้างคืน ทิ้งเอาไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบในครั้งแรก และครั้งต่อๆ ไป
3. Microfiber Cloth and Water Tank Installations (การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ กับ ถังน้ำ)
- นำถังน้ำออกมาจากส่วนท้ายของตัวเครื่อง
- นำผ้าม็อบมาติดกับถังน้ำโดยแนบกับแถบตีนตุ๊กแก และสอดเข้าไปในช่องด้านหน้าให้เรียบร้อย
- เติมน้ำสะอาดลงในถังน้ำจนเต็มถัง (ระวังอย่าให้น้ำล้นออกมา)
- นำถังน้ำใส่กลับเข้าไปที่ส่วนท้ายของตัวเครื่องได้เลย (โดยไม่ต้องยกตัวเครื่องขึ้นมาพลิกคว่ำ)
4. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)
การควบคุม และสั่งงาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนั้น สามารถทำได้ผ่าน 2 แอปฯ ด้วยกันได้แก่ แอป Roborock ของทางบริษัทผู้ผลิตเอง และแอป Mi Home จากที่ผลลัพธ์ของการที่ Roborock ไปเป็นส่วนหนึ่งของ ห่วงโซ่ในระบบนิเวศของเสี่ยวหมี่ (Xiaomi Ecological Chain) สรุปก็คือใช้ควบคุมได้ทั้งคู่
ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Rorobock*
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง โรโบร็อค เทคโนโลยี จำกัด – Beijing Roborock Technology Co., Ltd.)
- ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ iOS ผ่าน App Store
- ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ Android ผ่าน Play Store
ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Mi Home
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง เสี่ยวหมี่ จำกัด – Beijing Xiaomi Co., Ltd.)
ข้อมูลเพิ่มเติม* : รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน Roborock สามารถอ่านได้ที่หนังสือคู่มือเริ่มต้นการใช้งานแอป Roborock ได้เลย
คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Roborock
- การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
- สั่งให้เครื่องเริ่มทำงาน (Start Auto Cleaning)
- สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
- สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ (Return to Charge Base – Dock)
- ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น (Adjust Vacuum Power Level)
- โหมดอ่อนโยน (Gentle Mode) – ดูดเบามากๆ
- โหมดเงียบ (Quite Mode) – ดูดเบา
- โหมดสมดุล (Balanced Mode) – ดูดปกติ
- โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) – ดูดแรง
- โหมดสูงสุด (Max Mode) – ดูดแรงมากๆ
- ปรับระดับของปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น (Adjust Water Level or Water Flow)
- ปิดระบบการปล่อยน้ำ (Off)
- เปียกน้อย (Low)
- เปียกปานกลาง (Medium)
- เปียกมาก (High)
- ความสามารถการทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features)
- โหมดควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง (Manual Control Mode) (ใช้กับฟังก์ชัน Remote Viewing)
- โหมดการทำความสะอาดแบบเลือกห้อง (Selective Room Cleaning)
- โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Cleaning Mode) (ในพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร จากจุดเริ่มต้น)
- โหมดการทำความสะอาดเฉพาะโซน (Zone Cleaning) (ลากตำแหน่งที่ต้องการทำความสะอาด)
- โหมดการทำความสะอาดแบบปักหมุดแล้วไป (Pin n Go Cleaning)
- กำหนดกำแพงจำลอง (Virtual Wall) (ทาง Roborock เรียกว่า กำแพงล่องหน หรือ Invisible Wall)
- กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องเข้าไปทำความสะอาด (No-Go Zones)
- กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องการถูพื้น (No-Mop Zone)
- การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- กำลังทำงาน (Working)
- กำลังกลับแท่นชาร์จ (Docking)
- กำลังชาร์จแบตเตอรี่ (Charging)
- ชาร์จแบตเตอรี่เสร็จสิ้น (Charge Completed)
- ดูขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaned Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
- ดูปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Remaining Battery) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
- ดูเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaned Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
- ดูแผนที่การทำความสะอาดแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map)
- ดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing) (ผ่านกล้องหน้าคู่ – ตอนห้องมืดก็ดูได้)
- แจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียง (Location) (สั่งผ่านแอปพลิเคชัน)
- ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
- การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Settings and Information)
- สร้างแผนที่การทำความสะอาด (Create Cleaning Map) ของพื้นที่แต่ละชั้น (สามารถสร้างได้มากกว่า 1 แผนที่)
- สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง และเลือกระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น และ ระดับปริมาณน้ำที่จะปล่อยลงพื้น ได้ด้วย
- ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning Record) (ทั้งข้อมูล พร้อมแผนที่ที่เครื่องวิ่งผ่าน)
- ปรับฟังก์ชันของกล้องหน้าคู่ (Camera Functions)
- โหมดจำแนกพรม (Carpet Mode) (ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น ไปในโหมดสูงสุด เมื่อขึ้นบนพรม)
- โหมดห้ามรบกวน (Do not Disturb Mode) (ปิดการทำงานของเครื่องในช่วงเวลาพักผ่อน กำหนดเวลาได้)
- การตั้งค่า และข้อมูลทั่วไป (General Settings and Information)
-
- เปลี่ยนชื่อเครื่อง (Change the Device Name)
- เปิดปิดไฟแสดงสถานะของตัวเครื่อง (Enable or Disable Indicator Light)
- ปรับตั้งเวลาเครื่องให้ตรงกับปัจจุบัน (Synchronize Time zone)
- การตั้งค่าหน่วยวัดพื้นที่ (Unit of Area) (ตารางเมตร – m2 | ตารางฟุต – ft2 | ปิง – py)
- ดูหมายเลขจำเพาะของเครื่อง (Robot ID)
- ปรับภาษาของเสียงพูด (Voice) (มีภาษาไทยด้วย !) และ ระดับความดังของเสียง (Volume)
- การบำรุงรักษา และดูสถานะของวัสดุสิ้นเปลือง (Maintenance and Consumable Product Status)
- ดูคู่มือการใช้งาน (User Manual) (ข้อมูลเหมือนในเล่มที่ให้มาภายใน กล่องผลิตภัณฑ์)
- อัปเกรดเฟิร์มเวอร์ของตัวเครื่อง (Firmware Upgrade)
- ลบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกจากแอปพลิเคชัน (Delete Device)
-
หมายเหตุ : ความสามารถต่างๆ ของแอปพลิเคชันนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากมันมีการพัฒนาและอัพเดทอย่างต่อเนื่องจากทางผู้พัฒนา
การสั่งซื้อ และ รับประกัน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV
ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV ได้ที่ไหน ?
คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย
- Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-2388-1688
- LINE Official Account (บัญชีไลน์ธุรกิจ) : @RoborockThailand
- Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : RoborockTHA (โรโบร็อคทีเฮชเอ)
มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม (ยกเว้นอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ)
คำถามที่คุณต้องอยากรู้ (FAQs) เกี่ยวกับการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV
1. สามารถใช้แอป Roborock ควบคู่ไปกับแอป Mi Home ไปพร้อมๆ กันได้หรือไม่ ?
“ไม่ได้” ตัวเครื่องจะต้องเชื่อมต่อ หรือผูกกับแอปฯ ใดแอปฯ หนึ่งเท่านั้น เพราะทุกครั้งที่มีการสลับแอปฯ จะต้องล้างการตั้งค่าไวไฟ (Reset Wi-Fi) ในทุกๆ ครั้ง แต่ว่าแผนที่การทำความสะอาด (Cleaning Map) ที่สร้างเอาไว้จะยังไม่หายไปไหน
2. สรุปว่าใช้แอป Mi Home หรือ Roborock ดีกว่ากัน ?
แอปพลิเคชัน Roborock ถือเป็นแอปฯ ต้นฉบับ (Original) ที่ใช้ในการควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV ตัวนี้ ซึ่งอาจะได้รับการอัปเดตความสามารถก่อนผู้ใช้งานแอป Mi Home
แต่ถ้าใครที่มีอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าของ Xiaomi เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แนะนำว่าให้ไปใช้ Mi Home ดีกว่า จะได้รวมเป็นศูนย์กลางที่เดียว แต่ทั้งหมดทั้งมวล ก็แล้วแต่ชอบ แล้วแต่ถนัดเลย
3. จำเป็นจะต้องใช้ แผ่นรองกันความชื้น หรือไม่ ?
“ไม่จำเป็น” สำหรับการใช้งานดูดฝุ่นอย่างเดียว หรือใช้ฟังก์ชันถูพื้นแบบเปียก (Wet Mopping) บนพื้นกระเบื้อง แต่ถ้าให้เครื่องถูพื้นไม้ชนิดต่างๆ อย่างพื้นไม้ปาร์เก้ พื้นไม้ลามิเนต ควรจะต้องใช้
4. ความสามารถ Remote Viewing มีความเป็นส่วนตัว มากแค่ไหน ?
ความสามารถการดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing) ถือเป็นฟีเจอร์ที่สุดยอดมากๆ ในแง่มุมของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้น เพราะนอกจากเอาไว้ใช้ในการนำทางอย่างการดูสิ่งกีดขวางแล้ว ยังเอาไว้เป็นกล้องวงจรปิดเคลื่อนที่ (Mobile Surveillance Camera) ที่เราสามารถควบคุมทิศทางได้ตามต้องการ
แต่เชื่อว่ามีประเด็นที่หลายคนคงจะเป็นกังวลคือในเรื่องของ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ว่ามันจะแอบเอาภาพที่ถ่ายภายในห้องของเราไปทำมิดีมิร้าย หรือไปเผยแพร่ที่ไหนหรือเปล่า ? เรื่องนี้มีอยู่ 3-4 ปัจจัย ที่ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า ทางผู้ผลิตเองก็มีจรรยาบรรณพอที่จะไม่นำเอาข้อมูลภาพ เริ่มจาก
- มีนโยบายความเป็นส่วนตัว ที่ผ่านการรับรองจาก ทียูวีไรน์แลนด์ (TÜV Rheinland) สถาบันทดสอบอิสระชั้นนำระดับโลก ว่าเป็นอุปกรณ์ IoT ที่เก็บรักษาข้อมูล ความลับ ของผู้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย (รายละเอียดของการรับรอง TÜV Rheinland มาตรฐาน ETSI TS 103 645)
- ก่อนจะเปิดความสามารถ Remote Viewing จะต้องอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) และกดยอมรับมันให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นให้กด 3 ปุ่มที่อยู่บนแผงควบคุม บนตัวเครื่องพร้อมกันเพื่อเปิดฟีเจอร์นี้
- ระหว่างที่เครื่องเปิดฟังก์ชันนี้จะมีเสียงแจ้งเตือนว่า “Remote Viewing Active” ดังอยู่ตลอดเวลาที่ระบบนี้เปิดทำงาน จึงทำให้คนที่อยู่ภายในห้องได้รับทราบว่าเครื่องนี้กำลังเปิดกล้องเพื่อการบันทึกภาพอยู่
5. สภาพฝุ่นละอองภายในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองเป็นอย่างไร ?
จากรูปที่เห็นเป็นสภาพของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หลังผ่านการใช้งานมา 4 ครั้ง (2 ครั้งชั้นบน และอีก 2 ครั้งชั้นล่าง) พบว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กใหญ่ สามารถถูกดูดเข้ามาภายในได้อย่างหมดจด ทั้งเส้นผม และเศษฝุ่นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตามรูปที่เห็นด้านบน
6. ราคาอะไหล่ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV มีอะไรบ้าง และราคาเท่าไหร่ ?
ชื่ออะไหล่ (Part Name) |
ราคาต่อหน่วย (Unit Price) |
1. แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน x 1 ชุด (Lithium-Ion Battery x 1 Set) |
2,500 บาท |
2. แปรงกวาดข้าง x 2 ชิ้น (Side Brush x 2 Pieces) |
290 บาท |
3. แปรงกวาดหลัก x 1 ชิ้น (Main Brush x 1 Piece) |
590 บาท |
4. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 2 ชิ้น (Microfiber Cloth x 2 Pieces) |
290 บาท |
5. แผ่นกรองอากาศ HEPA x 2 แผ่น (HEPA Filter x 2 Pieces) |
590 บาท |
บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S6 MaxV
บทสรุปทั่วไปเกี่ยวกับการใช้งาน !
- การแสดงค่าการทำความสะอาดแบบเรียลไทม์ทั้ง พื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว เวลาที่ใช้ไป ปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ รวมไปถึง แผนที่ห้องที่สร้างขึ้นมาแบบสดๆ พร้อมเส้นทางที่เครื่องวิ่งทำความสะอาดไปแล้ว โดยข้อมูลที่แสดงบนแอปฯ กับบนแผนที่ ตรงกันอย่างชัดเจน
- ฟังก์ชัน Remote Viewing จัดว่าแจ่มมาก ถือเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่มีหน้าที่เป็นกล้องวงจรปิดเคลื่อนที่ได้ไปในตัวด้วย โดยเราสามารถควบคุมทิศทางได้เอง เพื่อไปตรวจพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านของเราได้เลยว่า เรียบร้อยดีไหม น้องหมา น้องแมว ของเรากินอยู่สบายมั้ย แถมยังส่งข้อความเสียง (Voice Message) ทักทายได้ผ่านมือถือเรา มาที่เครื่องได้อีกด้วย
- การจำแนกแยกประเภท ชนิดของวัตถุหลายๆ อย่างถือว่าแม่นยำ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก (Scale) ฐานของวัตถุ (Object Pedestal) อย่างฐานโคมไฟ เป็นต้น แต่ก็มีบางอย่างที่อยู่บนพื้นในห้อง อาจจะยังไม่รู้จักดีนัก แต่ก็ยังหลบหลีกได้ดีอยู่ และจะมีอัปเดตข้อมูลวัตถุต่างๆ เหล่านี้เรื่อยๆ ในอนาคต
- การสร้างแผนที่ทำความสะอาด เพื่อที่จะได้สามารถแบ่งห้อง แบ่งโซน จะต้องไปที่เมนูแก้ไขแผนที่ (Edit Map) → แผนที่ของฉัน (My Map) ที่อยู่ในหน้าจอหลักของแอป Roborock (สามารถบันทึกได้มากกว่า 1 แผนที่)
ข้อดี 🙂
- การนำทาง วิ่งกลับแท่นชาร์จ ถือว่ามีความแม่นยำสูงมากๆ ยิ่งมีระบบ Reactive AI ที่ทำงานร่วมกับกล้องหน้าคู่เข้ามาด้วยแล้ว จะทำให้เครื่องรู้จักกับหลบหลีกวัตถุได้ดีมากยิ่งขึ้น ไม่วิ่งขึ้นไปเกย จนติดขัด และทำงานต่อไม่ได้
- แปรงกวาดข้าง เป็นแบบไม่มีก้าน จึงทำให้ไม่ต้องกลัวว่าขนแปรงจะหลุดออกจากก้านในระหว่างการใช้งาน
- ตามสเปกเครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้สูงสุดถึง 2 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าสูงกว่ามาตรฐานของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆ ไป ที่จะทำได้อยู่ที่ประมาณ 1.5 เซนติเมตร
- เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น ให้มาทั้งหมด 6 จุด ถ้าเทียบกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่นๆ ถือว่าเยอะที่สุด (เพราะตัวอื่นๆ ส่วนมากก็มีแค่ 2 ตัว 3 ตัว หรือ 4 ตัวบ้าง)
- แผ่นกรองอากาศ HEPA สามารถนำไปล้างน้ำ และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน และประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก
- การนำเอากล่องใส่ขยะฝุ่นละออง หรือ ถังน้ำออกจากตัวเครื่อง สามารถทำได้สะดวกมาก โดยไม่ต้องยกเครื่องพลิกคว่ำให้เสียเวลา และปวดเมื่อย แค่จอดอยู่ที่แท่นชาร์จปกติ ก็สามารถนำทั้งอุปกรณ์ทั้ง 2 ออกมาได้ง่ายๆ เลย
- เอกสารประกอบเครื่องที่ให้มาถือว่ามีความละเอียดสูงมากๆ อธิบายเข้าใจง่าย พร้อมรูปประกอบ
ข้อเสีย 🙁
- ฟังก์ชันการใช้งานเยอะมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอปพลิเคชัน Roborock ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปกับการใช้งานนานพอสมควร
- สายไฟให้มาสั้นไปหน่อย มีความยาวเพียงแค่ 0.9 เมตรเท่านั้น และที่ด้านหลังของแท่นชาร์จ ไม่มีพื้นที่ม้วนเก็บสายไฟ ดังนั้นถ้าปลั๊กไฟอยู่ห่างจากตำแหน่งติดตั้งแท่นชาร์จ อาจจะต้องใช้ รางปลั๊กไฟ (Power Strip) มาพ่วง ซึ่งก็จะยุ่งยากขึ้นไปอีก
- อะไหล่สำรองของเครื่องนี้ให้มาน้อยไปนิด มีแค่ แผ่นกรองอากาศ HEPA อย่างเดียวเท่านั้น อย่างอื่น เช่นพวกแปรงกวาดข้าง หรือ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ ไม่ได้มีมาให้เลย (ต้องซื้อแยกต่างหาก)